ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
   การแต่งกาย

                การแต่งกายของชายไต  กางเกงเป็นกางเกางขาก๊วย เป้าและขาเหมือนกางเกงจีน เอวกว้าง ใช้พับทบเข้ามาให้พอดีกับเอว เรียกว่า ก๋นไต คาดเข็มขัด
                    เสื้อ ตัวในใช้เสื้อเชิร์ต มีเสื้อกล้ามรองชั้นในอีกชั้นหนึ่ง เสื้อตัวนอกใช้เสื้อคอกลมแขนยาว ไหล่เลยลงมา ต่อตะเข็บกึ่งกลางแขน ผ่าหน้า ติดกระดุมขอดห้าคู่ ด้านหนึ่งใช้ผ้าขอดเป็นหัวกระดุม ลักษณะหัวแมลงวัน อีกด้านหนึ่งเป็นห่วงเย็บติดขนานกัน  เหลือห่วงตรงหัวผ้าเป็นหูกระดุม แล้วนำกระดุมมาสอดเข้ากับหูกระดุม มีชายผ้าเป็นหางเย็บทอดต่อจากหัวและหูกระดุมทั้งสองข้างยาวประมาณ ๒ นิ้ว ตัวยาวเท่าสะโพกเรียกว่า เส้อแต๊กปุ่ง มักใช้ในโอกาสที่เป็นงานพิธี
                    ผ้าเคนโห  เป็นผ้าโผกศีรษะ เดิมใช้ผ้าทอ ต่อมาหายากจึงใช้ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าขาวม้าเป็นผ้าโพกศีรษะแทน
                    ทรงผม  ตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุ ๑ - ๘ เดือน จะมีพิธีมงคลครั้งแรกเรียกว่า ทนเหลิม มีพิธีทางศาสนา โดยเชิญผู้เฒ่าผู้แก่มาผูกข้อมือให้ทารก อาบน้ำที่แช่ด้วยทองคำ เพชร นิล จินดา เรียกว่า อาบเหลิม จะโกนผมเป็นครั้งแรกเหลือผมไว้เฉพาะตรงกระหม่อม เมื่อโตขึ้นก็จะโกนเกลี้ยงศีรษะหรือไว้ผมทรงนักเรียน ต่อมาก็ไว้ผมทรงต่าง ๆ ตามที่ชอบ ชายสูงอายุบางคนนิยมเกล้ามวยไว้ตรงกลางศีรษะ แล้วโพกด้วยผ้าโพกศีรษะ เมื่อไปงานพิธีใด ๆ ก็จะปลดผ้าโพกศีรษะลงมาพาดไหล่ ถือว่าเป็นการแสดงความสุภาพอ่อนน้อมต่อสิ่งที่ควรเคารพบูชา
                    เครื่องประดับ  ผู้มีฐานะส่วนใหญ่จะสวมแหวนทองคำแกะสลักลาย ใช้ทับทิมสีเป็นหัวแหวนเรียกว่า มงโดยปานกว่าง และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดถึงลูกหลานด้วย ในอดีตผู้ชายไตชอบพกมีดอุ่นงีน คือมีดเหน็บด้ามงา ประดับลายเครื่องเงิน มีฝักหุ้มด้วยลายฉลุเงินสวยงาม หรือสายพายดาบที่ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัว
                    รองเท้า ใช้รองเท้าสานคีบ (รองเท้าแตะ) หรือรองเท้าหุ้มส้นผ้าใบ หรือหนังตามฐานะเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล
                          - การแต่งกายของสตรีไต  ตั้งแต่เป็นทารกแรกเกิด ผู้เป็นแม่จะห่อหุ้มตัวทารกด้วยผ้าอ้อม ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าเป็นเวลาสามเดือน แล้วจึงใส่เสื้อและพันผ้าอ้อมในส่วนล่างของร่างกาย
                          เมื่อพ้นวัยนุ่งผ้าอ้อมแล้ว แม่จะตัดกระโปรงชุดให้ลูกหญิงเรียกว่า  เส้อซุบ  สมัยก่อนนิยมตัดตัวใหญ่ ๆ หรือใส่เสื้อผ้าต่อกันไปในหมู่พี่น้อง เพื่อเป็นการประหยัด
                          เมื่อโตพอจะนุ่งผ้าซิ่นได้แล้ว แม่จะสอนให้นุ่งผ้าซิ่นคาดเข็มขัด เสื้อชั้นในจะปักลูกไม้ที่ด้านหลังยกทรงเล็กน้อย ตีเกล็ดถี่ ๆ ไว้บนทรง บ่าใหญ่ประมาณสองนิ้วมือ เป็นเสื้อผ้าหน้า ใช้เข็มกลัดหรือติดกระดุมเรียกว่า เส้อปิดจ่า สวมเสื้อไตหน้าต่อทับด้านนอก ผู้ใหญ่ใช้เสื้อไตหน้าแว๊ด แบบเสื้อชาวจีนคอกลม แต่ชายเสื้อสั้นแค่เอว มีกระดุมขอสอดกับหูกระดุมอีกด้านหนึ่ง เช่นเดียวกับเสื้อชาย หรือใช้กระดุมชุดจากพลอยพม่า ถ้าใช้กระดุมชุดพลอยกระดุมผ้าที่เย็บติดกับตัวเสื้อ จะเย็บเป็นหูทั้งสองข้าง ใช้ห่วงของกระดุมพลอยสอดคล้องกับหูกระดุมผ้า แล้วใช้เม็ดพลอยสอดห่วงผ้าอีกข้างหนึ่ง เพื่อสอดรั้งให้ติดกันไว้สองข้าง
                    ผ้าซิ่น  จะใช้ผ้าที่มีลวดลายเป็นส่วนใหญ่ เย็บตะเข็บเดียวเป็นผ้าถุงธรรมดา สมัยก่อนจะใช้ผ้าเนื้อนิ่ม สีดำต่อตรงเอวหัวซิ่น เวลานุ่งผ้าจะเหน็บชายหัวซิ่นได้แน่น ใช้เข็มขัดเงินคาดทับผ้าซิ่นแต่ละแบบ จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปคือ ซิ่นก้อง เป็นซิ่นทอยกลายหรือดอก ซิ่นส่วยตอง เป็นผ้าไหมทำมาจากเมืองสวยตองใกล้เมืองมัณฑะเล ซิ่นปะล่อง เป็นไหมลายขวาง ซิ่นหลาย เป็นผ้าไหมเนื้อดี ซิ่นฮายย่า คล้ายผ้ามัดหมี่ แต่เป็นลายเล็ก ๆ ซิ่นถุงจ้าบ เป็นการเอาเศษผ้าเหลือจากซิ่นผ้าถุงอื่น ๆ นำมาต่อกันเป็นซิ่นหลายสี หลายลาย หลายตะเข็บ ซิ่นปาเต๊ะ นิยมใช้กันทั่วไป
                    ทรงผม  แบ่งออกเป็นหกทรง ตามวัยคือ

                        - ทรงปกกระหม่อม  คือ โกนผมรอบศีรษะ เหลือเส้นผมกระจุกเดียว เป็นทรงผมเด็กทารก
                        - ทรงหน้าม้า  แบบเดียวกับทรงนักเรียน ด้านในโกนผมออก เหลือไว้ตรงกลางศีรษะ รัศมีประมาณ ๔ นิ้ว ปล่อยยาวสลงมาเท่ากับทรงนักเรียน ด้านหน้าคลุมหน้าผากไว้ เหนือคิ้ว เป็นทรงสำหรับวัยเด็ก

                        - ทรงสะต๊อก  ไว้ต่อจากทรงหน้าม้า คือพ้นวัยเด็กสู่วัยรุ่น จะปล่อยผมส่วนที่ไว้ตรงกลางศีรษะยาวพอเกล้ามวยได้ ด้านข้างหูทั้งสองข้าง ยาวพอที่จะนำมาคล้องหู แล้วให้ปลายผมยื่นออกไปเคลียอยู่ข้างแก้มทั้งสองข้าง แบบผมนี้จะใช้ไปจนแต่งงานจึงเปลี่ยนผมไปอีกทรงหนึ่ง

                        - มวยเกล้าปาด  สำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว จะไว้ผมยาวให้มากที่สุด แล้วนำมาเกล้าไว้กึ่งกลางศีรษะเป็นมวยขนาดใหญ่ โดยหวีแผ่ขนานกับด้านบนของศีรษะ ให้ขนานของมวยเล็กกว่าศีรษะเล็กน้อย ใช้เครื่องประดับจำพวกบิมหรือหวีทองคำเสียบไว้
                        - มวยเกล้าขัดแก้ว  สำหรับหญิงวัยกลางคนถึงสูงอายุ จะใช้หวีที่ทำจากเขาสัตว์ หรือกระดองเต่าเสียบไว้กับผม ยาวด้านท้ายทอย แล้วใช้ผมส่วนที่เหลืออยู่ด้านล่างหวี พันรอบหวีหลาย ๆ รอบ แล้วเหน็บปลายผมไว้ด้านใน

                        - มวยเกล้าจ๊อก  สำหรับผู้สูงอายุถึงวัยชรา เป็นแบบสบาย ๆ ใช้ปลายผมสอดกับโคนผมที่ทำเป็นห่วงดึงให้แน่น แล้วพันเส้นผมไปรอบ ๆ มวย เหน็บชายผมซ่อนไว้ด้านใน
                 เครื่องประดับ  มีอยู่หลายประเภทด้วยกันคือ
                        - เครื่องประดับศีรษะ นิยมใช้หวีทองคำ ปิ่นปักผมทองคำ ประดับอัญมณีทับทิม
                        - เครื่องประดับหู  ในวัยเด็กถึงวัยรุ่น ใช้ตุ้มหูพวงห้อยเรียกว่าเป้หูต่องต้อย วัยผู้ใหญ่ใช้จี้หูเรียกว่า เป็หูหน้าก้าด วัยสาวใช้จี้หูขนาดเล็ก ใช้พลอยเม็ดเล็ก ๆ เรียงให้เป็นวงกลม ตรงกลางวงจะเป็นพลอยคัดพิเศษ วัยสูงอายุจะใช้จี้หูขนาดใหญ่ขึ้นใช้พลอยเม็ดเท่าหัวไม้ขีดเรียงกันเป็นวงแบบเดียวกัน มักใช้ทับทิมเพชรพม่าและไข่มุก
                        - เครื่องประดับคอ  นิยมใช้สร้อยคอทองคำประดับอัญมณีจำพวกทับทิมมากที่สุด รองลงมาคือหนี่หลา (พลอยสีฟ้า)
                        - เครื่องประดับแขน  เป็นกำไลใช้ทองเส้นประกบลอดสานกันหลายเส้น หัวตัดธรรมดาบ้างหัวมาดบ้าง หัวเสือบ้าง เรียกว่า แหวนโกยหลิ่ม (คนไตเรียกกำไลว่าแหวน เรียกแหวนว่ามงโดย) ใช้ทองตีเป็นปล้อง ต่อ ๆ กันเป็นวงเรียกว่า แหวนปล้องอ้อย ใช้ทองตีเป็นแผ่นยาว ๆ ทบด้านข้างเข้าหากัน ทำเป็นวงวกลมรอบข้อมือเรียกว่าแหวนแพ็บ ตีเป็นท่อนกลมเรียกว่า แหวนก๋ม ประดับด้วยอัญมณีเช่น ทับทิม พลอยสีฟ้า นิล หยก มรกต เพชร ฯลฯ ด้านบนทั้งสองส่วนจะมีสลักเสียบเชื่อมต่อเป็นวง มีสลักและสายรั้ง เครื่องประดับนี้เรียกว่า แหวนแสว
                        - เครื่องประดับนิ้วมือ  เป็นแหวนจำพวกเดียวกับกำไล
            การกินการอยู่  ชาวแม่ฮ่องสอนกินแบบเรียบง่าย ประหยัด อาหารการกินได้มาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ปรุงให้ผิดจากวัตถุดิบมากนัก นิยมบริโภคข้าวเจ้า ไม่นิยมข้าวเหนียวเหมือนชาวล้านนา ข้าวเหนียวจะใช้ทำขนม
                วิธีปรุงอาหารไม่ซับซ้อนมีประเภท ต้ม แกง ยำ ทอด อบ เครื่องปรุงมี พริก เกลือ หัวหอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ฯลฯ ถั่วเน่าใช้แทนกะปิ
                อาหารแบบง่ายที่สุด คือ น้ำพริก ซึ่งปรุงด้วย พริก เกลือ ถั่วเน่า ปลาแห้ง นำมาโขลกรวมกัน จิ้มด้วยผักสดชนิดต่าง ๆ
                ขนมหวานมีหลายอย่าง ปรุงด้วยวิธีแบบพื้นเมือง เช่น อะละหว่า เข้ามูนปาด แปม้ง ส่วยทะมิ่น เข้ามูนจ๊อก เข้ามูนแตน เข้าเม็ดถ่าย เข้าแต๋น น้ำถ่อแหย่ ฯลฯ
            กิริยามารยาท  ชาวไตเป็นผู้มีมารยาทงดงาม นับตั้งแต่การแต่งกายทั้งชายหญิง เสื้อผ้า จะปกปิดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแทบทุกส่วน  จะเห็นแต่ส่วนศีรษะ มือ และเท้า เท่านั้น
                การพูดจา  มีภาษาพูดที่สุภาพ เมื่อจะวิสาสะกับผู้ใด ก็จะดูวัยของผู้ที่จะพูดด้วย สมควรที่จะให้เกียรติก็จะยกย่องให้เกียรติ คำแทนชื่อตนเองที่สุภาพจะใช้คำว่า ข้า คำขานรับ ใช้คำว่า อ้อ  คำที่ใช้เรียกขาน จะใช้ดังนี้
                    ชายที่มีวัยอ่อนกว่า  เรียกว่า  จาย หรือ ส่าง (ผู้ที่บวชพระแล้ว)
                    หญิงที่มีวัยอ่อนกว่า  เรียกว่า   นาง
                    ชายที่มีวัยสูงกว่าเล็กน้อย  เรียกว่า  ปี้อ้าย หรือปี้ส่าง
                    หญิงที่มีวัยสูงกว่าเล็กน้อย  เรียกว่า  ปี้นาง
                    ชายที่มีวัยขนาดหรือแก่กว่าพ่อ  เรียกว่า  ป้อลุง
                    หญิงที่มีวัยขนาดหรือแก่กว่าแม่  เรียกว่า   แม่ป้า
                    ชายที่มีวัยขนาดหรือแก่กว่า ปู่, ตา  เรียกว่า  ป้อเฒ่า
                    หญิงที่วัยขนาดหรือแก่กว่า ย่า,ยาย    เรียกว่า  แม่เฒ่า
                การต้อนรับ  เมื่อมีแขกมาที่บ้านจะเชิญให้นั่งในที่อันสมควรแล้ว จะไปยกขันหมาก พลู เมี่ยง น้ำต้น น้ำชา ขนม มารับรองแขก เมื่อแขกอยู่คุยจนถึงเวลาที่อาหารสุก ก็จะเชื้อเชิญแขกร่วมกินอาหารด้วย ในสมัยก่อนที่การคมนาคมยังไม่สะดวก หากมีแขกเดินทางมาจากต่างหมู่บ้าน หรือต่างเมือง ก็จะเชื้อเชิญแขกให้พักที่บ้านของตน และจะเลี้ยงดูแขกเหมือนกับเป็นสมาชิก ส่วนหนึ่งของครอบครัว แขกจะพักอยู่กี่วันก็ได้ เมื่อแขกจะกลับมีของอะไรก็จะฝากไปให้ด้วย
            ประเพณีท้องถิ่น  ประเพณีบางอย่างยังรักษาและถือปฎิบัติอยู่ เช่น ประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน การทำบุญ การตาย ฯลฯ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์