ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
            การทำมาหากิน  ชาวบ้านส่วนมากประกอบอาชีพตามบรรพบุรษของตน ได้เรียนรู้จากการปฎิบัติเป็นผู้ช่วยเหลือ ผู้เชี่ยวชาญก่อน สะสมประสบการณ์ แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันไป
                การเกษตรกรรม  มีการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มาทำเครื่องมือทางเกษตรกรรม
                การประมง  มีการจับสัตว์น้ำจากแม่น้ำลำคลองมาเป็นอาหาร โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้น ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
                หัตถกรรม  มีการสืบทอดกันมาโดยเรียนจากบุคคลในครอบครัว หรือมอบตัวเป็นศิษย์กับผู้ชำนาญการเช่น การถักทอ จักสาน แกะสลัก ช่างเหล็ก ช่างเงิน  ช่างทอง ฯลฯ

                อุตสาหกรรม  ในด้านการผลิตอาหาร มีการใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น ครกมอง (ครกกระเดื่องตำข้าว)  โหลย (เครื่องปั่นให้เปลือกข้าวหลุด)  ครกน้ำ (ครกตำข้าวใช้แรงน้ำ)  ครกปันบีบน้ำมันจกาพืช ครกบีบอ้อย ฯลฯ
                การค้าขาย  มีเรื่องที่น่ารู้คือ มาตราชั่ง ตวง วัด และด้านการขนส่งสินค้า

                    เครื่องชั่ง  ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า หยาจู  ใช้ชั่งสินค้าขนาดกลางหรือขนาดใหญ่  ยอย  ใช้ชั่งสินค้าขนาดเล็ก ๆ และเบา เช่น เครื่องปรุงยาสมุนไพร เงิน ทองคำ ฯลฯ
                    ลักษณะของเครื่องชั่ง ประกอบด้วยเสาเป็นหลักกลาง มีคานพาดเสาให้คานยื่นไปสองข้างเท่ากัน ปลายคานผูกสายโยงสามขา หรือมากกว่า ที่ปลายสายโยงมีถาดกลมทำด้วยเครื่องจักสาน หรือแผ่นโลหะ ในถาดด้านหนึ่งใส่ของที่ต้องการชั่ง อีกด้านหนึ่งใส่อุปกรณ์ที่กำหนดน้ำหนัก ทำด้วยโลหะทองเหลือง หรือตะกั่ว หล่อเป็นรูป ช้าง ม้า สิงห์ ฯลฯ

                    เครื่องตวง  (แจ่แหล่)  ทำด้วยกะลามะพร้าว โดยขูดผิวให้สะอาดเป็นมัน ทำขนาดให้จุเท่ากับปริมาณของแจ่แหล่เดิมที่ใช้อยู่ ภาชนะที่เรียกว่า ก๊อกแป่ และข้องควาย สำหรับใช้ตวงเช่นกัน สานด้วยไม้ไผ่ หวาย ทำขอบด้วยเหล็ก ทองเหลือง หรือไม้เถา ทาด้วยรัก เพื่อให้ทนทาน
                    การตวง เป็นจอ ใช้ในกรณีตวงข้าวสารเป็นจำนวนมาก   ( ๑ จอ = ๒๐ ควาย )

                    การขนส่งสินค้า  ในระยะแรกอาศัยคนหาบ ต่อมามีการใช้วัวต่าง และม้าต่าง
                        - คนหาบ  คนหนึ่งสามารถหาบของได้หนัก ๒๐-๒๕ กิโลกรัม ในสมัยก่อนถือเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง ค่าจ้างนั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักสินค้า และระยะทางเป็นกรณี ๆ ไป เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๗  ค่าจ้างหาบของจากเชียงใหม่ ถึงขุนยวม ตกกิโลกรัมละ ๒.๕๐ บาท

                        - วัวต่าง  คาราวานวัวต่าง มักเดินทางด้วยกันหลายคณะ แต่ละคณะมีวัวต่าง ๒๐ - ๕๐ ตัว  วันหนึ่งเดินทางได้ไม่เกิน ๕ ชั่วโมง ส่วนมากจะออกเดินทางประมาณตีห้า พอตกประมาณสี่โมงเช้า แดดเริ่มร้อน ก็ต้องหยุดพัก ปล่อยวัวให้ไปกินน้ำกินหญ้า ตอนเย็นต้องต้อนวัวมาผูกกับหลัก ล้อมรอบกองไฟเป็นกลุ่ม ๆ  คนเลี้ยงวัวจะแบ่งกันรับผิดชอบนอนรอบนอก เพื่อป้องกันอันตรายจากเสือและสัตว์ร้าย คนเลี้ยงวัวต้องไปตัดไม้มาทำหลักผูกวัว ตัดไม้ไผ่มาจักสานเป็นเสื่อปูทับหมอนวัว ตัดต้นปอมาถลกเปลือกฝั้นเป็นเชือก
                        การเดินทางไปกลับจากจังหวัดเชียงใหม่ใช้เวลาประมาณเดือนครึ่ง ในปีหนึ่งสามารถเดินทางไปขนส่งสินค้าได้อยากมากไม่เกินสามครั้ง วัวตัวหนึ่งบรรทุกน้ำหนักได้ประมาณ ๔๐ - ๕๐ กิโลกรัม

                        - ม้าต่าง  ปัจจุบันยังพอมีให้เห็นตามหมู่บ้านชาวเขาเผ่ามูเซอ ลีซอ การใช้ม้าต่างนี้ชาวจีนเป็นผู้นำมาเผนแพร่ ปกติม้าต่างสามารถบรรทุกได้ ๒๕ - ๓๐ กิโลกรัม หากเดินทางระยะไกล ๆ จะแบ่งการเดินทางเป็นสองช่วงต่อวัน เริ่มออกเดินทางตอนเช้าประมาณ หกโมงเช้าจนถึงสี่โมงเช้า พอแดดร้อนก็จะหยุดพัก และเริ่มเดินทางอีกครั้งประมาณสามโมงเย็นจนถึงหกโมงเย็นจึงหยุดพักนอน
                        ม้าต่างเดินทางได้เร็วกว่าวัวต่าง แต่บรรทุกน้ำหนักได้น้อยกว่า ปกติผู้ติดตามม้าต่างจะต้องมีอย่างน้อยสองคน คนติดตามหนึ่งคนรับผิดชอบม้าไม่เกินสี่ตัว
            การจัดองค์กรในชุมชน
                การปกครอง  มีปู่แด่น (กำนัน) ปู่ก้างหรือปู่แก่ (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นผู้ปกครองดูแลในตำบลและหมู่บ้าน โดยจะมีนาของหมู่บ้านให้ปู่แค่นและปู่แก่ ได้ทำกินหรือเก็บค่าเช่าในขณะที่ดำรงตำแหน่ง นอกจากนั้นจะมีผู้อาวุโสเป็นที่เคารพนับถือไว้เป็นที่ปรึกษาในกรณีต่าง ๆ เรียกว่า จองอุปะก่า (คหบดี)
                การปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม ในหมู่บ้านหนึ่งจะมีคนที่ทำหน้าที่แก่ส่วนรวมตามลักษณะต่าง ๆ คือ จเร หมายถึงผู้เชี่ยวชาญการอ่านหนังสือ จะได้รับเชิญไปอ่านคัมภีร์ในการจัดงานต่าง ๆ ของชุมชน และเจ้าภาพจะจ่ายค่าตอบแทนเหมือนการนิมนต์พระสงฆ์ไปทำพิธีทางศาสนาต่าง ๆ
                    ปู่เจ้าเมิง  เป็นผู้ดูแลเจ้าเมิง (ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง) มีนาให้ใช้ประโยชน์ได้
                    แก่เหมืองแก่ฝาย เป็นหัวหน้าดูแลเหมืองฝาย เจ้าของที่นาที่ใช้น้ำจากฝายนั้น ๆ จะให้ข้าวเป็นค่าตอบแทนให้แก่ฝ่าย ตามอัตราที่ตกลงกัน
                    แม่เก็บ  เป็นหมอตำแยประจำหมู่บ้าน ผู้ใช้บริการจะให้ผลประโยชน์ตามฐานะ โดยวิธีซูกมือ (ล้างมือหรือลดน้ำที่มือ) พร้อมทั้งให้ข้าวสาร เงิน หรือสิ่งอื่น ๆ ตามสมควร
                    สล่า (แพทย์แผนโบราณ) ทำหน้าที่หมอประจำหมู่บ้านได้ผลประโยชน์เช่นเดียวกับหมอตำแย
                    ป้อมจันดา (คนเผาศพ) ได้ผลประโยชน์จากเจ้าภาพ ไม่ได้กำหนดอัตราไว้
                    สล่าส่อ  หมายถึงบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจากผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน เพื่อทำหน้าที่บอกหรือป่าวประกาศเรื่องต่าง ๆ ไปตามถนนในหมู่บ้านเป็นจุด ๆ ทั้งงานในราชการ งานส่วนรวม และเหตุการณ์ที่เกิดในหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านจะมีสล่าส่อประจำอยู่หนึ่งคน และมีผู้ช่วยอีกหนึ่งคน ส่วนมากคัดเลือกจากผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ช่วงเวลาส่อจะเป็นเวลาหกโมงเย็นเป็นต้นไป ถ้ามีเหตุการณ์ตอนเกิดขึ้นในหมู่บ้าน สล่าสอจะออกสอทันที จะเป็นเวลาใดก็ได้ และไม่ต้องรอคำสั่ง
                     ค่าตอบแทนจะได้จากการรวบรวมเงินในหมู่บ้านทุกครัวเรือนเอาไปซื้อที่ดินไว้หนึ่งแปลงให้สล่าส่อทำกินเรียกว่านาหลวง สล่าส่อที่คัดเลือกมาจากประชาชนจะได้รับการยกเว้นภาษี ๔ บาท
            ศิลปกรรม  มีวิวัฒนาการตามยุคสมัยและตามเทคนิคเฉพาะตัวของช่างแต่ละคน
                จิตรกรรม  คือ การประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ การเขียนภาพ การเจาะ ฉลุ แกะสลัก
                    การทำตำซ่อนหรือตุง (ธง)  ด้วยการฉลุ เจาะ กระดาษ ไม้ สังกะสี เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ในระหว่างวันขึ้น ๑ - ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ดของทุกปี

                    การทำจองพารา ใช้การเจาะและฉลุกระดาษ ประดิษฐ์ลายไต ประดิษฐจองพาราให้สวยงาม ตามแบบศิลปดั้งเดิมของคนไต
                ประติมากรรม  การสร้างพระประธานตามวัดต่าง ๆ ทั้งโดยวิธีก่ออิฐถือปูนหรือไม้สลัก การก่อสร้างสถูปเจดีย์ วิธีการก่อสร้าง และประดิษฐ์ลวดลายสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
                 การก่อเจดีย์ชาวไตเรียกว่ากองมู ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน ตรงกลางขึ้นไปเป็นรูปทรงกรวยแหลมขึ้นไป ยอดเจดีย์จะมีฉัตรและมีกระดิ่งแขวนไว้ ตรงมุมฐานทั้งสี่จะมีรูปปั้นราชสีห์ก่ออิฐฉาบปูนเรียกว่า สาวซี่ มุมละหนึ่งตัว ส่วนฐานด้านบนใกล้ทรงกรวยจะปั้นเป็นรูปสัตว์ประหลาดมีหัวเป็นมนุษย์ แต่ลำตัวเป็นราชสีห์แฝดสองตัว ชาวไตเรียกว่า สี่ฮะสองปุ๋มมุมละหนึ่งตัว รวมเป็นสี่ตัว นอกจากนี้จะสร้างแจกันดอกไม้ติดตั้งไว้ทั้งสี่ด้าน
                 การก่อเจดีย์จะก่อด้วยอิฐลึกเข้าไปประมาณเมตรครึ่ง แล้วใช้ดินหล่อข้างใน ตรงกลางมีแกนเหล็ก ลายไตที่ใช้มีลักษณะเป็นบัวคว่ำบัวหงาย ข้างในเจดีย์จะบรรจุแก้ว แหวน เงิน ทอง แล้วทำพิธียกฉัตร
                 การสร้างเจดีย์ถือว่ามีอานิสงส์มาก ผู้มีฐานะดีจึงนิยมเป็นเจ้าภาพสร้างเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าเจดีย์สามารถทับผีปอบได้ สล่าหรือหมอผีมักจะทำพิธีเรียกผีปอบเข้าในหม้อดิน แล้วนำไปฝังใต้เจดีย์ เพื่อไม่ให้ออกมาทำร้ายคน
                สถาปัตยกรรม  มีรูปแบบของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารในพระพุทธศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

                    โรงเรือน  ถ้าเป็นบ้านกึ่งถาวร เสาเป็นไม้เนื้อแข็ง ใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วยใบตองตึง ทำแบบทรงไทยสองหลังต่อกัน มีรางรินระหว่างชายคาต่อกัน ปลูกด้วยไม้ไผ่ลับเรียกว่าไม้ฟาก ฝาไม้ไผ่ ข้างนอกเป็นห้องโถง มีฝาต้นลมกั้นระหว่างห้องนอนกับข้างนอก  อีกหลังหนึ่งเป็นโรงครัว ถัดจากห้องโถงด้านนอกจะมีชาน และมีหิ้งหรือเข่งน้ำ ซึ่งยกพื้นเป็นที่ตั้งหม้อน้ำดื่มนย้ำใช้ ตรงประตูทางลงจากเรือน จะมีโข่งหมาบนหัวบันไดมีบันไดลงไปก่อนถึงพื้นดินจะทำชั้นรองรับไว้เรียกว่า โข่งบันได
                    โรงเรือนแบบถาวร เสาเรือนจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือไม้สัก ตกแต่งให้เป็นเสากลมกหรือสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม เป็นเสาจ๋อนสามต้น เสาข้างหกต้น และมีเสาสั้นเรียกว่า เสาป๊อกคั่นในระหว่างเสาจ๋อมมีขื่อแป๋จ๋อม แป๋บ ไม้หนูไน่ ไม้แปดแล้ง โยไม้ลูกกลอน แป้นน้ำย้อย แวง ตง แป้นปูพื้นเรียกว่า แป้นเสื่อ แมงโหม ฝาประตู หน้าต่าง ฝาต้นลม เพดาน หิ้งพระ ชาน โข่งหมา และบันได เป็นบ้านใต้ถุนสูง สร้างเป็นสองหลังติดกันเรียกว่า เรือนไตสองสอง มีรางริ้นไม้อยู่ระหว่างบ้านสองหลัง ชายคามุงด้วยแป้นเกล็ด หรือดินขอ
                    วัดหรือศาลาการเปรียญ  มีลักษณะใต้ถุนสูง เป็นที่อยู่อาศัยรวมของพระภิกษุ สามเณร และเด็กวัด ส่วนหนึ่งของบริเวณห้องโถงเป็นที่ทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม เหมือนวิหาร สร้างเป็นอาคารถาวร ปูด้วยไม้แป้น เสาเป็นเสากลม หรือแปดเหลี่ยม มุงหลังคาสด้วยแป้นเกล็ด หรือกระเบื้อง หลังคาจะมุงรูปทรงเป็นสามคอสี่ชาย มีลวดลายไต เสาวัดบางแห่งทาด้วยหานสีแดง เขียนลายสวยงาม เดิมจะมีหลายหลังติดกันระหว่างหลังจะมีรางรินไม้ การที่มีหลายหลังเนื่องจากมีเจ้าภาพหลายคน ผู้มีฐานะดีนิยมสร้างวัด ผู้เป็นเจ้าภาพสร้างวัดจะได้รับการยกย่องเป็น พ่อกยอง แม่กยอง
            นาฎดุริยางค์ศิลป์  เครื่องดนตรีมีหลายประเภทด้วยกันดังนี้
                กลองก้นยาว  เป็นกลองยาวหน้าเดียว มีความยาวประมาณเมตรครึ่ง มีฆ้อง ๒ - ๕ ใบ ฉาบ ๑ คู่  หน้ากลองทำจากหนังสัตว์ฟอก เช่น หนังวัว หนังแพะ หนังเสือ ใช้ตีในงานบุญทั่วไป และในการฟ้อนนางนก ฟ้อนโต
                กลองมองลาว  มีกลองสั้นใหญ่สองหน้า ๑ ใบ ฆ้อง ๓ - ๗ ใบ ฉาบ ๑ คู่ ตีในจังหวะเร็ว แต่ช้ากว่ากลองก้นยาว
                กลองมองเชิง มีกลองสั้นใหญ่สองหน้า ๑ ใบ ฆ้องขนาดใหญ่ ๑ ใบ ฉาบใหญ่ ๑ คู่ ฉิ่ง ๑ คู่ ฆ้องขนาดใหญ่กลาง และเล็กสุด รวม ๕ - ๙ ใบ จังหวะการตีช้ากว่าการตีกลองมองลาว สัญญาณจะอยู่ที่กลอง ฉาบใหญ่ เมื่อฆ้องเล็กตีสามครั้ง ฆ้องใหญ่จึงตีในครั้งที่สาม ใช้ตีในการแห่เครื่องไทยทานขบวนใหญ่ หรือตีที่บ้านเจ้าภาพงานประเพณีสำคัญต่าง ๆ
                ดนตรีจ้าตไต หรือสิเลไทยใหญ่  มีกลอง ๓ - ๗ ใบ ฆ้องวง ๑ ชุด ฆ้องแบน ๑ ชุด ไวโอลินฮอบ ที่เรียกว่า ตอยอ ๑ อัน ระนาด ๑ ชุด เครื่องเคาะที่เรียกว่า จี ๑ ชุด ซึ่งน่าจะมีฉาบ ๑ ข้าง ไม้เคาะ ๑ อัน ไม้ถูกเคาะ รูปร่างคล้ายกระดึง ๑ อัน เบนโจ ๑ อัน ปี่ ๑ เลา ใช้เล่นดนตรีจ้าตไตในงานต่าง ๆ
                กลองป่งต่อง  มีกลองสองหน้าเล็กยาว ๑ ใบ ไม้ตีกลอง ๑ อัน ฆ้องใหญ่ ๑ ใบ ฉาบใหญ่ ๑ คู่ ปี่ ๑ เลา ใช้ตีในงานบุญเลี้ยงพระ งานปอยตักบาตร เรียกว่า ลองซอม เดือนสิบสอง ตลอดถึงวานชักลากศพพระ ที่เรียกว่า ปอยเหลิม
                ตอลอมะพร้าว  ทำจากกะลามะพร้าว คล้ายซออู้ ใช้เล่นพร้อมกับร้องเพลงทำนอง กวามตอลอ เดิมเป็นเพลงอาชีพขอทานกิตติมศักดิ์ เนื้อหาค่อนข้างหยาบโลน แต่ไพเราะใช้ร้องแบบกลอนสด
                บีฮอม  ทำจากบวบแห้งที่เรียกว่า น้ำเต้า และไผ่ ใช้เป่าเป็นเพลงในขณะที่หนุ่มไปเที่ยวสาว
                ปี่ (ทำจากไม้ไผ่)  ใช้เป่าเป็นเพลงทำนองล่องโคง นอกจากนี้ยังสามารถมาเป่าในดนตรี จ้าตไต ด้วย
                สะล้อซอซึง  เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านชนิดหนึ่ง มีกลองเล็กสั้น ๑ ใบ ระนาด ๑ ชุด สะล้อ ๑ - ๒ ใบ ซึง ๑ - ๓ อัน ฉิ่ง ๑ คู่ เครื่องเคาะจังหวะ ๑ อัน หีบเพลงชัก ๑ ตัว ใช้บรรเลงในงานบุญทั่วไป หรือตามหลังขบวนแห่นาค งานดำหัวปีใหม่ แห่เครื่องไทยทานเข้าวัด ฯลฯ
            ศิลปการแสดง  การแสดงร่ายรำเป็นศิลปะที่อ่อนช้อยสวยงาม มีประเภทต่าง ๆ คือ ก้าลาย ก้าแลง (รำดาบ)  ก้าลายค้อน (รำกระบอง) เก้าจ้าต รำมองกาก
                ก้าลาย  เป็นการรำท่ามือเปล่า มีก้าหมอกมือ ก้าลายเซ้น ก้าลายป๊อด ก้าตามกลองก้นยาว ก้ากลองมองเชิง ก้าตามจังหวะ ก๊าตไต ก้าลายต่อสู้มือเปล่า
                ก้าแลง  เป็นการรำดาบ มีการรำท่าสวยงาม เป็นการรำโชว์ และรำดาบต่อสู้
                ก้าลายค้อน  เป็นการรำกระบอง มีลวดลายที่สวยงาม มีทั้งรำโชว์ และรำในการต่อสู้
                ฟ้อนรูปสัตว์  ใช้รำตามประเภทรูปสัตว์ นางนกโต ผีเสื้อ รำตามจังหวะเสียงกลอง ทำนองเป่งยุบ การรำกิ่งกะหร่า (กินรา)  ลีลาในการรำรูปสัตว์แต่ละประเภท จะไม่เหมือนกัน
                รำตามจังหวะดนตรี  เช่น รำกลองก้นยาว กลองมองลาว กลองมองเชิง รำในการแสดงจ้าตไต รำตามจังหวะดนตรีสมัยใหม่ (ป๋านโหม่) ฯลฯ
                เพลงพื้นบ้าน  ใช้ร้องประกอบการแสดงศิลปกรรม แสดงนาฎสิลป์พื้นบ้าน การแสดงจ้าตไต ร้องเกี้ยวพาราสี เพลงกล่อมเด็ก ร้องอวยพร ร้องเพลงขอทาน ร้องเป็นคำสั่งสอน อบรม ตลอดถึงบทร้อยกลองอื่น ๆ ซึ่งมีทำนองต่าง ๆ คือ
                    ทำนองล่องโคง  ร้องเป็นกลอนสด มีลูกคู่คอยรับจังหวะเอื้อนเสียงแล้วลงช้า ๆ มีลูกคู่คอยรับ ใช้ร้องบรรเลงถึงความรัก เกี้ยวพาราสี ร้องเป็นเรื่องนิยายเรียกว่า กวามหนุ่ม  ทำนองล่องโคงมี ๒ ประเภท คือ ชาวไตตอนใต้ และชาวไตเหนือ ล่องโคงของชาวไตเหนือนิยมร้องคนเดียว และร้องเสียงสูง
                    ทำนองปานแซง  ใช้ร้องในการแสดงจ้าตไต ร้องเกี้ยวพารสี ร้องคนเดียวแบบล่องโคง ไม่ต้องมีลูกคู่รับ
                    ทำนองเซกุง ใช้ร้องยอย่อง พรรณาถึงความรัก ร้องอวยพร เป็นประเภทเดียวกันกับทำนองปานแซง ต่างกันที่การลงเสียง การเอื้อนเสียง เนื้อร้องค่อนข้างยาวกว่า
                    ทำนองกวามว๊อก  ร้องเหมือนล่องโคง แต่เนื้อร้องสั้น ๆ พรรณาไปเรื่อย ๆ เป็นจดหมายร่ายยาวบ้าง ร้องบรรยายนิทานพื้นบ้านเป็นเรื่อง ๆ แบบร้อยกรอง
                    ทำนองนกกือ  เป็นทำนองสั้น ๆ คล้ายกวามว๊อก และทำนองตอลอ ร้องคนเดียวไม่มีลูกคู่
                    ทำนองหยอบย่อน  มีเสียงขึ้นลง พรรณาความรัก ความเศร้าโศก อวยพร
                    ทำนองตอลอ  ร้องตามจังหวะดนตรี ที่เรียกว่า ตอลอ ทำจากะลามะพร้าว เนื้อร้องสั้น ๆ
                    ทำนองเพลงกล่อมเด็ก  ใช้กล่อมเด็ก ร้องไปเอื้อนเสียงไป
                    ทำนองเอ๋เอ  ใช้ร้องสนุกสนาน เมื่อเสียกลองก้นยาวหยุด ผู้ร้องจะรับร้อง เป็นทำนองล่องโคง แต่ไม่ยาว
                    ทำนองเพลงขี่ชิงช้า  เป็นทำนองที่เด็กร้อง นั้น  ผสมผสานหลายทำนอง เป็นคำสอนบ้าง ให้ความรู้บ้าง สอนให้เกิดความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันต่อสู้

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์