ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ภาษาและวรรณกรรม
            ภาษาไต มีถ้อยคำและเนื้อความเหมือนภาษาพูดของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ แต่สำเนียงแตกต่างกัน
            ภาษาเขียน  เดิมใช้แบบเก่า ปัจจุบันมีชาวไตรุ่นใหม่จากรัฐฉาน อพยพเข้ามาได้นำภาษาเขียนของไตแบบใหม่ เข้ามาแพร่หลายซึ่งไม่แตกต่างจากแบบเก่ามากนัก มีการเพิ่มพยัญชนะอีกสองตัว เพิ่มวรรณยุกต์ให้สามารถผันได้ครบ ห้าเสียง เพิ่มสระแอ  และสระเอ ซึ่งภาษาไตเดิมใช้ สระอิ แทน เมื่อมีตัวสะกดทำให้ภาษาไตแบบใหม่ อ่านได้แน่นอนมากขึ้น
            วรรณกรรม  วรรณกรรมพื้นบ้านมีสองลักษณะ คือ วรรณกรรมปากเปล่า (มุขปาระ)  กับวรรณกรรมที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
                วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร  แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ  ตามลักษณะเนื้อหาของวรรณกรรมคือ
                    ลึกโหลง  เป็นวรรณกรรมชั้นสูง ส่วนใหญ่จะเป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก คำสอน บทสวด คำอวยพร ฯลฯ
                    ผู้ประพันธ์ลึกโหลง ได้รับการเชิดชูเป็นปรมาจารย์ทางวรรณกรรมที่คนไตเรียกว่า ครูหมอไต  ปัจจุบันมีการจัดวันครูหมอไตในชุมชนคนไตหลายแห่ง
                    การอ่านลึกโหลงต้องใช้ความชำนาญในการอ่านมาก เพราะวรรณกรรมเหล่านั้นบันทึกไว้ในแบบภาษาเก่าซึ่งมีเสียงไม่แน่นอน มีวรรณยุกต์กำกับเสียงไม่ครบทั้งห้าเสียง บางคำอ่านได้ถึง ๑๕ เสียง ต้องใช้ความชำนาญในการจับใจความ ความเชื่อมโยงของความหมายเป็นหลัก ต้องทราบว่าวรรณกรรมที่จะอ่านนั้นใครเป็นผู้แต่ง เพื่อจะได้ใช้ลีลาการอ่านให้เป็นไปตามลีลา และสำนวนของผู้แต่ง
                    วรรณกรรมลึกโหลงที่คนนิยมฟัง ประกอบด้วยเรื่อง อ่องแปดจ้อง (ภาชนะแปดประการของพระพุทธเจ้า) คาถาจินดามณี พระเวสสันดร ประวัติพระสิวลี ประวัติพระอุปคุต ประกาศเกียรติคุณพระชินสีห์ ฯลฯ
                    ลึกหนุ่มหรือลึกอ่อน  ได้แก่ วรรณกรรมประเภทเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ  เพลงพื้นบ้านที่พรรณนาถึงความสวยงาม ความรู้สึกรักใคร่ ประทับใจ ฯลฯ  ลึกหนุ่มมีทำนองการประพันธ์หลายอย่าง เช่น
                        - ล่องโคง  เป็นเพลงพื้นบ้านลีลาช้า ทำนองหวาน ใช้พรรณนายกย่องชมเชยบุญบารมี ความสวยความงาม ความรัก ฯลฯ มีท่วงทำนองสองรูปแบบคือ ล่องโคงตอนใต้หรือล่องโคงทั่วไป กับล่องโคงทางเหนือ
                        - ปานแซง  เป็นเพลงพื้นบ้านทำนองเร็ว มักใช้ขับร้องประกอบการแสดงลิเกหรือละครไทยใหญ่ (จ๊าตไต) ใช้เป็นเพลงเกี้ยวพาราสีระหว่างหญิงชาย หรือร้องโต้ตอบกันระหว่างชายหญิงในงานฉลองทั่วไป
                        - เอ่เฮ  เป็นเพลงพื้นบ้านทำนองสั้น ๆ สนุก ๆ เกิดจากอารมณ์สนุกสนานรื่นเริง
                        - หยอบหย้อน  เป็นเพลงพื้นบ้าน มีทำนองเน้นระดับเสียงขึ้นเสียงลง มีทำนองเอื้อนตอนท้ายวรรค ใช้ร้องเพื่อความสนุกสนาน เช่นเดียวกับเพลงเอ่เฮ
                        - นกถือ (นกเขาใหญ่)  เป็นทำนองเพลงพื้นบ้านเสียงนก มีลักษณะเสียงทุ้ม ขึ้น ๆ ลง ๆ และขึ้นต้นด้วยคำว่า ถือเอ๋ยถือ
                        - เซกุง หรือความโหลง  มีทำนองใกล้เคียงกับทำนองปานแซง เป็นทำนองที่ต้องการพูดบรรยายเรื่องสำคัญ หรือความรู้สึกศรัทธาเลื่อมใส
                        - ปั่นโต่ง เป็นเพลงทำนองที่เป็นสำนวนกลับกันระหว่างต้นวรรคกับท้ายวรรค เป็นเพลงที่ต้องการใช้สำนวน บทเพลงให้ความสนุกสนาน และแสดงถึงปฏิภาณของผู้ร้อง
                    ลึกกู้ลอง ๆ เป็นวรรณกรรมประเภททั่วไป มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ส่วนมากจะเป็นตำราต่าง ๆ
                    อะปุ่ม (นิทาน)  บางเรื่องมีคติสอนใจ บางเรื่องเล่าเพื่อความสนุกสนาน

                    ฮอลึก แปลว่า อ่านหนังสือ ประเพณีคนไตให้ความสำคัญต่อการฮอลึกมาก เพราะมีคนรู้และเชี่ยวชาญการอ่านคัมภีร์ต่าง ๆ น้อย ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนอบรมการอ่านมาด้วยดี เรียกว่า จเร  ส่วนใหญ่เป็นผู้สึกจากพระภิกษุหรือสามเณร  การอ่านหนังสือ คัมภีร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ชาดก หรือคัมภีร์ต่าง ๆ  การอ่านหนังสือประเภทนี้ จะต้องให้ความเคารพนับถือ พิธีการและจเรผู้อ่าน เทียบเท่าการนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเทศน์ เจ้าภาพจะต้องจัดปัจจัยไทยธรรมมอบแก่จเรด้วย
                    การบันทึกการเขียนหนังสือ  จเรต้องจัดหาอุปกรณ์การเขียนซึ่งประกอบด้วย
                        - กระดาษสมุด หรือปั้บ ถ้าเป็นปั้บสา (ล้านนา)  สำหรับลึกโหลง ผู้ถวายหนังสือต้องแสดงความจำนงต่อผู้คัดลอก ซึ่งก็คือ จเรนั่นเอง  จเรก็จะไปว่าจ้างผู้ทำกระดาษสาขาย ให้ทำปั้บให้ซึ่งจะทำกระดาษให้หนากว่าปกติและตัดต่อพับเป็นปั้บเช่นเดียวกับปั้บสาของล้านนา หรือสมุดข่อยของภาคกลาง แต่มีขนาดใหญ่กว่าคือประมาณ ๗ x ๑๕ นิ้ว ความหนาขึ้นอยู่กับความยาวของเรื่องที่จะเขียนหรือคัดลอก เมื่อเขียนหรือคัดลอกแล้วจะม้วนเก็บไว้
                        - เครื่องเขียน  ภาษาไตเรียกถ้ำกู่หรือก๋ำ ลักษณะคล้ายปากกาคอแร้ง ทำจากไม้ผักกูดป่าซึ่งมีลำต้นบางเรียว เมื่อควักไส้ออก จะเป็นลำกลวงขนาด ๐.๕ - ๑.๐ กระเบียด ตัดตกแต่งปลายข้างหนึ่งเหมือนปากกา ใช้จุ่มหมึกดำเขียน
                        - หมึก ใช้เขม่าที่เกิดจากตะเกียงไปผสมกับน้ำข้าวหรือน้ำต้มหนังสัตว์ หรือยางไม้ที่มีความเหนียวพอประมาณ
ศาสนาและประเพณี

            ชาวไตหรือชาวไทยใหญ่มีประเพณี และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา มีศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูแทรกอยู่ในพิธีกรรมต่าง ๆ
            ความเชื่อ  ความเชื่อในไสยศาสตร์และพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นเรื่องของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู มีแทรกอยู่ในพิธีกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคนไต ได้แก่การทำบุญสะเดาะเคราะห์ การสืบชะตาอายุ การดูดวงชะตา การดูฤกษ์ยาม ฯลฯ
            นอกจากนั้นคนไตยังนับถือผีสางนางไม้ เจ้าที่เจ้าทาง อาถรรพ์ อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ รวมทั้งความเชื่อที่เกี่ยวกับ
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
            ขนบธรรมเนียมประเพณี  ประเพณีของแต่ละเผ่าจะแตกต่างกันออกไป พอจะแบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ
                ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต  ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การแต่งงาน การตาย เป็นต้น
                    การเกิด  สำหรับชาวกะเหรี่ยง หากเด็กเกิดในหมู่บ้าน จะห้ามไม่ให้ออกไปทำงานในวันนั้น มีการตัดรกด้วยเปลือกไม้ไผ่ แล้วนำไปใส่ในกระบอกไม้ไผ่ นำไปผูกติดไว้กับต้นไม้ใหญ่ กระเหรี่ยงเชื่อว่าทุกคนมีเกอลาคือขวัญ ซึ่งต้องมีที่พักอาศัยที่มั่นคงถาวร คือ ให้อยู่กับต้นไม้ประจำตัวตลอดไป
                        - ชาวลัวะ  การเกิด อาศัยหมอตำแย แม่จะอยู่ไฟหนึ่งเดือน และพ่อแม่จะทำพิธีแจ้งเกิด โดยบอกให้เจ้าบ้านเจ้าเมืองของหมู่บ้านทราบ ในพิธีบอกถ้าเป็นชายจะเซ่นด้วยไก่ ๑๒ ตัว ถ้าเป็นหญิง จะเซ่นด้วยไก่ ๖ ตัว
                    การแต่งงาน  สำหรับชาวกะเหรี่ยง  เริ่มโดยฝ่ายหญิงต้องเป็นคนไปขอฝ่ายชาย ทั้งสองฝ่ายจะพูดคุยโต้ตอบกันแบบขับลำนำพื้นบ้าน อาจต้องไปหลายรอบ เมื่อตกลงกันได้แล้ว ทั้งสองฝ่ายก็หาฤกษ์กำหนดวันพิธีแต่งงาน โดยหลีกเลี่ยงเดือนที่มีคนตายในหมู่บ้าน เดือนดับ และเดือนที่เกิดจันทรุปราคา  เจ้าบ่าวต้องเป็นฝ่ายเดินทางไปยังบ้านเจ้าสาว พร้อมญาติพี่น้องและเพื่อน เมื่อขบวนถึงหน้าบ้านเจ้าสาว ก็จะมีผู้อาวุโสและเพื่อนเจ้าสาวมาปลดย่ามให้เจ้าบ่าว ชักชวนให้นั่งแล้วจะมีการรินหัวเหล้า และหางเหล้า เก็บไว้ให้เจ้าสาวและเจ้าบ่าวดื่มพร้อมกับคำอธิษษฐานของผู้อาวุโส ระหว่างดื่มเหล้าจะมีการขับลำนำโต้ตอบกัน โดยฝ่ายเจ้าบ่าวเริ่มก่อน ถึงเวลากินข้าวเย็นเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องกินจานเดียวกัน คืนแรกนี้เจ้าบ่าวต้องไปนอนบ้านอื่นก่อน
                    เช้าว้นแต่งงานเจ้าสาวจะแต่งตัวรอเจ้าบ่าวที่บ้าน เมื่อเจ้าบ่าวถึงบ้านเจ้าสาวจะต้องเอาเสื้อแดงยื่นให้เจ้าบ่าวใส่ แล้วทั้งคู่ไปนั่งให้ผู้อาวุโสคนหนึ่งในหมู่บ้าน นำด้ายมาผูกข้อมือทั้งสองคน พร้อมอธิษฐานให้ทั้งคู่รักกันนาน ๆ จากนั้นแม่เจ้าสาวจะรินเหล้าให้เจ้าบ่าวดื่ม หางเหล้าให้เจ้าสาวดื่มเป็นเสร็จพิธี
                    ตอนกลางคืนจะมีผู้อาวุโส ๑ - ๓ คน ส่งตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาวเข้าเรือนหอ เจ้าบ่าวต้องค้างที่บ้านเจ้าสาวสามวันสองคืน แล้วจึงพากันไปบ้านเจ้าบ่าวอีกเจ็ดวัน ตามประเพณีกะเหรี่ยงเมื่อแต่งงานแล้ว ชายจะต้องไปอยู่กับฝ่ายหญิง
                    เมื่อกลับมาบ้านฝ่ายหญิงอีกครั้ง จะมีพิธีหากินมารวมกัน ในการนี้ต้องมีคู่สามีภรรยาที่แต่งงานแล้วไปเป็นพี่เลี้ยง เมื่อหากของกินได้แล้ว หญิงที่เป็นพี่เลี้ยงจะเป็นคนทำกับข้าว โดยจะใส่ก้อนหินลงไปสองก้อน เพื่อให้คู่บ่าวสาวเลือกกินคนละก้อน แล้วต้องเก็บก้อนหินคู่นี้ไว้ พิธีนี้เชื่อว่าเป็นการทำให้คู่บ่าวสาวมีอายุมั่นขวัญยืน
                        - ชาวลัวะ  ชายชาวลัวะอายุ ๑๗ - ๒๔ ปี และหญิงอายุ ๑๖ - ๒๑ ปี ถือว่าเป็นวัยที่เหมาะสมกับการครองเรือน การแต่งงานเริ่มต้น เมื่อความรักของหนุ่มสาวสุกงอม โดยการรับรู้ของพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายชายจะนัดแนะกับพรรคพวกในช่วงกลางดึกของคืนใดคืนหนึ่ง ขณะที่ฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงกำลังคุยกัน โดยที่ฝ่ายหญิงไม่รู้ตัว พิธีลักสาว (ฉุด,จับ)  ก็เกิดขึ้นโดยพรรคพวกฝ่ายชายจะกรูกันเข้าไปฉุด หรือจับฝ่ายหญิงแล้วพาไปซ่อนไว้ที่บ้านญาติผ่ายชาย รุ่งขึ้นฝ่ายชายจึงจะแต่งเถ้าแก่ไปขอขมาพ่อแม่ฝ่ายหญิง จากนั้นจะมีพิธีเลี้ยงกัน ระหว่างญาติซึ่งใช้สุราเป็นสื่อกลาง แล้วกำหนดวันแต่งงานโดยมากจะเป็นอีกเจ็ดวันต่อมา
                        เมื่อถึงกำหนดแต่งงาน เจ้าสาวและญาติฝ่ายเจ้าสาวจะเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการครองเรือน เมื่อทุกฝ่ายพร้อมกันที่บ้านเจ้าบ่าวแล้ว ญาติฝ่ายเจ้าสาวจะรวบรวมเงินทองเฉพาะฝ่ายตน ใส่พานเตรียมไว้ที่ขาดไม่ได้คือ เงินกีบม้า หรือพดด้วงโบราณ และเงินแถบ (เงินรูปี)  เมื่อฝ่ายชายรับเงินฝ่ายหญิงแล้ว ฝ่ายชายก็จะรวบรวมเงินฝ่ายตน โดยมีเงินพดด้วง และเงินแถบใส่พานเช่นกัน เสร็จแล้วจะประกาศต่อหน้าฝ่ายหญิง ก่อนจะรวบรวมเงินทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นทุนสร้างฐานะของคู่สมรส จากนั้นจะมีการเลี้ยงสุราอาหารกัน
                    การตาย  สำหรับชาวกะเหรี่ยง หากมีหญิงหรือชายโสดตาย บิดามารดาจะแต่งตัวผู้ตายด้วยเสื้อผ้าพ่อบ้านแม่บ้าน แล้วนำไม้แกะสลักเป็นอวัยะวะเพศชาย หรือหญิง ให้ศพหญิงหรือชาย เพื่อนำไปเผาไม่เช่นนั้นวิญญาณผู้ตายจะไม่ไปสู่สุคติ เพราะถือว่าผู้ตายทำหน้าที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตอนมีชีวิตอยู่
                    ศพจะเก็บไว้สามวันสามคืน หัวค่ำของวันแรกจะมีเฉพาะกลุ่มพ่อบ้าน และหนุ่ม ๆ ขึ้นมาเดินรอบศพ และขับลำนำสำหรับศพ อวยพรวิญญาณให้ไปสู่สุคติ หลังจากนั้นจะไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศพเลย แต่จะเกี่ยวกับการเกี้ยวพาราสี และพูดจาหยอกล้อระหว่างหนุ่มสาว เป็นการสร้างบรรยากาศไม่ให้ญาติผู้เสียชีวิตเศร้าโศก
                    เมื่อครบสามวันสามคืน ญาติและเพื่อนบ้านจะนำศพไปเผาที่ป่าช้า ส่วนเสื้อผ้าเครื่องใช้ของผู้ตายจะไม่นำไปเผา แต่จะนำไปกองไว้ที่โคนต้นไม้ระหว่างทาง เพื่อป้องกันไม่ให้วิญญาณผู้ตาย กลับมาทวงถามหาเสื้อผ้า
                        - ชาวลัวะ  เมื่อการตาย คนทั้งหมู่บ้านจะหยุดงานส่วนตัวทั้งหมด เพื่อมาช่วยงานศพ ศพจะถูกห่อด้วยผ้าใหม่ และครอบด้วยไม้ไผ่สานไว้อีกชั้นหนึ่ง บนศพอาจมีเสื้อผ้ากระดาษตัดเป็นตุง (ธง)  มีการสวดศพทำพิธีโดยหญิงสูงอายุ เป็นพิธีร้องไห้สาบแช่งคน และสดุดีความดีของผู้ตาย ที่ศาลาพิธีในหมู่บ้าน และบ้านผู้อาวุโสชายก็จะสวดทำนองเดียวกัน
                    พิธีฝังศพจะถูกกำหนดขึ้นหลังจากตัวแทนญาติผู้ตาย สามารถหาไม้ทำโลงยาวประมาณสองเมตร ผ่าครึ่งขุดเป็นร่อง เมื่อประกบกันสองฝาแล้ว จะใส่ศพได้พอดี วันรุ่งขึ้นจึงทำพิธีฝังศพ โดยห้ามเด็กและผู้หญิงเข้าร่วมพิธีเด็ดขาด ศพจะถูกหามไปยังป่าช้า โดยเส้นทางที่ไม่ใช้เดินตามปกติทั่วไป
                   ประเพณีวันขึ้นปีใหม่  สำหรับชาวกะเหรี่ยงคือ การเปิดหน้างานใหม่ หากยังไม่มีพิธีนี้ถือว่ายังลงมือทำไร่ไม่ได้ ข้าวที่ปลูกจะไม่ได้ผล ประเพณีนี้จะมีประมาณเดือนกุมภาพันธุ์ แต่ละปีจะไม่ตรงกัน เพราะถือทางจันทรคติ
                    ก่อนถึงวันขึ้นปีใหม่สองวัน  แม่บ้านทุกบ้านจะต้มเหล้าไหว้เพื่อทำพิธีผูกข้อมือ พ่อบ้านจะไปหาใบไม้มาห่อข้าวเหนียว หาปล้องไม่ไผ่เพื่อทำข้าวหลาม นอกจากนี้จุมีข้าวปุ๊ก ซึ่งเป็นขนมประจำเผ่า
                    ตอนเช้าของวันใหม่ แต่ละครอบครัวจะทำพิธีผูกข้อมือ ซึ่งจะทำกันเองภายในครอบครัว ตอนสายทุกคนจะร่วมกันรดน้ำดำหัวผู้นำหมู่บ้านและบรรดาผู้อาวุโสในหมู่บ้าน จากนั้นจะไปรวมกันรดน้ำดำหัวผู้นำหมู่บ้าน และบรรดาผู้อาวุโสในหมู่บ้าน จากนั้นจะไปรวมกันที่บ้านผู้นำหมู่บ้าน เพื่อไปทำพิธีดื่มหัวเหล้า เมื่อถึงเวลา ผู้นำหมู่บ้านจะรินเหล้า ไปที่โคนต้นเสาเล็กน้อย พร้อมอธิษฐานให้บรรดาเจ้าแห่งทิศทั้งเจ็ด แผ่นดินเจ็ดแถว ดูแลปกป้องความปลอดภัย ตลอดทั้งวันทั้งคืน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์