ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


บึงสีไฟ

            บึงสีไฟนั้น อยู่ในจังหวัดพิจิตร มีขนาดใหญ่เป็นลำดับ ๓ ของประเทศ (ลำดับ ๑ คือ บึงบรเพ็ด ลำดับ ๒ ไม่แน่ใจว่าเป็น หนองหาน หรือ กว๊านพะเยา ) จ.พิจิตร เป็นเมืองเก่าแก่ และสันนิษฐานกันว่า เดิมคือ เมืองโอฆบุรี หรือเมืองสระหลวง โดยมีหลักฐานที่กล่าวถึงไว้ดังนี้
            พงศาวดารเหนือ ได้กล่าวถึงการสร้างเมืองโอฆบุรีว่า เป็นเมืองที่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองพิษณุโลก แต่มิได้บอกว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
            ในสาส์นสมเด็จ ซึ่งเป็นลายพระหัตถ์โต้ตอบระหว่าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
            สมเด็จ ฯ กรมพระยานริศ ฯ ได้สันนิษฐานไว้ว่า ...โอฆบุรี คือ เมืองพิจิตรเก่า หรือไม่ใช่ คำว่า "โอฆ" เข้าใจว่า หมายเอาบึงสีไฟ "เมืองพิจิตร"  เข้าใจว่าเป็นชื่อเมืองใหม่ ซึ่งย้ายมาตั้งอยู่ที่คลองเรียงถูกหรือไม่ ถ้าถูกอย่างนั้น เมืองพิจิตรเก่า ก็ควรเรียกอยู่ว่า โอฆบุรี ไม่ควรจะเรียกว่า เมืองพิจิตรเก่า
            สมเด็จ ฯ พระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานเรื่องเมืองโอฆบุรีไว้ว่า
                ...เมืองโอฆบุรี คือ เมืองพิจิตร เป็นเมืองโบราณ มีป้อมปราการอยู่ริมแม่น้ำน่านเก่า ซึ่งตื้นเขินเสียแล้ว ชื่อเดิมเรียกว่า "เมืองสระหลวง" คงเป็นเพราะเป็นเมืองมีบึงบางมาก ทั้งในศิลาจารึกสุโขทัย และกฎหมายชั้นเก่าของกรุงศรีอยุธยา ก็เรียกว่า เมืองสระหลวง ปรับเป็นคู่กับ "เมืองสองแคว"  คือ เมืองพิษณุโลก ซึ่งเดิมมีแม่น้ำน้อย อยู่ทางตะวันออก และมีแม่น้ำน่าน อยู่ทางตะวันตก แต่แม่น้ำน้อยตื้นเขินเสียนานแล้ว ... และสมเด็จ ฯ ยังได้นิพนธ์กล่าวไว้เรื่องของเมืองโอฆบุรี และกล่าวถึงเมืองสระหลวง ที่ปรากฎในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง โดยทรงนิพนธ์ไว้ในเรื่อง เที่ยวตามทางรถไฟ และยังมีอีกหลายท่านที่ยืนยันว่า พิจิตรเก่า คือ เมืองโอฆบุรี หรือเมืองสระหลวง แต่บางท่านก็ว่า เมืองคณฑี คือ เมืองพิจิตรเก่า
                จังหวัดพิจิตร อยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง และยังอยู่กลาง ๆ ของภาคอีก เดิมถือว่าอยู่ในภาคกลาง แต่เวลานี้ภาคเหนือรุกลงมาจนถึงอุทัยธานี ถือเป็นภาคเหนือตอนล่าง การเดินทางไปพิจิตร มีหลายเส้นทาง แต่ไม่มีถนนสายหลักคือ สายหมายเลขตัวเดียวผ่านโดยตรง ผมไปเมืองพิจิตร หลายสิบครั้ง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ไปพักค้างคืน ไปเที่ยว ไปกินข้าวแล้วไปต่อ
                เส้นทางที่ ๑  ถนนดี คือ ไปตามถนนพหลโยธิน และถนนสายเอเซีย ซึ่งในปี พ.ศ.๒๕๕๐ หลังจากขยายถนนสายเอเซีย (ทางหลวงสาย ๓๒) ให้เป็นถนน ๖ เลน แล้วเกิดปักเสาหลัก กม. ใหม่ยุ่งดีพิลึก เพราะพอเข้าถนนสายเอเซีย หรือสาย ๓๒ เกิดนับหนึ่งใหม่ แต่กลางถนนมีหลักสูง ๆ ปักบอกเลข หลัก กม.เดิมเอาไว้ พอถึงศูนย์บริการทางหลวง ชัยนาท เดิม กม. ๑๘๕  ตอนนี้น่าจะเป็น กม.๑๓๑ พอเลยหลักนี้ไปถนนพหลโยธิน มาบรรจบ (ถนนพหลโยธิน คือ กรุงเทพ ฯ รังสิต วังน้อย สระบุรี ลพบุรี โคกสำโรง ตาคลี ชัยนาท) หมายเลขหลัก กม. จะกลับไปเหมือนเดิม ผมว่าเขียนหมายเลขอย่างเดิมน่าจะดีกว่า ไปเส้นทางนี้ไปเลี้ยวขวา ที่กำแพงเพชร เข้าสาย ๑๑๕ ไปผ่าน อ.สามง่าม เข้าตัวเมืองพิจิตร
                เส้นทางที่ ๒  ซ้ำกับเส้นทางที่ ๑ จนเลย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ไปแล้ว จะมีทางแยกขวาคือ สาย ๑๑ ไปผ่านตากฟ้า ไพศาลี แยกซ้ายเข้าพิจิตร ที่ อ.สากเหล็ก
                เส้นทางที่ ๓  สายนี้จะตรงและใกล้ที่สุด ไปตามถนนพหลโยธิน จนถึงนครสวรรค์ ตรงเข้าตัวเมือง (อย่าเลี้ยวซ้าย ออกเลี่ยงเมือง) เมื่อข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านสี่แยกแล้ว จะมีทางแยกขวาเข้าถนนสาย ๑๑๗ ระยะทาง ๑๓๑ กม. จะถึงตัวเมืองพิษณุโลก แต่เราไปพิจิตร พอถึงทางแยกที่ป้าย ให้เลี้ยวขวาเข้าพิจิตร ก็เลี้ยวขวาไปตามถนนสาย ๑๑๕ ผ่านสามง่าม
                เส้นทางที่ ๔  ผ่านสระบุรี ถึงพุแค แล้วเลี้ยวขวาเข้าสาย ๒๑ ไปทางเพชรบูรณ์ ไปจนถึง วังชมภู (หากเลี้ยวขวาไปเพชรบูรณ์) ตรงไปจะไปผ่านตะพานหิน เลี้ยวขวาไปพิจิตร
                เส้นทางที่ ๕  ที่ผมไปในวันนี้ เพราะตั้งใจจะไปบึงสีไฟก่อน คงไปตามเส้นทางที่ ๓ ผ่านนครสวรรค์ไป จนถึงแยกหนองหัวปลวก ก็ไปกลับรถมาเพื่อเลี้ยวขวาเข้าถนนตามป้าย ไปโพธิประทับช้าง ถนนสายนี้ตั้งแต่ขยายถนนเป็นสี่เลนแล้ว สร้างแปลกคือ ไม่มีสี่แยก เช่น จะเลี้ยวขวาจะต้องวิ่งเลยไป กลับรถมาแล้วเลี้ยวซ้าย แทนที่จะสะดวกกับจะเผลอวิ่งเลย
                ที่ไปตามเส้นนี้ก็จะเป็นเส้นที่ตรงเข้าเมือง และก่อนถึงจะมีทางแยกซ้ายไปยังวัดโพธิ์ประทับช้าง วัดเขารูปช้าง พิจิตรเมืองเก่าได้ แต่หากไม่แยกซ้ายตามป้าย ไปเรื่อย ๆ ก็จะไปยังบึงสีไฟ ขอเล่าถึงวัดโพธิ์ประทับช้าง วัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา เสียก่อน ระยะทางจากหนองหัวปลวก ถึงโพธิประทับช้าง ๒๔ กม. ที่มีชื่อดังนี้เพราะ เป็นสถานที่ประสูติของพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จมายังเมืองพิษณุโลก พระเพทราชา (ครองราชย์ พ.ศ.๒๒๓๑ - ๒๒๔๖) ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง) ได้พานางสนมที่ได้รับพระราชทานมาด้วย ขณะนั้นนางตั้งครรภ์แก่ใกล้คลอด เมื่อถึงบ้านโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตร ได้คลอดบุตรเมื่อ พ.ศ.๒๒๐๑ แล้วฝังรกไว้โคนต้นมะเดื่อ บุตรนั้นจึงได้ชื่อว่า นายเดื่อ และต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๒๔๖ จึงขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ แต่ทั่วไปรู้จักกันในนามว่า พระเจ้าเสือ เมื่อครองราชย์แล้ว เสด็จไปคล้องช้างที่เมืองพิจิตร ทรงแวะเยี่ยมชาติภูมิที่หมู่บ้านโพธิ์ประทับช้าง จึงโปรดให้สร้างพระอาราม ประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ กุฎิสงฆ์ และพระราชทานนามวัดว่า วัดโพธิ์ประทับช้าง
                พิจิตรยังเป็นถิ่นกำเนิดของบุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งคือ พระมหาราชครู กวีเอก แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และบุตรของท่านคือ จอมปราชญ์ ที่รู้จักกันในนาม ศรีปราชญ์ รัตนกวีของชาวไทย ที่หายใจเป็นกาพย์ กลอน ถือว่าเป็นชาวพิจิตรคนหนึ่ง

                บึงสีไฟ  เป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองพิจิตร อากาศเย็นสบาย ทางเข้าบึงเข้าทางประตูสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (รถยนต์ ต้องจอดหน้าประตู) เลยประตูนี้ไปเป็นประตูเข้าบึงเช่นกัน รถเข้าได้ป้ายหน้าประตูบอกว่า สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ ผมไปวันเสาร์  ริมบึงชาวเมือง ปูเสื่อ นั่งก๊งกันริมบึง ลมพัดเย็นสบาย อาหารขายมากมาย ส่วนร้านประเภทของฝากที่มีชื่อ ร้านอยู่หน้าทางเข้าสวนสมเด็จ ฯ คือ เม็ดบัวอบกรอบ บรรจุกล่อง เคี้ยวมัน หมดกล่องไม่รู้ตัว และยังมีมะขามแก้วสี่รส ส้มโอสี่รส เมี่ยงคำ ที่ห่อเสียบไม้ ไม้ละ ๕ บาท "เมี่ยงคำบ้านป่า" ซื้อมา ๒ ไม้เสียดาย อยากวิ่งกลับไปซื้ออีก
                เมื่อเข้าประตูทางสวนสมเด็จ ฯ ริมบึงคือ จระเข้ยักษ์ เพราะเมืองพิจิตร ต้นตำนานเรื่องชาลวัน กับไกรทอง จึงสร้างจระเข้ใหญ่ มีห้องภายในเอาไว้ริมบึง เป็นสัญญลักษณ์ของเมือง
                ออกจากสวน มาถึงวงเวียน หากเลี้ยวขวาไปตะพานหิน ตรงไปจะผ่านโรงพยาบาล ย่านของกินอีกแห่งหนึ่ง ตรงต่อไปอีก ชาวพุทธจะเลยไปไม่ได้เป็นอันขาดคือ
                หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง  อยู่ริมแม่น้ำน่าน วันที่ผมไปตรงกับวันแข่งเรือประจำปีของพิจิตร ร้านค้า ผู้คนแน่น จนเข้าไปในวัดไม่ได้ ห้ามจอดรถด้วย ได้แต่ยกมือไหว้อยู่ในรถ หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๔๐ เมตร สูง ๑.๖๐ เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญ คู่เมืองพิจิตร
                พระพุทธรูปสำคัญของพิจิตรมีหลายองค์ เช่น หลวงพ่อหิน วัดท่าช้าง พระชินสีห์ วัดห้วยเขน พระพุทธรูปไม้แกะสลัก วัดบางลำภู ล้วนอยู่ใน อ.บางมูลนาก ส่วน อ.ตะพานหิน มีพระพุทธเกตุมงคล วัดเทวประสาท พระพุทธรูปหลวงพ่อพระพุทธพิชัย วัดตะพานหิน พระเครื่องหลวงพ่อเงิน ที่โด่งดังยิ่ง วัดบางคลาน อ.โพทะเล พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ที่วัดนครชุม
                ถ้าวิ่งจากบึงสีไฟตรงมาผ่านโรงพยาบาล ผ่านวัดท่าหลวง สุดกำแพงวัด หากเลี้ยวขวาจะไปแม่น้ำ ถ้าเลี้ยวซ้ายจะเข้าถนนจันทร์สว่าง พอเลี้ยวซ้ายทางขวามือคือร้านอาหาร ห้องแอร์เย็นสบาย
                แกงป่าปลาเค้า ใส่มาในจานเปล น้ำขลุกขลิก ไม่พอให้ซด แต่ราดข้าวเด็ดนัก ใส่เม็งมะพร้าว ใส่ผักเยอะแยะจนเป็นป่าน้ำท่วมนั่นแหละ รสเด็ด เสียดายน้ำไม่พอซด ต้องราดข้าว
                ขาหมูพะโล้ มันน้อย เนื้อมาก นุ่ม ขอกระเทียมสดมากินชูรสด้วย
                สลัดกุ้ง อาหารชวนชิม กุ้งชุบแป้งทอด น้ำสลัดน้ำข้น ทางร้านบอกว่าเป็นน้ำสลัดมะนาวสด เป็นสินค้าโอท๊อปของพิจิตร
                ไส้หมูทอด ทอดเก่ง จิ้มซีอิ๊วดำ
                ออกจากร้านแล้วเลี้ยวขวา วันนี้วันแข่งเรือด้วย มากทั้งคนเดิน และรถมอเตอร์ไซด์ ต้องขับด้วยความระวัดระวัง ไปจนสุดถนนแล้วเลี้ยวขวา พอถึงสามแยกหากเลี้ยวขวาไป อ.สากเหล็กให้เลี้ยวซ้ายตามป้ายไปกำแพงเพชร ถึงสี่แยกเลี้ยวซ้ายเข้า ๑๐๖๘ ประมาณ ๖ กม. จะถึงวัดโรงช้าง (หากไปวัดโพธิ์ประทับช้าง ๒๑ กม.) ที่วัดนี้มีพระเจดีย์ทรงหมวกเก็บพระไตรปิฎก มีศาลสมเด็จโต เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา เคยเป็นที่พักของกองช้าง ต่อมาเพี้ยนเป็นคลองช้าง พอเปิดโรงเรียนเลยเรียกว่าวัดโรงช้าง
                อุทยานเมืองเก่า พิจิตร  อยู่เลยวัดโรงช้างไปประมาณ ๑ กม. เลี้ยวซ้ายเข้าไปจะร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ร่มเย็นไปหมด พอเข้าไปศาลหลักเมืองจะอยู่ทางขวามือเลย
                ต่อไปเป็นสวนรุกขชาติ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (งดบริการ) วัดมหาธาตุ โบสถ์เก่า และถ้ำชาละวัน วิ่งออกไปกำแพงอุทยานไปด้านหลังคือ วัดนครชุม เป็นวัดโบราณที่ยังมีพระจำวัด ส่วนวัดมหาธาาตุไม่มีพระจำวัด วัดนครชุมมีโบสถ์เก่าแก่ นมัสการพระพุทธรูปโบราณแล้วกลับออกถนนสาย ๑๐๖๘ ทางประตูวัดนครชุมได้เลย ไม่ต้องย้อยมาออกทางเข้าอุทยาน
                กลับจากอุทยาน กลับมาทางเดิมมาเลี้ยวซ้ายเข้าถนน ๑๑๕ เพื่อจะไปเลี้ยวขวาเข้าถนน ๑๑๗ ไปยังพิษณุโลก เพราะคืนนี้จะพักที่พิษณุโลก ก่อนเดินทางขึ้นเหนือต่อไป
                ขอบอกข่าวการกุศลที่วัดวิชมัย ปุญญาราม บ.เขาค้อ ต.เขาค้อ เพชรบูรณ์  ส่งไปที่วัด พระครูวิชมัยปุญญารักษ์ วัดนี้ไม่มีพุทธพาณิชย์ เป็นวัดธรรมยุต ยากจน
                และเป็นวัดที่ต้องดูแล บำรุงรักษา พระบรมธาตุเจดีย์ กาญจนาภิเษกเขาค้อ เชิญร่วมการกุศล

............................................................


| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์