ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางพระพุทธศาสนา

ศาสนาสถานและศาสนวัตถุ

           วัดโกรกกราก  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลโกรกกราก อำเภอเมือง ฯ สันนิษฐานว่า สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ชื่อวัดเรียกตามเสียงเครื่องมือปั่นด้าย เพื่อนำมาทำอวนซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ เนื่องจากเป็นชุมชนที่ประกอบอาชีพประมงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
               - อุโบสถ  เป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีชายคาปีกนกคลุมโดยรอบทั่งสี่ด้าน รองรับโครงหลังคาด้วยเสาไม้กลม ช่อฟ้าใบระกาเป็นไม้ประดับกระจก หน้าบันเรียบ มีประตูเข้าออกด้านหน้าและด้านหลังด้านละสองบาน หน้าต่างด้านละห้าบาน
           ภายในอุโบสถมีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปิดทองทึบไม่สามารถมองเห็นภายในได้ ปัจจุบันสภาพอุโบสถชำรุด และเกรงว่าระดับน้ำทะเลจะท่วมพื้นอุโบสถ จึงได้ยกพื้นให้สูงขึ้น และปรับแต่งผนังอุโบสถใหม่ แต่คงรักษาสภาพเดิมไว้
               - เจดีย์ราย  ตั้งอยู่ใกล้อุโบสถมีอยู่สององค์ ด้านอุโบสถเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม มีกำแพงแก้วขนาดเล็กล้อมรอบ เจดีย์องค์หนึ่งเป็นพระปรางค์ขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูน

           วัดโคกขาม  ตั้งอยู่ริมคลองโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง เป็นวัดที่มีความนสำคัญวัดหนึ่งสร้างสมัยอยุธยา สันนิษฐานว่า พระยารามเดโชผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหัวเมืองเอกในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา ต่อมาพระยาเดโชแข็งเมือง สมเด็จพระเพทราชาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาสุรสงครามและพระยาราชวังสันนำทัพมาปราบ พระยารามเดโชสู้ไม่ได้จึงหลบหนีมาที่บ้านโคกขาม เมืองสาครบุรี ได้บวชเป็นพระภิกษุพร้อมกับได้สร้างวัดโคกขามขึ้น
               - อุโบสถหลังเก่า  ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๗.๕ เมตร หน้าบันเป็นไม้แกะสลักสวยงาม ลักษณะอุโบสถเป็นแบบมหาอุด มีประตูเข้าออกทางเดียว
               - พระเจดีย์  ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ลักษณะศิลปกรรมสมัยอยุธยา

               - หลวงพ่อสัมฤทธิ์  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิเพชร มีพุทธลักษณะงดงามที่ฐานองค์พระมีจารึก มีความว่า พระพุทธสิหิงค์องค์นี้องค์นี้เป็นทอง ๓๗ ชั่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๒ โดยพระยาเมชัย
               - บุษบก  ตั้งอยู่ในศาลาการเปรียญ เป็นธรรมมาสน์ที่สร้างลักษณะเป็นเรือพระที่นั่งบุษบก สูงสองศอก ฐานสูงหนึ่งศอก ที่ประทับกว้างสองศอก กลางเพดานมีลายประดับมุกกรอบบัวมีลายไม้งดงามมาก หลังคาบุษบกทำเป็นชั้นลดยอดเป็นลูกแก้วกลม ถัดลูกแก้วกลมลงมามีชั้นลดสี่ชั้น มุมตามชั้นลดมีพญานาคชูเศียร ฝีมือแกะงดงามมาก สันนิษฐานว่าสมเด็จพระเจ้าเสือ พระราชทานบุษบกถวายไว้ด้วยทรงอาลัยในพันท้ายนรสิงห์

           วัดนางสาว  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยอยุธยาตอนปลายเกิดสงครามกับพม่า พม่าได้ยกกองทัพมาถึงบ้านบางท่าไม้ เขตกระทุ่มแบน พวกผู้ชายออกไปรบป้องกันข้าศึก เหลือเฉพาะผู้หญิงและเด็กรวมทั้งคนชรา ทั้งหมดได้หลบหนีข้าศึกในระหว่างทางได้พบกับกองลาดตะเวนของพม่า จึงพากันเข้าไปหลบอยู่ในโบสถ์ร้างแห่งหนึ่ง ในจำนวนนี้ได้มีพี่น้องสองสาวคู่หนึ่ง ได้อธิษฐานกับพระประธานว่า ถ้าสามารถรอดพ้นจากข้าศึกได้ จะกลับมาบูรณะซ่อมแซม หลังจากเหตุการณ์สงบพี่น้องสองคนได้กลับมาที่วัดนี้ พี่สาวจึงได้สร้างวัดขึ่นใหม่คือ วัดกกเตย ส่วนน้องสาวได้บูรณะวัดจนเสร็จและตั้งชื่อว่า วัดพรหมจารีย์ราม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดน้องสาว ปัจจุบันชาวบ้านเรียกวัดนางสาว
               - อุโบสถ  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก หลังคาเครื่องไม้ ด้านหน้ามีพาไลยื่นออกมาหนึ่งห้อง มีเสาสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาสี่ต้น ช่อฟ้าใบระกาเป็นปูนปั้นประดับกระจก มีประตูเข้าออกด้านเพียงประตูเดียว ไม่มีหน้าต่างนิยมเรียกอุโบสถลักษณะนี้ว่า โบสถ์มหาอุด ปัจจุบันได้มีการบูรณะใหม่ โดยปูพื้นหินอ่อนภายใน
               - เจดีย์  ตั้งอยู่ด้านหน้าศาลาการเปรียญเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ย่อมุมไม้สิบสอง ฐานเจดีย์เป็นฐานสิงห์ซ้อนกันสามชั้น มีบัลลังค์รองรับปากระฆัง ตกแต่งด้วยลวดลายดอกไม้และพวงอุบะ ส่วยยอดเป็นบัวกลุ่มเถาและปลียอด มีอายุประมาณสมัยอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทรตอนต้น
               - ใบเสมา  ใบเสมาอุโบสถเป็นใบเสมาคู่ทำมาจากหินทรายแดง ยกสูงจากพื้น ไม่มีซุ้ม
           ปัจจุบันวัดนางสาวได้รับการจัดให้เป็นอุทยานการศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร

           วัดบางปลา  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ที่บ้านบางปลา ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง ฯ สันนิษฐานว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสต้นมาแวะที่วัดนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗
               - อุโบสถหลังเก่า  เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้ มุงกระเบื้องว่าวดินเผา ลดสองชั้น ด้านหน้าและด้านหลังมีมุขลดด้านละหนึ่งห้อง มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาโดยรอบ ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันปูนปั้นลายดอกไม้ ประดับเครื่องถ้วยลายครามแบบจีน ส่วนล่างเป็นรูปมังกรสองตัว หันหน้าเข้าหากัน ลวดลายส่วนใหญ่ชำรุด มีประตูด้านหน้าและด้านหลังด้านละสองบาน หน้าต่างด้านละห้าบาน ซุ้มประตูหน้าต่างตกแต่งด้วยลายปูนปั้นเป็นซุ้มโค้ง ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย นอกโบสถ์มีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนเตี้ย ๆ ล้อมรอบ

               - ศาลาท่าน้ำ  มีสี่หลังมีทางเดินลงสู่ท่าน้ำ หลังแรกเป็นศาลาไม้แปดเหลี่ยม หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีมุขยื่น หน้าบันของมุขประดับด้วยไม้ฉลุ ยกพื้นสำหรับเป็นที่นั่งสองด้าน ตรงกลางเป็นทางเดินโล่ง
           ศาลาอีกสามหลัง มีลักษณะคล้ายกันคือ เป็นอาคารไม้ทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องมีช่อฟ้า ใบระกา ผนังโล่งด้านข้างทั้งสองยกพื้นเป็นที่นั่งบางช่วง ตอนกลางเป็นทางเดินโล่ง
           ทางเดินลงสู่ท่าน้ำหรือฉนวนท่าน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า ศาลาคร่อมถนน มีลักษณะเป็นอาคารไม้ยาวสร้างต่อจากศาลาท่าน้ ลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องมีบราลี และเชิงชายเป็นไม้ฉลุประดับ หน้าบันเป็นรูปสมอเรือบางอันมีจารึกเป็นภาษาบาลี ส่วนล่างเปิดโล่งยาวไปตามแนวถนนถึงหมู่กุฎิสงฆ์
           ศาลาคร่อมถนนสร้างเพื่อรับเสด็จ ฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
               - ธรรมมาสน์  เป็นธรรมมาสน์ไม้ ทรงมณฑปแกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก มีฐานตกแต่งด้วยลายมังกร หันหน้าเข้าหากัน ตรงกลางมีลูกแก้วสีแดงขนาดใหญ่
               - หอระฆัง  เป็นอาคารไม้ขนาดเล็กทรงสูง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง คล้ายหลังคาป้อมมีเม็ดลูกแก้วอยู่ด้านบน ด้านล่างโปร่ง มีพื้นไม้กระดานสำหรับยืนตีระฆัง
               - เจดีย์ราย  ตั้งอยู่มุมกำแพงแก้วอุโบสถ และทั่วไปในบริเวณวัด ฐานเจดีย์เป็นฐานหน้ากระดาน องค์ระฆังกลมมีบัวหงายรองรับ ส่วนยอดเป็นบัลลังค์ทรงสี่เหลี่ยมและเสาหานรองรับปล้องไฉน นอกนั้นยังพบเจดีย์ก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้สิบสอง มีอายุอยู่ประมาณต้นรัตนโกสินทร์

           วัดสุทธิวาตววราราม (วัดช่องลม)  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน  มีแม่น้ำไหลผ่านอ้อมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อยู่ในเขตตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง ฯ เป็นพระอารามหลวงสามัญชั้นตรี เดิมเรียกว่า วัดท้ายบ้าน ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดช่องลม เนื่องจากตั้งอยู่ตรงปากอ่าว
           วัดช่องลม  ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ และได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. มาประดิษฐานไว้บนหน้าบันพระอุโบสถ นับเป็นพระอุโบสถหลังแรกของจังหวัดที่ได้รับพระราชทาน
           พระประธานในพระอุโบสถมีนามว่า หลวงปู่แดง สร้างด้วยศิลาแดง ได้อัญเชิญมาจากวัดช่องสะเดา ตำบลท่าทราย ปัจจุบันวัดดังกล่าวได้ร้างไปแล้ว
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกช่อฟ้า และถวายผ้าพรกฐินต้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ และได้เสด็จ ฯ มาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สร้างและประดิษฐานภายในบริเวณวัดนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙

           วัดตึกมหาชยาราม  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีนในเขตตำบลมหาชัย อำเภอเมือง ฯ ประกาศตั้งเป็นวัด เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๐ ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ (สมเด็จพระเจ้าเสือ) เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดคงคาราม ต่อมามีนายอากรชาวจีนผู้หนึ่งอพยพครอบครัวมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม ได้เดินทางเรือ มาอาศัยอยู่บริเวณในบริเวณวัดแห่งนี้ เกิดนิมตรว่า พระประธานในอุโบสถแนะให้ไปตั้งถิ่นฐานแถบแม่น้ำเมืองสมุทรปราการ ครั้นไปอยู่ตามนิมิตรปรากฎว่า ต่อมาร่ำรวยมากขึ้นจึงได้มาทำนุบำรุงวัดนี้ โดยสร้างกุฎิศิลปแบบจีนสองหลัง วิหารหนึ่งหลังกับศาลาเป็นตึกหนึ่งหลัง ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดตึก
               - อุโบสถ  เป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผาลดชั้นสองชั้น ด้านหน้าและหลังมีมุขลดด้านละสองห้อง ชายคาเป็นแบบปีกนก เสาที่รองรับโครงหลังคาเป็นเสากลม ช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้ประดับกระจก หน้าบันลายปูนปั้น ฝาผนังไม้ทาสีขาว มีประตูทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บานประตูแกะสลักลายกนกเปลว ทาสีทอง มีหน้าต่างด้านละหกบาน ซุ้มเสมารอบอุโบสถเป็นรูปดอกบัว ในเสมาสร้างด้วยหินทรายสีแดง
               - วิหาร  มีลักษณะเป็นเก๋งจีน ก่ออิฐถือปูนหลังเล็ก ๆ หลังคามุงกระเบื้องดินเผา มีลายปูนปั้นตามแนวยาวแบบจีน ด้านหน้าและหลังมีมุขลดด้านละหนึ่งห้อง ผนังก่ออิฐถือปูนด้านหลังทึบ
               - เจดีย์  ตั้งอยู่หน้าอุโบสถจำนวนสามองค์ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฐานสิงห์องค์ระฆังมีบัวรองรับ ส่วนยอดมีบัลลังก์สี่เหลี่ยมย่อมุมรองรับชุดบัวคลุมเสาและปลียอด อีกองค์หนึ่งเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงกลม (ทรงลังกา) ขนาดใหญ่ รอบองค์เจดีย์เป็นฐานสี่เหลี่ยมยกสูงขึ้น มีระเบียงล้อมรอบ ฐานเจดีย์เป็นฐานบัวกลม ถัดขึ้นไปเป็นชุดมาลัยเถา องค์ระฆังกลม ส่วนยอดเป็นบัลลังก์สี่เหลี่ยมมีเสารอบ รองรับปล้องไฉนและปลียอด สันนิษฐานว่า สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์