ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางพุทธศาสนา

พระพุทธบาท

            พระพุทธบาท ประดิษฐานอยู่ในมณฑปพระพุทธบาท ในวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตำบลโขลน อำเภอพระพุทธบาท
            พระพุทธบาทแห่งนี้ได้ถูกค้นพบในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๕๓ - ๒๑๗๑) ครั้งนั้นมีพระสงฆ์ไทยจำนวนหนึ่งจาริกไปยังลังกาทวีป เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฎ ภิกษุลังกาจึงถามว่า รอยพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานอยู่ที่เขาสุวรรณบรรพต ก็มีอยู่ที่ประเทศไทย เหตุใดจึงไม่ไปนมัสการต้องดั้นด้นมานมัสการถึงลังกา เมื่อพระสงฆ์ไทยดังกล่าวกลับมา ก็ได้นำความนี้กราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีตราสั่งไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ให้ตรวจหารอยพระพุทธบาท
            ครั้งนั้น เจ้าเมืองสระบุรีสืบได้ความจากพรานบุญว่า ครั้งหนึ่งได้ไล่เนื้อในป่าใกล้เชิงเขา ได้ยิงเนื้อตัวหนึ่งได้รับบาดเจ็บแล้วหนีไปบนไหล่เขา เวลาต่อมาก็เห็นเนื้อตัวนั้นวิ่งออกมาในสภาพปกติ พรานบุญสงสัยจึงขึ้นไปดูบนไหล่เขา ก็เห็นมีรอยอยู่ในศิลาเหมือนรูปรอยเท้าคน ขนาดยาวศอกเศษและมีน้ำขังอยู่ ก็สำคัญว่าเนื้อคงหายบาดแผลเพราะกินน้ำในนั้น จึงลองนำน้ำนั้นมาทาตัวดูบรรดากลากเกลื้อนที่เป็นอยู่ช้านานก็หายไปหมด
            เจ้าเมืองสระบุรีไปตรวจดู เห็นมีรอยอยู่จริงจึงทำใบบอกเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้เสด็จไปทอดพระเนตร แล้วมีพระราชดำริว่า คงเป็นรอยพระพุทธบาทตามที่ทางภิกษุลังกาบอกมาเป็นแน่ ก็ทรงพระโสมนัสศรัทธาจึงโปรดให้สร้างเป็นมหาเจดียสถาน มีมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท และสร้างศาลาสังฆาราม ที่พระสงฆ์อยู่อภิบาล สร้างพระราชนิเวศน์ที่เชิงเขาพระพุทธบาท กับที่ท่าเจ้าสนุก สำหรับประทับเวลาเสด็จไปนมัสการ แล้วโปรดให้ช่างฝรั่ง (ฮอลันดา) ส่องกล้องทำถนนตั้งแต่ท่าเรือไปถึงเขาสุวรรณบรรพต เพื่อให้มหาชนเดินทางไปนมัสการได้สะดวก และทรงอุทิศพื้นที่โดยรอบพระพุทธบาท เป็นระยะทางหนึ่งโยชน์ ถวายเป็นพุทธบูชากัลปนาผล พร้อมทั้งโปรด ฯ ให้ชายฉกรรจ์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในเขตที่ที่ทรงอุทิศนั้นพ้นจากหน้าที่ราชการอื่น จัดให้เป็นขุนโขลนข้าพระ ปฏิบัติรักษาพระพุทธบาทอย่างเดียว จากนั้นก็เกิดมีประเพณีเทศกาลไปนมัสการพระพุทธบาทในกลางเดือนสาม และกลางเดือนสี่
            พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาเสด็จไปนมัสการ ครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์ เสด็จไปนมัสการนั้นได้จัดกระบวนเสด็จมโหฬารมาก โดยจัดเป็นกระบวนพยุหยาตราช้างกระบวนเพชรพวง เป็นกระบวนทางสถลมารคที่ยิ่งใหญ่
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระมณฑป เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๐ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงมีพระราชศรัทธาแรงกล้า ถึงกับทรงแบกตัวลำยองเครื่องบนตัวหนึ่ง เสด็จพระราชดำเนินตั้งแต่ท่าเรือไปจนถึงพระพุทธบาท

            มณฑปพระพุทธบาท  เป็นอาคารมีฐานสี่เหลี่ยม เครื่องยอดเป็นปราสาท รูปทรงแบบบุษบกแต่เป็นขนาดใหญ่ หรือทรงเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองผายออก มณฑปที่เก่าแก่ที่สุดอยู่บนยอดเขาพระพุทธฉายในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ตัวมณฑปและยอดก่ออิฐถือปูนตลอด มีทางเข้าคูหาทางเดียวคือทางด้านทิศตะวันออก แม้จะมีการบูรณะต่อมาหลายครั้งก็ยังคงรูปแบบเดิมไว้
            มณฑปแรกสุดที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงสร้างไว้เมื่อครั้งเสด็จมานมัสการพระพุทธบาทครั้งแรก ได้สร้างมณฑปยอดเดียวสวมรอยพระพุทธบาทไว้ แต่ไม่เหลือให้เห็นถึงปัจจุบัน เพราะได้มีการซ่อมสร้างสือบต่อมาอีกหลายครั้งกล่าวคือ ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชรที่ ๘ หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ (พ.ศ.๒๒๔๖ - ๒๒๕๑) ได้ทรงเปลี่ยนเครื่องบนมณฑปเป็นห้ายอด ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ.๒๒๕๑ - ๒๒๗๕) โปรด ฯ ให้เอากระจกบานใหญ่ ประดับฝาผนังข้างในพระมณฑป และปั้นลายปิดทองประกอบตามแนวที่ต่อกระจก ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕ - ๒๓๐๑) โปรด ฯ ให้สร้างบานประตูมุก เปลี่ยนบานประตูมณฑปเดิมทั้ง ๘ บาน ปัจจุบันประตูพระมณฑปเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ นอกจากนั้นยังให้แผ่แผ่นเงินปูลาดพื้นภายในพระมณฑปอีกด้วย
            ในปี พ.ศ.๒๓๐๙ เมื่อพม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ หรือพระเจ้าเอกทัศน์ (พ.ศ.๒๓๐๑ - ๒๓๑๐) พวกจีนอาสาซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลคลองสวนพลู จำนวน ๓๐๐ คน ได้ขึ้นไปยังพระพุทธบาทแล้วลอกทองคำที่หุ้มพระมณฑปน้อย แล้วเผาพระมณฑปเสีย

            พระมณฑปถูกทิ้งร้างอยู่ ๒๐ ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๐ ทำเป็นมณฑปยอดเดียว อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไฟเทียนบูชาได้ลามไหม้ม่านทองที่ปิดพระมณฑปน้อย แล้วลามไหม้พระมณฑปน้อยทั้งหมด พระองค์จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระมณฑปน้อยขึ้นใหม่ พร้อมกับปฏิสังขรณ์พระมณฑปใหญ่ ปิดทองผนังพระมณฑป ซึ่งล่องชาดไว้ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตกแต่งพระมณฑปใหญ่และพระมณฑปน้อยให้งดงามยิ่งขึ้น ทรงเปลี่ยนแผ่นเงินปูพื้นพระมณฑปเป็นเสื่อเงิน
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ซ่อมผนังข้างในพระมณฑป เขียนเป็นลายทอง ส่วนบันไดนาคทางขึ้นพระมณฑปนั้น เดิมมีสองสาย โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเติมอีกสายหนึ่งเป็นสามสาย แล้วหล่อศีรษะนาค ด้วยทองสำริดไว้ที่เชิงบันได ในตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ เครื่องพระมณฑปที่เป็นไม้ชำรุดมากต้องรื้อของเดิมออก แล้วสร้างใหม่ทั้งหมด แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระจุลมงกุฎเหนือพุ่มข้าวบิณฑ์ยอดพระมณฑป

            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเครื่องสูงประดิษฐานไว้ในพระมณฑป เพื่อถวายเป็นเครื่องพุทธบูชาด้วย
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนยอดพระมณฑป ซึ่งเดิมทำด้วยเครื่องไม้เป็นคอนกรีตทั้งหมด เขียนลายทองรูปพระเกี้ยวข้างในพระมณฑป เขียนรูปเสี้ยวกางที่หลังบานประตูพระมณฑป ซ่อมดาวที่เพดาน และประดับกระจกที่พระมณฑปน้อย
            เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธี ยกพระจุลมงกุฎยอดพระมณฑป
            เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้มีการซ่อมพระมณฑป เพื่อแก้ไขสิ่งที่ชำรุดทรุดโทรม เป็นการเฉลิมพระเกียรติถวานพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เสด็จครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี

            พระมณฑปพระพุทธบาทปัจจุบันประกอบด้วย เครื่องยอดรูปมณฑปเจ็ดชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียว มีซุ่มบันแถลงประดับทุกชั้น มีเสาหานย่อมุมไม้สิบสอง ปิดทองประดับกระจกโดยรอบ ที่ปลายเสาประดิษฐ์เป็นบัวจงกล และบัวคอเสื้องดงามมาก ฝาผนังด้านนอกประดับด้วยทองแดง และลวดลายเทพพนมบนกระจกสีน้ำเงิน มีพุ่มข้าวบิณฑ์ที่ยอดพระมณฑป ที่ชายคามีกระดิ่งใบโพธิ์ห้อยประดับเรียงราย ซุ้มประตูพระมณฑปเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ บานประตูพระมณฑป เป็นงานศิลปกรรมประดับมุกชั้นเยี่ยมของประเทศไทย ด้านนอกประดับเป็นลวดลายพระนารายณ์ทรงครุฑ พระพรหมทรงหงส์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และลวดลายกนกต่าง ๆ งดงามมาก ด้านหลังบานประตูพระมณฑปปิดทองล่องชาดเป็นรูปท้าวจตุโลกบาล ที่ผนังด้านในเป็นรูปพระเกี้ยว

            พระพุทธฉาย  พระพุทธฉาย ตั้งอยู่ที่หน้าผาของภูเขาลูกหนึ่งในเขตตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง ฯ อยู่ห่างจากถนนพหลโยธินไปทางทิศตะวันออก ตามถนนหมายเลข ๓๐๒๔ ประมาณ ๕ กิโลเมตร
            มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า ครั้งหนึ่งพระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จมาโปรดฆาฎกพรานที่ภูเขาลูกนี้ ให้ดำรงตนอยู่ในสัมมาชีพ เมื่อพระพุทธองค์จะเสด็จกลับฆาฎก ทราบได้กราบทูลขอเจดีย์สถานไว้เป็นที่ระลึก พระพุทธองค์ทรงกระทำพุทธปาฎิหารย์ให้พระฉายาของพระพุทธองค์ ปรากฎอยู่ที่หน้าผาของภูเขาดังกล่าว
            การพบพระพุทธฉาย  สันนิษฐานว่า พบในสมัยอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๕๓ - ๒๑๗๑) พระองค์ได้ทรงสร้างพระมณฑปครอบพระพุทธฉายไว้
            ในปี พ.ศ.๒๒๔๘  สมเด็จพระเจ้าเสือ ได้เสด็จมานมัสการพระพุทธบาท ทรงพักอยู่เจ็ดวันแล้วเสด็จมานมัสการพระพุทธฉายอีกสามวัน
            ในปี พ.ศ.๒๓๐๘  สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้เสด็จมานมัสการพระพุทธฉาย ทรงพักแรมอยู่สองวันจึงได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จมานมัสการ และทรงบูรรณะพระพุทธฉาย ทรงสร้างมณฑปขึ้นใหม่แทนมณฑปเดิม เป็นมณฑปสองยอด ทรงปฎิสังขรณ์เสนาสนะสงฆ์และปฎิสังขรณ์มณฑปครอบรอบพระพุทธบาทจำลองบนภูเขาด้านตะวันออก
            พระพุทธฉายเป็นที่เคารพบูชาของชนทั่วไป จะมีงานเทศกาลนมัสการพระพุทธฉาย พร้อมกับงานเทศกาลนมัสการพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี

            พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ  เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นธงชัยสักการะบูชาของชาวไทยทั้งสี่ทิศ กรมการรักษาดินแดนได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้สร้างขึ้นสี่องค์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้ว โปรดเกล้า ฯ ให้นำไปประดิษฐานไว้ตามทิศทั้งสี่ ณ จังหวัดต่าง ๆ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ คือ
                ทิศเหนือ              ประดิษฐานที่จังหวัดลำปาง
                ทิศตะวันออก        ประดิษฐานที่จังหวัดสระบุรี
                ทิศใต้                  ประดิษฐานที่จังหวัดพัทลุง
                ทิศตะวันตก         ประดิษฐานที่จังหวัดราชบุรี

            พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศที่จังหวัดสระบุรี ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารจตุรทิศ ในบริเวณวัดศาลาแดงตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดสระบุรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕

            หลวงพ่อศรีพุทธมงคล (หลวงพ่อดำ)  ประดิษฐานอยู่ที่วัดสูง ในเขตตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยหินทราย จัดเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย

| ย้อนกลับ | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์