ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น

การตั้งถิ่นฐาน
           พื้นที่จังหวัดสมุทรสาครจัดอยู่ในบริเวณที่ราบเจ้าพระยาตอนล่าง มีชายฝั่งติดกับอ่าวไทยเป็นที่ราบลุ่มต่ำ ในอดีตบริเวณนี้เป็นก้นอ่าวไทยมาก่อน เมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชายฝั่งทะเลด้านทิศเหนืออยู่ถึงลพบุรี ด้านทิศตะวันออกถึงสระบุรี นครนายก และปราจีนบุรี ด้านตะวันตกถึงสุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี  เมืองชายฝั่งดังกล่าวนี้เก่าแก่ถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคทวารวดี มีเมืองต่าง ๆ เป็นเมืองท่าริมทะเลติดต่อค้าขายทางทะเล
           ต่อมาหลายพันปี แผ่นดินที่เคยอยู่ติดทะเลเคยเป็นเมืองท่าก็กลายเป็นเมืองดอน เมืองที่เกิดใหม่ ที่อยู่ติดทะเลมีความสำคัญขึ้นมาแทน หนึ่งในเมืองดังกล่าวคือ เมืองท่าจีน
           การทำมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ชาวจีนผู้มากับเรือสำเภา ซึ่งเป็นชายได้มามีครอบครัวกับหญิงชาวพื้นเมือง และกลายเป็นประชากรของเมืองท่าจีนไปในที่สุด
           นอกจากคนไทยพื้นเมือง และคนจีนดังกล่าวแล้ว ยังมีเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้แก่ ชาวมอญ เข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอีก เช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเอาครัวมอญในเจ้าพระยามหาโยธา ไปตั้งทำมาหากินอยู่ที่เมืองสาครบุรี
ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
           ชื่อเมืองท่าจีนพบครั้งแรกในหนังสือกฎหมายตราสามดวง เรื่องพระไอยการตำแหน่งทหารหัวเมือง มีความว่า พระสมุทรสาคร เมืองท่าจีน เป็นเมืองจัตวาขึ้นกับกระลาโหม เจ้าเมืองถือศักดินา ๓,๐๐๐ ปลัดถือศักดินา ๖๐๐ ยุกระบัดถือศักดินา ๕๐๐ เจ้าเมืองท่าจีน มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสมุทรสาคร เป็นเมืองจัตวาขึ้นกับกระลาโหม  ซึ่งบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้
           ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์  ได้กล่าวถึงชื่อท่าจีน ในพระราชพงศาวดารตอนหนึ่งว่า "ให้บ้านท่าจีน ตั้งเป็นเมืองสาครบุรี ให้เอาบ้านตลาดขวัญตั้งเป็นเมืองนนทบุรี ให้แบ่งเอาแขขวงเมืองราชบุรี แขวงเมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองนครชัยศรี"
           ชื่อเมืองท่าจีน ได้ปรากฎในแผนที่ซึ่งชาวฝรั่งเศสได้จัดทำขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๒๓๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารยณ์ ฯ เป็นต้นมา จากจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ ซึ่งเดินทางมากับคณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศส ได้บันทึกเมื่อล่องเรือผ่านท่าจีนไปชายแดนตะวันตก เดินทางบกไปตะนาวศรี ได้กล่าววถึงเมืองท่าจีน ในปี พ.ศ.๒๒๓๐ ว่า
               "เมืองท่าจีนเป็นเมืองใหญ่ไกลจากบางกอก หนทางประมาณ ๘ ไมล์ และเป็นเมืองที่ขึ้นกับราชบุรี ตั้งอยู่ริมลำน้ำเป็นแม่น้ำที่งดงามน่าดูมาก แม่น้ำนี้เป็นแม่น้ำลึก เรือขนาดมีระวางเพียง ๑๐๐ ตันขึ้นล่องได้สะดวก ในเวลาที่ข้าพเจ้าได้ไปถึงท่าจีน มีเรือสำเภาจีน ขนาด ๑๐๐ ตัน และเรือแขกมลายูจอดอยู่ในแม่น้ำหลายลำ เจ้าพนักงานได้จัดให้ข้าพเจ้าขึ้นพักบนเรือน ซึ่งได้ปลูกขึ้นโดยเฉพาะสำหรับข้าพเจ้า .....ที่เมืองนี้มีป้อมเล็ก ๆ อยู่หนึ่งป้อม ก่อด้วยอิฐ กำแพงป้อมนั้นสูงประมาณ ๑๐ ฟิต แต่หามีคูหรือชานป้อมไม่มี แต่หอรบซึ่งปืนขนาดเล็ก และปืนทองเหลืองด้วย เมื่อข้าพเจ้ามาถึงปืนเหล่านี้ก็ได้ยิงรับข้าพเจ้า ในที่นี้ลำน้ำสำหรับรับประทานเป็นน้ำดีมาก
           จะเห็นได้ว่าท่าจีนเป็นที่เรือสำเภาจีนและเรือแขกมลายูเดินทางเข้ามาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยนำสินค้าจากต่างประเทศเข้าและนำออกสินค้าป่า สินค้าเกษตรในบางช่วงระยะจะมีสินค้าอุตสาหกรรม (เครื่องดินเผา) ส่งออกด้วย  ปัจจุบันได้ขุดพบซากเรือโบราณหลายแหล่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้ขุดพบซากเรือสำเภาขนาดกว้าง ประมาณ ๔ เมตร ยาง ๒๒ เมตร ที่ตำบลบางโทวัด ซึ่งอยู่ชายฝั่งทะเลเลยตำบลท่าจีนไปทางตะวันตก นักโบราณคดีให้ความเห็นว่าเป็นเรือสำเภาสมัยอยุธยา มีอายุประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ ปี มาแล้ว และมีเส้นทางค้าสำเภากับเมืองสุพรรณบุรี ต้องผ่านท่าจีน ที่ปรากฎในบันทึกนักเดินทางชาวจีนว่าซินเหมินไล้
               - ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)  เสด็จประพาสปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๒๔๗ ด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัย ล่องลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาถึงบางกอก พ้นคลองลัดบางกอก เข้าคลองบางกอกใหญ่ (แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม) ออกคลองด่าน คลองสนามชัยถึงคลองโคกขาม พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
               "ครั้นเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขามและคลองที่นั่นคดเคี้ยวนัก พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งคัดแก้มิทัน และศีรษะเรือพระที่นั่ง โดนกระทบกิ่งไม้อันใหญ่เข้าก็หักลงในน้ำ พันท้ายนรสิงห์เห็นดังนั้นก็ตกใจจึงโดดขึ้นเสียจากเรือพระที่นั่งขึ้นอยู่บนฝั่ง แล้วกราบทูลว่า "พระราชอาญาเป็นล้นเกล้า ฯ ขอจงพระกรุณาโปรดให้ทำที่นี้สูงประมาณเพียงตา แล้วจงตัดเอาศีรษะข้าพระพุทธเจ้ากับศีรษะเรือพระที่นั่ง ซึ่งหักตกลงน้ำไปนั้นขึ้นบวงสรวงไว้ด้วยกันที่นี้"
               สมเด็จพระเจ้าเสือมีพระราชดำริว่า คลองโคกขามนั้นคดเคี้ยวนักคนทั้งปวงจะเดินเรือเข้าออกยาก ต้องอ้อมวงไปไกลกันดารนัก ควรให้ขุดคลองลัดเสียให้ตรงจึงจะซอย.... แล้วมีพระราชโองการตรัสสั่งสมุหนายกให้เกณฑ์เลกหัวเมืองใด้ ๓๐,๐๐๐ ไปขุดคลองโคกขาม และให้ขุดลัดให้ตรงคตลอดไป โดยลึกหกศอก ปากคลองกว้างแปดวา พื้นคลองกว้างห้าวา และให้พระราชสงครามเป็นแม่กองคุมพลหัวเมืองทั้งปวงขุดคลองจงแล้ววสำเร็จดุจพระราชกำหนด
               แม้จะเกณฑ์กำลังคนถึง ๓๐,๐๐๐ คน จากเมืองนนทบุรี เมืองราชบุรี และเมืองสมุทรปราการ เริ่มขุดในปี พ.ศ๒๒๔๘ จนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ในปี พ.ศ.๒๒๕๑ ก็ยังงไม่เสร็จ การจึงค้างมา
               - ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๖๔ เสด็จประพาสปากอ่าวสาครบุรี เห็นคลองนั้นขุดยังไม่แล้วเสร็จค้างอยู่ จึงตรัสสั่งให้พระราชสงครามเป็นนายกอง ให้เกณฑ์คนหัวเมืองปากใต้แปดหัวเมือง ได้คนสามหมื่นเศษสี่หมื่นไปขุดคลองมหาไชย จึงให้ฝรั่งเศสส่องกล้องแก้ว ดูให้ตรงปากคลอง ปักกรุยเป็นสำคัญทางไกล ๓๔๐ เส้น คลองมหาชัยขุดเชื่อมคลองด่านขุดตรงเป็นแนว ตั้งแต่หน้าวัดแสมดำ เขตบางขุนเทียน ไปบรรจบแม่น้ำท่าจีน ที่บริเวณหน้าศาลหลักเมืองในปัจจุบัน ใช้เวลาขุดเพียงสองเดือนเศษก็แล้วเสร็จ
               - ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คลองมหาชัยและเมืองสาครบุรี เป็นเส้นทางเดินทัพ คราวรบพม่าที่บางกุ้ง ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ไทยได้ยกกำลังจากกรุงธนบุรี ไปโดยทางชลมารค หยุดประทับ ณ เมืองสาครบุรี คอยน้ำขึ้นแล้วเสด็จไปถึงด่านมั่นเมืองราชบุรี
               - ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ครั้งสงครามเก้าทัพ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระองค์ได้ทรงยกทัพหลวงจัดขบวนเรือ ผ่านคลองมหาชัย และผ่านสาครบุรี ไปยังคลองสุนัขไน ไปแม่กลอง
               เมื่อบ้านเมืองสงบได้มีการแบ่งการปกครองควบคุมหัวเมือง ให้สมุทรสาครขึ้นกับกรมท่า
               - ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  มีศึกพม่ามาตีหัววเมืองปักษ์ใต้ พระองค์ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เสด็จไไปราชการสงคราม การเดินทัพได้ผ่านเขตเมืองสมุทรสาคร  เริ่มตั้งแต่โคกขาม มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง สามสิบสองคุ้ง คลองย่านซื่อ
               ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) เป็นแม่งานสร้างป้อมที่ปากคลองมหาชัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๑ ชื่อป้อมวิเชียรโชฎก เป็นค่าแรงจีนถือปูน เงิน ๔๗ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง
               เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๖ สังฆราชปาลเลกัวซ์ สังฆนายกคณะมิซซังโรมันคาทอลิก เจ้าคณะเขตประจำประเทศสยามได้กล่าวถึงป้อมและสภาพของเมืองสมุทรสาครว่า ได้มาถึงลำคลองใหญ่แห่งหนึ่งเป็นคลองขุด มีแนวตรงนำไปสู่มหาชัยและท่าจีน มหาชัยเป็นเมืองเล็ก ๆ มีป้อมตั้งอยู่ที่ปากคลองกับแม่น้ำบรรจบกัน ท่าจีนเป็นเมืองสวยงาม มีพลเมือง ๕,๐๐๐ คน ส่วนมากเป็นชาวประมงและพ่อค้า มีสำเภาจีนไปมาติดต่ออยู่เสมอมิได้ขาด
               - ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดเกล้า ฯ ให้แปลงนามเมืองจากสาครบุรีเป็นสมุทรสาคร และโปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองภาษีเจริญ ในปี พ.ศ.๒๔๐๙ คลลองดำเนินสะดวก ในปี พ.ศ.๒๔๑๑ โดยให้พระภาษีเจริญ  ซึ่งเป็นเจ้าภาษีฝิ่นเอาเงินภาษีฝิ่นขุดคลอง ตั้งแต่คลองบางกอกใหญ่ริมวัดปากน้ำไปตกแม่น้ำเมืองนครไชยศรี ยาว ๒๖๐ เส้น กว้าง ๗ วา ลึก ๗ ศอก เป็นค่าจ้างขุดคลองและตอไม้รวมเป็นเงิน ๑,๔๐๐ ชั่ง
               สำหรับคลองดำเนินสะดวกนั้น ให้สมุหกลาโหมไปเปิดคลองขุดใหม่ที่บางนกแขวก โดยขุดตั้งแต่แม่น้ำบางยาง เมืองนครไชยศรี ฝั่งตะวันออกไปตกคลองบางนกแขวก แขวงแมืองราชบุรี ยาว ๘๔๐ เส้น กว้าง ๖ วา ลึก ๖ ศอก รวมค่าจ้างขุด ค่าตอไม้ ๑,๔๐๐ ชั่ง คลองดำเนินสะดวกผ่านอำเภอบ้านแพ้ว
เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์
           กบฎจีนตั้วเฮีย  ชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็นสมาคมลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ในหมู่คณะของตน การรวมกลุ่มจะรวมกันตามภาษาท้องถิ่นของตน เช่นกลุ่มภาษาแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง ไหลหลำ ฯลฯ แต่ละสมาคมจะดำเนินการโดยเอกเทศ ยกเว้นกรณีที่เป็นจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน สมาคมลับของจีนมีชื่อเรียกตามจดหมายเหตุของไทยว่า ตั้วเฮีย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนเรียกว่า อั้งยี่ ซึ่งแปลว่า หนังสือแดง และเป็นชื่อเรียกของสมาคมลับของชาวจีนกลุ่มหนึ่ง
           จีนตั้วเฮียเหล่านี้เป็นแรงงานสำคัญในโรงงานต่าง ๆ เช่น โรงสี โรงเลื่อย โรงน้ำตาล ในเขตหัวเมืองชายทะเลตะวันออกลุ่มแม่น้ำท่าจีน และลุ่มแม่น้ำแม่กลอง บางครั้งสมาคมลับของชาวจีนเหล่านี้เกิดวิวาทกันใช้กำลังต่อสู้กันมีความรุนแรง จนเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต้องเข้าไปปราบปราม นอกจากนั้นสมาคมลับเหล่านี้ยังลักลอบประกอบอาชีพทุจริตผิดกฎหมาย เช่นค้าฝิ่นเถื่อน สุราเถื่อน ลักตัวไปเรียกค่าไถ่เป็นโจรสลัด
           เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๐ เกิดกบฎจีนตั้วเฮียขึ้นที่เมืองสมุทรสาคร เรื่องเดิมมีว่า พระยาพหลพลเทพ ใช้ให้จมื่นทิพเสนา (เอี่ยม) ออกไปจับฝิ่นอ้ายจีนเผี่ยวที่ลัดกรูด แขวงเมืองสาครบุรี จีนเผี่ยวต่อสู้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ พระยาพระคลังจัดข้าหลวงออกไปจับอ้ายจีนเผี่ยว เจ้าพระยาพระคลังจัดให้จมื่นราชมาตย์คุมคนออกไป จมื่นราชมาตย์กราบเรียนว่า เหตุเกิดจากพระยามหาเทพก็ควรให้พระยามหาเทพไปเอง พระยามหาเทพก็รับอาสาออกไป และขอพระยาสวัสดิวารีออกไปด้วย ยกไปครั้งนั้นประมาณ ๓๐๐ คน แล้วเกณฑ์คนเมืองสาครบุรี และราษฎรชาวบ้านไปช่วยอีกได้คนประมาณ ๕๐๐ - ๖๐๐ คน พระยามหาเทพถูกปืนจากฝ่ายจีนเผี่ยวก็พากันกลับหมด เมื่อมาถึงเมืองสาครบุรีไม่ได้สั่งให้ผู้ใดอยู่รักษาเมือง กลับเข้ากรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังคุมตำรวจในพระยามหาเทพ และกองรามัญ ออกไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองสาครบุรี ให้เรือถือหนังสือไปถึงผู้รักษาเมืองสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี ให้ตีสกัดลงมา อ้ายจีนเผี่ยวไม่คิดสู้รบหนีไปบ้านโพธิหักจะไปออกด้านเจ้าคว่าว แดนอังกฤษ พระยาสมุทรสงครามยกล่วงมาพบอ้ายจีนเผี่ยวที่บ้านโพธิหัก ได้สู้รบกัน ฆ่าพวกอ้ายจีนเผี่ยวตายประมาณ ๑๐๐ คน ที่เหลือตายก็หนีไปทางบางนกแขวก แขวงเมืองราชบุรี พวกลาว เขมร กรมการเมืองราชบุรี ก็ไล่ฆ่าฟันพวกอ้ายจีนเผี่ยวตายสิ้น ประมาณ ๓๐๐ คน จับได้อ้ายจีนเผี่ยวตั้วเฮีย อ้ายจีนกายี่เฮีย นำเข้ามากรุงเทพ ฯ
           ต่อมารัฐบาลได้ใช้มาตรการสควบคุมชาวจีนเหล่านี้โดยตั้งเป็น กรมการจีน ทำงานในบังคับบัญชาของเจ้าเมือง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๐ ได้มีการตราพระราชบัญญัติอั้งยี่ขึ้น ห้ามชาวจีนตั้งสมาคมลับอีก

          ท่าฉลอมสุขาภิบาลแห่งแรกในภูมิภาค  ท่าฉลอมเป็นตำบลหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ปากอ่าวที่แม่น้ำท่าจีนไหลลงสู่ทะเล ในอดีตท่าฉลอมเป็นตำบลที่มีความเจริญที่สุดของจังหวัดสมุทรสาคร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ ท่าฉลอมแบ่งการปกครองเป็นสามหมู่คือ หัวบ้าน กลางตลาด และต่อจากกลางตลาด
           เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จผ่านสมุทรสาคร ทรงได้เห็นความสกปรกของตลาดท่าจีนท่าฉลอม แล้วทรงนำไปปรารภในที่ประชุมเสนาบดี เปรียบเทียบเมืองนครเขื่อนขัณฑ์ ว่า สกปรกเหมือนกับตลาดท่าจีน จึงได้มีการจัดทำถนนตั้งแต่หัวบ้านจรดท้ายบ้าน ยาว ๑๑ เส้น ๑๔ วา ๒ ศอก โดยปูอิฐทั้งหมด แล้วได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดแล้วเสนอนโยบายก้าวหน้า เพื่อรักษาสภาพความสะอาดเรียบร้อยให้คงอยู่ตลอดไป
           ในโอกาสนี้ได้ประกาศพระบรมราชโองการให้จัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม มีผลบังคับในปี พ.ศ.๒๔๔๙ การบริหารสุขาภิบาลท่าฉลอมนั้น ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกที่แต่งตั้งอีกรวม ๗ คน ผู้ว่าราชการเมืองทำหน้าที่ตรวจตรา และให้ข้อแนะนำตามที่เห็นสมควร

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์