ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ |

วัดบุปผาราม

            พาไปเมืองตราดอีกที ไปคราวนี้แล้วคงอีกนานกว่าจะตามผมไปเที่ยวเมืองตราดอีก เพราะงานในหน้าที่ของผมที่เมืองตราดที่คั่งค้างอยู่หมดแล้วครับ กำลังริเริ่มใหม่ในเรื่องของการฝึกผู้นำยุวชนชายแดน ด้วยการนำยุวชนจาก จ.ตราดมาฝึก เหตุที่ฝึกซ้ำที่ จังหวัดตราด เพราะประธานหอการค้าตราด ซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญในการฝึกยุวชนชายแดนครั้งนี้ (ต.ค.๔๕) ขอให้มีการฝึกให้แก่ยุวชนจังหวัดตราด ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนทุกครั้งที่มีการปิดเทอมของยุวชน ซึ่งเมื่อประสานกับหน่วยทหารที่เกี่ยวข้องได้แก่ หน่วยนาวิกโยธิน และ รร.นายร้อย จปร. แล้วไม่ขัดข้อง เพราะแม้ว่ากระทรวงกลาโหมจะไม่ได้สั่งการลงไปแต่ก็ทำการฝึกอยู่แล้ว และการฝึกยุวชนหรือเยาวชนนั้น หน่วยทหารทุกหน่วยเขาพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพียงแต่เขาต้องขอรับการสนับสนุนบ้างเท่านั้น เช่นค่าอาหาร ค่าใช้สอยต่าง ๆ ในการฝึก และต้องรวมเบี้ยเลี้ยงของครูฝึกและวิทยากรที่ไปเชิญมาบรรยายด้วย เพราะครูฝึกไม่ใช่ไปฝึกแล้วกลับมากินข้าวบ้านได้ ต้องคลุกคลีกับยุวชนอย่างแท้จริงจึงจะได้ผล จากตราดก็ไปตาก ซึ่งผมกำลังจะเดินทางไป จังหวัดตาก ไปยัง อำเภอแม่สอด เพื่อประสานการเตรียมการฝึกยุวชนจากตาก มาร่วมกับยุวชนจากตราด ในโอกาสที่ยุวชนจะปิดภาคการศึกษาในเมษายน ๒๕๔๖ เรียกว่าคราวนี้ "ต.ต." ครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือน ตุลาคม ๒๕๔๕ "ก.ต." คือกาญจนบุรี และตราด คราวนี้ ต.ต.คือ ตาก และตราด ต่างฝึกในจังหวัดของตัวเอง ๓ คืน ๔ วัน แล้วยกไปฝึกร่วมกันที่ รร.นายร้อย จปร.อีก ๒ คืน ๓ วัน ยุวชนที่รับการฝึกครั้งนี้บอกว่าได้รับความรู้และสนุกกันมาก  ยิ่งตอนให้โดดหอยิ่งสนุก โดดแล้วได้ประกาศนียบัตร และติดปีกโดดหอของ รร.นายร้อย จปร.
            ผมไปตราดคราวนี้จึงไปด้วยเหตุนี้ คือไปในฐานะผู้ตรวจการฝึก ส่วนประธานการฝึกหรือผู้อำนวยการฝึกนั้น ผมมีนายทหารยศชั้นพลเอก  อีกท่านหนึ่งเป็นประธานการฝึก และผู้ดำเนินการฝึกคือหน่วยนาวิกโยธิน กรมทหารราบที่ ๒ นาวิกโยธิน ที่ค่ายตากสิน จังหวัดจันทบุรี ต้องนำยุวชนจากบ้านที่อยู่ตามแนวชายแดน แล้วเอามารวมกันที่ตราด เริ่มต้นด้วยการฝึกแถว ฝึกเบื้องต้นที่ตราดอยู่วันหนึ่งจึงยกทัพไปฝึกที่จันทบุรี ดังนั้นยุวชนของตราดซึ่งมากันไกลจากเกาะต่าง ๆ ก็มี จึงใช้เวลามากกว่าที่กาญจนบุรีคือ ๔ คืน ๕ วัน แต่ก็ได้ผลสมความตั้งใจ
            และต้องขอขอบพระคุณ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ที่ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง และเผอิญท่านและท่านรองผู้ว่า ฯ ต่างก็เป็นแฟนหนังสือของผมด้วยจึงทราบเรื่องต่าง ๆ ติดต่อกันมา และท่านได้ส่งเสริมการฝึกครั้งนี้อย่างจริงจัง และรับเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึก ปิดถนนหน้าศาลากลางให้ยุวชนเดินแถว มีวงดุริยางค์นำหน้า เดินแถวมาเข้าพิธีเปิดการฝึกกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดตราด หน้าราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นภาพที่งดงามอย่างยิ่ง แม้ว่าตอนยืนรอเวลาพิธี มีหนูอ้วน กับหนูยุวชนแว่น ทนแดดไม่ไหวลมจับไปบ้างก็ยังเป็นภาพที่น่ารักเพราะค่อย ๆ เอนตัวลงแต่ไม่ทันล้ม พี่เลี้ยงเขารับไว้ทัน
            พอจบพิธีการเปิดการฝึก สำหรับตัวผมก็จบในขั้นตอนนี้ไปด้วย  เพราะขั้นตอนต่อไปคือส่งยุวชนขึ้นรถของนาวิกโยธิน เพื่อเดินทางไปยังจันทบุรี ไปเข้าค่ายฝึกที่ค่ายตากสิน ซึ่งท่านประธานอำนวยการฝึกของฝ่ายผมก็ได้ติดตามไปอย่างใกล้ชิด ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดาเลยที่เอานายทหารยศสูงถึง พลเอก มาเป็นประธานในการฝึก และยังเป็นคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกด้วย (ตอนนี้ผมพ้นหน้าที่แล้ว) ต้องถือว่าเป็นเกียรติต่อยุวชนชายแดนที่เข้ารับการฝึกในครั้งนี้
            จุดแรกที่ผมไปเที่ยวเมืองตราดในวันนี้คือไปวัดบุปผาราม ซึ่งเคยไปมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไปคราวนั้นไม่มีโอกาสได้เข้าชมในพิพิธภัณฑ์ จึงไม่มีโอกาสได้กราบนมัสการพระบรมธาตุ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์ วัดบุปผารามอยู่ไม่ไกลจากตลาดนัก ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง ฯ ห่างจากตลาดสดไปทางตะวันตกประมาณกิโลเมตรเศษ ๆ เท่านั้น ถามทางเขาหรือไปตามป้ายง่ายกว่าผมจะบอกทางให้ โดยเริ่มจากตลาดสดกลางเมือง (ถนนข้างขวาของตลาดไปสัก ๕๐ เมตร มีร้านบะหมี่เกี๊ยวปูอร่อยนัก เข้าไปแล้วอยู่ซ้ายมือ)
            วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินสูง แวดล้อมด้วยสวนยางพารา และสวนผลไม้ของชาวบ้าน ชื่อวัดบุปผาราม เป็นชื่อทางการแต่วัดยังมีชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันอีก ๓ ชื่อคือ วัดเนินหย่อง เพราะอยู่บนเนินที่มีต้นเนินหย่องอยู่มาก หรือชื่อ วัดปากทาง เพราะอยู่ตรงปากทางที่ใช้เดินออกจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตก ชื่อวัดปลายคลอง ชื่อนี้ชาวบ้านนิยมเรียกและรู้จักมากที่สุด ไปถามหาวัดบุปผาราม ชาวบ้านอาจจะไม่รู้จักก็ได้ ต้องถามหาวัดปลายคลองเพราะอยู่ในเขตหมู่บ้านปลายคลอง และหมู่บ้านนี้ก็อยู่ปลายคลองบางพระ
            ส่วนที่ตั้งชื่อว่าวัดบุปผาราม เพราะมีพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลมาก ซึ่งใช้ทำยาไทย และน้ำหอม ตอนที่จะสร้างวัดมาสำรวจพื้นที่ ได้กลิ่นหอมของพันธุ์ไม้ หาต้นไม่เจอว่าต้นไหนที่เป็นเหตุของกลิ่นที่ลอยมา เลยถือว่าเป็นนิมิตที่ดีจึงสร้างวัดตรงนี้ เมื่อสร้างจึงตั้งชื่อว่าวัดบุปผาราม แปลว่า วัดสวนดอกไม้
            การก่อสร้างได้หลักฐานว่า "หลวงเมือง" เป็นผู้สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๕ ตรงกับแผ่นดินของพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์นักสู้ในกรุงศรีอยุธยา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๒๒๕ ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑)
            แต่หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบปรากฏว่ามีของสมัยอยุธยาน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถานหรือโบราณวัตถุก็ตาม พบพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ และพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยอย่างละ ๑ องค์ และพบภาชนะเบญจรงค์อีก ๒ - ๓ ชิ้นเท่านั้น ที่ยืนยันได้ว่าเป็นศิลปะศรีอยุธยาตอนปลายนอกนั้น เป็นศิลปะยุครัตนโกสินทร์ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕ ทั้งสิ้น แม้แต่เจดีย์ทรงปรางค์ที่ว่าเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของวัด ก็เป็นศิลปกรรมที่นิยมสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์
            เจดีย์ทรงปรางค์  เป็นเจดีย์ย่อมุมขนาดเล็ก มียอดเป็นปรางค์ ซึ่งน่าจะคล้ายกับเจดีย์ทรงปรางค์ที่วัดอรุณราชวราราม เจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังของวิหารพระพุทธไสยาสน์ แต่ได้พังทลายไปเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ หลวงพ่อโหจึงได้สร้างมณฑปขึ้นใหม่ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปปางทุกกรกิริยา โดยสร้างทับซ้อนของเจดีย์เดิมไว้
            โบราณสถานในเขตพุทธาวาส ประกอบด้วย .-
            อุโบสถ  ตั้งอยู่ติดกำแพงด้านใต้ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ฝาผนังด้านในและเพดาน มีภาพจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่แปลกคือผนังโบสถ์ด้านล่างของกรอบหน้าต่าง เขียนเป็นภาพเล่าเรื่องในวรรณคดีจีน อุโบสถได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖
            วิหารพระพุทธไสยาสน์  เป็นวิหารก่อด้วยศิลาแลงถือปูน หน้าบันและซุ้มหน้าต่าง ประดับด้วยเครื่องถ้วยจีนและเครื่องถ้วยยุโรป มีจิตรกรรมภาพเขียนที่ฝาผนังและเพดาน พระนอนหันเศียรไปทางทิศตะวันออก วิหารฝากระดาน ก่ออิฐถือปูน โค้งรูปเรือสำเภา เช่นเดียวกับฐานโบสถ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
            เจดีย์  เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก ย่อมุมไม้สิบสอง ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน
            มณฑป  ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงกระโจมมุงกระเบื้อง เคลือบสีสองชั้น มณฑปมีจำนวน ๓ หลัง
            ในเขตสังฆาวาสอยู่ตอนกลางของบริเวณวัด ประกอบด้วย.-
            หอสวดมนต์  เป็นศาลาไม้ เป็นหอสวดมนต์เอนกประสงค์ ใช้สำหรับทำบุญในวันพระและวันสำคัญอื่น ๆ ทางพุทธศาสนา ปกติก็เป็นที่สวดมนต์ของพระและเณรทั้งตอนเช้า และเย็น
            หอระฆัง  สร้างใหม่แต่คงแบบเดิมเอาไว้
            ศาลาการเปรียญและโรงธรรม  เรียกกันว่า ศาลาโถง
            ศาลาอกแตก ศาลาสรง (อยู่ใกล้บ่อน้ำ) ล้วนแต่ทรุดโทรมควรแก่การบูรณะ
            กุฏิราย  หลังเล็ก ๆ ทรงไทย ผมชอบมากเพราะไม่ใหญ่โต ขนาดเพียง ๒ x ๔.๕ เมตรเท่านั้น มีมากหลายหลัง เป็นหมู่กุฏิเลยทีเดียว
            พิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม  เนื่องจากโบราณวัตถุของวัดมีมากรวมทั้งชาวบ้านรอบ ๆ วัดยังนำมามอบให้อีก จึงดำริว่าสมควรสร้างพิพิธภัณฑ์ และประกอบกับคณะเจ้าหน้าที่จากกองพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากรได้มาสำรวจขึ้นทะเบียน ถ่ายภาพโบราณสถาน และโบราณวัตถุจึงได้เริ่มการสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ใน
"รัชมังคลาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ไปขอรับพระพุทธรูปบุทองบุเงินที่ฝากธนาคารเอาไว้ กลับมาประดิษฐานในพิพิธภัณฑ์ และมีพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเจดีย์ร้างจากเชียงใหม่ จำนวน ๓ องค์ ได้ประดิษฐานไว้ในสถูปแก้ว ซึ่งเมื่อเข้าประตูเข้าไปก็จะมองเห็นอยู่ตรงหน้าประตู ส่วนข้าง ๆ มีภาพพระราชทานของรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้พระราชทานให้วัดไว้เมื่อครั้งเสด็จมาเมืองตราด นอกจากนี้ในพิพิธภัณฑ์ยังมีสิ่งสำคัญ ๆ อีกมาก เช่น พระพุทธรูปแบบสุโขทัย พระพุทธรูปทรงเครื่อง มีทั้งแบบทรงเครื่องใหญ่ และทรงเครื่องน้อย ส่วนพระพุทธรูปบุทอง และบุเงินนั้นเดิมบรรจุอยู่ในเศียรพระพุทธไสยาสน์ เมื่อเศียรพระพุทธรูปไสยาสน์ชำรุดจึงพบว่า ในเศียรมีพระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ แต่บุด้วยทองคำและเงินมีอยู่จำนวนมากและยังของมีค่าอื่น ๆ อีก จึงนำเอาออกมาจากเศียร ซึ่งมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางห้ามญาติ ปางห้ามพระแก่นจันทร์ ปางห้ามสมุทร และพระยอดธง
            วัดสำคัญอีกวันหนึ่งอยู่ไม่ไกลกันนักคือ วัดโยธานิมิต ซึ่งเล่ากันไว้ว่าที่บริเวณวัดนี้คือบริเวณที่พระยาตาก หรือเจ้าตากในขณะนั้นได้มารวบรวมไพร่พบอยู่ ณ บริเวณนี้เพื่อยกทัพไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา และภายหลังจึงได้สร้างวัดขึ้น ณ บริเวณนี้ และติดกับวัดโยธานิมิตได้มีการสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ประดิษฐานรูปเหมือนของพระองค์ท่านไว้ แต่บริเวณศาลไม่ค่อยจะสง่างามนัก เพราะเหมือนไปสร้างหลบ ๆ เอาไว้ ไม่ติดถนนใหญ่ให้เห็นเด่นชัด ไม่ทราบประวัติว่าสร้างไว้เมื่อใด
            ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  ตั้งอยู่บนถนนหลักเมืองใกล้ ๆ กับวัดโยธานิมิต มีความแปลกกว่าศาลหลักเมืองทุกจังหวัดเท่าที่ผมได้มีโอกาสพบเห็นมา คือตัวอาคารก่อสร้างในลักษณะเก๋งจีนตั้งแต่ประตูเข้าไปเลยทีเดียว นึกว่ากำลังเข้าไปในศาลเจ้า สันนิษฐานว่า พระเจ้าตากสินโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อมาชุมพลที่วัดโยธานิมิต เมื่อตอนที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองจังหวัดตราด เห็นว่ามีผู้คนมากราบไหว้ศาลหลักเมืองกันมากนัก ทหารฝรั่งเศสเลยสั่งถอนเสาหลักเมืองทิ้ง ให้คนไปขุดก็ไม่สำเร็จเลยไปเอาช้างมาฉุดก็ไม่ขึ้นเพียงแต่เอน ๆ ไปเท่านั้น ฝรั่งเศสหมดปัญญาเลยเลิกยุ่งกับหลักเมือง และต่อมาชาวตราดก็ช่วยกันบูรณะให้คงสภาพดังเดิม และน่าจะมีชาวจีนในไทยมาช่วยกันบูรณะศาลนี้เป็นจำนวนมาก ลักษณะของศาลจึงกลายเป็นเก๋งจีนเหมือนศาลเจ้าไป
            เรสิดังค์กัมปอต  ตั้งอยู่บนถนนหลักเมือง ในเขตเทศบาลเมืองตราด เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น สถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม เป็นสำนักงานของข้าหลวงฝรั่งเศส ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ราชการสำนักงานคุมประพฤติ
            วัดไผ่ล้อม  ตั้งอยู่ในถนนหลักเมือง เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า ๑๕๐ ปี มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาธรรม
            วัดคีรีวิหาร  ตั้งอยู่ถนนตราด - คลองใหญ่ บ้านท่าเลื่อน อำเภอเมืองตราด อายุมากกว่า ๑๑๐ ปี เดิมชื่อว่าวัดท่าเลื่อน หรือ ภูเขายวน ตั้งอยู่บนเขาขึ้นไปแล้วมองเห็นวิวทั้งทางทะเล และทางบก
            วัดสะพานหิน  เก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปีเช่นกัน กลางสระน้ำมีโบสถ์เก่าแก่ มีวิหารพระพุทธอุดมสมบูรณ์
            แหลมศอก  เป็นสถานที่ตั้งศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีหมู่บ้านชาวประมงแหลมหินและอ่าวช่อ
            หาดสวยที่ไปทางถนนสายตราด - คลองใหญ่ คือ หาดมุกแก้ว หาดทรายงาม หาดทรายแก้ว หาดศูนย์สภากาชาดไทยเขาล้าน ซึ่งที่ศุนย์นี้นอกจากหาดจะสวยแล้วยังมีที่พักชั้นดีราคาถูกอีกด้วย ๐๓๙ ๕๒๑๘๓๘
            ส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทย  อยู่บนเส้นทางสายตราด - คลองใหญ่ ประมาณหลัก กิโลเมตรที่ ๘๑ - ๘๒ มีความกว้างเพียง ๔๕๐ เมตร วัดจากทิวเขาบรรทัดมาจรดทะเลอ่าวไทย
            ไปเกาะช้าง ผมจบงานแล้วไปไหว้พระวัดสำคัญของเมืองตราดแล้ว ก็ต่อไปยังอำเภอแหลมงอบที่อยู่ไกลออกไปอีก ๑๖ กิโลเมตร ก่อนถึงปลายแหลมงอบก็มีถนนเลี้ยวขวาไปยังอนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง ไปยังท่าเรือเฟอร์รี่ลำใหม่ที่ท่าเซ็นเตอร์พอยท์เฟอร์รี่ ซึ่งเรือลำใหม่ของเขามีถึง ๓ ลำ ออกทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๖.๓๐ ติดต่อ ๐๓๙ ๕๓๘๑๙๖ , ๐๑ ๒๔๐๗๔๒๓ และหากไปพักที่ผมไปพักคราวนี้คือ ช้างพาร์ค รีสอร์ทและสปา รถและคนขับจะลงเรือไปเกาะช้างได้ฟรี ส่วนคนโดยสารในรถเสียเงินค่าโดยสารเรือ ภายในเรือมีห้องปรับอากาศ ๖๐ ที่นั่ง มีเครื่องดื่มและของขบเคี้ยวจำหน่าย เรือใช้เวลาวิ่งข้ามฟาก ๓๐ นาที แต่หากจะจองห้องพักก็จองไปได้จากกรุงเทพ ฯ  ตามเบอร์ที่บอกไว้นี้
            เรือข้ามฟากจากท่านี้จะไปขึ้นคนละท่ากับเรือที่ข้ามอีกท่าหนึ่ง เมื่อข้ามไปแล้วจะไปขึ้นฝั่งค่อนมาทางใต้ของเกาะช้าง ห่างจากอ่าวสับปะรด ๕ กิโลเมตร หลัก กิโลเมตร ๑ อยู่ตรงอ่าวสับปะรด เมื่อขึ้นฝั่งแล้วจะไปยังที่พักคือช้างพาร์ค รีสอร์ท ต้องวิ่งไปอีก ๕ กิโลเมตร แล้ววิ่งต่อไปอีกตามถนนรอบเกาะไปจนถึงหลัก กิโลเมตร ๑๓ จะถึงรีสอร์ทที่พัก และเป็นรีสอร์ทที่อาหารอร่อย ซึ่งห้องอาหารอร่อยของเกาะช้างที่ผมได้ชิมแล้วหลายครั้ง คือที่อ่าวสลักเพชร ชื่อร้านอาหารก็ชื่อนี้ ที่ตะวันพลบเกาะช้างรีสอร์ท และช้างพาร์ค รีสอร์ท
            เกาะช้าง  เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับ ๒ ของประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ต มีน้ำตกที่งดงามยิ่งคือ น้ำตกธารมะยม มีน้ำตลอดปี แต่ฤดูแล้งน้ำจะน้อยสักหน่อย และทุกน้ำตกเดี๋ยวนี้มีทางให้รถเข้าสะดวกหมดแล้ว แต่ต้องเดินต่อเพราะรถบุกเข้าไปไม่ถึงตัวน้ำตก ซึ่งหากตัดถนนเข้าไปก็จะไปทำลายธรรมชาติ และเป็นอุทยานของชาติหมู่เกาะช้าง นอกจากน้ำตกธารมะยม ก็มีน้ำตกคลองพลู น้ำตกคลองนนทรี น้ำตกคีรีเพชร
            เกาะอื่น ๆ ที่น่าเที่ยวก็มีเกาะกูด เกาะช้างน้อย เกาะหวาย เกาะขาม เกาะง่าม เกาะพร้าว หมู่เกาะกระ เกาะระยั้งนอก
            ส่วนหาดงามบนเกาะช้าง ได้แก่ หาดทรายขาว หาดคลองพร้าว - แหลมไชยเชษฐ หาดไก่แบ้ ผมพักที่ริมหาดไก่แบ้ ซึ่งมีความลาดของหาดมากทำให้ลงเล่นน้ำได้อย่างสบาย อ่าวใบลานอยู่เหนือหาดไก่แบ้ และหมู่บ้านประมงบางเย้า น่าไปชมชีวิตชาวประมง แถมชาวบ้านยังทำที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว
            ช้างพาร์ค รีสอร์ท ที่ผมพักในการไปครั้งนี้ อยู่ริมทะเลที่หาดทรายสวยงาม มีเรือนไทย ๒ หลัง มีขนาดใหญ่แต่ราคาพอสมควรคือประมาณคืนละ ๕,๐๐๐ บาท แต่หลังใหญ่มาก ส่วนหลังเล็ก ๆ สวย ๆ ในหมู่ต้นมะพร้าวนั้นราคาไม่แพง และขอให้ทางการได้ระวังการสร้างอาคารสูง ๆ ไว้ให้มากจะทำลายธรรมชาติหมด อินโดนีเซียนั้นเขายอมให้สร้างอาคารในเกาะบาหลี ได้สูงไม่เกินยอดมะพร้าว แต่เขาก็สร้างกันเก่งคือสร้าง ๑๐ ชั้น ยังได้และสูงไม่เกินยอดมะพร้าวด้วย เกาะช้างก็ขอให้เป็นอย่างเดียวกัน และร้านที่เรียกว่า .....ด่วนก็ขออย่าได้เข้าไปตั้งเลย ให้คงธรรมชาติไว้มาก ๆ ด้วยเถอะ
            อาหาร ผมไปกันหลายคนจึงขอให้เขาตั้งโต๊ะอาหารที่ริมสระน้ำของโรงแรม และใกล้ชายหาดลมพัดเย็นไม่ต้องใช้พัดลม
            ผัดทะเลเหลือง พริกเหลืองตำกับกระเทียม ใส่กุ้ง ปลา หอย และปลาหมึก รสเผ็ดนิด กินกับข้าวอร่อยนัก
            ยำสาวช้างปาร์ค กุ้ง ปลาหมึก ไก่ หมู มีหอมแดง ขิง กุ้งแห้ง เม็ดมะม่วง มะพร้าวคั่ว แยกสัดส่วนได้แค่นี้ ปรุงออกรสเปรี้ยวด้วยกลิ่นมะนาว และเค็มด้วยน้ำปลา
            ผัดฉ่าทะเลปาร์ค กุ้ง หมึก ปลา กระชายหั่นฝอย พริกไทยอ่อน เต้าเจี้ยว คึ่นไช่ หอมไปหมด
            แกงจืดสับปะรด เจ้าของปาร์คเป็นคนสูงอายุคงจะรุ่นผม กลัวของโบราณจะสูญพันธุ์ จึงให้มีแกงสับปะรดกับหมู และต้องเป็นหมูสามชั้นด้วย ถูกใจผมมาก เพราะหากินยากนอกจากที่บ้านจะทำเอง เพราะเป็นแกงโบราณไม่เคยเจอที่ไหนทำขาย กาแฟโบราณก็มี อะไร ๆ โบราณก็แยะไม่เคยเจอแกงสับปะรดโบราณแบบนี้ที่ไหนเลย ยังกับรู้ว่าผมเป็นใครเพราะแกงสับปะรดไม่ได้สั่ง เขายกมาให้ชิมฟรี และมีในเมนูด้วยไม่เคยมีใครสั่ง ต่อไปนี้ใครไปชิมอาหารที่นี่ขอให้สั่งแกงสับปะรดของเขาซดดู ต้องซดร้อน ๆ อมเปรี้ยวอมหวานด้วยรสของสับปะรด
            ปลาราดพริก ใช้ปลากะพง พริกเหลือง พริกแดง พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู น้ำผัดเข้าเนื้อปลาอร่อยนัก
            ผัดโป๊ะแตก "ทีเด็ดชาวเล" มีทั้งกุ้ง หมึก ปลา ปู อบวุ้นเส้น พริกขี้หนู อีกหลายพริก เด็ดจริง ๆ
            ปิดท้ายด้วยผลไม้ ที่สำคัญขาดไม่ได้เมื่อมาตราดคือสับปะรดตราดสีทอง จะหวานกรอบ และหอมไม่เหมือนใครก็ตรงที่มีกลิ่นหอมนี้แหละ

----------------------------------


| ย้อนกลับ | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์