ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            สงขลา เป็นเมืองที่สำคัญมากเมืองหนึ่งในภาคใต้ของไทย มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายอย่างด้วยกัน เช่น ขวานหินขัด เครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ และหม้อสามขา เป็นต้น ในเขตอำเภอรัตภูมิ อำเภอสะเดา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเมือง ฯ ในสมัยประวัติศาสตร์รัฐโบราณได้พบหลักฐานความเจริญในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ โดยมีเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นเมืองท่าค้าขายติดต่อกับจีน อินเดีย มลายู ชวา ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นศูนย์กลางการค้ากับนานาชาติ พ่อค้าจากตะวันออก และตะวันตก ได้เดินทางเข้ามาค้าขาย บางพวกได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เมืองสงขลาจึงเป็นแหล่งผสมผสานทางวัฒนธรรมอันหลากหลายแห่งหนึ่ง
การตั้งถิ่นฐาน
    สมัยก่อนประวัติศาสตร์

            จากหลักฐานพบว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา เริ่มมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานส่วนใหญ่พบตามถ้ำและเพิงหินบนภูเขาทางด้านทิศตะวันตก และทิศใต้ของจังหวัด พบภาชนะดินเผาแบบหม้อสามขา ภาชนะเผาลายเชือกทาบ ขวานหินขัด โครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ในสมัยหินใหม่ฝังอยู่ในถ้ำและเพิงหินทางทิศเหนือของเขารักเกียรติ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ พบภาขนะดินเผาลายเชือกทาบ ในสมัยหินใหม่เป็นจำนวนมาก ที่เขารูปช้าง ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา พบขวานหินขัดที่บ้านควนตูล อำเภอเมือง ฯ ที่ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย และที่บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ
            จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่า คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมมีชีวิตแบบสังคมล่าสัตว์ หาของป่า ในพื้นที่ป่าเขาทางด้านทิศาตะวันตกและทิศใต้ของจังหวัด ต่อมาได้อพยพลงสู่ที่ราบริมน้ำเมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีวิถีชีวิตแบบชาวน้ำ ดำรงชีพด้วยการเพาะปลูก และจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลา และชายทะเลอ่าวไทย บางส่วนได้อพยพลงสู่ที่ราบริมทะเลอ่าวไทย ในเขตอำเภอจะนะ เนื่องจากได้พบกลองมโหระทึกที่หล่อด้วยสำริด แสดงให้เห็นถึงการติดต่อกับชุมชนภายนอก เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
            ชนชาติจีนและอินเดีย ได้นำวัฒนธรรมอันเนื่องด้วยศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ เมื่อผสมกับวัฒนธรรมเดิม จึงได้พัฒนาเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของสงขลา ชุมชนค่อย ๆ เจริญขึ้นเป็นชุมชนเมืองท่าในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ
    สมัยชุมชนโบราณบนตาบสมุทรสทิงพระ
            ชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของสงขลา น่าจะได้เริ่มพัฒนาขึ้นในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ มาปรากฎหลักฐานชัดเจนเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒   และรุ่งเรืองมาจนถึงพุทธศตววรษที่ ๑๘ - ๑๙  พบชุมชนโบราณกระจายอยู่หลายชุมชน ที่สำคัญได้แก่

            ชุมชนโบราณปะโอ  เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมคลองปะโอ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร ซึ่งเป็นบริเวณทางน้ำเก่าไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา มีเนินดินที่พบเศษเครื่องปั้นดินเผาและแหล่งทำเครื่องปั้นดินเผาแบบกุณฑี กุณโฑ  และพบชิ้นส่วนเทวรูปรุ่นเก่า นอกจากนี้ยังมีแนวสันทรายที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ ตั้งเรียงรายอยู่หลายแห่ง บริเวณนี้เหมาะที่จะเป็นท่าจอดเรือได้ดีในยุคต้น ๆ ก่อนการขุดคลองเชื่อมทะเลสาบกับทะเลภายนอก
           ชุมชนโบราณสทิงพระ  อยู่ในเขตตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ เป็นบริเวณที่พบโบราณวัตหถุหลายยุค หลายสมัยปะปนกัน และมีการสืบเนื่องมาจนเป็นเมืองใหญ่ มีศูนย์กลางอยู่ที่บ้านสทิงพระ ปัจจุบันเรียกว่า ในเมือง ยังปรากฎร่องรอยคูน้ำคันดิน และซากโบารณวัตถุและโบราณสถาน เป็นจำนวนมาก

           ชุมชนโบราณบริเวณเขาคูหา - เขาพะโคะ  อยู่ในเขตตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ มีสระน้ำขนาดใหญ่ที่เนื่องในพิธีกรรม และถ้ำที่เป็นเทวสถาน  บริเวณนี้น่าจะเป็นศูนย์กลางในทางพิธีกรรมของทางศาสนาพราหมณ์
            ชุมชนสีหยัง  อยู่ในเขตตำบลบ่อพรุ อำเภอระโนด พบสถูปโบราณและคูน้ำคันดินรอบบริเวณที่ตั้งวัดสีหยัง
            ในบรรดาชุมชนที่กล่าวแล้ว ชุมชนโบราณสทิงพระเป็นชุมชนสำคัญที่มีการพัฒนาการต่อเนื่องจนเป็นเมืองใหญ่ เป็นเมืองที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า  มีกำแพงและคูเมืองล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ด้านทิศเหนือกว้าง ๒๘๐ เมตร ด้านทิศตะวันออกกว้าง ๒๗๐ เมตร ด้านทิศใต้กว้าง ๒๗๕ เมตร และทางด้านทิศใต้กว้าง ๓๐๕ เมตร

            เมืองสทิงพระ มีกำเนิดและพัฒนาการมาอย่างไร ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่มีเอกสารเพลานางเลือดขาว เรียกเมืองสทิงพระว่ากรุงสทิงพาราณสี และเจ้าพระยาสทิงพระ ชื่อว่าเจ้าพระยากรุงสทิงพาราณสี  เมืองสทิงพระได้เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘ ในสมัยตามพรลิงค์และสมัยศรีวิชัย  เมืองสทิงพระได้ปกครองดูแลเมืองเล็กเมืองน้อยที่ตั้งอยู่โดยรอบทะเลสาบสงขลา และริมคลองที่ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา รวมทั้งเมืองพัทลุง ที่อยู่ในปกครองของเมืองสทิงพระด้วย
            เมืองสทิงพระมีเจ้าปกครองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ได้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของแหลมมลายูตอนเหนือ เป็นเมืองท่าค้าขายกับนานาชาติ โดยเฉพาะจีน อินเดีย และอาหรับ เมืองสทิงพระได้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยเริ่มเสื่อมอำนาจ ทำให้อาณาจักรตามพรลิงค์ หรือแคว้นนครศรีธรรมราชมีอำนาจเหนือเมืองต่าง ๆ บนแหลมมลายู โดยจัดการปกครองเมืองบริวารหรือเมืองขึ้นสิบสองเมืองนักษัตร  ในช่วงนี้เมืองสทิงพระตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรตามพรลิงค์

            ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรตามพรลิงค์กับเกาะลังกา ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและศิลปวัฒนธรรม ในบริเวณที่ลุ่มทะเลสาบสงขลาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากได้มีการนำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาเผยแผ่ที่นครศรีธรรมราช มีการสร้างวัดวาอาราม พระมหาธาตุเจดีย์ตามคติลังกาวงศ์ขึ้นหลายแห่ง เช่น พระมหาธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว  พระมหาธาตุเจดีย์วัดจะทิ้งพระพระมหาธาตุเจดีย์วัดเจดีย์งาม และพระมหาธาตุเจดีย์วัดพะโคะ เป็นต้น ทำให้เมืองสทิงพระเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางด้านพระพุทธศาสนา และการเมืองการปกครองในแถบลุ่มทะเลสาบสงขลา
            เมืองสทิงพระเริ่มเสื่อมอำนาจลงเมืองประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เกิดการย้ายเมืองไปตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของทะเลสาบคือ เมืองพัทลุง  เมืองพัทลุงจึงได้พัฒนาขึ้นเป็นเมืองสำคัญ มีอำนาจเหนือชุมชนรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาแทนเมืองสทิงพระ ในขณะเดียวกันก็อยู่ในอำนาจของเมืองนครศรีธรรมราช  ต่อมาเมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยาได้แผ่มาถึงเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เมืองพัทลุงจึงขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ชื่อเมืองสทิงพระเริ่มเลือนหายไป
            นอกจากเมืองสทิงพระแล้วตามตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราชได้กล่าวถึงพระพนมวังนางเสดียงทอง ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้ให้เจะระวังลา และเจะลาบู ผู้เป็นภรรยาซึ่งเป็นมุสลิม นำผู้คนล่องเรือมาสร้างบ้านแปลงเมืองที่เมืองจะนะเทพา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ แสดงว่านอกจากการตั้งบ้านเมืองบนคาบสมุทรสทิงพระแล้ว ยังมีการตั้งถิ่นฐานที่บริเวณเมืองจะนะอีกด้วย

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์