ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

           การทำประมง  แม่กลองเป็นเมืองที่ต่อเรือประมงได้สวย และทนทานที่สุดเมืองหนึ่ง จากหัวเมืองชายทะเลทั้งสิ้น ๒๒ หัวเมือง เป็นเมืองที่ทำประมงอวนลากคู่มากที่สุด
               - เรือประมง  เรือประมงที่ต่อด้วยไม้ประดู่ และไม้ตะเคียนทอง เป็นเรือที่สวยงามที่สุดในท้องทะเล เรือประมงอาจมีอายุใช้งานถึงห้าสิบปี หรือกว่านั้น มีขนาด ๕ - ๑๐ กวา ไปจนถึง ๒๐ วา ใช้เครื่องยนต์ขนาด ๑๐๐ - ๑,๒๕๐ แรงม้า มีจำนวนนับหมื่นลำ กองเรือประมงของไทยอยู่ในอันดับเจ็ดของโลก เป็นเจ้าแห่งอ่าวไทย ทะเลจีนใต้ ทะเลอันดามัน อ่างเบงกอล
           นับแต่สิ้นสุดยุคของเรือใบ ก็ไม่มีเรืออื่นใดในท้องทะเลที่สวยงามไปกว่าเรือประมงไทย เรือไม้ร่วมยุคสมัยของไทย มีสมรรถภาพและอายุใช้งานเหนือกว่าเรือเหล็ก และสวยงามที่สุดในท้องทะเล
               - การทำโป๊ะน้ำลึก  โป๊ะน้ำลึกสลายตัวไป เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ - ๒๕๐๗ สาเหตุเนื่องจากไม้ไผ่ยาว ๑๐ วา เสายาว ๑๐ วา หายาก นอกจากนั้นเมื่อมีวิธีการหาปลาใหม่ เช่น อวนลาก อวนติด เกิดขึ้นมาจึงทำให้การทำโป๊ะเฝือกน้ำลึก กับเรือตังเก ซึ่งเป็นหลักใหญ่คู่กันต้องสิ้นสุดโดยปริยาย ปัจจุบันมีแต่โป๊ะอวนเท่านั้น
           การทำโป๊ะในแต่ละปีจะเริ่มในเดือนห้า หลังสงกรานต์มีการเตรียมตัวว่าปีนี้จะย้ายไปทำโป๊ะที่ไหน น้ำลึกเท่าใด
           โป๊ะน้ำลึก คือ โป๊ะที่ใช้ปีกเป็นไม้ไผ่ขนาด ๘ - ๑๐ วา บางปีโป๊ะแต่ละลูกจะต้องตั้งอยู่ห่างกันไม่ต่ำกว่า ๓๐ เส้น วันใดที่อากาศดีและคลื่นเงียบ ก็จะเอาเรือวิ่งออกไปดูซากโป๊ะเก่าดูทำเล ก่อนที่จะไปขออนุญาตจากประมงจังหวัด พอขึ้นเดือนหกก็เตรียมสั่งไม้ไผ่ ไม้รวก เสาไม้จริง เสามะพร้าว ส่วนเสาไม้หมากจะกำหนดให้มาส่งใกล้ ๆ วันออกทะเล จะได้ไม่ต้องมาแช่น้ำไว้นาน
           โป๊ะหนึ่งลูก จะใช้ไม้ไผ่ประมาณ ๗๐๐ ลำ ไม้รวก (ทำราโป๊ะ) ๓,๐๐๐ ลำ เสาไม้จริง ๑๑๐ ต้น เสาไม้หมาก ๑๐๐ ต้น เสามะพร้าว ๒๒ - ๒๔ ต้น เริ่มแรกสั่งไม่ไผ่ยาว ๑๐ วา ประมาณ ๒,๕๐๐ ลำ มาก่อน ไม้ไผ่นี้จะมัดเป็นบวบ ๆ ละ ๔๔ - ๕๕ ลำ มัดรวมเป็นแพ ๆ ละ ๑๐ บวบ ล่องมาตามแม่น้ำ แล้วลากขึ้นแผ่บนฝั่ง แล้วคัดเป็นลำตรง ๆ ๓๐๐ - ๓๒๐ ลำ มาตัดปลายออกให้เหลือยาว ๘ วา ๑ ศอก หรือแปดวา ๑ ศอกคืบ แล้วนำมาผ่าโคนออกเป็นสี่เสี่ยง เอาไม้ชะเนาะที่ขันแพไม้มาเสี้ยมให้เป็นปากเป็ด ขัดขวางโคนไม้ที่ผ่าไว้ ใช้คน ๗ - ๘ คน ยกไม้ออกแรงวิ่งดันไม้ ผ่านเข้าไปในเสาปั้นจั่น ไม้จะผ่าออกเป็นสี่ชิ้นหรือสี่ซี่เท่า ๆ กัน เพื่อนำมาถักเป็นเฝือก เมื่อผ่าเสร็จก็เกลาแล้ว นำไปตากแดดหลาย ๆ วัน ให้แห้งก่อนนำมาถักจะได้มีความทนทาน
           คนงานอีกส่วนหนึ่งจะเจาะไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ทำปีกโป๊ะ ไม้ไผ่จะต้องเจาะรูให้น้ำเข้าและเสี้ยมโคนให้แหลม เพื่อให้ปักลงได้ กองเก็บไว้โดยไม่ต้องตัดปลาย การเจาะต้องเจาะให้ใกล้ข้อปล้อง ด้านปลายไม้ลำหนึ่ง ๆ จะเจาะประมาณ ๓๒ - ๓๘ รู แล้วแต่ปลายไม้จะเล็กหรือใหญ่
           ไม้รา คือ ไม้รวกยาวประมาณ ๕ วา ๒ ศอก ประมาณ ๓,๐๐๐ ลำ นำมาตากให้แห้งก่อนนำไปมัดทำราโป๊ะ รา ๑ รา หรือ ๑ แถว ใช้ไม้มัดต่อกันยาวรอบโป๊ะ ราในประมาณ ๑๗๐ ลำ รานอก ๑๘๐ ลำ ราใน ๘ รา รานอก ๘ รา คอกหมู ๑ รา มัดให้มีขนาดประมาณ สองมือกับสี่นิ้วแปะ

           การถักเฝือก จะใช้หวายกลุ่มยาวเส้นละ ๑๐ ศอก เส้นโตกว่าตะเกียบแต่เล็กกว่านิ้วก้อย เอามาแช่น้ำให้จมน้ำ ค้างคืนไว้ก่อนมิฉะนั้นจะถักไม่ไหว การเรียงซี่เฝือกจะต้องเอาโคน ๆ ปลายสลับกัน เพื่อให้โปร่งคลื่น ความต้านทานคลื่นได้เบาบางลงถ้า อยู่ด้านทิศตะวันออกเราจะถักให้ถี่มาก เพราะเป็นที่รวมปลา ส่วนด้านทิศตะวันตก เราถักให้ห่างเพราะไม่สำคัญ เฝือกผืนหนึ่งจะกว้างสามวา สองศอก หรือสี่วา ถักแล้วให้ต่อกันล้อมรอบโป๊ะ ๘๕ วา ถ้าผืนละ ๔ วา ต้องถัก ๒๒ ผืน
           เสาต้องเลือกต้นตรง ๆ ไว้ทำเสาในโป๊ะ จะต้องถากตากันติดอวนและเสี้ยมโคนเสาเพื่อให้ปักง่ายและเรียบ
           ในระหว่างเตรียมการต้องหาเวลาคลื่นเงียบหนึ่งวัน นำไม้ไผ่หนึ่งลำกับเตรื่องมือลากกวาดที่ออกไปในทะเล ณ จุดที่จะทำโป๊ะ แล้วปักไม้ไผ่ลำนั้น เอาเครื่องมือลากกวาดที่ลากไป ๆ มา ๆ ดูว่าที่จะปักโป๊ะไม่โดนซากโป๊ะเก่า เสร็จแล้วไปแจ้งขออนุญาตเพื่อเสียค่าน้ำแก่ประมงจังหวัดก่อน ที่จะออกไปปักโป๊ะ

           เมื่อถึงวันกำหนดประมาณเดือนเจ็ด (มิถุนายน) ที่จะลงมือปักโป๊ะเรียกว่า วันโคน ถือว่าเป็นวันสำคัญบางบ้านมีการเซ่นไหว้ การทำโป๊ะหนึ่งลูกต้องมีเรือโยงหนึ่งลำ เรือเสาหนึ่งลำ และเรือปักไม้สองลำ และต้องมีเครื่องมือประกอบคือ เรือโยงต้องมีสมอหนึ่งตัว เชือกสองเส้น เรือเสาต้องมีสมอห้าตัว เชือกสิบเส้น เรือไม้ต้องมีสมอสามตัว เชือกหกเส้น อุปกรณ์ที่สำคัญคือเข็มทิศ ผู้โคนจะต้องทิ้งสมอสี่ทิศให้เฉียงกับสี่ทิศหลัก เพื่อตรึงเรือปักไม้สี่ต้นแรก ให้ขวางน้ำใช้ตาเล็งจับจุดทิศเหนือกับทิศตะวันตกว่า มีจุดสำคัญอะไรเป็นหลัก หันไปกี่องศาให้ได้ฉากกับหน้าโป๊ะ เพื่อให้ตรงทางน้ำและให้ปลาลงโป๊ะคล่อง
           โป๊ะน้ำลึก ใช้เวลาปักเสาหกวัน สี่วันแรกเรียกว่า ตีราใน (ไม้ขนาบเฝือก) กับปักเสานอกกันเฝือกไว้ห่าง ๆ ต้นก่อน เมื่อตีราในเสร็จแล้วก็ถึงวันลงเฝือก ต้องระดมกำลังจ้างคนดำน้ำประมาณหกคนขึ้นไป เพื่อดำน้ำไปลากตีนเฝือกถึงหน้าดินและร้อยกรอกคือ เอาลวดเล็ก ๆ ไปผูกแม่เชือกและผืนให้ต่อกับรอบลูกโป๊ะ
           เมื่อลงเฝือกกรอบโป๊ะแล้ว ต้อง เหิ่ม คือการตอกเฝือกให้ปักลงในดินประมาณศอกเศษ ให้เหลือปลายเฝือกด้านบนสูงกว่า ราบน เล็กน้อยพอให้ขนาบเฝือกได้ เสร็จแล้วมัดรานอก ขนาบเฝือกไว้หนึ่งราก่อน แล้วแต่ว่าจะขนาบได้ราไหน ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับน้ำ วันลงเฝือกมักจะให้ลงเวลาน้ำตาย คือช่วงเวลา ๗ - ๑๒ ค่ำ เฝือกจะได้ไม่โป่งมาก ทำงานสะดวก
           เมื่อลงเฝือกเสร็จก็รีบจัดเรือออกจับปลาทันที เพราะเป็นวันแรกของการมีรายได้ หลังจากเตรียมงานมาเดือนเศษ

           เมื่อทำโป๊ะจับปลาได้แล้ว ก็ต้องแยกงานกัน เรือจับปลาก็จับปลาไป เรือเสากับเรือปีก ก็ยังต้องทำงานต่อไป เรือเสาจะต้องมัดราแล้วขนาบนอกเฝือกให้ครบแปดรา ใช้เวลาอีกสามวัน แล้วยังต่อมัดราพิเศษ เรียกว่า ราคอกหมู ซึ่งอยู่ปลาย ๆ ของเสาอีกหนึ่งรา รานอกจะมัดให้ใหญ่กว่าราในเล็กน้อยเพื่อความแข็งแรง รานอกกับคอกหมูจะใช้ไม้รวกอีกประมาณ ๑๕๐ ลำ จากนั้นก็จะจับเสานอกคือ เอาเสาที่ปักไว้นอกโป๊ะไปมัดให้แนบแน่นคือ มัดรวมทั้งรา ทั้งเฝือก ทั้งเสาให้แข็งแรง แล้วปักเสามะพร้าวเพิ่มอีก เรือปีกก็ต้องปักปีกให้หมดไม้งวดแรกประมาณ ๕,๐๐๐ ลำ พอเดือนสิบเอ็ดก็ต้องเตรียมซ่อมแซมไป้ปีกหักเป็นช่องโหว่ให้เรียบร้อย ต้องใช้ไม้ไผ่อีกประมาณ ๒,๐๐๐ ลำ
               - ประมงอวนลาก ชาวประมงไทยเริ่มรู้จักการจับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือล้อมฝูงปลาด้วย อวนตังเก ซึ่งนำเข้าจากประเทศจีน เมื่อประมาณหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา การจับปลาวิธีนี้ใช้เรือเล็กสองลำ นำอวนจากเรือใหญ่เพื่อล้อมฝูงปลา เป็นวิธีการจับปลาทันสมัยดีกว่าการตั้งโป๊ะจับปลา เพราะเรือตังเกเป็นเครื่องมือที่เคลื่อนที่ได้ จึงมีผู้นิยมมากขึ้นจากจำนวนเริ่มแรก ๓ - ๔ ลำ เป็น ๑,๐๐๐ ลำ
                   ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ การจับสัตว์น้ำทำภายในอ่าวไทย  ต่อมาเมื่อมีเรือมากขึ้น การจับสัตว์น้ำของเรือแต่ละลำก็ได้ปริมาณลดลง ต้องเลิกกิจการไปจำนวนหนึ่ง
                   ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ได้มีการส่งเสริมการจับสัตว์น้ำ โดยให้ผู้ประกอบการประมงใช้อวนลากแผ่นตะเข้ จากเยอรมัน ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทำให้มีจำนวนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น อวนลากแผ่นตะเข้แบ่งออกได้เป็นสองชนิดคือ อวนลากคู่และอวนลากเดี่ยว
                   อวนลากคู่ ใช้เรือสองลำลากอวนหนึ่งปาก โดยใช้แผ่นตะเข้ร่วมกับการลากปลา เริ่มทำกันตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๐๔ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำสูง ทำการประมงใกล้ฝั่งใช้เวลา ๒ - ๓ วัน ก็เข้าฝั่ง ในระยะแรก ๆ ขนาดเรือที่ใช้ไม่ใหญ่นักยาวประมาณ ๑๔ - ๑๕ เมตร ใช้เครื่องยนต์ขนาด ๑๐๐ - ๓๐๐ แรงม้า
                   การทำประมงลากคู่ จะมีเรือลำหนึ่งบรรทุกน้ำแข็งและเสียง มีเครื่องมือประมงพร้อมเรียกว่า เรือปลา มีลูกเรือประมาณ ๘ - ๑๔ คน ส่วนเรืออีกลำหนึ่งมีขนาดเล็กกว่า มีลูกเรือประมาณ ๔ - ๖ คน เรียกว่า เรือหู เรือทั้งสองลำจะปล่อยอวนพร้อม ๆ กัน
                   พื้นที่ทำการประมงอวนลากคู่ จะทำในบริเวณอ่าวไทยตอนใน (ก้นโป๊ะ) เรื่อยไปถึงทางใต้สุดของประเทศ และบริเวณฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย ตลอดไปจนถึงเขมรและเวียดนาม
                   ต่อมาอวนลากคู่ได้แพร่หลายในเขตจังหวัดชายทะเลทั่วประเทศ มีการพัฒนาเรือประมงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เครื่องยนต์มีกำลังสูงขึ้น มีเครื่องมือทำประมงที่ทันสมัยขึ้น เช่น ซาวเดอร์ โซนา ทำให้การจับสัตว์น้ำดีขึ้นจนปริมาณสัตว์น้ำลดน้อยลง ทางราชการจึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลา โดยควบคุมเรือประมงอวนลาก และอสนรุน ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ให้ทำการจดทะเบียนเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งมีจำวน ๑๓,๕๘๓ ลำ และจะไม่มีการจดทะเบียนเรืออวนลาก และอวนรุนอีก นอกจากนั้นยังใช้มาตรการปิดอ่าว ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และอำเภอขนอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ.๒๕๒๖ เพื่ออนุรักษ์แหล่งวางไข่ และเจริญเติบโตของลูกสัตว์น้ำในวัยอ่อน กำหนดระยะเวลาตั้งแต่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ถึง ๑๕ เมษายน ของทุกปี
                   ทางราชการโดยกรมประมง ได้เปิดให้จดทะเบียนเรืออวนลาก และอวนรุน เป็นครั้งสุดท้ายใน ปี พ.ศ.๒๕๓๒ ทำให้มีปริมาณเรือเพิ่มมากจนเกิดการแข่งขันกันสูง ทำให้พื้นที่ทำการประมงในอ่าวไทยไม่พอเพียงจนต้องออกไปเสี่ยงทำการประมงในเขตประเทศเขมร ไปจนถึงเวียดนามภาคใต้ ทำให้มีปัญหาเรืองถูกจับกุม
                  อวนลากเดี่ยว หรืออวนลากแผ่นตะเข้ เป็นการประมงอวนลากที่คล่องตัวเนื่องจากใช้เรือเพียงลำเดียว ถ้าเป็นเรือขนาดเล็กยาว ๑๖ - ๒๐ เมตร จะทำการประมงเฉพาะในเขตอ่าวไทยเรียก เรือซุงอ่อน ทำการประมงได้ ๘ - ๑๒ วัน ก็ต้องเข้าฝั่ง ถ้าเรือขนาดใหญ่ขึ้นคือ ยาวตั้งแต่ ๒๒ เมตร ขึ้นไป ขนาดบรรทุก ๘๐ ตันเนตขึ้นไป จะบรรทุกน้ำแข็งได้มากขึ้นสามารถออกไปหาปลาได้ไกล ๆ เรียกว่า อวนลากเดี่ยว ใช้เวลาเที่ยวละ ๒๐ - ๓๐ วัน
                   ต่อมามีการพัฒนาด้านเครื่องมือจับปลามี เรดาร์ มีซาวเดอร์ โซนา เพื่อหาตำแหน่งเรือ วัดระดับน้ำ และหาฝูงปลา นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ดาวเทียม ติดตั้งในเรือเพื่อหาตำแหน่งเรือ มีการเก็บรักษาสัตว์น้ำในเรือโดยใช้วิธีแช่เยือกแข็ง ทำให้สัตว์น้ำอยู่ในเรือได้นานขึ้น ทำให้เรือเดินทางออกไปทำการประมงได้ไกลขึ้น เข้าไปในเขตประเทศเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนิเซีย พม่า บังคลาเทศ และอินเดีย ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นแรมเดือน
               - การประมงพื้นบ้าน ได้แก่ การจับหอยหลอด การเก็บหอยแครง มีข้อมูลและวิธีการดังนี้

                  การจับหอยหลอด  การหยอดหอยหลอด เป็นอาชีพของชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก ที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำแม่กลองจนถึงชายฝั่งทะเลบ้านบางบ่อ และคลองแพรกลึก ในเขตตำบลบางแก้ว และะตำบลบางจะเกร็ง เริ่มต้นจากปากคลองฉุ่ฉี่ ขนานชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองถึงปากคลองหมื่นหาญ ประกอบด้วยดอนหอยหลอดขนาดใหญ่เล็กอยู่ประมาณ ห้าดอน มีพื้นที่เป็นสันดอน ๒๒,๐๐๐ ไร่ หอยหลอดชอบฝังตัวอยู่ในดิน ที่มีลักษณะเป็นทรายปนโคลนที่เรียกว่า ทรายขี้เป็ด อยู่ลึกจากผิวดินลงไป ๑ - ๑๒ นิ้ว โดยจะขุดเป็นท่อขนาดเท่าลำตัวและวางอยู่ในท่อในแนวตั้งหรือเฉียงประมาณ ๓๐ องศา
                   การจับหอยหลอดมีมาช้านานแล้ว แต่ทำกันในปริมาณน้อย ไม่ทำเป็นล่ำเป็นสันอย่างปัจจุบัน หอยหลอดที่จับได้มีขนาดตั้งแต่ ๖ เซนติเมตรขึ้นไป การจับหอยหลอดใช้วิธีเอาปูนขาวหรือปูนแดงหยอดลงไปในรูที่หอยหลอดอาศัยอยู่ โดยรอให้น้ำลงจนบริเวณดอนหอยหลอดโผล่พ้นจากน้ำเป็นบริเวณกว้างเสียก่อน ชาวบ้านจะพายเรือหรือนั่งเรือหางยาวลัดเลาะไปตามร่องน้ำข้างดอนออกไปไกลจากปากอ่าว แล้วลงเดินบนดอนเพื่อหาแหล่งหอย การจับหอยหลอดเป็นวิธีการแสดงความชำนาญเฉพาะตัวคือ ใช้นิ้วมือสามนิ้วคือ นิ้งกลาง นิ้งนางและนิ้วก้อย กระแทกลงที่พื้นทรายไม่แรงนัก เพื่อให้ปากรูหอยเปิด จากนั้นใช้ไม้หยอดจุ่มปูนขาวเล็กน้อย เสียบลงไปในรูทรายลึกประมาณสองนิ้ว  เมื่อหอยหลอดโดนน้ำปูนขาวก็จะดันตัวออกจากรูขึ้นมานอนอยู่หน้าดิน ชาวบ้านก็เก็บใส่ตะกร้าที่เตรียมมา ผู้ที่ทำเป็นอาชีพจะทำได้เร็วมาก
                   ชาวประมงพื้นบ้านที่จับหอยหลอดเป็นอาชีพมีประมาณ ๒,๐๐๐ คน สามารถจับหอยหลอดได้เฉลี่ยวันละ ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ กิโลกรัม
                   การเก็บหอยแครง  บริเวณปากอ่าวสมุทรสงคราม ชายฝั่งทั้งสองด้านของปากแม่น้ำแม่กลอง ใกล้ ๆ กับดอนหอยหลอด มีพื้นที่ทำการเลี้ยงหอยแครง คือทางทิศใต้ด้านคลองโคนและคลองช่วง กับทิศเหนือด้านปากมาบ เป็นบริเวณที่ชุมชนได้รับสัมปทานเลี้ยงหอยแครง การเก็บหอยแครงจะเก็บเวลาน้ำลง ถ้าเหยียบดินบริเวณนี้จะจมลึกเพราะเป็นดินเลนปนทราย ชาวบ้านจึงใช้กระดานคีบหรือกระดานเลนในการเก็บหอยแครง
                   กระดานเลนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สัญจรไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการทำประมงชายฝั่งทะเล ตั้งแต่แนวป่าชายเลนออกไปจนถึงบริเวณชายน้ำที่น้ำทะเลลดแห้งไปจนสุด กระดานเลนมีลักษณะเหมือนสกีน้ำ แต่ทำจากไม้กระพงซึ่งเป็นไม้ตระกูลเดียวกับไม้กระบาก เป็นไม้เนื้อนิ่มแต่เหนียว น้ำหนักเบา  กระดานเลนมีขนาดยาวประมาณวาเศษ กว้างประมาณสองศอก หน้าประมาณนิ้วครึ่ง ปลายกระดานเลนข้างหัวทำให้งอนขึ้นเชิดขึ้นไปประมาณ ๖ - ๘ นิ้ว
                   การเก็บหอยแครง ชาวบ้านจะนำถังหรือหลัวไปวางบนกระดานเลน คนที่ถีบกระดานจะนั่งค่อนไปทางปลายท้ายกระดานโดยนั่งคู้เข่า เท้าข้างหนึ่งถีบกระดานเลนให้กระดานเลื่อนไหลไปข้างหน้า วิธีการถีบเหมือนกับการพายเรือคือเท้าจะต้องคัดวาดไปในตัว เพื่อให้หัวกระดานไปตรงทาง  ปลายเท้าจะอยู่ที่ปลายกระดานระยะประมาณข้อเท้า คนถีบเก่งกระดานจะลอย ถ้าถีบลึกดินจะดูดเท้า กระดานจะหนักและเคลี่ยนที่ช้า ถีบไปทีละข้าง ถ้าเมื่อยก็เปลี่ยนข้าง ปัจจุบันมีเครื่องยนต์ใช้กับเรือก็เอากระดานเลนใส่เรือไป

           เรือกับวิถีชีวิตของชาวแม่กลอง  ประชากรจังหวัดสมุทรสงครามตั้งแต่บรรพบุรุษใช้แม่น้ำแม่กลองเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก ส่วนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณปากอ่าวแม่น้ำแม่กลอง จะใช้ทะเลเป็นแหล่งประกอบอาชีพ จึงใช้เรือเป็นพาหนะที่สำคัญยิ่ง
           เส้นทางคมนาคมทางน้ำของจังหวัด นอกจากแม่น้ำแม่กลองแล้ว ยังมีลำคลองที่เกิดตามธรรมชาติและลำคลองที่ขุดขึ้นเพื่อเชื่อมแม่น้ำแม่กลองไปสู่คลองต่าง ๆ และเชื่อมต่อไปยังแม่น้ำของจังหวัดใกล้เคียง เช่น แม่น้ำท่าจีน ที่จังหวัดสมุทรสาคร  แม่น้ำเพชรบุรี ที่จังหวัดเพชรบุรี  นอกจากนั้นในฤดูน้ำหลาก ยังสามารถใช้คูคลองร่องสวนเป็นเส้นทางเดินเรือขนาดเล็ก เช่น เรือสำปั้น และเรือมาด ที่ใช้พายหรือแจวลัดเลาะไปมา  เส้นทางเดินเรือไปยังจังหวัดใกล้เคียงตั้งแต่อดีตมีอยู่สี่เส้นทางคือ
               ๑. จากแม่น้ำแม่กลองสู่คลองแม่กลอง ซึ่งปากคลองอยู่ระหว่างวัดใหญ่และวัดเพชรสมุทรวรวิหาร อำเภอเมือง ฯ ไปเชื่อมกับคลองสุนัขหอน ไปสู่แม่น้ำท่าจีนในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร ในอดีตเส้นทางนี้ใช้ขนส่งสินค้ากับกรุงเทพ ฯ
               ๒. จากแม่น้ำแม่กลองสู่คลองบางนกแขวก เชื่อมกับคลองดำเนินสะดวก ที่ประตูน้ำนกแขวก หน้าวัดเจริญสุขาราม สู่แม่น้ำท่าจีนที่ประตูน้ำบางยาง อำเภอบ้านแพ้ว ใช้เดินทางไปอำเภอสามพราน อำเภอนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดที่อยู่บนแม่น้ำท่าจีน
               ๓. เส้นทางเชื่อมต่อแม่น้ำเพชรบุรีเริ่มที่คลองประชาชนชื่นบริเวณปากคลองที่แยกจากแม่น้ำแม่กลองที่เรียกว่าคลองบางลี่ ปากคลองเรียกว่าคลองดอนจั่น เชื่อมจากคลองยี่สารไปออกคลองบางตะบูน คลองบางครก สู่แม่น้ำเพชรบุรี ในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
               ๔. เส้นทางจากปากอ่าวแม่กลองสู่ทะเลไปยังปากอ่าวแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาครและไปยังปากอ่าวแม่น้ำเพชรบุรี ที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดต่าง ๆ ในอ่าวไทย
               - เรือชนิดต่าง ๆ ของจัวหวัดสมุทรสงคราม เรือขนาดเล็กใช้คนนั่งพาย เรือขนาดใหญ่ใช้คนยืนแจว สำหรับการถ่อและการใชใบจะใช้กับเรือแจวที่กระแสลมพัดไปข้างหน้า

                   เรือมาด  เป็นเรือขุด มีลักษณะท้องกลมโดยขุดรากไม้ซุง ส่วนมากเป็นไม้ตะเคียน เพราะเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ หาได้ไม่ยาก เรือมาดขนาดเล็กใช้พาย ขนาดกลางใช้แจว หรือใช้ถ่อ ถ้าลำใหญ่ไม่ปูพิ้นกลาง มีแต่แคร่หัว - ท้าย ใช้บรรทุกของ มีแจวหัวสองแจว แจวท้ายสองแจว หลังคามีเก๋ง

                   เรือฉลอม  เป็นเรือต่อชนิดหนึ่ง สำหรับบรรทุกสินค้าไปขายตามหัวเมืองชายทะเล ใช้ใบ เมื่อเดินทางในทะเล มีหางเสือสองบาน บางลำมีเสากระโดงสองเสา เพื่อแขวนใบ คือเสากระโดงหัวเรือและเสากระโดงลำเรือ รูปร่างลำเรือคล้ายเรือโป๊ะ แต่เรือฉลอมจะมีประทุนโค้งกลางลำเรือ โดยใช้ไม้ไผ่สานขัดแตะมุงด้วยจาก ส่วนที่คลุมตอนท้ายเรือเรียกว่าขยาบ เพื่อใช้เป็นที่พักของคนประจำเรือ เมื่อเรือออกแล่นใบ ขยาบจะเลื่อนไปเก็บไว้บนประทุนกลางลำเรือ เรือฉลอมขนาดใหญ่จะมีเรือมาดพายประจำเรือหนึ่งลำ สำหรับลำเลียงคนขึ้นฝั่ง
                   เรือเป็ด (อีเป็ด) เป็นเรือต่อที่มีส่วนหัวและท้ายเรือคล้ายยกัน บางแห่งใช้เรือขุดวางกงเสริมกราบ หัวเรือยื่นคล้ายเรือโป๊ะ ท้ายเรือกลมแบน บางลำมีเสากระโดงสองเสา ใช้ใบแขวน มีหางเสือบานเดียว เรือเป็ดสามารถแล่นเลียดใบ (แล่นก้าวให้เรือเฉียงลม) ได้ดีกว่าเรือทั่วไป เรือเป็ดมีประทุนหลังคาครอบกลางลำเรือเหมือนเรือฉลอม และมีขยาบคลุมท้ายเรือเหมือนกัน ใช้แจวตั้งแต่สี่คนขึ้นไป
                   เรือโป๊ะ เป็นทั้งเรือต่อและเรือที่ใช้ลูกมาดแล้ววางกง ตั้งโขนทั้งหัวและท้ายเหมือนกัน ลำเรือรูปเพรียวลมมีเสากระโดงใบแขวน ใช้หางเสือแขวนกับหลักเรียกว่า โด่  ด้ามหางเสือแนบกับแคมเรือ ใช้แจวยึดกับหลักแจวข้างแคมเรือซ้ายขวา ถ้าอยู่ในทะเลจะใช้ใบ เรือโป๊ะใช้ประกอบอาชีพประมงทะเลเรียกว่า ทำโป๊ะ
                   เรือโป๊ะ จะออกไปจับปลาตามหลักจันทรคติ เวลาจับปลาจะเลื่อนไปเรื่อย ๆ ตามเวลาน้ำขึ้นน้ำลง เรือโป๊ะจะจับปลาตอนกลางคืน เพราะธรรมชาติของปลาทะเลจะว่ายตามน้ำ ปลาผิวน้ำจะว่ายตามน้ำขึ้นมาหาอาหารตามชายฝั่ง พอน้ำลงก็ว่ายกลับสู่ทะเล
                   เรือโป๊ะหรือเรืออวนตังเก จะมีเสาหอคอยสูงไว้คอยดูฝูงปลา เวลาปลาทูว่ายเป็นฝูงจะเห็นประกายฟอสฟอรัส ก็จะปล่อยอวนยาวหลายร้อยเมตร ล้อมฝูงปลา ด้านบนมีทุ่นลอยน้ำตลอดแนวอวน ด้านล่างมีห่วงทองเหลืองตุ้มเหล็กถ่วงให้อวนจมไปสุดผืน อวนจะล้อมปลาเป็นวงกลมเสร็จแล้ว จะลากเชือกให้รวมอวนปลาจะอยู่ในก้นถุง ลากอวนให้แคบเข้าจนได้ฝูงปลารวมเป็นกลุ่มใหญ่ จึงเอาชะเนาะตักปลาใส่เรือ
                   เรือประมงทุกลำ จะต้องขึ้นคานเรือเพื่อตอกหมัน ปิดชัน ทาสี ปีละครั้ง ช่วงเวลาที่ขึ้นคานอาจนานเป็นอาทิตย์ มักเป็นห้วงที่เริ่มเปลี่ยนฤดูจากหน้าฝนเข้าหน้าหนาว เพราะเป็นเวลาที่ทะเลมีคลื่นใหญ่ มีลมมรสุมเข้า

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์