ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

โบราณสถานและโบราณวัตถุ
            แหล่งโบราณคดี  เมืองสมุทรปราการ มีการก่อตั้งเมืองมาตั้งแต่สมัยขอม มีประวัติการสร้างเมืองที่ยาวนาน และหลายครั้ง สิ่งก่อสร้างตามริมน้ำ ดังนั้นเมื่อนานไปก็ถูกกระแสน้ำพัดพาไปจนไม่ปรากฎหลักฐาน เช่น นิวอัมสเตอร์ดัม ในสมัยอยุธยา  พระที่นั่งต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ  และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปัตยกรรมผุพัง และรื้อถอนไปไม่เหลือสิ่งใดปรากฎ
            ส่วนที่เหลือไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านโบราณคดีก็มีอยู่บ้าง  ดังที่ปรากฎในผลงานวรรณกรรมของสุนทรภู่  ที่เกี่ยวด้วยเรื่องราวในเวลานั้นในเมืองสมุทรปราการ
            แหล่งประวัติศาสตร์  มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน  ส่วนใหญ่เป็นป้อมต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นไว้ป้องกันข้าศึก ที่จะยกเข้ามาทางเรือ จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา
            ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ได้สร้างป้อมเรียงรายอยู่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นด่านรักษาการอยู่นอกกรุงเทพ ฯ  ตั้งแต่เมืองพระประแดง ไปจนถึงปากน้ำเมืองสมุทรปราการรวม ๒๑ ป้อม  โดยมีลำดับการสร้างดังนี้
                ป้อมวิทยาคม    สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕  อยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                ป้อมที่เมืองนครเขื่อนขันธ์   สร้างขึ้นห้าป้อม ในปี พ.ศ.๒๓๕๗  คือ   ป้อมแผลงไฟฟ้า   ป้อมมหาสังหาร  ป้อมศัตรูพินาศ  ป้อมจักรกรด  ป้อมพระจันทร์ พระอาทิตย์
                ทางด้านฝั่งตะวันออกต่อป้อมวิทยาคม ได้สร้างอีกสามป้อมคือ  ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย ป้อมปีศาจสิง ป้อมราหูจร  รวมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยามีสี่ป้อม ชักปีกกาถึงกัน
                ป้อมที่เมืองสมุทรปราการ  ในปี พ.ศ.๒๓๖๒  ได้สร้างป้อมทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาอีกสี่ป้อม คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก  ป้อมปราการ และป้อมกายสิทธิ์ ทุกป้อมชักปีกกาถึงกัน ให้สร้างตึกดินไว้เก็บเครื่องศาสตราวุธ  และสร้างฉางไว้เก็บเสบียงอาหาร
                ในปี พ.ศ.๒๓๗๑  สร้างป้อมทางฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาต่อจากป้อมประโคมชัยคือ ป้อมปีกกา และป้อมตรีเพชร
                ในปี พ.ศ.๒๓๗๗   สร้างป้อมคงกระพัน ที่บางปลากด
                ปี พ.ศ.๒๓๘๘  ให้เสริมป้อมมหาสังหาร และป้อมเพชรหึง ที่พระประแดง  สร้างปีกกาหน้าเมืองอีกสองสายเรียกว่า ปีกกาวงเดือน  ส่วนที่เมืองสมุทรปราการ สร้างปีกกาพันสมุทร  ต่อไปจากป้อมนาคราช
                ปี พ.ศ.๒๓๙๑  สร้างป้อมเสือซ่อนเล็บ  ที่ตำบลมหาวงษ์ เพื่อเป็นที่บัญชาการของแม่ทัพ
                ปี พ.ศ.๒๔๓๖  สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ฯ ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า
                ปัจจุบันป้อมเหล่านี้หมดความจำเป็นที่จะใช้งาน จึงถูกรื้อถอนออกไป และถูกราษฎรบุกรุกจึงเหลืออยู่เพียงบางป้อมเท่านั้น

                ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย   สร้างในรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา  ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลพระประแดง  ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง ลักษณะเป็นป้อมสองชั้น แนวกำแพงป้อมสูง หลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีบันไดขึ้นสู่ลานป้อมชั้นบน ตรงกลางเป็นเรือนโรง ห้องพักทหารซึ่งสร้างต่อเติมใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

                ป้อมแผลงไฟฟ้า   สร้างในรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   หน้าป้อมจะมีโซ่เหล็กอยู่ใต้น้ำ ลูกทุ่นสายโซ่ สร้างไว้เพื่อดักเรือข้าศึก

                ป้อมผีเสื้อสมุทร   สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๒  ตั้งอยู่บนเกาะผีเสื้อสมุทร เป็นป้อมสองชั้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๖๘  ได้รื้อป้อมชั้นบนออกเหลือเพียงชั้นเดียว แล้วสร้างเป็นปีกกาขยายออกไปทั้งสองข้าง ตัวป้อมลักษณะเหมือนผีเสื้อ ใช้ทางด้านหางของผีเสื้อเป็นช่องทางเข้า  ภายในมีโรงเรือนที่พักทหาร เรียงรายอยู่หลายหลัง  ตัวป้อมหันหน้าออกอ่าวไทย  มีปืนเสือหมอบ เป็นปืนใหญ่ประจำป้อมชนิดปืนหลุม สั่งซื้อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีอยู่สามกระบอก
                เมื่อครั้งวิกฤตกาล ร.ศ.๑๑๒   ตัวป้อมถูกปืนเรือฝรั่งเศสยิง แต่ไม่ได้รับความเสียหายมากนัก พลประจำป้อมถูกยิงบาดเจ็บหกนาย
                ในปี พ.ศ.๒๔๘๐  ได้ใช้เกาะนี้เป็นคลังเก็บทุ่นระเบิด ที่ซื้อจากเดนมาร์ก

                ป้อมนาคราช   สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้มีการสร้างปีกกาพับสมุทร ต่อออกไปอีก

                ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฯ  ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในตำบลแหลมฟ้าผ่า  อำเภอพระสมุทรเจดีย์ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๓๖  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ  สร้างโดยเงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ อีกจำนวน ๑๐,๐๐๐ ชั่ง  จากพระคลังข้างที่  ในพื้นที่ ๗,๐๐๐ ไร่  ให้เป็นป้อมที่ทันสมัยที่สุด ตามแบบป้อมของประเทศตะวันตก  เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๗  ติดตั้งปืนใหญ่อาร์มสตรอง ขนาดกว้างปากลำกล้อง ๖ นิ้ว  จำนวนเจ็ดกระบอก อยู่ในหลุมปืน  จัดเป็นปืนใหญ่บรรจุท้ายชุดแรก ที่กองทัพเรือไทยเป็นเจ้าของ ปืนแต่ละกระบอกหนัก ๑๑,๓๔๐ ปอนด์  กระสุนหนักนัดละเกือบ ๕๐ ปอนด์  ระยะยิงไกลสุด  ๘,๐๔๒ เมตร

                ปืนชนิดนี้เมื่อจะทำการยิงต้องใช้แรงน้ำมันอัดยกปืน ให้โผล่พื้นหลุม เมื่อยิงกระสุนนัดแรกออกไปแล้ว ปืนจะลดตัวลงมาอยู่ในหลุมตามเดิม จึงเรียกว่า ปืนเสือหมอบ

                หน้าประตูป้อม มีแผ่นศิลาจารึก เขียนบอกพระราชปณิธานความจำเป็นของการสร้างป้อม ในป้อมด้านบนมีรางเหล็กค้ำยันแนวกำแพงด้านหลังกับเนินดิน  ที่เป็นหลุมปืน มีทางเดินถึงกันระหว่างบริเวณที่เป็นหลุมปืน ใช้ไฟฟ้าให้แสงสว่าง มีห้องพักทหาร มีห้องเก็บกระสุนดินดำ ท่อระบายน้ำ เจาะปรับระดับน้ำสำหรับระบายน้ำ เวลาน้ำขึ้นน้ำลง
                ในปี ร.ศ.๑๑๒   เรือรบฝรั่งเศสสองลำได้แล่นล่วงล้ำเข้ามา ฝ่ายไทยเตือนให้หยุดแต่ไม่เชื่อ ทหารเรือที่ป้อมพระจุล ฯ จึงยิงถูกเรือนำร่องทะลุ ต้องแล่นไปเกยตื้นที่แหลมลำพูราย

            เมืองโบราณแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์   ตั้งอยู่ที่บางปู เป็นแหล่งที่มีผู้คิดรวมโบราณสถาน โบราณวัตถุ มาไว้ในพื้นที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่  รูปร่างของพื้นที่คล้ายรูปร่างของประเทศไทย  มีจำนวนสถานที่ให้ชมถึง ๑๐๘ แห่ง  ตัวโบราณสถานเป็นของจำลอง หลายแห่งมีโบราณวัตถุที่เป็นของจริงมาแสดงให้ชม
            สิ่งสำคัญของเมืองโบราณมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พระแท่นที่ประทับ ศาลาหน้าเมือง ประตูเมือง เจดีย์พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช เทวรูปปัลลวะ ตลาดโบราณ ช่างสิบหมู่ ตำหนักพระเจ้าเสือ หอพระไตรปิฎก และหอระฆัง ท้องพระโรงกรุงธนบุรี พระที่นี่งดุสิตมหาปราสาท วิหารวัดภูมินทร์ ตึกแดง ปราสาทหินเขาพระวิหาร วิหารล้านช้าง พระธาตุพนม พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท หอคำ เรือนทับขวัญ คุ้มขุนแผน ปรางค์ทรงมะเฟือง พระที่นั่งคำหยาด มณฑปพระพุทธบาท สระบุรี  พระปรางค์สามยอด วิหารวัดโพธิเก้าต้น พระธาตุสามหมื่น ปรางค์วัดจุฬามณี ป้อมเมืองกำแพงเพชร  เจดีย์ยอดทรงดอกบัว เนินปราสาท วิหารหลวงวัดมหาธาตุ สุโขทัย  พระมหาธาตุสุโขทัย หอคำ เจดีย์จามเทวีวงศ์  วัดจองคำ เจดีย์เจ็ดยอด วิหารเชียงของ พระธาตุจอมกิติ พระเจดีย์ศรีสองรักษ์  มณฑปพระพุทธบาทยืน พระธาตุบังพวน  พระธาตุนารายณ์เจงแวง หอนางอุษา พระธาตุยาคู ปราสาทหินหนองกู่ ปรางค์ศรีเทพ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทศรีขรภูมิ เพนียดคล้องช้าง ปราสาทหินสต็อกก็อกธม เสาชิงช้า โบสถ์พราหมณ์  ฯลฯ
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์