ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ภาษาและวรรณกรรม
    ภาษาพูด
            แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู๋ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชน ที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา
            ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคนที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไประหว่าง จังหวัดกำแพงเพชร กับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน  กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมายของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ หรือภาษาชนบท เสียงเหน่อของภาษาถิ่นกำแพงเพชรคือ เสียงวรรณยุกต์ต่างไปจากภาษาไทยมาตรฐาน เช่น เสียงเอกเป็นเสียงจัตวา เสียงจัตวาเป็นเสียงเอก  อาจจำแนกออกเป็นสามกลุ่มคือ
            ภาษาชาวอำเภอพรานกระต่าย  มีสำเนียงคล้ายชาวสุโขทัย คำที่มีเสียงวรรณยุกต์จัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงวรรณยุกต์เอก และเสียงเอกจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา และมีคำศัพท์เฉพาะอื่น ๆ แตกต่างออกไปจากกลุ่มชนดั้งเดิมในจังหวัดกำแพงเพชร
            ภาษาของชุมชนนครชุมและกำแพงเพชร  ชาวกำแพงเพชรในเขตตำบลหนองปลิง ออกเสียงเหน่ออยู่บ้าง ส่วนชาวนครชุมมีเสียงเหน่อค่อนข้างชัด และมีศัพท์บางคำผิดแผกจากคำมาตรฐานทั่วไป
            ภาษาของชาวไตรตรึงษ์และคนที  กลุ่มชนทั้งสองกลุ่มนี้มีบางส่วนที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนดั้งเดิมครั้งอาณาจักรสุโขทัย แต่ประชากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันส่วนมากอพยพมาจากจังหวัดอื่น ๆ ไม่มีเสียงเหน่อเด่นชัดเหมือนชาวนครชุม แต่มีสำเนียงห้วนสั้นกว่าภาษาไทยมาตรฐานเล็กน้อย และมีสร้อยคำ "ฮิ" ต่อท้ายบ้างเป็นบางคำ
            ภาษาไทยถิ่นอีสาน  ใช้ในกลุ่มชนที่อพยพมาจากภาคอีสานหลายจังหวัด มาตั้งกลุ่มชนในอำเภอต่าง ๆ เช่น อำเภอคลองขลุง อำเภอคลองลาน อำเภอทรายทองวัฒนา และอำเภอปางศิลาทอง เป็นต้น
            ภาษาไทยดำหรือโซ่ง  ใช้ในกลุ่มชนเชื้อสายชาวโซ่ง มีถิ่นเดิมอยู่ในแคว้นเดียนเบียนฟู อพยพผ่านลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือตอนล่างหลายจังหวัด ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรมีอยู่ที่ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง ฯ  อำเภอไทรงาม และอำเภอลานกระบือ
            ภาษาไทยยวนหรือภาษาล้านนา  ใช้ในกลุ่มชนที่อพยพจากภาคเหนือมาอยู่ในอำเภอเมือง ฯ อำเภอคลองขลุง และอำเถอคลองลาน

            ภาษาชาวเขา  เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอยู่ในเขตอำเภอคลองลานเป็นส่วนใหญ่ และส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอำเภอปางศิลาทอง กับกิ่งอำเภอโกสัมพีนคร แบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ดังนี้
                - ภาษาม้ง  เป็นภาษาที่มีเสียงก้องและเป็นคำโดด มีคำศัพท์ที่ยืมมาจากจีน ไทยและลาว มีพยัญชนะมากกว่าภาษาไทย มีสระคล้ายคลึงกัน แต่ไม่มีเสียงตัวสะกดชัดเจน
                - ภาษาเย้า  คล้ายกับภาษาม้ง ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนมาก ลักษณะเป็นคำเดียวโดด ๆ ไม่มีภาษาเขียนของตนเอง บางคนใช้อักษรจีนเขียนและอ่านเป็นภาษาเย้า บางท้องที่ใช้ภาษาจีนฮ่อ
                - ภาษากะเหรี่ยง  มีพยัญชนะต้นควบกล้ำมากกว่าภาษาไทย มีวรรณยุกต์เพียงสามเสียง และตัวสะกดหนึ่งเสียงคือ อ.
                - ภาษาลีซอ  ชาวลีซอมีความสามารถทางภาษาสูง สามารถพูดได้หลายภาษา เช่น ภาษาจีนยูนนาน ไทยใหญ่คำเมือง (ไทยยวน) และอีก้อ เป็นต้น ไม่มีเสียงตัวสะกด
                - ภาษามูเซอ  มีระดับเสียงวรรณยุกต์ถึงเจ็ดเสียง ไม่มีเสียงพยัญชนะตัวสะกดเช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่น ๆ
    ตำนาน
            ตำนานหมายถึงเรื่องที่เล่าสืบทอดกันมาเป็นเวลานานจนหามูลเหตุของเรื่องไม่ได้ มีเนื้อหาอธิบายที่มาของสิ่งต่าง ๆ หรือชื่อสถานที่  ตำนานสำคัญที่รู้จักกันโดยทั่วไป ของกำแพงเพชรมีดังนี้

            เรื่องท้าวแสนปม  เป็นตำนานของนครไตรตรึงษ์ ซึ่งสันนิษฐานว่า ตั้งอยู่ที่เมืองแปบ อันเป็นเมืองเก่าร้างอยู่คนละฟากกับเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน มีเรื่องเล่าว่า เจ้านครองค์นี้มีพระธิดาชื่อนางอุษา มีรูปโฉมงดงามเป็นที่ร่ำลือไปถึงเมืองศิริชัยเชียงแสน เจ้าชายชินเสน ผู้เป็นโอรสเจ้าเมืองศิริชัยเชียงแสน ได้ยินข่าวก็หลงรักนาง แต่เนื่องจากทั้งสองเมืองนี้เป็นอริกันมาก่อน เจ้าชายชินเสมจึงปลอมตัวเป็นชายอัปลักษณ์ เนื้อตัวมีปุ่มปมเต็มไปหมด แล้วเข้าไปขออาศัยอยู่กับตายายที่เฝ้าอุทยาน ท้ายวัดนครไตรตรึงษ์ได้ชื่อว่า แสนปม
            วันหนึ่งนางอุษา ไปชมสวน แสนปมนำผักที่ปลูกไว้ไปถวาย นางอุษาเห็นแสนปมก็นึกรัก จึงให้พี่เลี้ยงนำหมากไปให้เป็นการตอบแทน คืนหนึ่งแสนปมลอบเข้าหานางในวัง และได้เสียกัน จนนางอุษาตั้งครรภ์ ส่วนแสนปมได้กลับไปยังบ้านเมือง เนื่องจากได้ทราบข่าวว่าพระเจ้าศิริชัยเชียงแสนประชวร โดยไม่ทราบว่านางอุษาตั้งครภ์
            นางอุษาได้ให้กำเนิดกุมารหน้าตาน่ารัก แต่ไม่ยอมบอกว่าใครเป็นบิดา เจ้าเมืองไตรตรึงษ์จึงหาวิธีที่จะให้รู้ว่าใครเป็นบิดาของกุมาร โดยได้ป่าวประกาศให้เจ้าเมืองต่าง ๆ รวมทั้งบรรดาราษฎรให้มาพร้อมกันที่หน้าพระลานและให้นำขนมนมเนยติดมือมาด้วย ถ้ากุมารรับขนมจากผู้ใดก็ถือว่า ผู้นั้นเป็นบิดาของกุมาร และจะได้อภิเษกกับนางอุษา
            พระชินเสน ได้ปลอมตัวเป็นแสนปม ได้นำข้าวเย็นมาก้อนหนึ่งให้กุมารเลือก ปรากฎว่ากุมารเลือกข้าวเย็นจากแสนปมไปกิน ทางไตรตรึงษ์รู้สึกอับอายมาก จึงขับไล่นางอุษาออกจากเมือง  แสนปมจึงแสดงตนว่าเป็นพระชินเสน แล้วพานางอุษากับกุมารเดินทางกลับเมืองศิริชัยเชียงแสน อยู่ร่วมกันด้วยความสุขต่อไป
            กุมารองค์นี้กล่าวว่ามีผู้นำอู่ทองคำมาถวายจึงได้นามว่าอู่ทอง ต่อมาได้สร้างเมืองทวาราวดีศรีอยุธยา ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
            เรื่องท่อทองแดง  กล่าวถึงการฝังท่อทองแดงไว้ใต้ดินรอบคูเมืองกำแพงเพชร ในสมัยที่เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำปิงเข้ามาใช้ภายในเมือง
            ฝ่ายพม่าได้ยกกำลังเข้ามาล้อม และโจมตีเมืองกำแพงเพชรหลายครั้ง แต่ไม่สามารถตีได้ จึงได้แต่ล้อมเมืองไว้ให้คนในเมืองอดน้ำตาย แต่ชาวเมืองได้อาศัยน้ำจากท่อทองแดงดังกล่าว จึงไม่ขาดแคลนน้ำ
            ต่อมามีคนไทยคนหนึ่งชื่อหมื่นแสน คิดมักใหญ่ใฝ่สูง หวังว่าถ้าพม่าตีเมืองได้จะแต่งตั้งตนให้เป็นใหญ่ จึงคิดคดทรยศต่อบ้านเมือง นำเรื่องการฝังท่อทองแดงไปบอกแก่พม่า พม่ารู้ความจริงแล้วจึงฆ่าหมื่นแสน แล้วนำศพไปใส่ในท่อทองแดงแล้วปิดเสีย ชาวเมืองก็ขาดน้ำ เป็นผลให้พม่าเข้ายึดเมืองได้
            เรื่องพรานกระต่าย  เป็นที่มาของชื่ออำเภอพรานกระต่าย มีเรื่องอยู่ว่า ในกาลครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่งมีอาชีพในการล่าสัตว์ ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเมืองบางพาน ได้ล่าสัตว์มาถึงบริเวณที่ราบลุ่มบริเวณวัดโพธิ์ ซึ่งมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ พวกสัตว์ต่าง ๆ ชอบมาอยู่อาศัยและหากินในบริเวณนี้เป็นอันมาก
            วันหนึ่งชายคนนี้ได้พบกระต่ายตัวหนึ่ง มีขนเป็นสีเหลืองเข้ม เหมือนสีทองสวยงาม จึงออกไล่จับกระต่ายวิ่งหลบเข้าไปในพุ่มไม้ พรานคนนี้หาไม่พบ จึงกลับมาบอกแก่ชาวบ้าน ทุกคนอยากได้ จึงพากันมาดักดูและไล่จับ แต่กระต่ายก็วิ่งหลบไปในพุ่มไม้หายไปทุกครั้ง ชาวบ้านสงสัยจึงถางพุ่มไม้นั้นออก พบว่าบริเวณนั้นเป็นเตาถลุงเหล็กเก่า มีโพรงและบ่ออยู่หลายแห่ง จึงได้เฝ้าปากโพรงไว้ แต่กระต่ายก็ไม่ได้โผล่มาให้เห็นอีก จึงพากันอพยพครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้น จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ในเวลาต่อมา กลายเป็นอำเภอพรานกระต่ายในปัจจุบัน

            เรื่องเขานางทอง  เป็นตำนานที่มาของชื่อเขานางทองในเขตอำเภอพรานกระต่าย ตำนานกล่าวว่า นางทองเป็นหญิงที่สวยงามมาก ถูกพญานาคกลืนเอาไว้ ต่อมาพระร่วงตามมาพบที่เขาแห่งนี้ จึงได้ล้วงนางออกมาจากคอพญานาค และได้นางมาเป็นชายา
            เรื่องบ้านคลองลาน  มีเรื่องเล่าว่า นานมาแล้วมีชนกลุ่มหนึ่งอพยพมาจากถิ่นอื่น เข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในบริเวณป่าลาน ซึ่งมีต้นลานขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก คนกลุ่มนั้นได้ตัดต้นลานขนาดเล็กออกไป เพื่อใช้พื้นที่สำหรับทำนาทำไร่ เหลือไว้เฉพาะต้นลานที่มีขนาดใหญ่และที่ขึ้นอยู่ตามริมคลองเท่านั้น จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านคลองลาน และได้มาเป็นชื่ออำเภอคลองลานในปัจจุบัน
            เรื่องบึงสาป  บึงสาปเป็นบ่อน้ำพุร้อน อยู่ที่บ้านลานหิน ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง ฯ มีลักษณะเป็นที่ลุ่มน้ำขัง มีป่าโปร่ง ล้อมรอบ สลับด้วยเนินเตี้ย ๆ บนพื้นดินบางแห่งมีหินโผล่ขึ้นมาเป็นกลุ่มน้อยใหญ่สลับกันไปตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยสุโขทัยสมเด็จพระร่วงเจ้า ได้เสด็จประพาสป่าล่าสัตว์มาถึงบริเวณบ้านลานหิน ทรงเห็นไก่ป่าตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงาม ขันเสียงไพเราะ จึงทรงให้นายพรานต่อไก่ป่าตัวนั้นมาได้ โดยมีไก่ป่าตัวอื่น ๆ ติดไปด้วยเป็นจำนวนมาก ในวันนั้นพระองค์ล่าสัตว์อื่นไม่ได้เลย จึงทรงให้นำสัตว์ป่าตัวอื่น ๆ ไปปรุงอาหาร แต่บริเวณนั้นไม่มีบ้านเรือนราษฎร จึงไม่มีไฟใช้ทำอาหาร พระองค์จึงทรงสาปน้ำที่อยู่ในบริเวณบึงใกล้ ๆ ให้เป็นน้ำร้อน บึงดังกล่าววจึงได้ชื่อว่า บึงพระร่วงสาป ต่อมาได้เรียกสั้นลงว่า บึงสาป เชื่อกันว่าน้ำในบึงสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บเช่น โรคปวดตามร่างกาย และโรคผิวหนังได้  ประชาชนได้นำรูปปั้นพระร่วงไปประดิษฐานไว้ ณ บริเวณบึงสาปเพื่อสักการบูชา
            เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘  ทางจังหวัดได้เข้าไปพัฒนาบริเวณบึงสาป พบว่ามีน้ำพุร้อนอยู่สามแห่ง และในวโรกาสเสกน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อทูลเกล้า ฯ เป็นน้ำอภิเษกในมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ ครบ ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ ได้ใช้น้ำในบึงสาปนี้ โดยได้นำไปประกอบพิธี ณ พระวิหารหลวงวัดสุทัศน์ ฯ
            เรื่องอุโมงค์ใต้ดิน ๓๓ ปล่อง  อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ ๘ กิโลเมตร มีลักษณะเป็นอุโมงค์ลึกลงไปใต้ดิน มีตำนานเล่ากันว่า เป็นอุโมงค์สำหรับหลบภัยสงคราม และเป็นที่เก็บทรัพย์สมบลัติของคนโบราณ
            อุโมงค์ดังกล่าวมีขนาดต่าง ๆ กันจำนวน ๓๓ อุโมงค์ ในพื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ตารางวา มีลักษณะลึกลงไปในดิน และมีบางแห่งชอนไปในแนวนอน ตามตำนานกล่าวว่า แต่เดิมนั้นอุโมงค์ทั้งหมดทะลุถึงกันได้ บางอุโมงมีปากแคบ แต่ข้างในกว้างและลึก แต่เนื่องจากภายในอุโมงค์มืดจึงมองไม่เห็นรายละเอียดว่ามีสภาพเป็นอย่างไร บางอุโมงค์ลึกลงไปในแนวตรง
            ในบริเวณที่ห่างจากอุโมงค์ ๓๓ ปล่อง ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๖๐๐ เมตร เป็นบริเวณที่มีลักษณะคล้ายอ่างหินขนาดใหญ่หนึ่งแห่ง และขนาดเล็กอีก ๒ - ๓ แห่ง ชาวบ้านเรียกว่า อ่างหิน พื้นที่บริเวณรอบอ่างหินมีลักษณะเป็นลานกว้าง พื้นเรียบคล้ายสนาม มีน้ำขังอยู่ตลอดฤดูฝน ชาวบ้านเรียกบริเวณอุโมงค์ ๓๓ แห่งและอ่างหินนั้นว่า นครปรุ หมายถึงเมืองสมัยโบราณ
            เรื่องจระเข้ปูน  ในสมัยสุโขทัย เมืองบางพานมีเจ้าเมืองพระนามพระมหาพุทธสาคร มีพระชายานามว่าเจ้าแม่นางทอง วันหนึ่งขณะที่นางกำลังอาบน้ำอยู่หน้าตำหนักมีจระเข้ตัวหนึ่งคาบเอานางไป พระมหาพุทธสาครตามไปทันแล้วได้สาปให้จระเข้กลายเป็นหินอยู่ตรงนั้น แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า จระเข้ปูน มากกว่าที่จะเรียกจระเข้หิน
            จระเข้ปูน (หินศิลาแลง) อยู่ห่างจากอุโมงค์ ๓๓ ปล่องมาทางทิศใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นรูปจระเข้ขนาดใหญ่ อยู่ชิดกับขอบทางเดินมาก ขนาดยาวประมาณ ๙ เมตร หันศีรษะไปทางทิศเหนือส่วนกลางลำตัวถูกทำลายหายไปแล้ว มีโพรงตรงกลางลำตัวกว้างประมาณ ๑๐ นิ้ว
    จารึก
            จารึกที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นหลักฐานที่ทำให้ทราบประวัติความเป็นมาของเมืองได้ชัดเจนขึ้น จารึกที่สำคัญมีอยู่ ๔ หลักคือ
            จารึกหลักที่ ๓  (ศิลาจารึกนครชุม)  จารึกเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๐ กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) เสด็จพระราชดำเนินไปที่วัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ทรงประดิษฐานพระศรีรัตนมหาธาตุและทรงปลูกพระศรีมหาโพธิ ซึ่งได้มาจากลังกาทวีป ทำให้เกิดประเพณีนบพระ - เล่นเพลง มาจนถึงปัจจุบัน
            จารึกหลักที่ ๒๙๒  (ศิลาจารึกลานเงินเสด็จพ่อพระยาสอย)  ขุดพบที่พระเจดีย์เก่าหน้าวัดพระยืน (วัดพระสี่อิริยาบถ) นอกกำแพงเมืองเก่า ข้อความในศิลาจารึกว่า "เสด็จพ่อพระยาสอย เสวยราชย์ในบุรีศรีกำแพงเพชร เสด็จฤกษ์ได้ขึ้นราชาอาสน์ อภิรมย์ สมกอร์ป คลามาสู่อยู่เสวย อยู่มโนรมย์ สอดเสพย์สม ควรเทพชุมสนุก ปลุกใจเดิน"
            เสด็จพ่อพระยาสอยครองราชย์ในเมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๓ ตรงกับรัชสมัยพระยาบรมบาล พระมหาธรรมราชาที่ ๔ แห่งกรุงสุโขทัย ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนครอินทราธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา
            จารึกหลักที่ ๑๓ (ศิลาจารึกพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร) พบที่ฐานพระอิศวร กล่าวถึงพระยาศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร ทรงประดิษฐานพระอิศวรสำริดเมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๓
ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
    การแต่งกาย
            ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ (ยุคหินใหม่ถึงยุคโลหะ)  จากการขุดค้นทางโบราณคดี พบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน และพบเครื่องประดับประเภทกำไลหินขัด ชุมชนโบราณที่บ้านหนองกอง ตำบลบ่อนาคำ (ยุคโลหะถึงยุคทวารวดี) พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตาเนียล และชุมชนเมืองไตรตรึงษ์ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (ทวารวดี) พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและข้อมือ

            สมัยประวัติศาสตร์  จากรูปปั้นเทวสตรี (ศิลปะสุโขทัย) ลักษณะเครื่องทรง มีกรองศอ มีพวงอุบะสั้น ห้อยประดัยโดยรอบ ผ้าทรงมีวิวัฒนาการมาจาก การทรงผ้าของเทวรูปสมัยสุโขทัยคือ ทรงผ้าสองชั้น ชั้นหนึ่งนุ่งรอบองค์คล้ายผ้าจีบ อีกชั้นหนึ่งเป็นเครื่องประดับอยู่ด้านหลังชายผ้าทั้งสองชั้น แหวกออกมามากกว่าเทวรูปสมัยสุโขทัย ทำให้เห็นผ้าชิ้นในซึ่งมีลวดลายประดับชัดเจน และไม่สวมเสื้อ หรือถ้าสวมเสื้อก็น่าจะเป็นเสื้อแขนยาวเข้ารูป ส่วนการไว้ผมของผู้หญิงมีสองแบบคือ
                - แบบที่ ๑ ไว้ผมยาว เกล้ามวยมีเกี้ยว หรือพวงมาลัยสวมรอบมวย ซึ่งเกล้าอยู่กลางกระหม่อม
                - แบบที่ ๒ ไว้ผมยาวเกล้ามวยไว้ที่ท้ายทอย มีเกี้ยว หรือห่วงกลมคล้องมวย

            เครื่องแต่งกายของเมวรูปพระอิศวร (ศิลปะอยุธยา)  มีหล่อเมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๓ นั้น กรองศอและสายรัดพระองค์มีอุบะสั้น ห้อยประดับ ผ้าโจงกระเบนสั้นมีชายผ้าเป็นสามเหลี่ยมห้อยอยู่ข้างหน้า กรรเจียก หรือรัดเกล้าข้างพระเศียรเหนือพระกรรณไม่เคยปรากฎในเทวรูปสมัยสุโขทัย ทรงแหวนทุกนิ้ว ทั้งนิ้วมือ และนิ้วเท้า ไม่สวมเสื้อ
            เครื่องทรงพระอิศวรคงเป็นเครื่องทรงเจ้าเมือง ขุนนาง หรือเจ้านายชั้นสูงที่เป็นชาย นิยมนุ่งผ้าสั้น สวมเครื่องประดับมากชิ้น เครื่องประดับทำด้วยสำริดและเพชรพลอย
            สำหรับหญิงชาย โยทั่วไปน่าจะนุ่งผ้าพิ้นสีเข้มไม่มีลวดลาย ไม่มีเครื่องประดับ ถ้าจะมีก็เฉพาะผู้เหญิง เช่น ตุ้มหูที่ทำด้วยโลหะ ไม่สวมเสื้อ ไม่สวมรองเท้า ผู้หญิงน่าจะมีผ้าสลิบสีขาวหรือผ้าสไบพันรอบอก หรือคล้องคอให้ชายผ้าทั้งสองห้อยอยู่ด้านหลัง ผ้าด้านหน้าห้อยลงมาปิดหน้าอก หรือห่มตะเบงมาน เมื่อออกนอกบ้าน เครื่องประดับที่ผู้หญิงนิยมมากคือตุ้มหู ซึ่งใส่ตั้งแต่เด็ก ทำด้วยทองหรือกาไหล่ทอง โดบเฉพาะลูกคนชั้นสูงจะสวมกำไลข้อมือ ข้อเท้า และรัดแขน จนถึงอายุ ๗ - ๘ ขวบ
            สมัยอยุธยาตอนปลาย  การแต่งกายของเจ้านายชั้นสูง ขุนนาง และคนสามัญทั่วไปเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง เช่น การนุ่งผ้าของสตีชั้นสูง นิยมนุ่งผ้ายก ห่มสไบผ้าแพร หญิงชาวบ้านยังคงนิยมนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูป แขนกระบอก ขุนนางและเจ้านายผู้ชายนุ่งโจงกระเบนผ้าม่วง สวมเสื้อคอปิดผ่าอกแขนยาว เด็กทั้งชายหญิงไว้ผมจุกจนถึงอายุ ๑๑ - ๑๓ ปี จึงทำพิธีโกนจุก ผู้ชายไว้ผมทรงมหาดไทย หรือที่เรียกว่า ทรงหลักแจว คือ โกนผมรอบศีรษะ ไว้ผมตรงกลางศีรษะ ยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงไว้ผมปีก คือ ไว้ผมยาวเฉพาะบนกลางศีรษะ ทำนองเดียวกับผมทรงมหาดไทย และไว้ผมเป็นพู่ที่ริมหูทั้งสองข้าง สำหรับห้อยดอกไม้เรียกว่า ผมทัด
            สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ยังคงรักษาเอกลักษณ์การแต่งกายสมัยอยุธยาตอนหลายไว้ได้มากที่สุด
            สมัยรัตนโกสินทร์ในระยะต่อมา  ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา ได้ทรงประกาศให้มีการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ชายนุ่งโจงกระเบนผ้าม่วงสวมเสื้อราชปะแตน ยกเลิกผมทรงมหาดไทย ไว้ผมแบบฝรั่ง สวมหมวกแบบยุโรป ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ ได้โปรดเกล้า ฯ  ให้ทหารแต่งเครื่องแบบ โดยนุ่งกางเกงแบบยุโรปแทนโจงกระเบน
            การแต่งกายของสตรีเริ่มเปลี่ยนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ สตรีเลิกนุ่งจีบ เปลี่ยนเป็นนุ่งโจงกระเบน สตรีชั้นสูงสวมเสื้อคอตั้งแขนยาวต้นแขนพอง ตกแต่งด้วยลูกไม้ระบายหลายชั้น สวมถุงเท้ามีลวดลายปักสีให้รับกับผ้าโจงกระเบน สวมสร้อยไข่มุกหลายสาย ตัดผมทรงดอกกระทุ่ม
            เด็กหญิงและชายไว้ผมจุก นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อเฉพาะเวลาออกงาน เด็กเญิงสวมเสื้อคอกระเช้าประดับลูกไม้ เมื่อโตเป็นสาวแล้วตัดจุก ไว้ผมยาวเรียกว่า ผมโป่ง
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้หญิงนิยมไว้ผมบ๊อบ คาดเครื่องประดับรอบศีรษะ ใช้ผ้าแพรบางสะพายจีบ ต่อมาเริ่มนุ่งซิ่น ไว้ผมยาวเกล้ามวยแบบตะวันตก ผู้ชายยังแต่งกายเหมือนเดิม
            ในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สตรีเลิกสะพายแพรปัก นุ่งซิ่นแค่เข่า สวมเสื้อทรงกระบอกตัวยาว ไว้ผมาบ๊อบ
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล การแต่งกายแบบสากลได้รับความนิยมในหมู่ข้าราชการ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เห็นว่าควรกำหนดการแต่งกายของชาติขึ้นมาใหม่ ได้ชักชวนให้เลิกนุ่งกางเกงแพร เนื่องจากเป็นวัฒนธรรมจีน ขอให้ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน เปลี่ยนเป็นนุ่งผ้าถุง สวมหมวก สวมรองเท้า
            การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร ได้ปฏิบัติตามรัฐนิยมในสมัยนั้น โดยเฉพาะข้าราชการส่วนราษฎรที่เป็นชาวบ้านยังคงแต่งกายตามสบายคือ ผู้ชายนุ่งกางเกงจีน ไม่สวมเสื้อ หรือนุ่งผ้าขาวม้าเมื่ออยู่บ้าน ถ้าสวมเสื้อก็จะสวมเสื้อคอกลมสีขาว ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าถุงสีพื้นหรือลายไทย <

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์