|
www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เมืองเก่าของไทย
เมืองเก่าของไทย
มรดกทางธรรมชาติ
พื้นที่ป่า
ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ จังหวัดอุดร ฯ มีพื้นที่ป่าอยู่ประมาณ ๔,๓๔๖,๐๐๐ ไร่ ในระยะต่อมามีการบุกรุกทำลายป่า
จนเหลือพื้นที่ป่าอยู่เพียงประมาณ ๑,๑๗๖,๐๐๐ ไร่ ประมาณร้อยละ ๑๖ ของพื้นที่จังหวัด
ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ว่าต้องมีพื้นที่ป่าถึงร้อยละ ๔๐ จึงจะรักษาสมดุลของธรรมชาติไว้ได้
ป่าสงวน
จังหวัดอุดร ฯ มีป่าสงวนแห่งชาติรวม ๒๑ ป่า รวมพื้นที่ประมาณ ๓,๑๒๐,๐๐๐ ไร่
ประมาณร้อยละ ๔๓ ของพื้นที่จังหวัด ดังนี้
ป่ากุดจับ
อยู่ในเขตอำเภอบ้านผือ อำเภอกุดจับ อำเภอหนองวัวซอ มีพื้นที่ประมาณ ๑๙๔,๐๐๐
ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐
ป่าโคกน้ำเค็ม และป่าโคกดอนโพธิ
อยู่ในเขตอำเภอเพ็ญ มีพื้นที่ประมาณ ๑๐๙,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๑
ป่าพันดอน และป่าปะโค
อยู่ในเขตอำเภอหนองแสง และอำเภอโนนสะอาด มีพื้นที่ประมาณ ๑๙๒,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อ
พ.ศ.๒๕๑๗
ป่าโคกทับถ่าน และป่าโคกวังเดือนห้า
อยู่ในเขตอำเภอเพ็ญ มีพื้นที่ประมาณ ๗๙,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๑
ป่าหมากหญ้า
อยู่ในเขตอำเภอหนองวัวซอ มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๔,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๑
ป่าหนองบุ และป่าหนองหาน
อยู่ในเขตอำเภอหนองหาน มีพื้นที่ประมาณ ๑๖,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๕
ป่าโพธิศรีสำราญ
อยู่ในเขตอำเภอโนนสะอาด มีพื้นที่ประมาณ ๘๗,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๖
ป่าบะยาว ป่าหัวคำ หนองกุงทับม้า ป่าหนองหญ้าไซ
อยู่ในเขตอำเภอวังสามหมอ มีพื้นที่ประมาณ ๔๔๖,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖
ป่าตำบลเชียงหวาง ป่าตำบลเพ็ญ ป่าตำบลสุมเส้า
อยู่ในเขตอำเภอเพ็ญ มีพื้นที่ประมาณ ๕๘,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๗
ป่าเวียงคำ ป่าศรีธาตุ
อยู่ในเขตอำเภอกุมภวาปี และอำเภอศรีธาตุ มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๕,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘
ป่าเขือน้ำ
อยู่ในเขตอำเภอบ้านผือ มีพื้นที่ประมาณ ๑๖๖,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๘
ป่าดงหนองรุ่น และป่าดงหนองไฮ
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๒๑,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๘
ป่านายูง ป่าน้ำโสม
อยู่ในเขตอำเภอน้ำโสม มีพื้นที่ประมาณ ๖๖๙,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๙
ป่าบ้านจีด ป่าไวยลาน ป่าหนองหลัก ป่าคอนสาย
อยู่ในเขตอำเภอไชยวาน มีพื้นที่ประมาณ ๒๐๙,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๓
ป่าบ้านจันทน์ แปลงที่ ๑
อยู่ในเขตอำเภอบ้านดุง มีพื้นที่ประมาณ ๙,๗๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๖
ป่าหนองหญ้าไซ ป่าท่าลาด ป่าวังชัย และป่าลำปาว
อยู่ในเขตอำเภอวังสามหมอ มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๘
ป่าผไท ป่าโคกไม้งาม
อยู่ในเขตอำเภอหนองหาน และอำเภอทุ่งฝน มีพื้นที่ประมาณ ๘๙,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘
ป่าปะโค
อยู่ในเขตอำเภอหนองแสง อำเภอกุมภวาปี และอำเภอโนนสะอาด มีพื้นที่ประมาณ ๙๕,๐๐๐
ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘
ป่าทุม และป่าข่า
อยู่ในเขตอำเภอโนนสะอาด และอำเภอกุมภวาปี มีพื้นที่ประมาณ ๖๘,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐
ป่าบ้านดง และป่าดงเย็น แปลงที่ ๑,๒
อยู่ในเขตอำเภอบ้านดุง มีพื้นที่ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๓๑
อุทยานแห่งชาติและวนอุทยานแห่งชาติ
อุทยาน ฯ ธารงาม
อยู่ที่บ้านทับกุง ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๐ ตารางกิโลเมตร
หรือประมาณ ๘๑,๐๐๐ ไร่ มีธรรมชาติที่สวยงาม มีลานหิน กว้างใหญ่ ถ้ำ และน้ำตกหลายแห่ง
เช่น น้ำตกตาดมะค่า น้ำตากวังตาดเพ น้ำตกธารงาม ถ้ำปักเถิน ถ้าปักควน ฯลฯ
แต่ละแห่งมีความสวยงาม แตกต่างกันออกไป
วนอุทยาน ฯ น้ำตกยูงทอง
อยู่ที่บ้านสว่าง ตำบลนายูง เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่บนสันเขาภูพานและภูผาอู่
น้ำตกยูงทอง เป็นน้ำตกที่มีความสูงชัน มีความสูงสามชั้น สลับซับซ้อน เป็นชะโงก
ลดหลั่นกัน
น้ำตก
นอกจากน้ำตกที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติธารงาม ดังกล่าวแล้ว ยังมีน้ำตกกระจายอยู่ในเขตอำเภอต่าง
ๆ อีกหลายแห่ง ที่สำคัญคือ
น้ำตกคอยนาง
อยู่ที่บ้านท่ายม อำเภอหนองแสง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก สูงสามชั้น ๆ ละประมาณ ๔
เมตร
น้ำตกหินตั้ง
อยู่ในเขตตำบลโนนหวาย อำเภอหนองวัวซอ สภาพทั่วไปเป็นอ่างเก็บน้ำ ที่มีธรรมชาติสวยงาม
น้ำตกผาทอง
อยู่ในตำบลผาสุก อำเภอวังสามหมอ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
น้ำตกผาอินแปลง
อยู่ที่บ้านป่าไม้ ตำบลหนองกุงศรี อำเภอโนนสะอาด เป็นน้ำตก น้าชั้น มีความสวยงาม
น้ำตกภูเงิน
อยู่ในตำบลทมนางาม อำเภอโนนสะอาด เป็นน้ำตกขนาดเล็ก สภาพทั่วไปคล้ายน้ำตกอินแปลง
ต้นน้ำลำธารและแหล่งน้ำสำคัญ
จังหวัดอุดร ฯ ตั้งอยู่ในเขตลุ่มน้ำใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติสองลุ่มน้ำคือ
ลุ่มน้ำชี
และลุ่มน้ำโขง
ลุ่มน้ำชี
ประกอบด้วย ลุ่มน้ำ ห้วยพะเนียง ลำน้ำพวย ลำน้ำพอง ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้อง
ห้วยกองสี ห้วยไพจาน ลำน้ำดันชาด และลำน้ำปาว
ลุ่มน้ำโขง
ประกอบด้วยลุ่มน้ำห้วยหลวง ห้วยน้ำสวย ห้วยโมง น้ำโสม และแม่น้ำสงคราม
ลุ่มน้ำเหล่านี้นอกจากเป็นต้นน้ำลำห้วยสั้น ๆ หลายสาย ชาวจังหวัดอุดร ฯ ยังนำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค
การเกษตรกรรม และการประมง รวมทั้งแหล่งน้ำชลประทาน นอกจากนี้ยังใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ
เพื่อการประปาในอำเภอและชุมชน เช่น ห้วยหลวง ในตำบลโนนสะอาด อำเภอเมือง ฯ
หนองประจักษ์ศิลปาคม อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ
แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำสำคัญ และมีชื่อเสียงเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุดร ฯ ได้แก่ หนองประจักษ์ศิลปาคม
ขุดลอกมาจากหนองนาเกลือ
ซึ่งเป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ พื้นดินบริเวณข้างเคียงมีส่าเกลือ นำมาทำเป็นเกลือสินเธาว์ได้
มีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาว่า เกาะกลางน้ำมีอยู่สามเกาะ ชาวบ้านเรียกว่า เกาะว่าโพน
บนเกาะมีต้นมะเกลือขึ้นอยู่จึงเรียกว่า หนองหมากเกลือ
ปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ ๓๑๕ ไร่ เป็นพื้นที่เกาะ ๖๘ ไร่ พื้นที่น้ำ ๒๔๗ ไร่
แหล่งน้ำสำคัญที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งคือ หนองหาน ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืด
มีพื้นที่ประมาณ ๑๘,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอกุมภวาปี เป็นที่รวมของลำห้วยเล็ก
ๆ หลายสาย
เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ
สวนหินธรรมชาติ
ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บนเทือกเขาภูพระบาท อำเภอบ้านผือ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตบ้านติ้ว
ตำบลเมืองพาน มีพื้นที่ประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ มีสวนหินธรรมชาติ ที่มีลายเขียนสีอยู่มากมาย
ตามผนังถ้ำ และผนังหินต่าง ๆ และมีการสลักหินเป็นพระพุทธรูป
บริเวณดังกล่าว แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลา
จากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติ อันน่าจะเกิดจากการกัดกร่อนของธารน้ำ เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว
ทำให้เกิดก้อนหินน้อยใหญ่ รูปร่างประหลาดจำนวนมาก สภาพทั่วไปประกอบด้วยลานหิน
เพิงหิน ถ้ำ แอ่งน้ำ และผาสูง ซึ่งมีชื่อเรียกตามลักษณะรูปร่างของโขดหิน ผู้คนพบและสภาพที่ถูกจัดทำเป็นศาสนสถานของคนโบราณ
เช่น ถ้ำโนนหินเกลี้ยง ถ้ำสูง ถ้ำดินเพียง ถ้ำนายดวงจิต ถ้ำพระ วัดพ่อตา
หีบศพท้าวบารส ถ้ำมือแดง ถ้ำช้าง หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา ถ้ำพระอาจารย์คำห่วง
คอกม้าน้อย คอกม้าท้าวบารส ถ้ำวัว ถ้ำคน ถ้ำปูน ถ้ำพญานาค เพิงหินกลางวัด
พระพุทธบาทบัวบก ถ้ำห้วยหินลาด ลานสาวเอ้ ถ้ำนายบางหรือชำเม็ก เพิงหินด่านใหญ่
เพิงหินร่อง ถ้ำแก้วหรือถ้ำกวาง เพิงหินใกล้ พระพุทธบาทหลังเต่า ถ้ำเต่า
ถ้ำนายอัมพร ถ้ำลายหรือถ้ำผาผึ้ง ถ้ำไก่หรือถ้ำกาย ภูตูมหรือภูฮวก และกลุ่มถ้ำพระนางหลวง
เป็นต้น
น้ำตกยูงทอง
อยู่บนสันเขาภูพาน และย่าอู่ บ้านสร่าง ตำบลนายูง เป็นน้ำตกที่สูงชั้นเดียวชื่อ
น้ำตกตาดโตน
ชื่อใหม่ตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ คงจะตั้งตามความงามของสายน้ำที่ตกมากระทบโขดหิน
เมื่อต้องแสงแดดจะสวยงามเหมือนนกยูงรำแพน
น้ำตกยูงทองไหลผ่านโขดหินที่สูงชันลงมาจากสันภูพาน น้ำตกจะไหลผ่านหน้าผาสูงชันสามชั้น
ชั้นแรกสูง ๘๐ เมตร ชั้นที่สองสูง ๖ เมตร และชั้นที่สามสูง ๓ เมตร ในฤดูฝนจะสามารถมองเห็นน้ำตกแต่ไกล
โดยจะมองเห็นสายน้ำตกสลับซับซ้อนเป็นชะโงก ลดหลั่นเป็นขั้นตอนสวยงามเมื่อต้องแสงแดดจะระยิบระยับเหมือนแพนหางนกยูง
หน้าผาที่น้ำตกไหลผ่านแต่ละชั้นจะมีแอ่งน้ำลึกและกว้าง มีน้ำใสสะอาดเย็น มีแมกไม้นานาพันธุ์ขึ้นเขียวขจีทั่วบริเวณ
น้ำตกธารงาม
อยู่ที่บ้านทับกง ตำบลทับกง อำเภอหนองแสง อยู่ในเขตอุทยานธารงามบนเชิงเขาภูพาน
ทางทิศตะวันตก เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตระการตา บริเวณโดยรอบมีธรรมชาติที่สวยสดงดงาม
มีลานหินกว้าง มีโขดหินเกาะแก่งเรียงราย และมีน้ำตกอีกหลายแห่งเช่น น้ำตกตาดมะค่า
และน้ำตกตาดเพ มีถ้ำเช่น ถ้ำปักเกิ้น และถ้ำปักควน หน้าถ้ำมีลานหินกว้างสวยงามตามธรรมชาติ
เมืองคำชะโนด
อยู่ที่บ้านม่วง ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านถุง เป็นสวนป่าบนพื้นที่ที่มีน้ำล้อมรอบ
คล้ายเกาะกลางน้ำ บนเกาะมีต้นชะโนดขึ้นรวมเป็นกลุ่มอย่างหนาแน่น ประมาณ ๒๐
ไร่ ภายในสวนป่ามีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่ตรงกลางเรียกว่า บ่อคำชะโนด
เป็นน้ำใต้ดินไหลซึมออกมาตลอดเวลา
ในพิธีสำคัญของรัฐ จะใช้น้ำจากบ่อนี้นำไปใช้ในพิธี อากาศในสวนป่าสดชื่นเย็นสบาย
แตกต่างจากบริเวณภายนอกอย่างชัดเจน
|
|