ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ
            ศาสนบุคคล มีสองลักษณะคือลักษณะที่เป็นสรรพนาม ภาษาพื้นบ้านใช้เรียกบุคคลทางศาสนา และลักษณะที่เป็นตัวบุคคลทางศาสนา
                ลักษณะที่เป็นคำสรรพนาม ใช้เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องในทางศาสนา พอประมวลได้ดังนี้
                    สย่าต่อ  หมายถึง พระเถระผู้ใหญ่ เป็นคำจากภาษาพม่า
                    เจ้าสย่า  หมายถึง พระเถระรองลงมาจากสย่าต่อ
                    หวนเจ้า  หมายถึง พระภิกษุอาวุโส รองลงมาจากหวุนเจ้าโหลง
                    ห่วนจาง  หมายถึง พระภิกษุทั่วไป
                    เจ้าส่างโหลง  หมายถึง สามเณรโค่งคือ สามเณรที่มีอายุเกิน ๒๐ ปี แต่ยังมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนพอที่อุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้
                    เจ้าส่าง - สามเหน่ หมายถึงสามเณร
                    ตะปี่จอง (กัปปิยะบุคคล) หมายถึงศิษย์วัด
                    ปู่จอง  หมายถึง ผู้ทำหน้าที่เหมือนศิษย์วัด แต่เป็นผู้ใหญ่ บางวัดที่ไม่มีพระภิกษุสงฆ์อยู่ หรือว่างจากพระภิกษุสงฆ์เป็นการชั่วคราว ก็จะได้ปู่จองเป็นผู้ดูแลรักษาวัด
                    ปู่ขาว  หมายถึง ผู้ชายที่นุ่งขาวถือศีลแปด
                    นายขาว  หมายถึง แม่ชี
                    ตะก่า  หมายถึง อุบาสก
                    ตะก่ามะ  หมายถึง อุบาสิกา
            ศาสนธรรม  คนพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดแม่ฮ่องสอนคือ คนไต (ไทยใหญ่) นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ปฏิบัติตามคำสอนพระพุทธศาสนา ในการดำรงชีวิตประจำวัน จะเห็นได้เจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชีวิตประจำวันคือ
                ชอบทำบุญทำทาน  บึดมั่นในผลแห่งการทำบุญทำทาน
                ยึดมั่นในศีล และประเพณีอันดีงาม  ในอดีตพอมีอายุย่างเข้าพ้นวัย ๔๐ ปี ชาวแม่ฮ่องสอนจะนอนวัดในวันพระ เรียกว่า นอนกยอง หรือเข้าวัด ถืออุโบสถศีลหนึ่งวันหนึ่งคืน ก่อนกลับบ้านจะสมาทานศีลห้า
                เน้นการปฎิบัติ   ผู้ที่นอนวัดจะมีลูกประคำประจำตัวสำหรับใช้เป็นอุปกรณ์ในการทำสมาธิ (นับลูกประคำ)  โดยเฉพาะตอนเช้าหลังจากฟังเทศน์จบ และตอนเย็นหลังสวดมนต์เย็น
                ยึดมั่นในจุดหมายแน่นอนคือนิพพาน  เมื่อทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาใด ๆ จะจบลงด้วยการอธิษฐานขอถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยคำว่า นิปปานนะ ปิ๊ดจะยอฮอต  (นิพพาน ปัจจโย โหตุ)  อยู่เสมอ ยึดมั่นในปฏิปทาที่จะพาให้ถึงพระนิพพาน ยึดมั่นในอริยมรรคมีองค์แปด ให้มองสรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา )  พยายามฝึกตนให้มีสติ
                มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ในอดีตแต่ละหลังคาจะปลูกผักสวนครัว หากบ้านใครยังไม่ออกดอก ออกผลก็จะขอเก็บจากบ้านคนอื่นได้ ในลักษณะพึ่งพาซึ่งกันและกัน พืชผักทั่วไปจะไม่มีขาย มีแต่ให้เปล่ากัน
                เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ (ผู้อาวุโส)  ผู้อาวุโสเองจะวางตัวเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือ เป็นที่พึ่งทางความคิด และแนวปฎิบัติที่ถือเป็นตัวอย่างได้
            ศาสนสถานและศาสนสมบัติ
                ศาสนาสมบัติ  ประกอบด้วย ที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาสงฆ์ หรือที่วัดร้างต่าง ๆ
                ศาสนสถาน  มีสิ่งที่ควรทราบคือ
                    กยอง  (วัดหรือศาลาการเปรียญ)  วัดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามประเพณีของคนไต (ไทยใหญ่)  เป็นอาคารอเนกประสงค์ ผสมประโยชน์ใช้สอยในรูปของศาลาการเปรียญ รวมกับกุฎิที่อยู่ของพระภิกษุสงฆ์ในอาคารหลังเดียวกัน  ไม่แยกออกจากกันเหมือนภาคอื่น
                    สิ่ม  ( อุโบสถ)  หรือ สมถ ในอดีตไม่มีอุโบสถถาวร จะไปปลูกอุโบสถชั่วคราวไว้ในแหล่งน้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นสระ หนอง เรียกว่า "สิ่มกลางน้ำ"
                    ส่างหว่าง  คือ ซุ้มประตูรั้ว หรือกำแพงวัด หรือซุ้มบันไดอาคารบางแห่ง จะมีทางเดินมีหลังคาเป็นแนว ตั้งแต่ส่างหว่างจนถึงตัวอาคาร ส่างหว่างจะเป็นที่พักผ่อนยามว่าง และเป็นสถานที่เก็บรองเท้า เพราะชาวไตจะถอดรองเท้าตั้งแต่ส่างหว่าง คือประตูรั้ว หรือกำแพงวัด
                    หลัก  คือ ห้องนอนของพระภิกษุ สามเณร
                    กยองไฟ  คือ ครัวไฟของวัด
                    สล๊อบ  คือ ศาลาสำหรับใช้เป็นที่จำศีลของอุบาสก อุบาสิกา ในวันพระ หรือเป็นที่พักคนเดินทางในโอกาสที่ทางวัดไม่ได้ใช้วาน
                    กองมู  คือ เจดีย์
                    อูหม่าง  คือ ที่บรรจุอัฐิ ผู้ถึงแก่กรรม
            ศาสนพิธี  ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับในภาคอื่น แต่มีชื่อเรียกเป็นภาษาไต แต่บางแห่งก็มีเฉพาะในท้องถิ่น
                ปอยส่างลอง  คือ การบวชเณรซึ่งมีพิธีการคล้ายกับการบวชลูกแก้วของล้านนา และการบรรพชาของภาคกลาง แต่ทำเป็นพิธีใหญ่โต ใช้เวลาและมีขั้นตอน และกิจกรรมมากกว่า
                ปอยกองโหล  เป็นการทำบุญจุดกองไฟถวายพระสงฆ์ ส่วนใหญ่จะทำในฤดูหนาวในเดือนที่อากาศหนาวจัด มักจะตรงกับเดือนสาม
                ปอยโบกไฟ  เป็นพิธีทำบุญบ้องไฟ
                ซอมต่อโหลง  คือ การถวายข้าวพระพุทธ (พระพุทธรูป)  โหลงหมายความว่า ใหญ่ หรือสำคัญ การถวายข่าวพระพุทธลักษณะนี้ เลียนแบบการถวายข้าวมธุปยาสของนางสุชาดา คือ ข้าวหุงด้วยเนย นม น้ำตาล และเครื่องปรุงรสอื่น ๆ  ส่วนมากนิยมทำในเดือนหก  (วันวิสาขบูชา)
                วานปะลิก  คือ การสวดมนต์เพื่อขับไล่สิ่งที่เป็นอัปมงคลต่อบุคคล บ้านเรือน หมู่บ้าน ชุมชน เพื่อคุ้มครองกันภัย อันตราย และเพื่อความเป็นสิริมงคล
                คานต๊อด  คล้ายกับการทอดผ้าป่าของภาคกลาง แต่มีขั้นตอนพิธีการแตกต่างกันคือ ศรัทธาถวายผ้าป่าจะไม่ให้พระสงฆ์รู้ตัว เมื่อเตรียมการพร้อมแล้ว ตอนกลางคืนจะแอบนำต้นผ้าป่า ไปตั้งไว้ที่บันไดกุฎิ หรือศาลาการเปรียญ โดยพยายามทำให้เงียบที่สุด แล้วจะพากันไปแอบดูอยู่ห่าง ๆ  ไม่ให้พระสงฆ์เห็น เมื่อทุกอย่างเตรียมเรียบร้อยแล้วก็จุดประทัด เพื่อปลุกพระสงฆ์ให้ตื่น เมื่อมีพระลงมาทำพิธีชักบังสกุล ก็จะประณมมือรับพร โดยไม่ให้เห็นตัว เสร็จแล้วคณะศรัทธาก็กลับบ้านเป็นอันเสร็จพิธี เป็นการเลียนแบบผ้าป่าในสมัยพุทธกาล ในลักษณะที่พระสงฆ์ไม่รู้ว่าผ้านั้นเป็นของใคร
                ปอยกะถิ่ง และปอยส่างกาน  เหมือนกับการทำบุญถวายกฐิน และถวายของภาคกลาง ซึ่งนิยมทำกันในเดือนสิบเอ็ด-เดือนสิบสอง
                ปอยหลู่ข้าวใหม่  คือ การทำบุญถวายข้าวใหม่ เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ก่อนนำเก็บในยุ้งฉาง ก็จะนำมาทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ก่อน

                ขึ้นกยอง  คือ การไปวัด ฟังธรรม สมาทานอุโบสถศีลนั่นเอง ขั้นตอนวิธีการเหมือนกับในภาคกลาง ที่แตกต่างคือ เป็นการถืออุโบสถศีลที่ต้องนอนที่วัด ที่คนไต เรียกว่า นอนวัด
                 การนอนวัด จะนอนหนึ่งคืน โดยลูกหลานจะจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องนอน อาหาร และไทยธรรม แก่ผู้ไปนอนวัด ตอนเช้ามืดลูกหลานจะเตรียม ซอนต่อ (ภัตตาหารถวายพระพุทธ)  ธูปเทียน ไปส่งให้ผู้นอนวัด พร้อมกับรับเครื่องนอน และอุปกรณ์อื่น ๆ กลับบ้าน ปัจจุบันพิธีกรรมนี้กำลังจางหายไป

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์