ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

                ประเพณีในรอบปี  มีที่มาจากความเชือและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในแต่ละเดือนจะมีประเพณี ดังนี้
                    เดือนอ้าย (ไต)  ตรงกับเดือนธันวาคม มีการทำบุญถวายข้าวใหม่ แด่พระภิกษุสงฆ์ และผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งหลาย เรียกว่า การซอมอู จะทำที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ โดยเชิญแขกมาร่วมทำบุญ ประเพณีมีที่มาจากประวัติของพระโกญทัญญะ พระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา
                    เดือนยี่  เป็นเดือนที่พระภิกษุสงฆ์อยู่ปริวาสกรรมและมานัต ชาวบ้านเรียกว่า พระภิกษุสงฆ์เข้าปริวาส  หรือเข้ากรรม มีพิธีตักบาตร พระภิกษุสงฆ์จะไปพักนอนเข้าปริวาสในกระต๊อบฟางข้าว หรือในกลด ตามป่า หรือทุ่งนา ซึ่งคณะศรัทธาเป็นผู้จัดสถานที่ให้พัก ตลอดจนที่ทำบุญตักบาตร ห้องน้ำ ห้องส้วม พระภิกษุสงฆ์ทุกรูป จะเข้าร่วมพิธีสวดกรรมฐานในตอนกลางคืนทุกคืน มีศรัทธา ญาติโยม ผู้เฒ่าผู้แก่มเข้าร่วม และถือศีลแปด หลายแห่งเข้าปริวาสกรรมในป่าช้า มีการทอดผ้าป่าหาจตุปัจจัยปรับปรุงป่าช้า มีการถวายภัตตาหารเช้า และเพล รับศีล อนุโมทนา ทุกวัน ตามที่จะตกลงกันว่าจะทำเจ็ดวันหรือสิบห้าวัน
                    นิทานบ่อเกิดประเพณีนี้มีอยู่ว่า ในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุจำนวน ๒๐ รูป ทำผิดวินัยต้องอาบัติสังฆากิเลส พระพุทธองค์ทรงให้ไปบำเพ็ญเพียรเจริญสมถกรรมฐาน อยู่ในที่โล่งแจ้ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามพระพุทธเจ้าว่า จะทำที่อยู่พักถวายพระภิกษุเหล่านั้นจะเหมาะสมหรือไม่ พระพุทธองค์ทรงตอบว่าทำได้ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงให้นำสัปคับหลังช้าง หนึ่งที่และจัดอาหารบิณฑบาตมาถวายตลอดเวลาที่ พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นอยู่ปริวาส และมานัต  จึงเป็นประเพณีสืบต่อมาถึงปัจจุบัน
                    เดือนสาม  นิยมทำข้าวเหนียวแดงถวายวัด และถวายก่องโหล ในวันเพ็ญเดือนสาม แต่ก่อนทำข้าวหย่ากู (ยาคู) นึ่งข้าวสุกแล้วไปคลุกน้ำอ้อย ช่วยกันกวนจนได้ที่แล้วนำถั่วลิสงลงกะเทาะเปลือกออกผสมคลุกเคล้า แล้วขูดมะพร้าวโรยหน้า
                    การทำบุญทำทานข้าวหย่ากู มักจัดรวมกันเป็นหมู่บ้าน รวมกันที่บ้านผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน แล้วใส่เกวียน ใส่รถ หรือแบกหาม  ถ้าขบวนใหญ่ตีฆ้องกลองแห่ไปแจกจ่ายในหมู่บ้านทั่วถึงกัน
                    การทำบุญถวายกองโหลพารา คือเอาไม้เนื้ออ่อนนำมาก่อฐานสี่เหลี่ยมคอกหมู ปลายแหลมขึ้นไปเป็นยอดเจดีย์ มีฉัตรเป็นยอดเป็นฉัตรห้าชั้นประดับด้วยดอกจ้ากจ่า นำไม้ไผ่มาขัดราชวัติ ทั้งสี่มุม ปักหน่อกล้วย หน่ออ้อย  การเผากองโหลใช้ไฟม้าล่อ บ้องไฟสัน  เมื่อจุดม้าไฟแล้ว ม้าไฟจะวิ่งไปตามเส้นลวดไปชนสายชนวนที่กองโหล ไฟนันจะพุ่งเข้าหากองโหลที่มีห่อดินบีบ หรือราดด้วยน้ำมันไฟจุดลุกขึ้น ระหว่างแข่งม้าไฟจะมีการตีฆ้องกลองสนุกสนาน
                    เดือนสี่  มีประเพณีปอยส่างลองและปอยจางลอง เป็นประเพณีที่มีที่มาจากพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ในเดือนสี่ บรรดาชาวเมืองต่างชื่นชมยินดีพากันจัดไทยธรรมไว้ถวายเป็นจำนวนมาก ทั้งอาหารบิณฑบาตล้วนแต่เป็นของพิเศษแปลก ๆ ที่ทุกคนพยายามทำให้ดีที่สุด บางกลุ่มจัดทำต้นเวชยันต์หรือต้นหอโลม ต้นร่ม ต้นธง ต้นจีวร ๑,๐๐๐ ผืน จัดเป็นงานพิธียิ่งใหญ่ในการแสดงความยินดีที่ได้รับเสด็จพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล

                   เดือนห้า  มีงายปอยจ่าตี่ชาย เจดีย์ทราย ที่วัดจะมีการขนทรายเข้าวัด มีการถวายขนมเทียน ขนมจ้อก มีการสรงน้ำพระขอขมาและดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ ขอขมาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ นอกจากนี้มีการเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ  หนุ่ม ๆ สาว ๆ จะมีการเล่นน้ำสงกรานต์ ส่วนผู้สูงอายุในวันขึ้น ๑๔ - ๑๕ ค่ำ จะพากันไปฟังธรรม จำศีล นอนวัด ถือศีลแปด มีการทำบุญตักบาตรพระ
                    เสร็จจากงานสงกรานต์จะมีพิธีทำบุญหมู่บ้าน โดยนิมนต์พระสงฆ์ไปทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์สี่มุมเมือง ชาวบ้านจะนำน้ำขมิ้นส้มป่อย พร้อมทั้งไม้ดอกทำเป็นตาแหลวใบหนามเจ็ดเจื่อ ใบผักกุ่ม ใบปานแข ใบถั่วแระ โดยนำใบหญ้าคามาทำเป็นเชือกสำหรับไปแขวนไว้ที่ประตูบ้าน ในขณะทำพิธีจะมีคนนำตาแหลวไปปักไว้ที่หัวบ้านท้ายบ้าน ห้ามคนในออก ห้ามคนนอกเข้า  เมื่อเสร็จพิธีแล้วจะยิงปืนเป็นสัญญาณให้รู้กันทั่ว และจะมีเครื่องเซ่นใส่กระถางใหญ่นำไปส่งทั้งสี่ทิศ

                    เดือนหก  มีงานประเพณีปอยจ่าตี่หรือกองมูทราย ปอยบอกไฟ หอยซอมต่อโหลง (มธุปายาส)  งานทำบุญวันเพ็ญเดือนหก วันวิสาขบูชาจะมีการถวายพระเจดีย์ทราย มีการแจกข้าวห่อ แล้วมีการจุดบ้องไฟ ตอนเช้ามีการถวายข้าวมธุปายาส คือ ถวายข้าว ๔๙ ก้อน ถือว่าได้บุญมาก
                    มีเรื่องจากพุทธประวัติว่าในวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนหก นางสุชาดาได้ทำข้าวมธุปายาส คือ ข้าวที่หุ้งด้วยเนยนมอย่างดี แล้วปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าไข่นกยูง ๕๐ ก้อน นำมาถวายด้วยคิดว่าเป็นการอุทิศต่อเทวดาอารักษ์ผู้รักษาต้นไทรที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่โคนต้นไทร ด้วยเข้าใจว่าเป็นเทพารักษ์ประจำต้นไทร พระพุทธเจ้าทราบดังนั้นจึงนำข้าวก้อนหนึ่งวางไว้ที่ง่ามไม้ไทร ที่เหลืออีก ๔๙ ก้อนในถาดทอง ทรงนำไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วฉันหมดทั้ง ๔๙ ก้อน
                     เมื่อเสร็จภารกิจเช้าแล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จหาที่สงบ เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ณ ต้นโพธิ์ใหญ่จนบรรลุพระโพธิญาณ ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนชาวไต จึงได้ถือเป็นประเพณีทำบุญถวายข้าวมธุปายาส ๔๙ ก้อน ในวันเพ็ญเดือนหก
                    เดือนเจ็ด  เป็นเดือนที่ชาวนาเตรียมทำนา เป็นเดือนที่พระสงฆ์จัดให้มีจ่าแมปอย (ปุจฉา - วิสัชนา) ศึกษาค้นคว้าซักถามในเรื่องพระธรรมคำสอน และวิชาการต่าง ๆ  ตามประวัติกล่าวว่า เดือนเจ็ดเป็นเดือนที่พระพุทธเจ้าทรงไตร่ตรองในหลักโมกขธรรม ที่ตรัสรู้โดยหลักปฏิจจสมุปบาท ตลอดจนหลักความจริงสี่ประการ (อริยสัจสี่) ตลอดเดือนเจ็ด
                    เดือนนี้ชาวนาต้องเตรียมตัวทำนากัน มีการตอกฝาย ทำเหมืองฝาย ขุดลอกร่องน้ำ เพื่อทดน้ำเข้านา จึงว่างเว้นจากงานประเพณี
                    เดือนแปด  เป็นเดือนที่มีน้ำมาก เป็นฤดูที่มีการบรรพชาอุปสมบทกันมาก เป็นเดือนที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปด เป็นวันอาสาฬหบูชาตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าแสดงพระธัมมจักรกัปปวัฒนสูตร อันเป็นปฐมเทศนา
                    ตามประเพณีไต ผู้สนใจปฏิบัติธรรมจะพากันไปจำศีลที่วัดเรียกว่า กำศีลนอนทยอง จะไปปฏิบัติในวันพระตลอดฤดูเข้าพรรษาสามเดือน ขณะเดียวกันจะมีการทำบุญในวันโกนวันพระ จะมีเจ้าภาพจัดงานตีฆ้องกลองกันยาว นำดอกไม้ ยารักษาโรค น้ำส้มน้ำหวานไปถวายพระภิกษุสงฆ์ และผู้จำศีลที่เรียกว่าพ่อศีลแม่ศึล พร้อมกับขอนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ สามเณรและเชิญผู้จำศีลไป ฉันและกินอาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น
                    ที่มาของประเพณีนี้มีอยู่ว่า ในเดือนแปด พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปมฤคทายวันเพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ พระพุทธเจ้าอยู่จำพรรษาในมฤคทายวัน พอถึงพรรษาที่สอง พระพุทธองค์ทรงบัญญัติการเข้าพรรษาไว้ให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอดเวลาสามเดือน
                    เดือนเก้า  เป็นเดือนที่ทำสลากภัตร ที่มาของประเพณีมีอยู่ว่า ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี มีหน่อพุทธางกูร ที่ตกทุกข์ได้ยาก ถือกำเนิดในตระกูลมหาทุคคตะ ในเมืองพาราณสี ในสมัยนั้นคนเมืองทั้งหลายนิยมทำบุญสลากภัตร แต่เขาผู้นี้เจ้าหน้าที่ลืมจดชื่อเขาไว้ พระภิกษุสงฆ์ที่รับนิมนต์ก็หมดสิ้นแล้ว เหลืออยู่เพียงพระพุทธเจ้าองค์เดียวยังไม่ได้รับนิมนต์ มหาทุคคตะจึงได้ไปนิมนต์พระพุทธเจ้าไปยังเรือนของตน เมื่อฉํนเสร็จแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงอนุโมทนา แล้วเขาก็อุ้มบาตรตามส่งเสด็จพระพุทธองค์จนถึงวัด เมื่อกลับมาถึงบ้านเรือนของตน พระอินทร์จึงเนรมิตฝนเงินฝนทองและฝนแก้วเจ็ดประการตกลงมารอบ ๆ
เรือนของเขา พระราชาทราบเรื่องดังกล่าวจึงมอบตำแหน่งเศรษฐีให้ ต่อมาในสมัยพระโคดมพุทธเจ้า เขาได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ได้บรรพชาในพระพุทธศาสนา สามารถบรรลุมรรคผลเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ ได้ชื่อว่าสามเณรบัณฑิต
                    เดือนเก้าเป็นฤดูกาลที่ชาวนาออกไปทำนาตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าถึงค่ำ ผู้คนส่วนใหญ่ไม่มีเวลาเตรียมภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสงฆ์ที่วัด ดังนั้นในบางหมู่บ้านจึงได้กำหนดเวรส่งข้าวซอมพระในหมู่ผู้ที่ไม่ต้องไปทำนา โดยใช้กระบอกไม้ไผ่ เป็นสัญญาณตกลงกันว่า ถ้ากระบอกนี้ตกอยู่บ้านใคร บ้านนั้นต้องเป็นธุระนำภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น
                    เดือนสิบ  ที่มาของประเพณีมีอยู่ว่า ในสมัยพุทธกาล นางวิสาขามหาอุบาสิกาได้ออกเรือนไปเป็นสะใภ้เศรษฐี ก่อนออกเดินทางในวันเพ็ญเดือนสิบ นางได้จัดทำบุญครั้งยิ่งใหญ่คือ จัดให้ทำบุญข้าวสารล้นบาตร น้ำผึ้งล้นบาตร น้ำมันล้นบาตร ด้วยเหตุนี้พอถึงวันเพ็ญเดือนสิบ บรรดาพุทธบริษัทจะจัดให้มีการทำบุญ ซอมต่อหลวง (พุทธมหาบิณฑบาตร) มีการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ตลอดจนทำบุญตักบาตรแบบข้าวสารล้นบาตร เป็นงานยิ่งใหญ่ในรอบปี

                    เดือนสิบเอ็ด  เป็นเดือนที่พุทธบริษัทชาวไต พากันจัดงานประเพณีเป็นสองช่วง ช่วงแรกตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑  เป็นงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย วึ่งตายในรอบปีที่ผ่านมาอีกครั้งหนึ่ง จัดทำโดยสามีภรรยา บุตรหลาน ตลอดจนญาติของผู้ตาย
                    ช่วงที่สอง  เป็นงานเทศกาลออกพรรษา จะมีการจองพารา (ปราสาทรับเสด็จพระพุทธเจ้า)  ในช่วงนี้จะมีการรำนางนกโต ผีเสื้อ พญานาค ช้าง ม้า เป็นต้น มีการถวายเทียนหนึ่งพันเล่ม ทำประทีปโคมไฟประเภทต่าง ๆ สว่างไสวตามวัด และจองพารา มีการถวายต้นเทียนขนาดใหญ่ ทำจากไม้เกี้ยว ถวายเป็นพุทธบูชา มีการรำนก รำโต การแสดงก้าลาย รำท่ามือเปล่า และก้าแลง รำดาบ มีการร้องรำทำเพลง ทำขนมเทียน ขนมสอดไส้ ขนมกะทิ ข้าวควบ นำไปถวายวัด ทำทานเพื่อนบ้าน และนำไปใช้ในการขอขมาบิดามารดา ทั้งเสื้อผ้าพร้อมอาหารคาวหวาน ขอขมาพระภิกษุสงฆ์ตลอดถึงญาติผู้ใหญ่ และผู้ที่เคารพนับถืออื่น ๆ อีกด้วย
                    ที่มาของประเพณีนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้เจ็ดพรรษา ทรงแสดงยมกปาฎิหารย์ในเมืองสาวัตถี ที่อุทยานสวนมะม่วง แล้วเสด็จขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทรงเทศนาพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ โปรดสันตุษฐีพุทธมารดา พร้อมทั้งเหล่าเทพยดา และพรหม ตลอดในพรรษาสามเดือน แล้วเสด็จนิวัตโลกมนุษย์ในวันเพ็ญ เดือนสิบเอ็ด ณ เมืองสังกัสนคร บรรดามนุษย์และสัตว์ที่สามารถมาได้ก็มารับเสด็จ ที่มาไม่ได้ก็จัดทำซุ้มปราสาทรับเสด็จที่บ้านเรือนของตน พอถึงวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ด จะจัดอาหารบิณฑบาตรและขนมนมเนยไว้ถวายพระพุทธเจ้า บรรดาพุทธบริษัททุกบ้านเรือนพร้อมใจกัน ถวายภัตตาหารและจุดธูปเทียนบูชาเป็นเวลาเจ็ดวัน
                    เดือนสิบสอง  มีงานประเพณีปอยส่างการ "งานถวายจีวร"  ที่มาของประเพณีนี้มีอยู่ว่า ในสมัยพุทธกาล สมัยที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงกบิลพัสด์ ณ นิโครธาราม ริมฝั่งแม่น้ำโคตมี พระเจ้าสุทโธทนะ มีดำริว่า พระองค์ควรหาวิธีการทำบุญที่ยิ่งใหญ่สักครั้งหนึ่ง ดังนั้น พอถึงฤดูกฐิน เดือนสิบสอง จึงพิจารณาจัดทำจีวรทองคำ ไปป่นเป็นผงผสมกับดินและปุ๋ย บรรจุลงในอ่างทองคำ สำหรับเพาะฝ้าย อธิษฐานให้ฝ้ายออกดอกผลในวันเดียว แล้วนำปุ๋ยฝ้ายมาปั่นทอเป็นจีวรทองคำ ให้เสร็จในวันขึ้นสิบสี่ค่ำ เดือนสิบสอง  ได้จีวรสองชุด พอถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง ก็นำจีวรทั้งสองชุดไปถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับไว้ชุดหนึ่ง อีกชุดหนึ่งได้มอบถวายท่ามกลางสงฆ์ และพระสงฆ์ได้ทำกรานกฐิน และมีมติถวายแด่จินตสามเณร ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระศรีอริยเมตไตย์ในโอกาสต่อไป จินตสามเณรจึงนำเอาจีวรดังกล่าวไปทำเป็นฝ้าเพดาน ที่พระคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงมีประเพณีทำบุญทอดผ้ากฐิน สืบต่อมาถึงปัจจุบัน
                    นอกจากนี้จะมีการถวายจีวรธรรมดา ซึ่งศรัทธาญาติโยมนำไปถวายเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ มีขบวนแห่ต้นส่างกาน พร้อมเครื่องไทยทานอื่น ๆ
                    ประเพณีเดือนสิบสอง ยังมีการทำบุญตักบาตร เรียกว่า ปอยลองซอมเหลินสิบสอง ในลักษณะต่าง ๆ คือ ตักบาตรเขาวงกต ตักบาตรกยองแปดหลัง หรือขัดราชวัติหน้าบ้าน ตักบาตรตามถนน ในวงกตจะมีการขัดราชวัติโค้งไปมา เหมือนเขาวงกต ในเรื่องพระเวสสันดร มีการสร้างปราสาทในเขาวงกตให้ผู้คนบูชาด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน เช้าบูชาด้วยข้าวพระพุทธ แล้วตักบาตรรอบเขาวงกต
            การจัดทรัพยากรธรรมชาติ   เป็นความสามารถในการจัดการเพื่ออนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างสมบูรณ์และยั่งยืน
                การอนุรักษ์ธรรมชาติ  ทำทั้งทางตรง และทางอ้อม เห็นได้จากแนวทางการประกอบเกษตรกรรม การอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมคือ
                    การทำนาขั้นบันได  เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างหนึ่ง น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เมื่อมีอะไรมาคั่นทางน้ำไว้ ก็จะป้องกันการพังทลายของดินจากการเซาะของน้ำ
                    การไม่ตัดต้นไม้ใหญ่  ต้นน้ำลำธาร หรือตามบ่อน้ำ จะไม่ตัดต้นไม้ใหญ่ การไม่ตัดต้นไม้บางประเภท เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นไม้ที่แยกลำต้นเป็นคู่ จะไม่ตัดมาสร้างบ้าน
                    การปลูกต้นไม้บางประเภทในวัด  เช่น บุนนาค ไม้ดอกไม้ผล
                    การสร้างฝายกันน้ำ  และการตีฝายกันน้ำข้างนาและข้างสวน นอกจากนี้ยังมีการปลูกต้นไม้ บางประเภทเป็นแนวกันน้ำ เช่น ไม้ไคร้ (ภาษาถิ่น)
                    การช่วยกันรักษาบ่อน้ำ  เมื่อมีการขุดบ่อแล้ว จะไม่สร้างบ้านทับบ่อน้ำ หรือถมบ่อน้ำ

                         - บ่อมูเซอ  เป็นบ่อที่มูเซอ พรานล่าสัตว์สมัยโบราณขุดขึ้นไว้ ยังคงเหลืออยู่หลายแห่ง มีตำนานเล่าว่า มูเซอ (นักล่าสัตว์)  สมัยโบราณถือสัจจะมาก จะกำหนดว่าวันหนึ่งจะไปล่าสัตว์กี่ตัว ก็จะล่าเพียงเท่านั้น ด้วยอานิสงฆ์นี้ ทำให้มูเซอสามารถอธิษฐานเรียกน้ำ ขึ้นมาบนภูเขาได้ เมื่อล่าสัตว์ได้แล้วก็จะเรียกน้ำขึ้นมาล้างเนื้อบนภูเขาเลย น้ำล้างเนื้อจะกลายเป็นน้ำซับอยู่บนภูเขานั้น ต่อมาจึงมีผู้ไปก่ออิฐโบกปูนเป็นบ่อถาวรเรียกว่า น้ำบ่อมูเซอ
                         - บ่อน้ำอาง  (น้ำบ่อยันต์)  อยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านขุนยวม มีผู้เล่าว่า มีผู้มีวิชาคงกะพันชาตรีคนหนึ่งชื่อ เหลืองแหล่ (คนพเนจร)  มาจากรัฐฉาน มาครั้งแรกเป็นสามเณรโค่ง เก่งทางมายากล ครั้งหนึ่งเมื่อเขาสึกแล้วถูกตำรวจจับกุมตัว เขาให้จับแต่โดยดี พอตำรวจจับแขนของเขา จะหลุดติดมือตำรวจไป ตำรวจเลยกลัวไม่กล้าจับ ต่อมาเขาได้ไปขุดบ่อน้ำ และนำอาง (ยันต์ตะกั่วเป็นแผ่น)  ฝังแล้วกลบด้วยทรายน้ำ น้ำในบ่อจะไม่แห้ง ปัจจุบันบ่อแห่งนี้ยังมีน้ำให้ใช้ได้อยู่
                         - น้ำบ่อหมาเล  (น้ำบ่อหมาเลีย)  คล้ายกับน้ำบ่อมูเซอ แต่ขุดตื้น ๆ ไม่มีการก่ออิฐอย่างถาวร เหมือนน้ำบ่อมูเซอ ส่วนมากจะอยู่ทางเข้าหมู่บ้านไม่ไกลนัก สำหรับให้คนเดินทางสมัยก่อนหยุดพักและตักน้ำในบ่อมาดื่ม
                การจัดการสิ่งแวดล้อม  ได้มีการปฎิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
                    การป้องกันไฟไหม้เมื่อมีการทำไร่  เจ้าของไร่จะทำแนวกันไฟไว้ ตามหมู่บ้านต่าง ๆ พอถึงหน้าแล้ง หัวหน้าบ้านจะเกณฑ์ลูกบ้านทำแนวกันไฟไว้รอบหมู่บ้าน จะมีพองหรือกะลา ไม้ไผ่ ไว้ที่บ้านผู้ใหญ่ จะใช้ตีหรือเคาะกะะลา เวลาเกิดไฟไหม้ ให้ลูกบ้านออกมาช่วยกันดับไฟ
                    ทุกหลังคาเรือน จะมีอุปกรณ์ดับไฟอยู่สองชิ้นคือ ขอ ซึ่งใช้ไม้ง่ามหรือเหล็กงอเป็นขอ ผูกติดปลายไม้รวกยาวพ้นหลังคาบ้าน และตะแกรงสานด้วยไม้ไผ่ ขนาดประมาณ ๑๑ x ๑๕ นิ้ว ผูกติดปลายไม้ขนาดเดียวกับไม้ที่ติดขอ สำหรับไว้ดึงหลังคาหรือวัสดุ เชื้อไฟให้ขาดจากกัน แล้วตบด้วยตะแกรงให้ไฟดับ
                    ในการป้องกันไฟไหม้ ฤดูแหล้งช่วงเวลากลางวัน ประมาณ ๐๘๐๐-๑๗๐๐ น. เป็นช่วงที่ผู้ใหญ่ออกไปทำงานทิ้งเด็ก ๆ ให้อยู่บ้าน จะมีกติกาให้ทุกบ้านดับไฟทุกอย่างในบ้าน โดยผู้นำหมู่บ้านจะตีฆ้อง หรือเครื่องทำเสียงอย่างอื่น เป็นสัณญาณให้ดับไฟ หรือจุดไฟได้
                    นอกจากนั้นหากผู้ใดเผาป่าจนเป็นเหตุให้ไฟไหม้ไร่  ผู้นั้นจะถูกเจ้าของไร่ปรับ
                    การใช้ใบไม้ใบตองในการห่ออาหาร หรือสิ่งอื่น ทำให้ไม่เกิดมลภาวะ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์