ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ศิลปกรรมและงานช่าง
    สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย

            ชุมชนเรือนไทยในเมืองกำแพงเพชร เป็นลักษณะหมู่บ้านริมน้ำ ตามรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ บ้านที่ปลูกสร้างเป็นเรือนไม้ หันหลังให้แม่น้ำ หันหน้าเข้าหาทางเกวียน เป็นแถวยาวเลียบแม่น้ำปิง
            ลักษณะชุมชนส่วนใหญ่เป็นเรือนพักอาศัยและเรือนค้าขายซึ่งตั้งตามแนวทางเกวียนที่ขนานกันสองสาย ถนนสายนี้ได้รับการตั้งชื่อภายหลังว่า ถนนราชดำเนินและถนนเทศา
            ลักษณะการก่อสร้างบ้านเรือนในอดีตมีรูปแบบที่ได้ปรับปรุงและดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และช่างฝีมือของผู้คนในสมัยนั้น ลักษณะของอาคารแบ่งได้ดังนี้
            เรือนทรงไทย  ได้แแบบมาจากเรือนทรงไทยภาคกลาง แต่มีส่วนประกอบของเรือนหลายอย่างที่ดัดแปลง ไปตามสภาพความจำเป็น หรือความพร้อมในเรื่องของวัสดุ แรงงานและฝีมือช่าง เช่น
                - ฝาบ้าน   เป็นฝาไม้กระดาน หนา ๐.๗๕ นิ้ว ตีตามตั้ง บังใบตลอดแนวเพื่อกันน้ำ แต่กรอบฝาทั้งแผงยังทำเป็นลักษณะสอบเข้าหากันเหมือนของภาคกลางเรียกว่า ฝาสายบัว และเป็นฝาสำเร็จรูปไม่ได้เป็นฝาลูกฟัก หรือฝาปะกน มีกรอบวัดโดยรอบด้วยไม้ขนาด ๑.๕ x ๕ นิ้ว เข้าเดือยกรอบไม้แน่นหนาเหมือนฝาปะกน มีหน้าต่างข้างสองบาน ฝังเดือยบนล่างเปิดเข้าด้านในเป็นบานคู่ไม้แผ่นเดียวตั้งบนธรณี มีกรอบเช็ดหน้าสวยงาม มีลูกกรงเหล็กกันขโมย โดยฝังลงในกรอบแน่นหนา และมีกลอนกบป้องกันไม่ให้บานหน้าต่างเปิดเข้าได้
                - โครงเรือน  เป็นลักษณะโครงเสากับคาน ซึ่งแบ่งผังเสาและสัดส่วนของบ้านเป็นสามช่วง กว้างช่วงละ ๓ เมตร ส่วนพาไลอยู่ด้านหน้าเรือนกว้าง ๓ เมตร ยาวสามช่วงเสา โดยทำช่วงเสาละ ๒ - ๓ เมตร มีบานเฟี้ยม ตามแนวยาว ด้านหน้าเรือน เพราะลักษณะเป็นเรือนค้าขายตามอาชีพเดิมของเจ้าของบ้าน ระดับพื้นพาไลกับพื้นตัวเรือนเสมอกัน ไม่ได้แบ่งระดับ หลังบ้านมีนอกชานขนาด ๓ x ๖ เมตร  ยาวกว่าตัวเรือน โดยเลียบข้างเรือนไปออกประตูด้านหน้าได้ ส่วนนี้อาจจะเป็นลักษณะเฉพาะของเรือนไทยในจังหวัดกำแพงเพชร หลังเรือนหันลงแม่น้ำมีบันไดลงท่าน้ำเรือนเป็นแบบใต้ถุนสูง

                - โครงหลังคา  มีสัดส่วนคือ กว้างห้าส่วน ใบตั้งสูงสี่ส่วน ใกล้เคียงกับโครงหลังคาเรือนภาคกลางมีสภาพโค้งลาดสมสัดส่วน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเกาะบนไม้ระแนงขนาด ๑ x ๒ นิ้ว วางทับบนกลอนขนาด ๑ x ๕ นิ้ว โค้งไปตามระดับแปลาน ขนาด ๒x๔ นิ้ว และแปหัวเสา ตัวเรือนไม่ฝ้าเพดานมาแต่เดิม จึงมีการแต่งจันทันในช่วงกลางให้มีลวดลาย โดยใช้ไม้ขนาด ๒ x ๑๒ นิ้ว แนส่วนล่างและส่วนปลายเล็กลง ที่ปลายสุด ๒ x ๘ นิ้ว  วางทับบนขื่อที่วางเจาะนอนเข้าเดือย หัวเทียนเป็นเสากลมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๘ นิ้ว และเรียวที่ปลาย ๑๒ นิ้ว
                - ปั้นลม  วางบนปลายแปหัวเสา และแปลานยอดเหลี่ยม

                - อุดหน้าจั่ว  เป็นแบบลูกฟัก ยังคงสัดส่วนเดิม คือแบ่งเป็นแนวตั้ง ห้าส่วน และนอนสี่ส่วน
                - เสาดั้ง  ยังคงเป็นแบบเดิมคือ ตั้งคร่อมอยู่บนรอด และตรงขึ้นไปรับอกไก่ เจาะลอดทะลุขื่อตัวริมขึ้นไป ส่วนเหนือหลังขื่อแบบเรียบ ขนาด ๒ x ๘ นิ้ว เรียวขึ้นไปรับจันทันเอก
                - ประตูห้องนอน  เป็นประตูบานไม้คู่เปิดเข้าด้านใน ตั้งอยู่บนธรณีประตูสูง ๑๕ เซนติเมตร การแบ่งส่วนห้องนอนยังคงอยู่ในมาตรฐานของบ้านไทยคือ สัดส่วน ๑:๓ ของพื้นที่เรือนใหญ่
                - ฝาประจัน  ตีตั้งเหมือนฝาภายนอก แต่ลดสัดส่วนให้มีช่องลมใต้ขื่อขนาด ๒๐ เซนติเมตร ยึดติดกับคอสองเพื่อความแข็งแรง
                - พรึง  เป็นแผ่นไมที่มีไว้รองรับฝาผนังทั้งแผง โดยยึดติดกับเสาและราวอยู่บนรอด บางทีเรียก รัดเอว เป็นการวางระดับผนังไปในตัว เวลายกฝาผนังขึ้นติดตั้ง การที่ทำเสาสอบเข้าหากันนั้น นอกจากจะทำให้โครงสร้างอาคารมั่นคงแล้ว ยังทำให้การพิงฝาผนังทำได้ง่าย พรึงมีระดับเท่ากันโดยกรอบตัวเรือนสามด้าน ที่มุมยึดติดกันโดยการเข้าเดือยหางเหยี่ยว แล้วตอกตะปูติดกับเสา
                - เต้าราย  ใช้ไม้สักขนาด ๒ x ๖ นิ้ว ทำหน้าที่ยึดเชิงชายตามแนวราบ โดยเจาะเชิงชายสอดเดือยจากปลายเต้า เต้ารายนี้ถ้าอยู่ที่มุมเรือนจะเรียกว่า เต้ารุม ซึ่งมองเห็นปลายอีกข้างหนึ่งในเรือน โดยสอดทะลุออกนอกเสา และร้อยด้วยสลักไม้ด้านข้าง เพื่อยึดให้แน่นอีกครั้ง
                - กันสาด  กันสาดด้านข้างที่ยื่นยาวออกจากตัวเรือน มีคันทวยหรือท้าวแขน ที่ยื่นออกไปรับท้องจันทันช่วงกลาง เพื่อช่วยรับน้ำหนักจากกันสาดลงที่เสา โดยทำพุกรองรับปลายคันทวย ตอกด้วยตะปู
                - พื้นเรือน  นิยมใช้ไม้ตะแบก หนา ๑.๒๕ นิ้ว หรือนิ้วสองหุน หน้ากว้าง ๑๐ - ๑๕ นิ้ว ไม้ตะแบกเป็นไม้ที่มีความหนาแน่นของเนื้อไม้สูง มีผิวเป็นเงามัน มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ไม่ดูดฝุ่น ทำความสะอาดง่าย ใช้ปูพื้นตามแนวยาวของตัวเรือนโดยวางบนรอด ไม่มีตงรับ เหมือนเรือนไทยภาคกลาง การปูพื้นไม้ใช้วางเรียบตีชน ไม่มีการบังใบเข้าลิ้น
                - เสาเรือน  ถากด้วยขวานให้กลมเรียวขึ้น ด้านบนเจาะรูด้วยสิ่ว และเหลาหัวเทียนที่ปลายเสา ยาว ๖ นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ นิ้ว
                - การวางตัวผังเรือน  เรือนชาวกำแพงเพชรได้รับลมเย็นสบายทั้งทางระเบียงหลังบ้าน และลมหนาวที่พัดเข้ามาทางหน้าบ้าน ตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำปิง
    ศิลปหัตถกรรมงานช่างฝีมือ

            ผลิตภัณฑ์หินอ่อนอำเภอพรานกระต่าย  เขาสว่างอารมณ์เป็นภูเขาหินปูน มีอายุประมาณ ๔๓๕ - ๓๔๕ ล้านปี เป็นหินอ่อนผลึกใหม่ หรือเรียกว่า หินอ่อนในแง่การค้า โดยทั่วไปมีชั้นหนา สีขาว เทาอ่อน เทาแก่ปานกลาง ชั้นหินหนาประมาณ ๑๕๐ เมตร ใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ในการก่อสร้างอาคารและใช้ประดิษฐ์เป็นหัตถกรรมหินอ่อน
            งานหัตถกรรมหินอ่อน ได้นำเศษหินจากโรงงานหินอ่อนมาคัดเลือกและออกแบบทำเป็นวัสดุเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เหมาะสม เช่น แจกัน เสาโชว์ โต๊ะ เก้าอี้ นาฬิกา และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตามที่ต้องการ

            ผ้ามัดหมี่ อำเภอลานกระบือ  การทอผ้ามัดหมี่เป็นการทอผ้าของชาวบ้านตำบลประชาสุขสันต์ ซึ่งส่วนมากอพยพมาจาก จังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม ได้มาประกอบอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อมีเวลาว่างจึงทอผ้าใช้กันเอง เมื่อมีผู้สนใจมาซื้อจึงได้ทอขายเป็นรายได้เสริม มีทั้งผ้าพื้นและผ้าลาย  ลวดลายที่นิยมมีหลายลาย เช่น ดาวพระศุกร์ บายศรี ดอกไม้ แมงมุม โคมผ้าล้อม ดอกแก้ว และนาคสน เป็นต้น  การทอเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงไหมโดยใช้ใบหม่อน ได้รังไหมมาแล้วก็ดำเนินกรรมวิธีจนเป็นเส้นไหม ต่อมาได้ใช้วิธีซื้อเส้นไหมจากจังหวัดขอนแก่นมาใช้แทนการผลิตเอง

            เบญจรงค์ ที่อำเภอทรายทองวัฒนา  เครื่องถ้วยเบญจรงค์เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย ที่มีความงามและทรงคุณค่ามาแต่อดีต ได้ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ความนิยมเริ่มมาแพร่หลายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากมีความต้องการใช้เครื่องถ้วยชามเคลือบเป็นจำนวนมาก
            เครื่องถ้วยเบญจรงค์ใช้แม่สีหลักในการลงลวดลายห้าสีคือ สีดำ สีขาว สีเหลือง สีแดง และสีเขียว (คราม)  ในระยะแรกให้ช่างชาวจีนลงสีโดยเขียนลายลงไปให้ ต่อมาเมื่อความนิยมเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจึงต้องมาตั้งเตาและทำเครื่องถ้วยเบญจรงค์เอง แต่ระยะหลังความนิยมเริ่มลดน้อยลงเพราะราคาแพงและหายาก
            เครื่องเงิน อำเภอคลองลาน  หมู่บ้านชาวเขาในเขตอำเภอคลองลาน เป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงมากทั้งด้าน คุณภาพและฝีมือที่ประณีตสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ
            วิธีทำเครื่องเงิน ชาวเขาจะผลิตในสถานที่จำหน่าย ให้ผู้ซื้อได้เห็นวิธีการผลิตอย่างชัดเจน โดยผลิตเครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำจากเงินทุกชนิด มีรูปแบบและลวดลายต่าง ๆ เช่น กระเป๋า เข็มขัด สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์