www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เมืองเก่าของไทย
เมืองเก่าของไทย
มรดกทางวัฒนธรรม
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
จังหวัดสงขลามีโบราณสถานที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๘ จนถึงปัจจุบัน มีอยู่ทั้งสิ้น ๔๙ แห่ง
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นถ้ำของภูเขาหินปูนได้แก่ เขารูปช้าง
อยู่ในเขตตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา ถ้ำตลอด
ในเขตตำบลสะบ้าย้อย ถ้ำเขารักเกียรติ ในเขตอำเภอรัตภูมิ
ถ้ำเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๖,๐๐๐
ปีมาแล้ว
ในแหล่งพื้นที่ราบบางแห่ง เช่น ที่แหล่งบาโหย
ในเขตอำเภอสะบ้าย้อย บริเวณสวนตูล เขาเทวดา
ในเขตตำบลเขารูปช้าง
อำเภอเมือง ฯ และบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ
ในเขตอำเภอสทิงพระ พบวัฒนธรรมการใช้เครื่องปั้นดินเผาแบบหม้อสามขา และหม้อกลม
ที่ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ขวานหินขัดทั้งแบบสัณฐานเหลี่ยมและแบบมีบ่า เป็นสิ่งที่ใช้สืบต่อมาจนถึงเมื่อประมาณ
๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งสัมพันธ์กับชุมชนเกษตรกรรม
ในช่วงสมัยที่มีการติดต่อทางทะเลกับชุมชนต่างแดน พบชิ้นส่วนกลองมโหระทึกสำริดในเขตอำเภอจะนะ
มีอายุอยู่ประมาณ ๓,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปี มาแล้ว
สมัยประวัติศาสตร์
พุทธศตววรษที่ ๑๒ - ๑๓
มีโบราณสถานคือ ถ้ำคูหา และพังพระ ในเขตอำเภอสทิงพระ พบโบราณวัตถุได้แก่ พระพุทธรูปปางสมาธิ
พระคเณศหินในท่าประทับนั่ง กวนอิมกาไหล่ทอง พระวิษณุสี่กร เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ศิวลึงค์และฐานตั้งศิวลึงค์ จากอำเภอสทิงพระ แท่นหินบดและลูกหินบดจากอำเภอระโนด
พุทธศดตววรษที่ ๑๔ - ๑๕
พบพระอาคัสตยะสำริดจากพังพระ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจากกระดังงา นางศยามตาราสำริด
ท้าวชุมพลสำริด พระพุทธรูปปางสมาธิ จากอำเภอสทิงพระ พระศิวะประทับยืนจากหนองหอย
อำเภอสิงหนคร และเหยือกเคลือบสีเขียวอ่อนสมัยราชวงศ์ถังของจีนจากอำเภอเมือง
ฯ
พุทธศตววรษที่ ๑๖ - ๑๗
มีโบราณสถานคือ เมืองโบราณสทิงพระ เตาเผาโบราณปะโอ อำเภอสิงหนคร และซากสถูปวัดสีหยัง
พบโบราณวัตถุ ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร จากหนองหอย กุณฑีกุณโฑดินเผา
และหินดุจากเตาเผาโบราณปะโอ ชามเคลือบเซลาดอนสมัยราชวงศ์ซุ่งของจีน ลูกปัดแก้วและแร่ประกอบหิน
ตุ้มถ่วงแหดินเผา จากเมืองโบราณสทิงพระ คันฉ่องสำริด มีอักษรจีน จากอำเภอสทิงพระ
พุทธศตววรษที่ ๑๘ - ๑๙
มีโบราณสถานคือ ซากสถูปบนเขาน้อย อำเภอสิงหนคร เจดีย์จะทิ้งพระ และเจดีย์วัดเจดีย์งาม
อำเภอระโนด
พบโบราณวัตถุ ได้แก่ เครื่องเคลือบเขียวและเคลือบขาวของจีน ที่อำเภอสทิงพระ
พระคเณศประทับนั่งชันเข่า ที่อำเภอสทิงพระ เครื่องถ้วยสังคโลกสุโขทัย จากทะเลอ่าวไทย
เครื่องเคลือบบุรีรัมย์ จากทะเลสาบสงขลา
พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑
มีโบราณสถานคือ เมืองพังยาง อำเภอระโนด
พบโบราณวัตถุ ได้แก่เครื่องเคลือบลายคราม สมัยราชวงศ์หมิงของจีน ที่แหล่งโบราณคดี
ในเขตอำเภอสทิงพระ อำเภอระโนด และอำเภอสิงหนคร
พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓
มีโบราณสถานได้แก่ วัดสูงเกาะใหญ่ ที่อำเภอกระแสสินธ์ วัดพะโค๊ะ ที่อำเภอสทิงพระ
ป้อมปราการ คูเมือง กำแพงเมืองและซากสิ่งก่อสร้างในเมืองสิงขระ สุสานสุลต่านสุไลมาน
สุสานวิลันดา ที่อำเภอสิงหนคร วัดเทพาโรจน์ ที่อำเภอเทพา ฯ
พุทธศตววรษที่ ๒๔ - ๒๕
มีโบราณสถานได้แก่ วัดสุวรรณคีรี วัดบ่อทรัพย์ วัดศิริวรรณาวาส
วัดภูผาเบิก สุสานต้นตระกูล ณสงขลา ศาลาหลบเสือ ศาลากวง ศาลาบ่อเก๋ง
เจดีย์สององค์บนยอดเขาแดง วัดโลการาม วัดสลักป่าเก่า วัดบางเขียด วัดม่วงงาม
วัดดีหลวงใน วัดดีหลวงนามชัย ที่อำเภอสิงหนคร
วัดมัชฌิมาวาส วัดโพธิ์ปฐมาวาส วัดเลียบ วัดศาลาหัวยาง วัดแจ้ง วัดเพชรมงคล
วัดชัยมงคล วัดดอนรัก วัดสามกอง หอวิเชียรเทวดำรง พระเจดีย์หลวง และศาลาวิหารบนยอดเขาตังกวน
เจดีย์บนเขาเก้าเส้ง เจดีย์บนเขารูปช้าง ศิลาจารึกสำโรง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
พระตำหนักเขาน้อย ถนนไทรบุรี กำแพงเมืองสงขลา ป้อมปากน้ำแหลมทราย วัดท้ายยอ
วัดแหลมพ้อ ที่อำเภอเมือง
วัดคูแต่ง ที่อำเภอบางกล่ำ
เจดีย์ณควนเจดีย์ และพระพุทธรูปในถ้ำตลอด และถ้ำครก ที่ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย
โบราณวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูปประทับนั่งสกุลช่างนครศรีธรรมราช เครื่องถ้วยชามสมัยราชวงศ์หมิงของจีน
เครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทอง ตุ๊กตาหินของจีน ไม้จำหลักวรรณกรรมจีน ภาชนะเงินสลักอักษรนามเจ้าเมือง
และนามเมือง เป็นภาษาอังกฤษ เครื่องถ้วยญี่ปุ่น และยุโรป เงินตราสงขลา และแม่พิมพ์เหรียญแผ่น
จารึกอักษรขอมจากถ้ำเขาจังโหลน ตำบลคูหาใต้
|