ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ดนตรีและนาฏศิลป์

           จังหวัดสมุทรสงครามได้ชื่อว่าเมืองดนตรี จะเห็นได้จากเพลงไทยเดิมแขกมอญบางช้าง จากอดีตถึงปัจจุบันได้ให้กำเนิดนักดนตรีที่มีชื่อเสียงระดับประเทศหลายท่าน เช่น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง)   เอื้อ  สุนทรสนาน   ดร.อุทิศ  นาคสวัสดิ์
           เพลงแขกมอญบางช้าง  เป็นเพลงไทยเดิม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ครูหน่าย บ้านอยู่ข้างวัดพระยาญาติ (ปากง่าม) ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา เป็นผู้มีฝีมือและชื่อเสียงทางด้านดนตรีไทย ได้สอนทำนองเพลงสองชั้นให้ศิษย์ไว้ ชื่อเพลงบางช้าง มีอยู่สองเพลงคือ เพลงใบ้คลั่งบางช้าง และเพลงแขกมอญบางช้าง
           ส่วนทำนองเพลงแขกมอญบางช้างสามชั้นนั้นพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี  ดุริยางกูร) เป็นผู้แต่ง มีความหมายคล้ายจะฝากความรักความอาลัยในอดีตไว้ข้างวัดพวงมาลัย อำเภอเมือง ฯ เคยมีตำหนักภาโณทยานของสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ปลูกไว้เพื่อพักผ่อน มักโปรดให้นำวงปี่พาทย์วงบางแพของนายปน  นิลวงศ์ มาบรรเลง
           อีกตำหนักหนึ่งคือตำหนักอัมพวาของสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต มักโปรดให้นำวงปี่พาทย์อัมพวาของนายลวด  นิลวงศ์ มาบรรเลงประชัน
           ปัจจุบัน จังหวัดสมุทรสงครามยังคงเอกลักษณ์ของศิลปะแขนงนี้อยู่ ด้วยวงปี่พาทย์อีกหลายวง ยังคงสืบทอดมรดกมาถึงปัจจุบัน เช่น วงไพรบรรเลง มิตรบรรเลง ดาวดึงส์ศิลป์ ฯลฯ มีชมรมอนุรักษ์ดนตรีไทย แสดงให้เห็นว่าในอดีต ดนตรีไทยของจังหวัดสมุทรสงคราม เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาก่อนแล้ว
           มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยหรือมูลนิธิ ร.๒ ได้ดำเนินโครงการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ คีตศิลป์และดุริยางคศิลป์ เป็นหลักสูตรพิเศษเพื่อปลูกฝังเยาวชนในท้องถิ่นให้เห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย เปิดสอนวิชาโขน ละครไทย ขับร้องเพลงไทยเดิม ดนตรีไทย (เครื่องสายและปี่พาทย์)  โครงการนี้ดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓
ศาสนพิธี พิธีกรรม ความเชื่อ
           ชาวสมุทรสงครามเป็นพุทธศาสนิกชนประมาณร้อยละ ๙๖  เป็นคริสตศาสนิกชนประมาณร้อยละ ๓ และเป็นอิสลามิกชนประมาณร้อยละ ๑
           จังหวัดสมุทรสงครามมีวัดอยู่ ๑๐๙ วัด เป็นฝ่ายมหานิกาย ๑๐๒ วัด ฝ่ายธรรมยุติ ๗ วัด มีศาสนสถานของคริสต์อยู่สองแห่งคือ วัดพระแม่บังเกิด (อาสนวิหารมารีสมภพ) ที่บางนกแขวกและวัดนักบุญยาโกบที่แม่กลอง ส่วนศาสนสถานของศาสนาอิสลามมีอยู่เพียงแห่งเดียวคือ มัสยิดดำรงอิสลาม ตำบลปลายโพงพาง
           พิธีกรรมทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์  พิธีกรรมของไทยแต่โบราณจะมีการทำพิธีอยู่สองอย่างคือ ทำตามคติพระพุทธศาสนาเรียกว่า พิธีสงฆ์ และทำตามคติของพราหมณ์เรียกว่า พิธีพราหมณ์
           พิธีกรรมส่วนใหญ่จะทำตามคติทางพระพุทธศาสนา และมีพิธีพราหมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเช่น การทำขวัญนาค งานมงคลสมรส การประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น การตักบาตรเทโว การแห่เทียนพรรษาในวันเข้าพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝน การถวายผ้าจำนำพรรษา การถวายสังฆทาน ฯลฯ
           พิธีกรรมความเชื่อของคนไทยเชื้อสายมอญ  ชาวมอญได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำแม่กลองเพราะภัยสงคราม และต้องหาแหล่งทำกินที่อุดมสมบูรณ์ มีการอพยพเข้าสู่ประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญมีอยู่แปดครั้งคือ สมัยอยุธยาห้าครั้ง สมัยรัตนธนบุรีหนึ่งครั้ง และสมัยรัตนโกสินทรตอนต้นสองครั้ง
           ตามประวัติศาสตร์ มอญได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าตั้งแต่ก่อนพุทธกาล และเคยสถาปนาอาณาจักรมอญในบริเวณพม่าตอนกลาง ในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำและมีเมืองท่าออกสู่ทะเลทำการค้ากับต่างถิ่นได้ จึงมักถูกพม่าซึ่งอยู่ในพื้นที่ตอนบนเข้ามารุกรานอยู่บ่อย ๆ  และผนวกไว้ในอาณาจักรพม่าได้หลายคราว เช่นในช่วงปี พ.ศ.๑๖๐๐ - ๑๘๓๐ มอญตกอยู่ในอำนาจของอาณาจักรพุกาม พ.ศ.๒๐๒๘ - ๒๒๘๓ ตกอยู่ในการปกครองของพม่าและในปี พ.ศ.๒๓๐๐ มอญถูกพม่าผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าจนถึงปัจจุบัน
           มีการอพยพของชาวมอญเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยอยุธยาห้าครั้งคือ
               ครั้งที่หนึ่ง  ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา  ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๑๒ - ๒๑๓๓
               ครั้งที่สอง  ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๓๓ - ๒๑๔๘
               ครั้งที่สาม  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๗๓ - ๒๑๙๘
               ครั้งที่สี่   ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑
               ครั้งที่ห้า  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ระหว่างปี พ.ศ.๒๒๗๕ - ๒๓๐๑
           การอพยพที่อาจเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดสมุทรสงครามครั้งหนึ่งคือ สมัยธนบุรี พระยาเจ่งพาครัวมอญเข้ามาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗ และในสมัยรัตนโกสินทรสมิงสอดเบา ได้อพยพครัวมอญจากเมืองเมาะตะมะ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๕๗ - ๒๓๕๘
           เส้นทางอพยพเข้าสู่ประเทศไทยมีอยู่หลายเส้นทางด้วยกันคือ ทางด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี ทางด่านแม่ละเมา จังหวัดตาก ทางจังหวัดเชียงใหม่ และทางจังหวัดอุทัยธานี
           การตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่มักจะอยู่ตามริมน้ำ โดยเฉพาะสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือกรุงเทพ ฯ ขึ้นไป และตามริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง
           สำหรับในเขตจังหวัดสมุทรสงครามได้มาตั้งชุมชนอยู่ที่ตำบลบางจะเกร็ง และตำบลบางเรือหัก เป็นพวกที่มาจากเมืองหงสาวดี โดยเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ แล้วล่องมาตามลำน้ำแม่กลอง กระจายกันอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ เช่น บ้านโป่ง โพธาราม จังหวัดราชบุรี ต่อลงไปถึงอำเภออัมพวา และปากอ่าวแม่กลอง ทางการได้กำหนดเขตที่อยู่ให้เพื่อความสะดวกในการควบคุมดูแล ชาวมอญจึงแบ่งส่วนหนึ่งเป็นที่อยู่อาศัย อีกส่วนหนึ่งสร้างวัดคือ วัดศรัทธารามในปัจจุบัน วัดศรัทธารามยังมีการสวดอภิธรรมแบบมอญอยู่
           ชาวมอญนับถือ ผี ปู่ ย่า ตา ยาย และผีเรือน การนับถือผีจะต้องรับกันเป็นทอด ๆ จากบรรพบุรษ ผู้มีหน้าที่รับคือ บุตรชายคนหัวปีของตระกูล บุตรหญิงรับไม่ได้ เมื่อถึงคราวพิธีรำผีบุตรชายจะเป็นผู้เข้าพิธีเรียกว่า ต้นผี บุตรหญิงถ้ายังอยู่ในบ้านและยังไม่มีสามี ก็มีสิทธิ์เข้าพิธีรำผีได้ ถ้าแต่งงานแล้วถือว่าต้องเป็นสมาชิกของผีใหม่ทางฝ่ายสามี
               - ธรรมเนียมประเพณีมอญ  การทำบุญของมอญมีการทำบุญสงกรานต์ สามวัน วันพระปวรณา และวันออกพรรษา
           การทำบุญสงกรานต์วันต้นมีการทำบุญข้าวสารสงกรานต์ คือข้าวแช่ มีการแห่แหนมีขบวนแห่ข้าวแช่ไปวัด และการเล่นสนุกสนาน ครั้นถึงวันสงกรานต์ที่เรียกว่า วันเนานั้น มอญถือว่าเป็นวันกระหน (วันปีเก่าก็ไม่ใช่ปีใหม่ก็ไม่ใช่)  กิจกรรมในวันเนาคือ เป็นวันแห่ดินไปถมถนน แห่ไม้ไปค้ำต้นโพธิตามวัด และแห่ปลาไปปล่อยในสระของวัด
           ประเพณีมอญมักนอนหันหัวไปทางทิศตะวันออก และทิศใต้ถือว่าเป็นศิริมงคล
           วันออกพรรษา มีการแห่พระภิกษุสงฆ์หลาย ๆ วัด โดยแต่งเรืออย่างสวยงาม แล้วชักจูงเรือพระภิกษุไปร่วมงานออกพรรษาในวัดเดียว ซึ่งจะเลือกวัดที่นับถือมากวัดใดวัดหนึ่ง แล้วเล่นแข่งเรือเป็นที่สนุกสนานกันตลอดวันพระกลางเดือนสิบเอ็ด เมื่อพระภิกษุเสร็จกิจปวารณาแล้ว ก็แห่พระไปส่งตามวัดที่รับมาจนครบทุกวัด
ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น

           การทำน้ำตาลบางช้าง  บางช้างขึ้นชื่อในเรื่องน้ำตาลมะพร้าว เนื่องจากมีรสหวานมันและมีกลิ่นหอม วิธีทำน้ำตาลยังสืบทอดกันต่อมาถึงปัจจุบัน น้ำตาลบางช้างคือ น้ำตาลจากเมืองแม่กลองไม่ว่าจะทำจาก บางนางลี่ บางขันแตก ท้ายหาด ปลายโพงดพาง ลาดใหญ่ บางตะเคียน ท่าคา บางกระบือ บางใหญ่ บางน้อย ฯลฯ

               - การคัดพันธุ์มะพร้าวน้ำตาล  ในสมัยก่อนมีการเก็บ อากรสวน เกณฑ์ที่เก็บคือ เก็บผลไม้ที่ตกผลแล้ว มีการประเมินเป็นครั้งคราวเรียกว่า การเดินสวน ทำให้ชาวสวนต้องคัดเลือกพันธุ์ปลูกเฉพาะที่มีคุณภาพดีให้ผลมาก ถ้าต้นไหนไม่ดีก็ฟันทิ้งเสียเพราะได้ไม่คุ้มภาษี
           การคัดพันธุ์มะพร้าวตาลจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่องกันมาเป็นร้อยปี ชาวสวนตาลจึงรู้ดีว่าต้นใดลักษณะใดจะให้น้ำตาลสดมาก คือจะเลือกพันธุ์มะพร้าวที่คอใหญ่ ทางมะพร้าวใหญ่ ทางถี่ ทางใหญ่สั้น มีก้านใบถี่ มะพร้าวชนิดนี้หาอาหารเก่ง มีกำลังมาก ให้น้ำตาลสดมาก ยืนต้นได้นาน เริ่มมีงวงให้น้ำตาลเมื่ออายุได้ ๕-๖ ปี ส่วนมะพร้างเล็กจะใช้เวลาประมาณสามปีเศษก็ทำน้ำตาลได้ แต่จะให้น้ำตาลน้อยหรือกำลังน้อย
           พันธุ์มะพร้าวที่นิยมปลูกกันมากแถบตำบลลาดใหญ่ ตำบลนางตะเคียน มักจะเป็นมะพร้าวพันธุ์สายบัว ลักษณะลูกเป็นเหลี่ยมหรือพันธุ์สินนรา ลักษณะลูกกลม สองพันธุ์นี้ให้น้ำตาลยืนต้นนานจึงให้ผลิตผลนานต่อเนื่อง
           แถบตำบลลาดแป้งมีพันธุ์เทิ้งบ้อง ลูกเป็นเหลี่ยมออกงวงเร็วให้น้ำตาลดีในช่วงแรก แต่ยืนต้นไม่นานเท่าพันธุ์แรก
               - ระบบน้ำ  มะพร้าวน้ำตาลชอบน้ำลักจืดลักเค็มหรือสองน้ำ คือ หัวน้ำเป็นน้ำจืด น้ำทะเลจากปากอ่าวแม่กลองจะดันน้ำจืดจากต้นน้ำกลับไปสู่ลำคลอง และลำประโดงต่าง ๆ เข้าสู่รองสวน ผู้ที่จะตักน้ำจืดไว้ใช้ต้องรีบตักตอนหัวน้ำขึ้นเรียกว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก เพราะช่วงกลางหรือปลายน้ำจะเป็นน้ำเค็ม
           เมื่อน้ำลงก็จะให้ลงจนแห้งขอดจากท้องร่องสวน จนไม่เหลือน้ำอยู่เลย มะพร้าวน้ำตาลไม่ชอบน้ำไม่ว่าน้ำจืดหรือน้ำเค็ม ระบบน้ำจึงต้องเคลื่อนไหวดี ดังนั้นตำแหน่งที่ดีสำหรับสวนมะพร้าวน้ำตาล จะต้องสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของน้ำและต้องไม่ใช่ที่ดอน
               - การทำดิน  ชาวสวนจะยกร่อง การขุดลำประโดง ร่องสวน การซอยร่อง ซอยคัน หรือถนน เพื่อให้ระบบน้ำไหลได้เชื่อมโยงกัน ให้มีสภาพคล่องในการเคลื่อนไหวของน้ำ
           สวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอน ๆ เรียกว่า ขนัด ขนาดความยาวของขนัดขึ้นอยู่กับความยาวของหลังร่องสวน ขนัดไม่มีขนาดที่แน่นอนมีทั้งใหญ่และเล็ก
           สมัยก่อนที่แม่น้ำแม่กลองจะมีเขื่อนกั้นน้ำ จะมีน้ำเหนือหรือหน้าน้ำหลากทุกปี ในช่วงหน้าฝนต่อหน้าหนาวจะมีช่วงเวลาที่น้ำจืดนาน ชาวสวนจะปลูกข้าวในท้องร่องสวนด้วย ซึ่งลักษณะนี้ จะเว้นระยะหลังร่องสวน ให้มีระยะห่างกันประมาณร่องสี่วา ถ้าร่องสวนแคบกว่านี้ข้าวจะไม่งาม เพราะมีร่มเงาของมะพร้าวมากเกินไป ถ้าไม่คิดทำนาในร่องสวนก็จะเว้นระยะห่างของท้องร่องประมาณสามวา ซึ่งเป็นลักษณะของสวนในปัจจุบัน ที่ไม่มีการทำนาในร่องสวนแล้วหลังจากที่มีการสร้างเขื่อน โดยท้องร่องสวนนั้นชาวสวนจะขุดลึกประมาณหนึ่งชั้นพลั่ว เอาดินไปทำหลังร่อง

               - การปลูก  เมื่อชาวสวนพิจารณาแล้วว่า มะพร้าวน้ำตาลต้นใดจะเอาไว้ทำพันธุ์ ก็จะปล่อยให้ติดลูกในช่วงฤดูฝน เมื่อผลมะพร้าวมีสีเหมือนก้ามปูทะเล และก้นเป็นสีน้ำตาลบ้างแล้ว ไม่อ่อนและไม่แก่เกินไป ถ้าอ่อนเกินไปเมื่อนำไปเพาะหัวจุกและกะลาจะเน่า ถ้าแก่เกินไปหรือปล่อยให้ตกลงมาจากต้นเอง จะกระเทือนมาก อัตราการออกเป็นต้นจะไม่ดี และจะกลายพันธุ์
           ชาวสวนมะพร้าวจะต้องปีนขึ้นไปตัดทะลายมะพร้าวนั้นพร้อมกับนำเชือกติดตัวไปด้วย เพื่อผูกทะลายมะพร้าวแล้วค่อย ๆ โรยเชือกลงสู่พื้นดิน จากนั้นจะใช้มีดคม ๆ ปาดเปลือกใกล้หัวจุก แต่อย่าให้โดนส่วนที่เป็นจุก โดยปาดด้านบนเพื่อให้ออกได้ง่ายขึ้น และปาดด้านล่างที่จะวางลงบนพื้นดิน แล้ววางไว้บนดินที่มีความชุ่มชื้น อย่าให้เปลือกแห้ง
           ครั้นถึงฤดูฝนปีถัดไปมะพร้าวพันธุ์จะมีใบอ่อนสองสามใบ อันเป็นห้วงเวลาที่มะพร้าวได้กินอาหารที่สะสมอยู่ในรูปของจาวมะพร้าว ที่อยู่ภายในกะลาหมดแล้ว รากเริ่มกินดินได้แล้วให้ใช้มีดคม ๆ มาตักรากแล้ว นำไปลงหลังร่องสวนที่เตรียมดินไว้แล้ว
           การปลูกมะพร้าวให้ถี่หรือห่างต้องคำนึงว่า ถ้าปลูกถี่จะออกงวงช้าและสูงเร็ว ถ้าปลูกห่างจะออกงวงมากและสูงช้า ดังนั้นชาวสวนจะลงมะพร้าวหลังร่อง ให้มีระยะห่างกัน ต้นละประมาณสี่วาหรือสี่วาเศษ จำนวนที่ลงอยู่ระหว่าง ๗ - ๑๒ ต้น ต่อความยาวของร่องสวน หลังจากนั้นจะมีการทำดินเสริมหลังร่องหรือโกยดินทุก ๆ ๑ - ๓ ปีต่อครั้ง เพราะรากมะพร้าวจะขยายออกไปตาม

               - การเหนี่ยวงวงปาดตาล  เมื่อมะพร้าวออกงวง (จั่นหรือดอกที่ยังตูมอยู่) ช่วงที่ดอกหรือจั่นกำลังจะเปลี่ยนดอกอ่อนสีเหลืองไปเป็นดอกแก่สีเขียว งวงจะชี้ขึ้นไปบนฟ้า ถ้าไม่เหนี่ยวงวงตามกรรมวิธีก็จะทำให้เอากระบอกไปแขวนรองน้ำตาลไม่ได้ ดังนั้นเมื่อเริ่มทำน้ำตาลจึงต้องเหนี่ยวงวงเสียก่อน เพื่อเวลาที่ใช้มีดตาลปาดปลายงวงเพื่อทำน้ำตาล น้ำตาลจะได้ไหลลงไปในกระบอกที่แขวนรองน้ำตาลอยู่
           การเหนี่ยวงวงต้องทำค่อย ๆ ทำเมื่อออกงวงใหม่ ๆ หรือกะเปี้ยวยังตูมและนิ่มอยู่ การเหนี่ยวงวงถ้ารีบเกินไปคองวงจะพับน้ำตาลไม่ออก ต้องควรดูงวงที่กำลังดีไม่นิ่มไม่แข็งเกินไป แล้วเอาเชือกผูกค่อนไปทางปลายงวง จากนั้นก็นำไปเหนี่ยวไว้กับทางมะพร้าวที่อยู่ต่ำลงไป เพื่อให้งวงค่อยโน้มปลายลงที่ละน้อยด้วยการผูกร่นเชือกลงมาวันละน้อย หรือวันเว้นวัน แล้วเริ่มปาดปลายงวงที่มีกะเปี้ยวหุ้มอยู่ปาดไปทุก ๆ วัน จะค่อยมีน้ำตาลไหลออกมา แต่น้ำตาลยังเดินไม่ดี ปาดไปจนประมาณหนึ่งในสามของความยาวงวงก็จะให้น้ำตาลมากพอที่จะเอากระบอกมาแขวนรองน้ำตาลที่ไหลออกมาได้
           เมื่อดอกที่อยู่ภายในกะเปี้ยวกำลังจะเปลี่ยนสีจากสีเหลืองหรือดอกอ่อนเป็นสีเขียว หรือดอกแก่ กะเปี้ยวจะแตกลาย ก็จะเลาะเอากะเปี้ยวออกซึ่งจะทำให้ก้านดอกมากมายบานออก เพื่อจะติดลูกก็จะใช้เชือกมัดจั่นหรือดอกให้รวมเป็นมัดเหมือนตอนที่ยังมีกะเปี้ยวหุ้มอยู่ โดยมัดเป็นเปลาะ ๆ แบบมัดข้าวต้ม ถ้างวงใหญ่ก็มัดถี่ งวงเล็กก็จะมัดห่าง
           การปาดตาล ถ้าตาลออกดีปาดบางก็จะทำได้นาน และทำได้จนถึงโคนงวง ถ้าตาลไม่ดีออกน้อยปาดตาลหนาหน่อย จะหมดงวงเร็ว
               - การนวดงวง และรูดดอก  ในระหว่างที่เริ่มปาดตาลเมื่อชาวสวนขึ้นตาลตอนเช้า ชาวสวนจะเอามือแตะหน้างวงที่ปาดแล้วให้มีน้ำตาลติดมือ แล้วเอามือไปลูบไล้บีบนวดงวงมะพร้าว ไปจนถึงโคนงวง ทำเฉพาะตาลเช้า ส่วนตาลเย็นไม่ต้องนวด จะทำให้น้ำตาลออกดี
           เพื่อไม่ให้หนอนกินงวงที่เริ่มปาดตาลแล้ว ชาวสวนจะรูดดอกออกไปในระยะที่ดอกกำลังเปลี่ยนจากสีเหลืองไปเป็นสีเขียว (ดอกอ่อนจะมีสีขาว แล้วจึงเป็นสีเหลืองและสีเขียวตามลำดับ)  โดยจับปลายก้านดอกรูดทีละก้าน ส่วนที่อยู่ในเข้าไปจะใช้ปลายมีดปาดตาลจิกลงไปที่ดอกหรืออลูกที่กำลังงอกออกมาเพื่อให้ลูกตาย เพราะถ้าติดลูกน้ำตาลจะไม่ออก
           ตอนที่กะเบี้ยวหุ้มจั่นแตกลายหรือเริ่มแก่ ชาวสวนจะเลากะเบี้ยวออก ในขณะเดียววกันจะมีงวงน้องที่งอกใหม่ ให้เริ่มท่าการเหนี่ยวงวงได้ มะพร้าวต้นหนึ่งอาจทำได้ถึงสองงวงหรือสามงวงพร้อม ๆ กัน และต่อเนื่องกันไป ต้นที่ดีมาก ๆ อาจมีถึงสี่งวงแต่หายาก
               - พะองและกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้ทำพะองสำหรับปืนขึ้นไปปาดตาลนั้น จะต้องเลือกให้เหมาะสมคือ ไม้ไผ่ท่อนแรกจากโคมที่เรียกว่า ไม้โคนซอนั้นไม่เหมาะที่จะทำพะอง เพราะเนื้อหนาน้ำหนักมากและมีปล้องถี่เกินไป ไม่สอดคล้องกับจังหวะก้าวปีนลูกพะอง (ต้องใส่เหนือข้อ) ไม้ไผ่ที่จะใช้ทำพะองคือ ท่อนที่อยู่ถัดจากโคนซอขึ้นไป ซึ่งอาจยาวถึงเจ็ดวา เป็นท่อนที่มีปล้องห่างเหมาะที่จะนำมาเจาะรูเหนือข้อแล้วใส่ลูกพะองหรือลูกสลัก เพื่อเป็นขั้นบันไดสำหรับใช้เหยีบปีนขึ้นไป ลูกพะองทำจากไม้ฝาด ซึ่งเปว็นไม้ขึ้นอยู่ชายเลน มีเนื้อเหนียวและทนทาน ไม้พะองแต่ก่อนมีอายุใชฃ้งานได้ ๔ - ๕ ปี
               - การพาดไม้พะอง  กับต้นมะพร้าว ถ้ามะพร้าวสูงสี่วาต้องใช้ไม้พะองยาวห้าวาคือ ไม้พะองจะต้องยาวเลยคอมะพร้าวไปประมาณหนึ่งวา จะทำให้มั่นคงเวลาปีนขึ้นลง ไม้พะองยาวที่สุดที่ชาวสวนใช้คือไม้เจ็ด (เจ็ดวา) ถ้ามะพร้าวสูงกว่านี้ต้องใช้วิธีปาดต้น
               - กระบอกน้ำตาล  มีหลายขนาดแล้วแต่ตาลต้นไหนออกมากออกน้อย ต้องเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกัน กระบอกน้ำตาลทำจากกระบอกไม้ไผ่ โดยเอามาลอกเปลือกออก เพื่อป้องกันไม่ให้เปลือกซึ่งเมื่อแห้งแล้ว จะรัดตัวกระบอกให้แตกร้าวได้ง่าย อีกประการหนึ่งเมื่อลอกเปลือกออกแล้วจะทำให้ภายในกระบอกเย็นขึ้น น้ำตาลไม่บูดง่ายหรือมีฟองมาก
               - เตาตาล  ก่อนสงครามมหาเอเซียบูรพา ชาวสวนใช้เตาโดด เคี่ยวน้ำตาล ซึ่งเคี่ยวได้ทีละกะทะ ต่อมาได้พัฒนาเป็นเตาตูน มีสองกระทะ ต่อช่องไฟให้ถึงกัน และต่อช่องมีรูให้ควันออกได้หลายรู เพื่อนำกระบอกน้ำตาลที่ล้างเสร็จแล้วมาคว่ำลงบ เพื่อรมควันให้แห้ง
           หลังสงครามมหาเอเซียบูรพาส ไดเพัฒนามาเป็นเตาปล่อง ซึ่งสามารถเพิ่มลูกเตาเป็นแถวเรียงต่อกัน สามารถเคี่ยวน้ำตาลได้ ตั้งแต่ ๒ - ๖ กะทะพร้อมกัน
           อิฐก่อเตา จะมีรูปลักษณะและขนาดต่างจากอิฐที่ใช้งานทั่วไปมีอยู่หกแบบหลัก ๆ  มีชื่อเรียกว่า ลูกหมู อุโมงค์ ขื่อกลาง วางข้าง ขื่อหน้า อละอิฐปล่อง เป็นการเรียกชื่อตามการใช้งานที่เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของเตาตาลนั่นเอง อิฐทำเตาตาลทำจากดินผสมแกลบและขี้เถ้าแกลบ ใช้ดินเหนียวปนทราย โดยนำดินดังกล่าวที่เรียกว่าดินนวล เอามาแช่น้ำไว้เจ็ดวันแล้วจึงนำมาโม่ตามส่วนผสมอัดเป็นก้อนแล้วผึ่งในที่ร่มประมาณหนึ่งเดือนให้แห้งสนิท ถ้าไม่แห้งเวลาเผาจะร้าว จากนั้นนำไปเผาเจ็ดวัน ถ้าเผาทีละมาก ๆ อาจต้องเผาถึง ๑๕ วัน เมื่ออิฐสุก แล้วต้องปล่อยให้เย็นลงในเตาไฟอีกสี่ - ห้าวัน จึงนำออกจากเตา ก็จะได้อิฐทนไฟทนฝน
           เมื่อก่อเตาแล้วใช้ปูนขัดมันฉาบโดยผสมฝุ่นแดงหือดำให้เตาสวย ส่วนปล่องใช้ปูนขาวผสมซีเมนต์ในการเชื่อมอิฐหรือก่ออิฐโดยจะไม่ฉาบผิวนอก
               - การขึ้นตาล  ก่อนขึ้นตาลชาวสวนจะเอาไม้พยอม ไม้เคี่ยม หรือไม้ตะเคียน สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ไว้ในกระบอกน้ำตาลเพื่อกันน้ำตาลบูด เพราะต้องแขวนรอน้ำตาลไว้หลายชั่วโมง ก่อนนำไปเคี่ยว ไม้ดังกล่าวยังทำให้น้ำตาลเป็นตัว เวลาเคี่ยวอีกด้วย มิฉะนั้นเวลาเคี่ยวน้ำตาล ๆ จะไม่แห้งหรือไม่เป็นตัว หรือจะเยิ้มเป็นน้ำคืนตัวอย่างรวดเร็ว
           ชาวสวนจะขึ้นตาลตอนเช้า ผู้ที่แข็งแรงเต็มที่จะขึ้นตาลได้รายละ ๑๐๐ - ๑๒๐ ต้น แล้วแต่ต้นสูงหรือเตี้ย คิดเป็นน้ำตาลแห้งประมาณสองปีบ เสร็จประมาณเที่ยงวัน ตาลเวลาเช้าจะออกมากกว่าตาลเวลาเย็น ในการขึ้นตาลชาวสวนจะต้องนำกระบอกเปล่าลูกใหม่ไปเปลี่ยนกระบอกเดิม เวลาปีนลงจะต้องนำกระบอกน้ำตาลใสหรือน้ำตาลสดลงมาด้วย
           โดยทั่วไปชาวสวนจะพักตาลช่วงหน้าแล้ง ถ้าไม่พักจะออกงวงน้อยลง เล็กลง และสั้นลง หรือออกวงห่างออกไปหรือหมดงวง แต่ถ้ามีที่ดินมากก็ใช้วิธีทำสลับต้นกัน ก็จะทำน้ำตาลได้ตลอดปี

               - การเคี่ยวตาล ชาวสวนจะเอากระบอกน้ำตาลใสมากองรวมกันแล้วเทน้ำตาลผ่านผ้าขาวบางในกะชอน เพื่อกรองเอาไม้พะยอม ที่ใส่ไว้กับสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ กะทะหนึ่งจะใส่น้ำตาลใสได้ประมาณเกือบสามปีบ ซึ่งจะเคี่ยวเป็นน้ำตาลแห้งได้ประมาณ ๑๐ กิโลกรัม ในฤดูฝนจะใช้เวลาเคี่ยวนานกว่าหน้าแล้ง เพราะจะมีน้ำฝนปนอยู่ในน้ำตาลใส
           เมื่อเริ่มเคี่ยว ขณะที่น้ำตาลยังไม่เดือดจะมีฟองมากก็ใช้กระชอนแบบมีด้ามถือช้อนฟองออก เมื่อน้ำตาลเริ่มเดือดฟูขึ้นก็จะใช้กระจังหรือโคครอบลงไปในกระทะ กันไม่ให้น้ำตาลล้นออกนอกกระทะ น้ำตาลจะข้นขึ้นตามลำดับ พอเป็นฟองเหนียวหรือเป็นสีดอกหมาก จากนั้นน้ำตาลจะปุดคือเอือดแต่เนื้อข้นมาก ชาวสวนจะหมุนไปมาไม่ให้น้ำตาลไหม้ รอจนเนื้อข้นหมดฟองก็ยกกะทะลงจากเตาแล้วใช้เหล็กกะทุ้งน้ำตาลหมุนวีไปมา เพื่อให้น้ำตาลละเอียดเสมอกัน และเย็นตัวลงเสร็จแล้วขอดใส่ปีบ หรือหยอดเป็นน้ำตาลปึก เป็นอันเสร็จ
           ลิ้นจี่สมุทรสงคราม  เป็นลิ้นจี่ที่มาจากเมืองจีน มีการปลูกกันมาตั้งประมาณ ปี พ.ศ.๒๓๔๐ มีหลายพันธุ์ด้วยกัน พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากทำชื่อเสียงให้สมุทรสงครามคือ พันธุ์ค่อมลำเจียก นอกจากนั้นก็มีไทย กะโหลกใบยาว จีน สำเภาแก้ว และสาแหรก หอม เป็นต้น
           ดินที่เหมาะสมในการปลูกลิ้นจี่คือดินค่อนข้างเหนียวแต่ร่วนซุย หน้าดินมีผิวดินหนาอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองและระบายน้ำได้ดี ไม่แฉะ เมื่อต้นลิ้นจี่เริ่มเจริญเติบโตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่ง เพื่อรักษาสัดส่วน ทรงพุ่ม ให้ได้รับแสงแดดและอากาศทั่วทั้งต้น มีลมถ่ายเทได้สะดวก
           เมื่ออายุได้ห้าปี ลิ้นจี่จะเริ่มออกดอกให้ผล การออกดอกของลิ้นจี่ต้องอาศัยความพอเหมาะ พอดีของสภาพแวดล้อมของธรรมชาติอันได้แก่น้ำ อุณหภูมิ ความชื้น และความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับปริมาาณน้ำฝน
           การทำถ่านไม้โกงกาง  ไม้โกงกางเป็นพันธุ์ไม้ในป่าชายเลน เป็นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ ๒๐ - ๓๐ เมตร ลำกิ่งแตกกิ่งก้านมาก มีรากค้ำจุน การขยายพันธุ์ใช้ฝักหรือผลปักลงในดิน ประมาณ ๑๐ วัน รากจะงอก เมื่ออายุได้ ๑๒ - ๑๕ ปี ก็นำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยทั่วไปมักนำไม้โกงกางมาทำฟืนหรือถ่าน
           ประชาชนในตำบลยี่สารมีอาชีพทำถ่านไม้โกงกางมานาน การทำถ่านไม้โกงกางมีดังนี้
               - นำไม้โกงกางมาตัดเป็นท่อนยาวท่อนละประมาณ ๔ หลา ลอกเอาเปลือกออก
               - โรงเผาถ่าน โครงโรงเรือนทำด้วยไม้ไผ่และไม้โกงกางยึดติดกันด้วยตอกหรือเชือก หลังคามุงจากโดยทั่วไปสูงประมาณ ๑๒ เมตร กว้างประมาณ ๑๕ เมตร
               - เตาเผาถ่าน มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕ - ๖ เมตร สูงประมาณ ๓ เมตร มีทางระบายอากาศสามทาง มีประตูทางเข้าหนึ่งทางตัวเตาทำด้วยอิฐมอญเชื่อมต่อกันด้วยดินน้ำจืด เป็นดินนำมาจากจังหวัดราชบุรี
           วิธีการเผาถ่านไม้โกงกาง คือ ลำเลียงไม้เข้าเตาเผาถ่าน เลือกไม้โกงกางท่อนขนาดใหญ่บรรจุแนวตั้งก่อน จากนั้นจะบรรจุไม้ที่มีขนาดเล็กซ้อนด้านบนจนได้ปริมาณที่ต้องการ ทั้งนี้ต้องเว้นพื้นที่บริเวณทางเข้าไว้ ปิดทางเข้าด้วยอิฐมอญ เชื่อมติดกันด้วยดินจืด เพื่อกันไม่ให้อากาศเข้าเว้นช่องตอนล่างสุดไว้ประมาณ ๑ x ๑ ฟุต เพื่อใช้ใส่เชื้อเพลิงเวลาเผาถ่าน
           เชื้อเพลิง จะใช้ส่วนอื่นของต้นโกงกาง ได้แก่รากค้ำยัน หรือกิ่งส่วนยอดที่มีขนาดเล็ก
           การเผาถ่านโกงกางแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ ๑๕ วัน จากนั้นให้หยุดความร้อนและปิดช่องระบายความร้อน และช่องใส่เชื้อเพลิง ทิ้งไว้ประมาณเจ็ดวันจึงนำถ่านออกมา

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์