ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐาน

            บริเวณเขตจังหวัดอุดร ฯ ปัจจุบันเคยเป็นถิ่นที่อยู่พวกมนุษย์ มาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๗,๐๐๐ ปี มาแล้ว การค้นพบโครงกระดูก และโบราณวัตถุที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียว อำเภอหนองหาน  และร่องรอยการเขียนลายเส้นบนผนังถ้ำ ที่บริเวณเทือกเขาภูพาน ใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผีอุ ตลอดจนเครื่องปั้นดินเผา เขียนสีลายเส้นที่เก่าแก่ แสดงให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้ เคยเป็นชุมชนของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอารยธรรมและความเจริญในระดับสูง
            หลักฐานการตั้งชุมชนที่ปรากฎในพงศาวดาร มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดอุดร ฯ ตั้งแต่สมัยอยุธยากล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๗ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งเป็นพระยุพราช ได้เสด็จ ฯ มาตั้งทัพที่หนองบัวลำภู เพื่อไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๖๙ - ๒๓๗๑ ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ เมืองหนองบัวลำภู ก็ได้เป็นสมรภูมิสุดท้ายที่ทัพไทย รบกับทัพเจ้าอนุวงศ์จนฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ แตกพ่ายไป
            บริเวณอำเภอเมือง ฯ เดิมเรียก บ้านหมากแข้ง เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครองของมณฑลลาวพวน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้นายพลตรี พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เมื่อครั้งทรงพระอิสริยยศ เป็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ บัญชาการปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ และเป็นแม่ทัพใหญ่ในการนำกองทัพไทย ปราบปรามพวกฮ่อ ซึ่งก่อความไม่สงบในเขตมณฑลลาวพวน บริเวณล้านช้าง
            ในกรณีพิพาท ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ไทยต้องทำสัญญาสงบศึกกับฝรั่งเศส โดยมีหลักการว่า ไม่ให้ไทยมีกำลังทหารภายในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง จึงต้องย้ายกองบัญชาการมณฑลลาวพวน ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย มาตั้งที่บ้านหมากแข้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ได้เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลอุดร โดยได้แบ่งออกเป็นห้าบริเวณคือ บริเวณหมากแข้ง มีเจ็ดเมือง บริเวณพาชี มีสามเมือง บริเวณธาตุพนม มีสี่เมือง บริเวณสกลนคร มีหนึ่งเมือง และบริเวณน้ำเหือง มีสามเมือง
            ในปี พ.ศ.๒๔๕๐  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รวมหัวเมืองมณฑลอุดร เข้าเป็นหัวเมืองจัตวา รวมเจ็ดเมือง ให้เมืองอุดรเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลอุดร โดยให้รวมเมืองกมุทาไสย (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาน และบ้านหมากแข้ง เข้าด้วยกัน
ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
            สภาพโดยทั่วไป  ประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากล้านช้าง และหลวงพระบาง และมีกลุ่มชนอื่น ๆ เช่น ผู้ไทแสก และโซ่ เป็นต้น แต่ละครอบครัวเป็นอิสระแก่กัน
            ในสมัยธนุบรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมื่อตีได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เข้าไปจัดการกับหัวเมืองเหล่านี้
            ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการชักจูงประชากร ซึ่งหนีเข้าป่าให้รวมตัวกันตั้งเป็นเมือง เจ้าเมืองใดสามารถเกลี้ยกล่อม ผู้คนได้มากก็จะได้ตำแหน่งเป็นพระยา เมืองที่ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งขึ้นได้แก่ เมืองขอนแก่น (บ้านกงบอน)  เมืองชนบท (บ้านหนองแก้ว) เมืองหนองหาน (หนองหานน้อย) เมืองสกลนคร (หนองหานใหญ่) และเมืองนครพนม (โคตรบูรณ์)
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ หลังจากปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์แล้ว โปรดเกล้า ฯ ให้ เมืองต่าง ๆ ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ เนื่องจากช่วงนั้นไทยกับญวน ทำสงครามกันในกรณีเขมร  เมืองที่โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งขึ้นใหม่ได้แก่เมืองหนองคาย เมืองโพนพิสัย เมืองไชยบุรี (ปากน้ำสงคราม) เมืองภูเวียง เมืองเชียงคาน เมืองเรณูนคร เมืองรามราช เมืองอาทบาต (นาลาควาย) เมืองอากาศอำนวย เมืองท่าขอนยาง เมืองแซงบาดาน และเมืองกุฉินารายณ์  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตั้งเมืองอีกหลายเมือง
            การปกครองเมืองจะใช้ประเพณีเก่าเรียกว่า อาญาสี่ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์และราชบุตร เป็นเกณฑ์สำคัญในการปกครอง การแต่งตั้งจะเน้นอำนาจของเมืองหลวงเท่านั้น และอาจมีการโยกย้ายหรือสลับเมืองได้ตามความเหมาะสมมีการแบ่งความรับผิดชอบอย่างชัดเจนคือ
                      เจ้าเมือง  มีหน้าที่เด็ดขาดในการับผิดชอบเขตเมือง
                      อุปฮาด  ทำการแทนเจ้าเมือง ตามแต่จะได้รับมอบหมาย
                      ราชวงศ์  มีหน้าที่ตัดสิน ชำระคดี บัญชีส่วยอากร
                      ราชบุตร  มีหน้าที่เก็บรักษาผลประโยชน์ของเมือง
                ผู้ช่วยผู้ปกครองมีสี่ตำแหน่งประกอบด้วยท้าวขัตติยะ ท้างสริโย ท้าวโพธิสาร ท้าวสิทธิสาร
                ตำแหน่งรองผู้ช่วยปกครองเมือง หรือเรียกว่า ขื่อบ้าน ประกอบด้วย
                      เมืองแสน  กำกับการทหาร
                      เมืองจันทน์  กำกับฝ่ายพลเรือน
                      เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองกลาง  รับผิดชอบดูแลพัสดุ นักโทษ ปฏิสังขรณ์ สร้างวัด สักเลก รักษาบัญชีไพร่
                      เมืองคุก เมืองฮาม เมืองแพน  ทำหน้าที่ควบคุมนักโทษ
                      พาเหนือ น้ำใต้  รับผิดชอบเสบียงอาหาร เก็บส่วย ควบคุมสัตว์พาหนะ
                      ซาเนตร ซานนท์  เป็นเสมียนของเมือง
                      มหามนตรี มหาเสนา  รับผิดชอบการนัดประชุม การทำพิธีกรรมต่าง ๆ
                      ซาบัณฑิต  เป็นพนักงานอ่านท้องตรา คำสั่งและประกาศ
                      กรรมการ  มีหน้าที่รักษาประเพณีของเมือง
                      สุโพ  เป็นแม่ทัพของเมือง รับผิดชอบด้านการทหาร
                        ตำแหน่งพิเศษต่าง ๆ มีอีกหลายตำแหน่ง เรียกว่า เพีย
                ในการปกครองระดับล่างก็จะมีท้าวฝาย ตาแสง นายบ้าน จ่าบ้าน ปกครองชุมชนขนาดเล็กระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
            การปฏิรูปมณฑลอุดรธานี  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงมีอำนาจบังคับบัญชาเมืองหนองคาย เมืองเชียงขวาง บริคัณฑนิคม โพนพิสัย ไชยบุรี ท่าอุเทน นครพนม สกลนคร มุกดาหาร กมุทธาไสย หนองหาน คำเกิด คำม่วน หล่มสักและเมืองเล็ก ๆ อีก ๓๖ หัวเมือง รวมเรียกว่า เมืองลาวฝ่ายเหนือ
            หลังการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ไทยได้ประสบปัญหาที่สำคัญคือ การถอนทหาร และข้าราชการ ออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง การอพยพคนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง การจัดเก็บภาษีอากร การตั้งค่ายทหารและป้อมค่ายห่างจากแม่น้ำโขง ๒๕ กิโลเมตร
            การจัดระเบียบการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ได้จัดแบ่งหัวเมืองในมณฑลอุดรออกเป็นเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี เมืองจัตวาคือ เมืองหนองคายเป็นเมืองเอก  เมืองสกลนคร เมืองหล่มสักเป็นเมืองโท เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา  ส่วนเมืองตรี เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นพระ
            ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๐ ได้ยกเลิกเมืองเอก โท ตรี จัตวา มาเป็นเมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อให้มีอำนาจในการปกครองตนเอง และให้ยกเลิกระบบอาญาสี่ทั้งหมด ให้ใช้ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และผู้ช่วยราชการเมือง แทน
    เหตุการณ์สำคัญของท้องถิ่น

              การค้นพบแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ชาวบ้านเชียงขุดค้นพบเศษภาชนะดินเผาเขียนลายสีแดง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๗ ไปสำรวจบ้านเชียง และได้รับมอบโบราณวัตถุที่พบมาส่วนหนึ่ง  ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ นักศึกษาวิชาสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้มาศึกษาเรื่องราวของบ้านเชียง และได้เก็บตัวอย่างเศษภาชนะดินเผาบ้านเชียง ไปมอบให้ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ท่านได้ลงความเห็นว่า เป็นเศษภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์
            พ.ศ.๒๕๒๐ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีประเภทต่าง ๆ  ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงของบ้านเชียง เป็นโบราณวัตถุที่เพิ่งมีการขุดพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย มีอายุประมาณ ๗,๐๐๐ ปี มาแล้ว
            พ.ศ.๒๕๑๕ ได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๘๙ เพื่อห้ามขุดแหล่งโบราณคดีในเขต ๙ ตำบลของสองจังหวัดคือ ตำบลบ้านเชียง ตำบลบ้านดง ตำบลศรีสุทโธ ตำบลบ้านชัย ตำบลอ้อมกอ ของจังหวัดอุดร ฯ  และตำบลม่วงไข่ ตำบลเวง ตำบลพันนา จังหวัดสกลนคร
            ในปีเดียวกัน กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอีกครั้งที่วัดศรีโพธิ์ใน ซึ่งต่อมาได้รับการปรับปรุงพื้นที่ขุดค้นเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
            พ.ศ.๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ กรมศิลปากรและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันทำโครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทำการขุดค้นที่บ้านเชียงอย่างละเอียดและต่อเนื่อง
            พ.ศ.๒๕๓๕ คณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก วัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ได้ประกาศให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลก  และยอมรับว่า แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน เป็นร่องรอยทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ที่ให้ความรู้ในเรื่องการปรับตัวของมนุษย์ในอดีตเป็นพัน ๆ ปี อันเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติทุกเผ่าพันธุ์
              การตั้งสนามบินเพื่อเป็นฐานบิน  ในปี พ.ศ.๒๔๘๓  กองทัพอากาศได้เลือกจังหวัดอุดร ฯ เป็นฐานบินปฏิบัติการในกรณีพิพาทอินโดจีน โดยได้ส่งฝูงบินโจมตีมาประจำ ๑ หมู่บิน มีหน้าที่บินรักษาเขตฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณอำเภอโพนพิสัย อำเภอศรีเชียงใหม่ ลอดทั้งบินไปทิ้งระเบิดที่เมืองท่าแขก และเมืองสุวรรณเขต
            ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ กองทัพอากาศได้จัดตั้งฝูงบินอิสระที่ ๒๓ ขึ้นและให้ประจำอยู่ที่จังหวัดอุดร ฯ และได้แปรสภาพเป็นกองบินผสมที่ ๒ ประจำการที่ฐานบินอุดร ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕
 

| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์