ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

วัดลำพญา

            วัดลำพญา ตั้งอยู่ที่ตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
            มีประวัติเล่าขานกันมาว่า ข้าราชบริพารชั้นพระยา หรือที่เรียกกันว่า "เจ้าคุณ" ได้พร้อมใจกันลงเรือมาบวช ณ สถานที่แห่งนี้ มากันเต็มลำเรือเลยทีเดียว แต่ไม่ได้บอกเหตุผลว่าท่านเจ้าคุณเหล่านี้ท่านนึกอย่างไรจึงพร้อมใจกันมาบวชถึงที่นี่ ซึ่งในสมัยนั้นการมาวัดลำพญาจะต้องมาโดยทางเรือเท่านั้น แต่ต่อมาเมื่อมีรถไฟแล้วก็สามารถขึ้นรถไฟที่สถานีบางกอกน้อย มาลงที่สถานีงิ้วรายแล้วลงเรือยนต์มาตามลำแม่น้ำท่าจีน ซึ่งวัดนี้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน และเป็นแม่น้ำที่มีหลายชื่อ คือตอนที่ผ่านสุพรรณบุรี เรียกว่าแม่น้ำสุพรรณบุรี พอมาผ่านนครปฐม ต่อมาเรียกว่าแม่น้ำท่าจีน เลยออกไปอีกเรียกว่าแม่น้ำนครชัยศรี ล้วนเป็นนชื่อของแม่น้ำสายเดียวกัน แต่ปัจจุบันนี้ไปได้สะดวกมาก โดยจะไปตามถนนสายปทุมธานีลาดหลุมแก้วก็ได้ พอเลยลาดหลุมแก้วไปแล้วก็เลี้ยวซ้ายลงทางข้างสะพาน แล้วตัดตรงไปวัดลำพญาได้ หรืออีกเส้นทางหนึ่งคือไปจากถนนสายพุทธมณฑล พอผ่านสายพุทธมณฑลสาย ๓ ไปแล้ว ให้ชิดซ้ายเข้าไว้พอถึงทางแยกเข้าถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ก็เลี้ยวซ้ายแต่ชิดขอบขวาเพื่อข้ามสะพานข้ามถนน ความจริงคือเลี้ยวขวาที่แยกเข้าถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แต่เลี้ยวแต่เลี้ยวขวาไม่ได้ต้องเลี้ยวซ้ายเพื่อข้ามสะพานกลับมา ลงสะพานแล้วก็ผ่าน ม.มหิดล ผ่านไปแล้วนิดเดียวก็เลี้ยวซ้าย มานิดเดียวอีกก็เลี้ยวขวาไปอีก ๒๔ กิโลเมตร ตรงทางเลี้ยวขวานี้จะมีป้ายบอกว่าไปตลาดน้ำวัดลำพญา และป้ายจะมีเป็นระยะ ๆ แต่จะบอกว่าไปตลาดน้ำวัดลำพญา ซึ่งแม้ว่าจะติดใหม่แต่ผู้คนก็ติดและไปกันมากแล้ว ซึ่งเมื่อผมเขียนเรื่องตลาดน้ำไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเข้าด้วย พักเดียวคนแห่ไปกันมากมาย จนทางตลาดน้ำต้องสร้างแพเพิ่ม เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง เอาเรื่องวัดลำพญาเสียก่อน
            จากการที่พระยาท่านลงเรือมาบวชพระ มากันทีละลำเรือ จึงเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้วัดนี้ชื่อว่าวัดลำพญา แต่มีอีกข้อหนึ่งคือรัชกาลที่ ๕ "เจ้าพระยากรมท่า" ได้ทำการขุดคลองเพื่อจับจองเป็นเจ้าของที่ดินที่นาทำให้คำว่า "ลำพระยา" มีกำเนิด สมัยนั้นขึ้นกับอำเภอบางปลา มณฑลนครชัยศรี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ฯ พระราชทานวิสุงคามสีมา
            วัดนี้ด้วยศรัทธาของชาวบ้านได้ช่วยกันพัฒนามาตามลำดับ จากกกุฏิหลังคามุงจาก พื้นวัดลาดลุ่ม รกชัฏไปด้วยหญ้าคา ป่าไผ่ ป่าสะแกและกอลำเจียก ก็เปลี่ยนเป็นกุฏิที่สร้างถาวรงดงาม เปลี่ยนป่ารกชัฏเป็นความสงบเยือกเย็น เป็นสวนหย่อม สวนพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดลำพญา" ซึ่งปัจจุบันมีพระมหาสมศักดิ์ โทสญาณ เป็นเจ้าอาวาส เป็นพระนักพัฒนา
            ภายในวัดลำพญามีพระพุทธรูปหลวงพ่อมงคลมาลานิมิต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่กับบ้านลำพญาปางมารวิชัย พระพุทธรูปสรรพสิทธิ์ประสงค์ ประดิษฐานหน้าพระอุโบสถ ธรรมาสน์ไม้สักฝีมือชาวบ้านท้องถิ่น เรือขุดไม้ตะเคียน ๒ ลำ เพื่อใช้ในกิจการของวัด ศาลาการเปรียญนั้นสร้างด้วยไม้ มีทางขึ้นลง ๓ ทาง ต่อมาปิดด้านกลางเสีย แล้วทำรูปปั้นหนุมานอมพลับพลาเอาไว้แทน
            อุโบสถ มีความแปลกประหลาดคือ มี ๖ ประตูทางเข้าออก สร้างด้วยคอนกรีตทั้งหลัง "หันหน้าไปตามลำน้ำ" จึงแปลกกว่าอุโบสถทั่วไปที่มักจะหันไปทางทิศตะวันออก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ และริมแม่น้ำตรงทางลงแม่น้ำ ได้สร้างสวนหย่อมแต่งไว้สวย ริมแม่น้ำเป็นอุทยานมัจฉามีปลานับหมื่นรออาหาร ที่ผู้ใจบุญจะซื้ออาหารปลาของวัดไปโปรยให้
            วัดลำพญา เวลานี้กำลังจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เพราะท่านเจ้าอาวาสและกำนัน "แห้ง" พร้อมกับชาวบ้านได้ช่วยกันพัฒนาตลาดน้ำขึ้นมา โดยการสร้างแพ มีหลังคาอย่างดีทีแรกก็สร้างไว้ ๔ หลัง พอผมเขียนเล่าไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ก็ต้องสร้างแพเพิ่มขึ้นอีก ตอนนี้ดูเหมือนจะมีสัก ๖ - ๗ หลังแล้ว ในแพมีร้านอาหาร มีโต๊ะเก้าอี้เป็นส่วนกลางทุกแพ จะนั่งตรงไหน สั่งอาหารที่ไหนก็ได้ ส่วนรอบ ๆ แพก็มีเรือมาขายอาหารขายผัก ขายผลไม้ ขายขนมหวาน เรือขายก๋วยเตี๋ยวเจ้าเด็ดกว่าเพื่อนเป็นก๋วยเตี๋ยวเนื้อบอกว่าขายขึ้นล่องอยู่ในลำน้ำนี้มานานร่วมยี่สิบปีแล้ว แต่พอวันมีตลาดน้ำก็มาเกาะอยู่ข้าง ๆ เขื่อนวัด ตรงทางเดินลงแพ เป็นก๋วยเตี๋ยวเนื้อที่น้ำซุปอร่อยมาก
            ทางตลาดน้ำได้จัดเรือ แพ และเรือขุดโบราณมาบริการแก่นักท่องเที่ยว โดยตั้งโต๊ะขายตั๋วอยู่ในแพนั่นแหละ ข้าง ๆ โต๊ะขายตั๋วลงเรือ มีขนมจีบ ซาละเปา อร่อยอีกนั่นแหละ อยู่ใกล้ ๆ เรือและแพเขามีหลายเวลา ใช้เวลาท่องเที่ยวตามลำน้ำประมาณ ๒ ชั่วโมง นับว่าคุ้มค่า
            เรือขุดหรือที่เรียกว่าเรือชล่า ค่าโดยสารคนละ ๒๐ บาท ลง ๒ - ๓ คน เขาก็จะพาไป ไปยังตลาดลำพญาซึ่งเป็นตลาดโบราณ ซึ่งตลาดนี้แหละที่จูงใจให้ผมไปวัดลำพญา เพราะอยากให้ตลาดโบราณแห่งนี้คืนชีพเช่นเดียวกับตลาดดอนหวาย พุทธมณฑลสาย ๖ (ทางไปวัดไร่ขิง) คือต้องมีหลังคาสูง คลุมหลังคาร้านไว้อีกทีหนึ่ง ปลูกร้านสองข้างทางเดิน เรือนแถวด้านหนึ่งต้องติดริมน้ำ หันหลังให้น้ำ เป็นตลาดแบบโบราณที่กำลังจะสูญพันธุ์ไป หากไม่ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ด้วยการทำให้ตลาดนั้นคืนชีพขึ้นมา ด้วยการเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นแหล่งของกิน ของใช้ จะจูงใจให้คนไปเที่ยวกัน
            เรือแจวจะแจวไปสัก ๑๐ นาที ก็จะถึงตลาดลำพญา ตลาดเก่าแก่และใกล้ ๆ ตลาดก็มีศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งให้เรือพาไปได้ ภายในตลาดยังมีร้านเปิดอยู่หลายร้าน แต่ร้านหมูสะเต๊ะที่เก่งกาจอร่อยนักนั้น วันธรรมดายังไม่เปิดขาย (ต่อไปคงจะเปิดได้) แต่พอวันมีตลาดนัดก็จะไปแสดงฝีมือขายในเรือที่ตลาดน้ำลำพญา ที่ยังมีขายและอร่อยด้วยคือ ข้าวเกรียบปากหม้อ ซึ่งแปลกเพราะมีไส้เค็มกับไส้ผัก นับว่าแปลกแต่อร่อยและถูก ตลาดไม่กว้างยาวเท่าไรนัก เดินมอง ๆ ก็จะเจอเอง อีกเจ้าหนึ่งคือ คุณยายขายกล้วยแขก และข้าวเม่าทอด ใส่เสื้อคอกระเช้านั่งทอดอยู่ ฝีมือโบราณแท้ อร่อยพิลึก ร้านขนมหวานก็มีขนมชั้น ขนมเปียกปูน (สีดำสนิท) เรียกอนุโลมได้ว่าเป็นแบบโบราณอีกนั่นแหละ ชมตลาดโบราณไปจนถึงท้ายตลาด แล้วก็จะพบบ้านไม้หลังใหญ่ ซึ่งทราบว่าต่อไปอาจจะเปิดเป็นร้านอาหาร หรือทำพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยก็ได้ ซึ่งขอเชียร์
            เที่ยวตลาดเก่าลำพญาจบแล้ว นั่งเรือกลับมายังแพหน้าวัดลำพญาใหม่
            วันหลังผมไปใหม่ คราวนี้ไปลงเรือ ใช้เรือข้าวมาดัดแปลงเป็นเรือนักท่องเที่ยว อย่างดีเลยทีเดียวเก็บสตางค์คนละ ๕๐ บาท ถือว่าคุ้ม เรือข้าวติดเครื่องยนต์พาชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำท่าจีนที่งดงามมาก ผ่านตลาดลำพญาเก่าแก่ ผ่านศาลเจ้าแม่ทับทิมที่เคารพบูชาของคนท้องถิ่น และต่างถิ่นจนศาลมีความเจริญขึ้นจนต้องพัฒนากันใหม่แล้ว ได้เห็นแผ่นดินของแม่น้ำฝั่งขวาที่งอกออกมา แต่ทางฝั่งซ้ายถล่มลงแม่น้ำจนบ้านบางหลังเสาปักอยู่ในแม่น้ำ เขาบอกว่าร้านตัดผมร้านหนึ่งทางฝั่งขวาเมื่อก่อนต้องลงเรือไปตัดผม เดี๋ยวนี้นั่งรถยนต์ไปตัดผมได้เลย เรือจะพาชมสองฝั่งน้ำเรื่อยไปจนถึงวัดกลางบางพระของหลวงพ่อเปิ่น ซึ่งวัดเจริญมากแต่การก่อสร้างต่าง ๆ ไม่มีแบบแปลนที่ดีจึงดูเต็มไปหมด วันที่ไปนั้นหลวงพ่อเปิ่นท่านอาพาธเลยไม่ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการ จากนั้นเรือก็พากลับ
            นอกจากล่องเรือแบบเรือข้าวแล้ว เขายังมแพลากจูงด้วยเรือยนต์ ใช้เวลาพอ ๆ กัน เก็บสตางค์เท่า ๆ กัน คือคนละ ๕๐ บาท และที่น่าสนใจก่อนลงเรือคือขนมจีบ ซาละเปา ที่ตั้งตู้ขายอยู่ข้าง ๆ ที่ขายตั๋วนั่นแหละ
            และโอกาสที่จะได้พบเห็นอีกอย่างขณะล่องเรือคือพันธุ์ไม้เก่า ๆ ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หากไม่อนุรักษ์ไว้ นานไปจะหายาก เช่น ต้นสะตือ แทงทวย เป็นต้น ส่วนที่ชุมชนบ้านบางภาษีมีการทำหัตถกรรมด้วยผักตบชวา หรือ "สวะ" ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน หัตถกรรมด้วยผักตบชวานี้ผมพบครั้งแรกที่บ้านบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ที่นี่ทำกันมานานแล้วน่าจะเป็นแห่งแรกก็ได้ อีกแห่งหนึ่งคือทำแล้วนำมาขายที่วัดอนาลโย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวไปกันมาก ผมเคยนำมาเขียนเล่าไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดี๋ยวนี้ทราบว่ากิจการขยายไปไกลถึงขนาดที่ชาวญี่ปุ่นมาสั่งทำ แต่ทำตามรูปแบบที่เขาต้องการแล้วขนเอากลับไปขายเมืองญี่ปุ่น ซึ่งที่พะเยาเขาขายกันในราคาถูกมาก ได้ความว่าทำขายดีจนหาสวะไม่ทัน ต้องออกไปกว้านซื้อสวะยังถิ่นอื่น แบบนี้หากทางฝ่ายบ้านเมืองโดดลงเล่นด้วย (หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นอาจจะเป็นเกษตรอำเภอ) ด้วยการหาสวะให้ประสานกับหน่วยงานเดียวกับท้องถิ่นที่มีสวะไหลผ่านตามลำน้ำมามาก สมมุติว่าเป็นชัยนาท ในพื้นที่ใต้เขื่อนเจ้าพระยาลงมา สวะลอยผ่านมากมาย หากส่งเสริมให้ราษฎรเก็บสวะประสานกับทางพะเยา ให้รับซื้อก็น่าจะเกิดอาชีพที่ลงแรงมากกว่าลงทุนขึ้นอีกอาชีพหนึ่งก็ได้ เพราะหัตถกรรมทำจากผักตบชวานั้นผมเห็นแล้วชอบมาก ทำได้สวยราคาถูกมากจริง ๆ
            กลับมาที่วัดลำพญาอีกที หากชมวัดครบถ้วนแล้วทีนี้ลงแพเพื่อชมตลาดน้ำหาของอร่อย ๆ กิน ซึ่งมีมากมาย ผมไปมา ๓ ครั้ง แล้วกินไม่ทั่ว ไปครั้งแรกนั้นไปตามคำชวนของชาวลำพญา และกำนันแห้งซึ่งเป็นคนหนุ่ม เป็นคนริเริ่มร่วมกับเจ้าอาวาส ให้เกิดมีตลาดน้ำลำพญาขึ้นมา พอผมไปเขาก็ประกาศทางเครื่องขยายเสียงทันทีว่าผมคือใคร ได้เดินทางมาถึงตลาดน้ำแล้ว เพื่อมาชิมอาหาร เขาก็หาโต๊ะยาวให้ผมนั่ง ผมไปกันเพียง ๔ คน พอนั่งแล้วแม่ค้าแม่ขายทั้งหลายที่ขายอาหารก็พยายามเอาอาหารมาให้ชิม คงจะหลายสิบจาน หมดปัญญาชิม ผมก็ชิมเอาเฉพาะที่ผมเดินเล็งๆ เอาไว้ ได้แก่
            หมูสะเต๊ะ เจ้านี้เรือลำโต (ลำเล็กกว่าขายหมูสะเต๊ะก็มี) แม่สาวที่ปิ้งหมูสะเต๊ะก็ร่างโตนั่งเต็มลำทีเดียว หมูสะเต๊ะปกติอยู่ในตลาดลำพญา แต่พอตลาดใกล้จะลาโลงอย่างนี้ก็ไม่ขาย ขายแต่ก๋วยเตี๋ยวและกาแฟ แต่หากวันหยุดมีตลาดน้ำก็มาแสดงฝีมือในเรือใหญ่หน้าวัด ลงแพไปแล้วเดินต่อไปยังแพที่อยู่ติด ๆ กัน แพแรกนั้นทางด้านติดแม่น้ำมีเจ้าขนมหวาน ใบหน้าหวาน ใส่งอบคลุมใบหน้าไว้เวลาเงยหน้าขึ้นมาส่งขนมหรือรับสตางค์จะเห็นหน้าหวาน ขายเม็ดขนุน ทองหยิบฝอยทอง ทองหยอดทำนองนี้ ถูกมาก พอเดินข้ามมาอีกแพหนึ่งตรงกลางเลยทีเดียวก็มีขนมหวานอีกเจ้า ทีเด็ดคือลูกชุบน่ากินจริง ๆ สีสดสวย ทำอร่อย พอเลยมาก็จะเห็นเรือหมูสะเต๊ะลำโตขายอยู่ติดแม่น้ำ มีคอลัมน์ของผมในไทยรัฐ ติดใส่กรอบเอาไว้ด้วย หมูสะเต๊ะของเขานุ่ม หอม ไม้โต น้ำจิ้มอร่อย จิ้มแล้วตามด้วยแตงกวาดอง รสชาดอย่าบอกใครเทียว
            ยังมีเจ้าขนมจีนโบราณอยู่ตรงกลาง ๆ แพ เดินหาไม่ยาก เพราะเขาเขียนไว้ว่าขนมจีนโบราณมีทั้งขนมจีนน้ำยา หลายน้ำ เช่นน้ำยาข้น น้ำยาปักษ์ใต้ น้ำยาป่า เป็นต้น มีน้ำพริก ผักเหมือดมากพอ สมควรแต่ไม่มากเท่าที่ขนมจีนน้ำยาแบบปักษ์ใต้ นั่นเรียกว่าผักเหนาะมากจริง ๆ ร้านขวัญที่หน้าโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน ที่ผมเคยเขียนไว้เมื่อร่วมยี่สิบปีมาแล้ว ผักเหนาะมีมากถึง ๑๗ อย่าง ผักเหนาะคือผักกินกับขนมจีน และกินฟรี ชาวใต้กินอาหารต้องมีผักเหนาะแนมและน้ำพริกทุกมื้อเลยทีเดียว
            ผ่านขนมจีนน้ำยาไปแล้วหันมาดูข้าง ๆ ด้านริมแม่น้ำอีกจะเห็นร้านก๋วยจั๊บ แขวนป้ายใส่กรอบไว้อีกว่า เที่ยวไปกินไป ก๋วยจั๊บจับน้ำข้น มองดูก็รู้ว่าอร่อย ไม่ต้องเป็นนักชิมหรอก เพราะลูกของผมเขาเดินผ่านวันหลังมาเห็นป้าย เขาก็บอกกันว่าน่าอร่อย แล้วจึงเงยหน้าเห็นป้ายภายหลัง ยังมีอีก เลยต่อไปอีกทางด้านซ้ายมือของแพ เรือขายหอยทอด ผัดไทยอร่อยใช้ได้ ติดกับเรือลำนี้คือ ลอดช่องสิงคโปร์ ที่อร่อยขนาดนี้ไปหากินที่สิงคโปร์ไม่มี ผมไปสิงคโปร์ทั้งไปเที่ยว ไปราชการ ไปในฐานะนายกสมาคมกีฬาปัญจักสีลัค นำนักกีฬาไปแข่งซีเกมส์ สรุปว่าไปมาหลายครั้ง ไปทีไรก็พยายามหาลอดช่องกิน หาบ่ะกุดเต๋กินทุกทีไป และสรุปผลออกมาว่า ไม่มีลอดช่องสิงคโปร์เจ้าใด และบ่ะกุดเต๋เจ้าไหน ที่ว่าสิงคโปร์เป็นต้นตำรับนั้น จะอร่อยเท่าเมืองไทย ลอดช่องก็มาเจอเอาในเรือลำ ที่จอดติดกันหอยทอดนี่เอง ส่วนบ่ะกุดเต๋ต้องล่องใต้ไปกินที่ร้านเย็นจิตร ตรงข้ามโรงแรมอิมพิเรียลที่หาดใหญ่โน่น ยังมีอีกของอร่อย คือปลาตะเพียนไร้ก้าง ปลาตะเพียนก้างแยะๆ นี่แหละเขาเอามาต้มเค็มจนเปื่อยนุ่มแต่ไม่เปื่อยเละเคี่ยวอร่อยกลาย เป็นว่าก้างกลายเป็นความมันในการเคี้ยวไป ปลาตะเพียนต้มเค็มไร้ก้างใส่กาละมังวางไว้ในแพสุดท้ายทางด้านขวามือ
            ผมไป ๓ ครั้งแล้ว ยังชิมไม่จุใจจะไปอีก เขียนถึงทีหนึ่งก็จะตามไปดูเสียทีหนึ่ง อยากเห็นตลาดเก่าแก่แห่งนี้คือ ตลาดลำพญา คืนชีพ อยากเห็นความรุ่งเรืองของตลาดน้ำลำพญาซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังตลาดลำพญา และจะนำความเจริญมาสู่วัดลำพญาที่ไม่ถึงกับเป็นวัดโบราณ แต่ก็มีอายุนานกว่าร้อยปีมาแล้ว และนอกจากอาหารอร่อย ๆ แล้ว ผัก ผลไม้ มากมายส่วนมากอยู่ในเรือด้านในติดกับด้านวัดลำพญา ราคาถูกทีเดียว และยังเป็นตลาดที่บริสุทธิ์ คือเป็นแม่ค้าท้องถิ่นออกมาขายกัน ราคาไม่ถูกโก่งขึ้นไป หรือมาหลอกขาย เช่นที่ผมพบมาไม่อีกกี่วันนี่เอง แม่ค้าที่หัวหินเอาชมพู่ใส่ถุงมาขายบอกว่าเป็นชมพู่เพชรบุรี ราคาถุงละ ๕๐ บาท ส่งเงินให้ยกมือไหว้เสียอีก แต่พอกลับมาโรงแรมแกะถุงออกจะเอาชมพู่มาชิม กลายเป็นชมพู่ที่ตกแต่ง ถูกคว้านเอาเสีย ๆ ออก ไม่สด ทำอย่างนี้ขายได้หนเดียว และมาทำกับผมเสียด้วย ก็ต้องประกาศให้ทราบทั่วกัน ซื้อด้วยความสงสาร เห็นใจ แต่ทำแบบนี้ไม่ถูกต้อง
            ขอเชิญชวนไปเที่ยววัดลำพญา ไปตลาดน้ำลำพญา และไปชมตลาดโบราณลำพญา คำขวัญของชาวตำบลลำพญาเขาบอกว่า "ประชาร่มเย็น ดีเด่นคุณธรรม เกษตรกรรมก้าวไกล"

------------------------

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์