ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

            ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ มีอุทยานประวัติศาสตร์อยู่ ๓ แห่งคือ ที่ กำแพงเพชร สุโขทัย และศรีสัชนาลัย (จ.สุโขทัย)  ผมจะพาท่านไปเยี่ยมอุทยานประวัติศาสตร์ ที่ อ.เมืองสุโขทัย เส้นทางไปได้ ๓ เส้นทางคือ
                เส้นทางที่ ๑  ไปผ่านนครสวรรค์ ตัดออกไปพิษณุโลก แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย ๑๒ ผ่านตัวเมืองสุโขทัย ไปอีกประมาณ ๑๒ กม. ก็จะถึง อุทยาน ฯ
                เส้นทางที่ ๒  ไปผ่านนครสวรรค์ แล้วไป จ.ตาก เลี้ยวขวาไปตามถนนสาย ๑๒ ไปยังอุทยาน ฯ แต่เส้นนี้อ้อม ระยะทางไกลกว่าเพื่อนคือ ประมาณ ๔๙๕ กม.
                เส้นทางที่ ๓  ไปผ่านนครสวรรค์ กำแพงเพชร ตัดเข้าตัวเมือง ผ่านศาลหลักเมืองไปตามถนนที่มุ่งตรงไป จ. สุโขทัย ไปอีก ๗๖ กม. ผ่าน อ.พรานกระต่าย ,คีรีมาศ ผ่านแยกซ้ายไปบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง (ไปอีก ๑๑ กม. อีกป้ายห่างกันสัก ๑๐ เมตร บอกว่าไปอีก ๑๐ กม. ไม่รู้ว่าจะเชื่อป้ายไหนดี)  ผ่านทางแยกขวาที่ กม.๓๙๐ ไป "แหล่งน้ำมันสิริกิต์" ไปตามถนนสาย ๑๐๖๕ ไปผ่านทางแยกซ้ายไปอุทยานแห่งชาติรามคำแหง จะมาถึงสี่แยกมีไฟสัญญาณ "สี่แยกคลองโพธิ์"  ซึ่งหากตรงไปจะไปสวรรคโลก ไปสนามบิน เลี้ยวขวาจะเข้าตัวเมืองสุโขทัย "เลี้ยวซ้าย"  ไปตามถนนสาย ๑๒ ไปยังอุทยานประวัติศาสตร์ ฯ (และ ไป จ.ตาก) ผมมาตามเส้นทางนี้ ระยะทางจะพอ ๆ กับเส้นทางแรกคือ ประมาณ ๔๓๕ กม. (จากกรุงเทพ ฯ)
                เมื่อเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกคลองโพธิ์ ทางขวามือคือ ปั๊มน้ำมัน ปตท. ติดกับปั๊มน้ำมัน ร้านชวนชิม ตรงข้ามร้านเก่าแก่ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยอร่อยนัก ผ่านร้านไปจนถึงโรงแรมไพลิน อยู่ทางซ้ายจากนั้นก็จะเป็นกลุ่มร้านขายของที่ระลึก และร้านอาหารอีกหลายร้าน พิพิธภัณฑ์สถานรามคำแหง (เคยเข้าไปชม สมัยพ่อขุน มีฐานส้วมด้วย)  ไปจนถึงหน้าทางเข้าอุทยาน ฯ ไปคราวนี้เปลี่ยนเส้นทางประตูเข้า ต้องวิ่งตรงเข้าไปก่อนแล้วเลี้ยวขวาอีกที จึงจะถึงซุ้มจำหน่ายบัตร ชาวไทยคนละ ๑๐ บาท ถ้านำรถเข้าไปคันละ ๕๐ บาท หรือจะเดินเข้าไปแล้วนั่งรถราง (เหมือนรถราง) มีไกด์สาวบรรยาย พาชมภายในอุทยานคนละ ๒๐ บาท มีเป็นรอบ แต่ผมเอารถเข้าไปวิ่งวนชมเอง เพราะจำไม่ได้ว่าไปเป็นครั้งที่เท่าใด ไปครั้งแรกตั้งแต่ยังรับราชการอยู่เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๗  ตั้งแต่อุทยานรกยังกับป่า จนไปครั้งนี้อุทยานสวยเหลือเกิน สะอาดตา งดงามไปหมด สมกับเป็นมรดกโลก เป็นศูนย์กลางอาณาจักรสุโขทัย (ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๔)
                เมืองสุโขทัย ได้พบศิลาจารึกหลักที่ ๒ ในอุโมงค์วัดศรีชุม (ซึ่งวัดนี้อยู่เลยอุทยาน ฯ ไปทางตาก ประมาณสัก ๑ กม. แล้วเลี้ยวขวาไปอีก ๖๐๐ เมตร)  ได้อธิบายไว้ว่า เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถม เจ้าเมืองสุโขทัยสิ้นพระชนม์ลง ขอมสมาดโขลญลำพง ได้เข้าครอบครองเมืองสุโขทัย พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถมได้ชักชวนพระสหายคือ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง (อ.นครไทย ในปัจจุบัน) ร่วมกันชิงเมืองสุโขทัยกลับคืนมาได้ แต่พ่อขุนผาเมืองไม่ยอมครองเมืองสุโขทัย (อาจจะเป็นเพราะมีมเหสีเป็นธิดากษัตริย์ขอม) ยกเมืองสุโขทัยของพระบิดา พร้อมกับมอบพระขรรค์ชัยศรี และพระนามศรีอินทรบดินทราทิพย์ของพระองค์ให้กับพระสหาย พ่อขุนบางกลางหาว จึงขึ้นครองสุโขทัยทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิพย์ เป็นต้นราชวงศ์สุโขทัย และมีพ่อขุนบานเมือง โอรสองค์ใหญ่ปกครองสืบต่อมา แต่ไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจนว่า ศูนย์กลางเมืองได้ย้ายจากบริเวณวัดพระพายหลวง มายังวัดมหาธาตุแล้วหรือยัง ตราบจนกระทั่ง พ่อขุนรามคำแหง พระอนุชาได้ปกครองสุโขทัยสืบต่อมา
                จากหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๑ จึงทราบแน่นอนว่า วัดมหาธาตุ คือศูนย์กลางเมือง หลักศิลาหลักที่ ๑ นี้ ได้ทำให้เราทราบว่า พ่อขุนรามคำแหงมีความเกรียงไกรมากเพียงใด ทรงเป็นนักรบที่ทรงทำยุทธหัตถีชนะเจ้าเมืองฉอด ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา อาณาเขตในรัชกาลของพระองค์ ขยายไปจนถึงหลวงพระบาง และทางใต้ไปจนสุดแหลมมลายู ทางตะวันตกติดเขตแดนเมาะตะมะ ทางพระพุทธศาสนาได้นำพุทธศาสนาแบบเถรวาท ที่กำลังเจริญอยู่ที่นครศรีธรรมราช เข้ามาเผยแพร่ที่สุโขทัย ให้มีการฟังธรรมในวันพระ บ้านเมืองเป็นปกติสุข ยากจะหายุคใดเสมอเหมือน ประชาชนมีอิสระในการทำการค้า มีคำกล่าวว่า " เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า"  โปรดให้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่กลางเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองคู่ของกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างวัดวา อาราม พระพุทธรูปต่าง ๆ ขึ้นในสุโขทัย และพระองค์คือ ผู้ประดิษฐอักษรไทยขึ้นใช้ เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัยไม่สามารถดำรงความยิ่งใหญ่ และความรุ่งเรืองไว้ได้ เมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นกับสุโขทัยหลายเมือง แยกตัวออกไปเป็นอิสระปกครองกันเอง จนถึง พ.ศ.๑๘๙๐ แผ่นดินพระมหาธรรมราชาลิไท พระราชนัดดา ของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งขณะนั้นครองเมืองศรีสัชนาลัย ได้นำกองทัพมาปราบปรามยึดสุโขทัยไว้ได้ และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้แก่แคว้นสุโขทัยได้อีกครั้งหนึ่ง แต่พอถึง พ.ศ.๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทอง ตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเริ่มมีอำนาจมากขึ้น จนถึงสมัยที่ขุนหลวงพะงั่ว หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ต่อจากพระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพมายึดได้สุโขทัยภายหลังที่พระเจ้าลิไท เสด็จสวรรคตแล้วเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๑๓ - ๑๙๑๔ ฐานอำนาจของไทยจึงย้ายมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา จนถึง พ.ศ.๑๙๘๑ สุโขทัยก็ค่อย ๆ กลายมาเป็นดินแดนในราชอาณาจักรอยุธยา จนหมดสิ้น
            โบราณสถานในเมือง
                เมื่อวิ่งรถผ่านประตูเข้าไปแล้ว จุดแรกที่น่าชมที่สุดคือ "วัดมหาธาตุ"  เป็นวัดที่สำคัญที่สุด และเป็นแบบอย่างของเมืองเอก ในสมัยต่อมาจะต้องมีวัดมหาธาตุ เช่น ที่ลพบุรีก็มี กำแพงเพชร ก็มี เป็นต้น วัดมหาธาตุจะตั้งอยู่ใจกลางเมืองตามแบบแผน ความเชื่อในระบบสุริยจักรวาลของอินเดีย ประกอบด้วย เจดีย์ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์ราย มากถึง ๒๐๐ องค์  ทั่วบริเวณสะอาดตา ตัดหญ้าเรียบ เขียวชอุ่ม เจดีย์ประธาน ตั้งเด่นเป็นสง่า เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ศิลปะสุโขทัย (แบบอื่นก็มีทรงลังกา หรือทรงระฆัง)  แต่พระพุทธรูปที่ชาวเมืองเรียกว่า หลวงพ่อโต นั้นแผ่นดินพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าให้อัญเชิญโดยล่องแพ มาไว้ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ฯ แล้วถวายนามว่า พระศรีศากยมุนี ชมวัดนี้ ขอให้ชมอย่างมีเวลา เมื่อไปชมกับทัวร์รถรางไม่ได้ดูนาน ผมถึงเอารถวิ่งเข้าไปเอง
                    พระอัฎฐารส คือ พระพุทธรูปยืน ประดิษฐานในมณฑป ที่ขนาบข้างเจดีย์ประธาน
                    เนินปราสาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานไว้ว่า เนินนี้เคยเป็นฐานปราสาทราชวัง ของกษัตริย์เมืองสุโขทัย

                    วัดศรีสวาย  อยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วย ปรางค์ ๓ องค์ มองจากภายนอกเหมือน ปรางค์สามยอด ที่ลพบุรี มีลวดลายปูนปั้น
                    วัดตระพังเงิน  ห่างจากวัดพระธาตุ ประมาณ ๓๐๐ เมตร มีเจดีย์ วิหาร โบสถ์กลางน้ำ เจดีย์ประธานทรงดอกบัวตูม เพราะมีโบสถ์กลางน้ำ จึงเรียกว่า วัดตระพังเงิน
                    วัดสระศรี  งดงามมาก เพราะตั้งอยู่กลางสระน้ำขนาดใหญ่ ที่ชื่อว่า ตระพังตระกวน มีเจดีย์ทรงระฆังกลม วิหาร และโบสถ์ ที่บางครั้งเรียกว่า ทรงลังกา
                    ศาลหลักเมือง  อยู่ติดคูน้ำ ด้านเหนือของวัดมหาธาตุ
                    วัดชนะสงคราม วัดตระพังทอง วัดตระกวน ศาลตาผาแดง วัดสรศักดิ์ วัดซ่อนข้าว วัดและสถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนอยู่ในบริเวณกำแพงเมือง ชมจนจุใจแล้ว
                    ขับรถไปทาง จ.ตาก ออกนอกกำแพงเมืองไปนิดเดียวก็เลี้ยวขวาไป ๖๐๐ เมตร ตามป้ายไป ไปยังวัดศรีชุม เพื่อไปชมวัดและไหว้พระอจนะ ความหมายคือผู้ไม่หวั่นไหว ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๑.๓ เมตร กำแพงที่ล้อมองค์พระหรือผนังของมณฑปสูง ๑๕ เมตร มีทางเดินภายในให้ขึ้นไปหลังพระพุทธรูปได้ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยกยทัพมาเพื่อจะไปตีสวรรคโลกมาประชุมทัพอยู่ที่บริเวณวัดนี้ และตำนานกล่าวว่าจะมีผู้เข้าไปหลังองค์พระ และเปล่งเสียงออกมา (น่าจะเป็นคำประธานพร) ไม่เห็นตัวผู้พูด จนลือกันว่าพระพูดได้ ตอนผมไปครั้งแรกลูกน้องผมตะกายขึ้นไป เดี๋ยวนี้ปิดทางขึ้นแล้ว ไปวัดศรีชุมวิ่งต่อไปยังวัดอ้อมรอบ วัดเตาทุเรียง (ยังมีฐานเตาอยู่) และอีกหลายวัด วันราชการคนไทยเที่ยวน้อย แต่ฝรั่งหนุ่มสาวจะขี่จักรยานเที่ยวมากกว่าคนไทย
                    จบรายการชมเมืองเก่า ใกล้เที่ยงไปหาอาหารชิม ตอนมาจากกำแพงเพชร พอถึงสี่แยกคลองโพธิ์ ก็เลี้ยวซ้ายทางมาอุทยาน ฯ วิ่งมาประมาณ ๖.๒๐๐ กม. ทางซ้ายติดกับโรงแรมไพลิน คือร้านอาหารอร่อยที่พึ่งค้นพบในคราวนี้ ใหญ่โต กว้างขวาง ร้านนี้ยกป้ายคลีนฟู๊ด กูดเทสท์ อาหารสะอาด รสชาติอร่อยด้วย ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ "เครื่อข่ายผู้นำอาชีพก้าวหน้า จ.สุโขทัย" ได้รับรางวัลเมนูชูสุขภาพ ของกรมอนามัย
                    สั่งขนมจีน คิดแต่ค่าขนมจีน จัดใส่จาน พร้อมซ้อนส้อม คลุมด้วยกระดาษแก้ว จัดขนมจีนไว้ ๕ จับ ๕ สี สวยน่ากิน ส่วนน้ำราดมี ๕ น้ำ สั่งขนมจีน ๒ จาน จัดน้ำราดมาให้ ๓ น้ำ จาก ๕ น้ำคือ แกงเขียวหวาน น้ำเงี้ยว  น้ำยากะทิ และน้ำพริก ผมเลือกเอา ๓ น้ำคือ น้ำยาป่า น้ำยากะทิ และน้ำพริก อร่อยจริง ๆ อร่อยทุกน้ำ จะสั่งขนมจีนต่อเพื่อเอาอีก ๒ น้ำ ก็กลัวพุงจะรับไม่ไหว เพราะมาสุโขทัยยังไม่ได้กินก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยเลย จึงสั่งผัดไทยเส้นสุโขทัย ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ห้ามปรุงเด็ดขาด เว้นชอบมะนาวหรือเติมพริกป่น ส่วยผักของผัดไทยใส่จานเชิงมีกุยฉ่าย หัวปลี และถั่วงอกดิบ ผักสำหรับน้ำยามี หัวปลี ถั่วงอกดิบอวบขาว ผักกาดดองเปรี้ยวนิด ๆ เปรี้ยวชูรส มีแครอตหั่นฝอย และขาดไม่ได้คือใบแมงลัก ผักคู่กับบน้ำยา ที่ไม่ได้สั่งก็ส้มตำ อร่อยทกุอย่าง ไม่ต้องปรุงอะไรเลย แม้แต่มะนาวก็ไม่ได้บีบ เรียกว่าเขาปรุงมาอย่างไร ชิมรสนั้น
                    ของหวานลอดช่อง เผือก น้ำกะทิ สั่งมาผสมกันทั้งลอดช่องและเผือก
                    เสร็จแล้วออกไปซื้อของฝาก สินค้าโอท๊อป ที่เดี๋ยวนี้เรียกว่า สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ถั่วทอดถุงละ ๒๕ บาท ถั่วทอดศรีสำโรง ยกให้อร่อยที่สุดในประเทศไทย มาสุโขทัยต้องซื้ออย่าโดดข้ามไป ยังมีข้าวแต๋น ขนมเกลียว ทองม้วน สบู่สมุนไพร ยาหม่อง แป้ง และที่ไม่เคยเห็น อร่อยด้วยคือขนมหม้อแกง ทำใส่มาในกระทงทอง อันเล็ก ๆ พอคำ ขายเป็นแพค ราคา ๓๕ บาท อันน่ารัก น่ากิน

.........................................................


| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์