ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

อุทยานแห่งชาติปางสีดา

            อุทยานแห่งชาติปางสีดา อยู่ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ดังนั้นจึงต้องเล่าเรื่องของจังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อไม่นานมานี้เอง
            จังหวัดสระแก้วอยู่ในภาคตะวันออกของไทย เป็นจังหวัดที่เกิดใหม่คือ พึ่งประกาศตั้งเป็นจังหวัด แต่ความจริงแล้ว จังหวัดสระแก้วในอดีตเป็นชุมชนโบราณ ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความเป็นมาตั้งแต่อาณาจักรสุวรรณภูมิ และอาณาจักรทวาราวดี กลุ่มปราสาทศิลปะขอมและจารึกต่าง ๆ คือ หลักฐานความเจริญของอารยะธรรมโบราณ ส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมชนิดลอยตัว เช่น ใบเสมา จะให้ความรู้เกี่ยวกับอารยะธรรมโบราณ
            สระแก้ว  ก่อตั้งเป็นจังหวัดนั้นอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดปราจีนบุรี ปราจีนบุรีเปลี่ยนจากการปกครองระบบเทศาภิบาลมาเป็นจังหวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ สระแก้วก็กลายเป็นอำเภอหนึ่งของปราจีนบุรีตั้งแต่นั้นมา และมาแยกตัวออกจากปราจีนบุรีพร้อมกับอำเภออื่น ๆ อีก ๕ อำเภอ กลายเป็นจังหวัดสระแก้ว ตั้งแต่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๖

            สระแก้ว เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันออกของประเทศ มีเขตชายแดนติดต่อประเทศกัมพูชา ยาวถึง ๑๖๕ กิโลเมตร ทางตอนเหนือเป็นเนินสูง และภูเขาจึงเกิดความงดงาม จนเป็นอุทยานแห่งชาติปางสีดา สระแก้วติดต่อกับนครราชสีมาและบุรีรัมย์ ทางทิศเหนือสามารถเดินทางติดต่อไปยังจังหวัดทั้งสองได้ ในเส้นทางรถยนต์ที่ดีพอสมควร  อำเภอของสระแก้วนอกจากอำเภอเมือง ฯ ก็มีอำเภอวัฒนานคร อรัญประเทศ ตาพระยา วังน้ำเย็น คลองหาด กิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์ และกิ่งอำเภอโคกสูง
            การเดินทางไปสระแก้ว ทางรถยนต์ไปได้ ๓ เส้นทาง หรือไปรถไฟก็ได้ เหาะไปก็ดีแต่ต้องหาเครื่องบินไปเอง ผมชำนาญทางรถยนต์ จึงขอแนะนำทางรถยนต์ไว้ดังนี้.-
            เส้นทางที่ ๑  เส้นทางหลักสายเดิม ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ แล้วเลี้ยวขวาที่หินกอง ไปผ่ายนครนายก ปราจีนบุรี กบินทร์บุรี สระแก้ว ระยะทาง ๒๔๕ กิโลเมตร ไกลกว่าเพื่อนแต่ถนนดีกว่า
            เส้นทางที่ ๒  ไปจากกรุงเทพ ฯ ถึงสะพานรังสิตแล้วเลี้ยวขวา (ความจริงต้องเลี้ยวซ้ายก่อน) เลาะเลียบริมคลองไปองค์รักษ์ นครนายก ซ้ำกับเส้นที่ ๑ ระยะทาง ๒๑๔ กิโลเมตร
            เส้นทางที่ ๓  ใกล้บ้านผมจากลาดพร้าว ผมไปเส้นทางนี้แต่ไปแบบมนุษย์ที่ชอบอุตริในการเดินทาง คือจากลาดพร้าวไปออกรามอินทรา ไปมีนบุรี ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าต่อไปยัง พนมสารคาม และจะไปยังสี่แยกที่กบินทร์บุรี เพื่อเลี้ยวขวาเข้าถนนสาย ๓๓ ไปสระแก้ว แต่ผมไปอุตริตรงนี้
            คือออกเดินทางจากบ้านพักที่ลาดพร้าวมาได้ ๑๒๐ กิโลเมตรพอดี ก็เห็นป้ายข้างทางชี้บอกไปสระแก้ว ๘๗ กิโลเมตร พอตามองเห็นมืออุตริมันเคยตัว ก็หักเลี้ยวขวาเข้าถนนเส้นทางใหม่ทันที เป็นถนนมาตรฐานราดยางอย่างดีเยี่ยม วิ่งเรียบสบายมากแต่ไม่มีรถวิ่งเลยชักแปลกใจที่ใหนได้พอไปได้สัก ๔๐ กิโลเมตร พบถนนลูกรังแต่ยาวแค่ ๓๐ เมตรเท่านั้น โล่งอกไปที พบป้ายบอกทางว่าโครงการที่ ๒ วิ่งมาตามเส้นโครงการที่ ๒ ได้อีก ๑๖ กิโลเมตร ทีนี้จบโดยไม่ต้องแจว เพราะพบป้ายเขียนตัวโตว่า "ทางตัน" แต่มีป้ายเล็ก ๆ ที่เขียนด้วยตัวโย้เย้ว่า ให้เลี้ยวซ้ายไปสระแก้ว เลี้ยวซ้ายตามป้ายน้อยไปเป็นถนนลูกรัง ๑.๒ กิโลเมตร
เข้าหมู่บ้าน พบสามแยก มีป้ายอีก บอกว่าเลี้ยวขวาไปสระแก้ว เลี้ยวขวาเข้าถนน รพช. ไป ๑๒ กิโลเมตร ก็จะมาบรรจบกับถนนสาย ๓๓ ที่มาจากหินกอง เลี้ยวขวาไปสระแก้วทันที บรรจบสาย ๓๓ ที่กิโลเมตร ๒๓๘ ตรงบ้านศาลาลำดวน ถนนเส้นที่สร้างใหม่นี้จะไปบรรจบกับถนนสายสระแก้ว - จันทบุรี และต่อไปการไปสระแก้วอาจจะใช้เส้นทางนี้ก็ได้ แต่เส้นทางที่เหมาะสมวิ่งมันกว่าน่าจะเป็นเส้นทางเลียบคลองรังสิต ออกนครนายกแล้วไปปราจีนบุรี กบินทร์บุรี สระแก้ว ต่อไปวัฒนานคร อรัญประเทศได้เลย
            ผมพักที่สระแก้ว โรงแรมจันทรา ๐๓๗ ๒๔๑๗๑๑ - ๑๓ ค่าห้องไม่แพง คืนละ๔๕๐ สะอาดมาก มีแค่ ๓ ชั้น ต้องเดินขึ้นบันไดไปเข้าห้องพัก
            สระแก้วในอดีตนั้นอยู่ใต้อิทธิพลของขอมโบราณที่มีอำนาจมาก และสระแก้วอยู่ไม่ไกลจากศูนย์กลางการปกครองของขอมที่นครวัด จังหวัดนี้จึงมีปราสาทมาก เป็นการสร้างขึ้งตามความเชื่อถือ ในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไสวริกาย ดังนั้นเมื่อคิดมาเที่ยวสระแก้ว ต้องเดินทางมาเที่ยวปราสาทเป็นลำดับ ๑ ส่วนนักซ๊อปปิ้งทั้งหลายก็ซ๊อปปิ้งที่ตลาดชายแดน อรัญประเทศได้ ชื่อตลาดโรงเกลือ อยู่ติดชายแดน ห่างจากอำเภออรัญประเทศเพียง ๖ กิโลเมตร ซื้อดี ๆ สินค้าจะถูกมา ซื้อไม่ดีต่อไม่เป็น ไม่หาราคากลางไปก่อนอาจจะได้ของเก๊ แต่แพงกว่าซื้อในกรุงเสียอีก เช่นแว่นตาที่พวกเขมรตามตื้อขาย (พ่อค้า แม่ค้าเขมรมากกว่าไทย) ราคาบอกเริ่มแรก ๖๕๐ บาท หากไม่ซื้อเดินหนีลูกเดียว เขาก็เดินตามลูกเดียว และราคาจะลดลงไปเรื่อย ๆ ต่ำสุดที่เขาซื้อกันได้คือ "๑๕๐ บาท" เขาบอกว่าเป็นแว่นตากันแดดรุ่นล่าสุดจากปารีส (ใส่ ๓ วัน ขาแว่นอาจจะหลุด) ผ้าปูโต๊ะ ปูเป็นพรมได้ปักสวย ผืนละ ๘๐ - ๙๐ บาท หากไปซื้อแม่สาย เชียงราย ไม่ต้องต่อ ๘๐ บาท หรือผู้โชคดี ทำท่าคนรวยอาจจะโดนผืนละ ๑๒๐ ก็ได้
            อาหารเช้าที่สระแก้ว ถ้าออกจากโรงแรมเลี้ยวมาทางขวา และไม่ใช่วันเสาร์ อาทิตย์ มีก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นอยู่ในซอย ก่อนถึงโรงแรมเยื้องธนาคารศรีอยุธยา ซื่อร้าน "แจ๋วแท้ หมูตุ๋น" หากออกจากโรงแรม เลี้ยวซ้ายไป ๒ กิโลเมตร ก่อนถึงทางแยกขวาไปจันทบุรี ทางซ้ายมือตรงข้ามกับศูนย์ขายเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้มะค่า จะมีศาลาอาหารใหญ่โต หลังคาสีเขียวเห็นแต่ไกล ขายก๋วยเตี๋ยวปลา ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา เกาเหลาปลา หนังปลาทอดกรอบ ข้าวขาหมู อร่อยทุกอย่าง เว้นข้าวขาหมูไม่ได้ลองชิม และอีกฟากของศาลามีขนมถ้วย (ใส่จานวางไว้บนโต็ะ กินได้เลย) ขนมต่าง ๆ เป็นเสบียงกลางทาง หรือของฝากได้ เช่น หมูทุบ เป็นต้น
            วันแรกที่ไปถึง ผมไปกินกลางวันที่อำเภอวัฒนานคร เพราะเขาบอกว่าร้านไก่ลุงแก้วอร่อย ไปนึกว่าเหมือนร้านไก่หุบบอน ที่ศรีราชาก็เลยบากหน้าไป จากสระแก้วไปตามถนนสาย ๓๓ พอถึงสี่แยก มีไฟสัญญาณหากเลี้ยวขวาไปอำเภอคอลงหาด และถ้าเลี้ยวขวามาสัก ๕๐๐ เมตร จะพบวัดใหญ่ อ้อมวัดไปทางประตูหลังวัดตามถนนไปคอลงหาดสัก ๑ กิโลเมตร ตรงโค้งทางซ้ายมือมีเพิงขายข้าวหลามอร่อยเยี่ยม ไม่มีเจ้าใดเหมือน และเป็นเอกลักษณ์ของข้าวหลามเจ้านี้ไส้สังขยา แต่เป็นไส้ยาวตลอดลำข้าวหลาม เรียกว่า ข้าวหลามบ้านพร้าว ไม่มีสาขา อารมณ์ดี ๆ อาจจะแบ่งเอามาตั้งขายที่หน้าเซเว่น ฯ ของวัฒนานคร แต่บุกไปซื้อถึงที่แน่นอนกว่า
            กลับมาสี่แยกไฟสัญญาณใหม่ ตรงไปคือวัฒนานคร หากตรงไปอีก ๒๔ กิโลเมตร ก็จะถึงอรัญประเทศ (สระแก้ว - อรัญประเทศ ๕๑ กิโลเมตร ระยะทางเอาแน่ไม่ได้ ป้ายไม่แน่นอน)

            และหากเลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกนี้ วิ้งไป ๑๐ กิโลเมตรเศษ จะถึงสามแยกที่เลี้ยวซ้ายไปตามถนน ๓๔๖๒ ซึ่งถนนสาย ๓๔๖๒ นี้จะไปยังอ่างเก็บน้ำท่ากระบาก สถานีวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติปางสีดา แล้ววิ่งกลับมายังสระแก้วได้เลย ไม่ต้องย้อนกลับมาอีก แต่เส้นนี้หากคิดว่าจะไปน้ำตกปางสีดา ไปอ่างเก็บน้ำละก็ไปจากเมืองใกล้กว่าประมาณ ๒๔ กิโลเมตรเท่านั้น ที่ผมมาทางวัฒนานครเพราะจะไปชิมอาหารกลางวันที่ร้านไก่ลุงแก้ว และแวะซื้อข้าวหลามเตรียมไปกินเป็นของหวาน เพราะข้าวหลามบ้านพร้าวเขาลือชื่อ และมีความแปลกมีชื่อมานามแล้ว
            เอาอีกที จากสี่แยกเลี้ยวซ้ายไป ผ่านทางแยกซ้ายเข้าถนน ๓๔๖๒  ตรงต่อไปถึง กิโลเมตร ๑๙.๕ ร้านไก่ลุงแก้ว ตั้งป้ายไว้ข้างถนนอยู่ซ้ายมือ รสชาติดีพอใช้ ไปแล้วถึงรู้ว่าไม่ได้มีแต่อาหารจากไก่ ผมไปเร็วเลยสั่งแต่อาหารจากไก่ เช่น ไก่อบ ไก่ผัดกระเพรา เครื่องในไก่ผัดแกง ต้มยำไก่ คนมาทีหลังเขาเป็นคนท้องถิ่น เขาสั่งปลาทับทิมเผา คอหมูย่าง ลาบเป็ด ไก่ก็สั่งเหมือนกัน สั่งแกงป่าไก่ ไก่อบ ไข่เจียว กินโต๊ะเรายังไม่พอ ตาเหลือบมองดูจานอาหารที่คนอื่นสั่ง หูคอยฟังเขาสั่งอะไรแล้วให้เลขา ฯ จดด่วน
 

            จากร้านไก่ลุงแก้ว ย้อนกลับมาเข้าถนน ๓๔๖๒ เพื่อไปยังอ่างเก็บน้ำท่ากระบาก วิ่งจนพบป้ายแล้วแยกขวาไปอีก ๔ กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำที่กว้างใหญ่พอควร อยู่เชิงเขา สวยงาม เลยต่อไปมีโรงไฟฟาจากพลังน้ำขนาดเล็ก เลยเข้าไปอีกหน่อย (อย่าเลยไปเป็นอันขาด) คือสถานีวิจัยเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ปางช่องกล่ำบน ค่าเข้าชมสวนป่าแห่งนี้ ๒๐ บาท ลงรถเดินจะข้ามลำธาลแค่เห็นฝูงผีเสื้อก็คุ้มค่าเงิน ๒๐ บาทแล้ว ภายในมีสัตว์ป่ามากมาย มีสุขาที่สร้างเหมือนบังกาโล สัตว์ที่เพาะเลี้ยงได้ เช่นเป็ดก่า ที่แทบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว ชอบใจที่เขาเขียนไว้ที่กรงงูหลามมี ๓ - ๔ ตัว โต ๆ บอกว่า งูหลามชอบกิน "หมูป่า" ใกล้ ๆ กันมีกรงหมูป่า มีหลายตัวเช่นกัน เขียนบอกว่าอาหารที่หมูป่าชอบคือ งูหลาม ใครจะกินใคร คงขึ้นอยู่กับขนาดของหมูและงู แต่หากมองดูขนาดงูในกรงแล้ว ไม่มีทางกินแม่ พ่อ หมูป่าได้แน่ แต่หมูกินงูได้สบาย เพราะหมูในกรงตัวโต
            จากสถานีเพาะพันธุ์สัตว์ป่ากลับมาอกกถนน ๓๔๖๒ วิ่งต่อไปถึง อุทยานแห่งชาติปางสีดา ค่าผ่านเข้าอุทยาน ๓๐ บาท บริเวณน้ำตกปางสีดานี้เป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการที่จะจัดตั้งป่าแถบนี้ให้เป็นสถานที่พักผ่อนของประชาชน เพื่อเป็นการรักษาต้นน้ำ ลำธาร และสถาพป่าตามธรรมชาติ เป็นโครงการพัฒนาที่ราบเชิงเขา เพื่อสนองพระราชดำริ กรมป่าไม้จึงจัดตั้งเป็นอุทยานปางสีดา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และเมื่อสำรวจพื้นที่โดยละเอียดแล้วก็พบว่าสภาพป่ายังอุดมสมบูรณ์มาก มีไม้ที่มีค่า มีสัตว์ป่าชุกชุม ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ทำให้มีน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกปางสีดา น้ำตกน้ำโตน น้ำตกผาน้อย เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกง จึงจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕

            อุทยานแห่งชาติปางสีดา ประกอบไปด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่ากิบเขาและป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ยาง ไม้กระบาก ตะเคียนแดง มะค่าโมง ตะแบก เสลา ประดู่ มะกอก ส้าน สมอ พยุง ชิงช้น ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนไม้พื้นล่างได้แก่ หวาย เฟิร์น มอส และกล้วยไม้ดิน
            ลัตว์ป่า ยังมีเหลืออยู่มาก ผมใช้คำนี้เพราะสมัยผมรับราชการอยู่ปราจีนบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๐๖ นั้น ผมนำกองร้อยทหารปืนใหญ่มาฝึกยิงปืนใหญ่ในป่าแถวนี้ ทำการยิงปืนใหญ่ได้เพราะไม่มีหมู่บ้านคน วันดีคืนดีไม่ต้องใช้ปืนยิงก็ได้กินเก้ง เพราะเก้งผ่าวิ่งหลุดเข้ามากลางกองร้อยปืนใหญ่ในเวลากลางคืน ทหารจึงไล่จับกันสนุกไป ที่ใช้คำว่ายังมีเหลืออยู่ เพราะสมัยนั้นไม่ว่าพวกไหน เสาร์ อาทิตย์ เป็นแบกปืนขับรถเข้าป่า เพื่อล่าสัตว์กัน เก้ง กวาง เขาจะยิงกันได้เป็นประจำ ล่าทั้งแถวนี้ แถวทับลานและเขาฉกรรจ์ "นาย" ผมคนหนึ่งชอบนัก พยายามชวน ผมไม่ชอบ ผมไม่ไปด้วย ทนเขารบเร้าหนัก ๆ ไม่ไหวก็ไปกันเขาทีหนึ่งแล้วเขาไม่ชวนอีก เพราะเข้าป่าล่าสัตว์เขาห้ามพูดว่าจะได้กินแกง กินผัด กินยำ สัตว์ป่า แต่ผมเอาเหล้าไป ตกเย็นผมกับสหายอีกพวกหนึ่งที่เขารบเร้าให้ไปก็กินเหล้ากัน พวกเตรียมออกล่าเขากินข้าว เตรียมปืน พวกกลุ่มผมก็บอกว่าพรุ่งนี้คงได้กินเก้งย่าง ลาบกวาง พูดทำนองนี้ พอรุ่งเช้าทั้งนายและสมุนแบบปืนกลับมาไม่มีสัตว์สักตัว อีกคืนไปใหม่ได้แต่กระต่ายมา ตั้งแต่นั้นมาเขาเลยเลิกชวนปมไปล่าสัตว์กับพวกเขา เขาหาว่า "ปากเสีย"
            อุทยานแห่งชาติปางสีดานั้นหากเป็นคนที่กำลังยังดีอยู่ละก็ เหมาะมากเพราะผมเองไปได้แค่น้ำตกปางสีดา ที่รถเข้าได้ถึงแล้วเดินลงไปสัก ๒๐๐ เมตร แต่น้ำตกอื่น ๆ นั้นต้องเดินไป ที่อุทยานนี้มีบ้านพัก มีเต้นท์และสถานที่บริการให้กางเต้นท์นอนได้
            ผมพักที่สระแก้ว ๒ คืน  ดังนั้นเมื่อนอนคืนแรกแล้ว รุ่งขึ้นเช้าก็ออกตั้งแต่เช้าจะไปกินเช้าที่อรัญประเทศ วิ่งไปถึงสี่แยกหอนาฬิกาของอรัญประเทศ ก็เลี้ยวขวาไปหน่อยหนึ่ง พบศาลพระสยามเทวาธิราช น่าจะเป็นองค์ที่ใหญ่กว่าองค์จริงในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เลี้ยวซ้ายตรงนี้เพื่อไปตลาดสด รอบตลาดสดยามเช้าอาหารประเภทรถเข็นเต็มไปหมด อยู่รอบ ๆ ตลาดด้านหน้า หน้าร้านอาหารญวนชื่อร้าน "เจ๊ราง" เหมาะกินกลางวัน แต่ร้านเล็กนิดเดียว ไม่ได้ลองชิม หน้าร้านเจ๊รางมีก๋ยวจั๊บญวน ก๋วยจั๊บที่ไม่ใช่ญวน ข้าวต้มญวน หมูทุบกินกับข้าวเหนียวร้อน ๆ ซาลาเปาลูกละบาท ขนมปังทาเนย ของกินมากจริง ๆ และถูกมาก ๆ ด้วย วนตลาดรอบแรกอย่าเพิ่งลงกิน รถเข็นขายทั้งวัน ขายกาแฟสูตรโบราณชงกันร้อน ๆ ซดกันริมถนนนั่นแหละ

            ปราสาทสต๊อก ก๊อกธม เป็นประสาทสำคัญที่งดงาม หากได้รับการบูรณะโดยเร็ว จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักทัศนาจรได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะฝรั่งจะแห่กันมาหากได้มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี ปราสาทนี้เพิ่งบูรณะไปได้บ้างแต่ก็เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ทำการบูรณะโดยฝีมือคนไทยทั้งหมด จากกองหิน กองศิลาแลง จนเป็นรูปร่างของปราสาทที่งดงามแล้ว แต่สตางค์หรืองบประมาณคงหมดเสียก่อน เลยทิ้งเอาไว้อย่างนั้น ยังไม่มีการบูรณะต่อ ปราสาทนี้เขียนชื่อไม่ค่อยเหมือนกันในภาษาไทย ป้ายหนึ่งเขียนอย่างหนึ่ง เช่น สต๊อก ก๊อกธม หรือ สต๊ก และยังมีอีกหลายชื่อ แต่ภาษาฝรั่งเขียนไว้ว่า PRASAT SADOK KOK THOM แต่อย่าไปสนใจชื่อเลย เพราะถามไถ่ค้นคว้าต่อไปได้ความว่า ที่เรียกอย่างนี้ เพราะพบปราสาทนี้ครั้งแรกพบในดงของ "ต้นกก" ซึ่งภาษาเขมรเรียกต้นกว่า ซาด๊อก อะไรนั่นแหละ และเมื่อพบศิลาจารึกถึง ๒ แผ่น ก็ไม่มีชื่อ ไม่มีประวัติการก่อสร้างปราสาท ได้ประวัติมาเพียงว่า
            เป็นปราสาทขอมโบราณ อยู่ที่บ้านหนองหญ้าแก้ว หมู่ ๙ กิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เป็นปราสาทหินสีขาวนวล สร้างบนยกพื้นศิลาแลง ในพื้นที่กว่า ๑๕ ไร่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสได้พยายามขุดหลักศิลาจารึก ถึงขั้นเอาช้างมาลากเสาแต่ก็ไม่สำเร็จ ปราสาทจึงถูกทิ้งร้างไว้เช่นนั้น ประเทศไทยมาทำการสำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ และมาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณาถานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ นับว่าเป็นปราสาทที่เก่าแก่มาก และเชื่อว่าสร้างก่อนปราสาทนครวัด นคธมที่ลือชื่อของเขมรเสียอีก ศิลปะเป็นแบบคลังปาปวน
            การเดินทางไปปราสาท ต้องพยายามอ่านลายแทงนี้ดี ๆ เริ่มต้นไปจากอรัญประเทศ ไปตามถนนสายที่จะไป อำเภอตาพระยา (ตาพญา) วิ่งไป ๒๐ กิโลเมตร จะถึงกิ่งอำเภอโคกสูง ต่อไปอีก ๑ กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนสาย ๓๓๘๑ วิ่งไป ๑๑ กิโลเมตร จะถึงบ้านโคกสูง เป็นหมู่บ้านใหญ่ที่ทำให้ตำบลกลายเป็นกิ่งอำเภอ เป็นหมู่บ้าน อพป. (อาสาพัฒนาป้องกันตนเอง) เมื่อวิ่งเข้าหมู่บ้าน ผ่านอนามัยแล้วให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนแคบ วิ่งในถนนของหมู่บ้านนี้ประมาณ ๓ กิโลเมตร จะพบสามแยกให้ตรงต่อไปตามทางแคบ ๆ จนออกถนนใหญ่มาตรฐาน จะพบป้ายเล็กนิดเดียวทางขวาชี้บอกทางไปปราสาท ๒.๕ กิโลเมตร ระวังจะเลยป้าย เลี้ยวไปตามถนนลูกรัง จะผ่านหมวด ตชด. ถึงสามแยก ให้แยกไปทางซ้ายประมาณ ๑ กิโลเมตร จะพบกองหิน จากนั้นก็จะถึงตัวปราสาท และพบป้ายบอกว่าให้รถวิ่งบนทางวิ่งไม่งั้นจะเจอกับระเบิด ไม่น่าปักป้ายให้หวาดเสียว ประสานกับกองพลทหารราบที่ ๒ ที่ปราจีนบุรี ให้เขามากวาดกับระเบิดให้เหมาะกว่า

            ปราสาทมี ๓ หลัง สร้างเรียงติดกันไปจากตะวันออกไปยังตะวันตก องค์กลางเป็นปราสาท องค์ประธานภายในมีศิวลึงค์ ไม่ค่อยมีลวดลายมาก ชั้นนอกทำด้วยศิลาแลง ชั้นในทำด้วยหินทราย มีระเบียงคต มีคูน้ำ สระน้ำขนาดใหญ่ และจากตัวปราสาทมีเส้นทางไปออกถนนศรีเพ็ญที่เลียบชายแดนได้ ผมตั้งหลักไปต่อ พบชาวบ้านเขาบอกว่าอย่าไปให้เขมรลอบข้ามแดนปล้นเลย เลยไม่อยากเสี่ยง เดี๋ยวจะมาดังระเบิดตอนแก่ "ที่ปรึกษารัฐมนตรีกลาโหม ถูกเขมรลักลอบข้ามแดนจับไปเพื่อเรียกค่าไถ่" จะดังทำนองนี้ เพราะได้เอี่ยวเป็นที่ปรึกษากับเขา เลยเป็นเหยื่ออันโอชะให้พาดหัวได้ ไม่มีฉบับไหนที่จะพาดหัวข่าว "นักเขียนใหญ่ (ผมตั้งของผมเอง) ถูกเขมรจับตัว"
            สระแก้ว อรัญประเทศ วัฒนานคร วังน้ำเย็น ฯ ยังมีที่เที่ยวอีกมาก มีปราสาทอีกหลายแห่ง แต่ไปคราวนี้ผมเก็บมาได้แค่นี้เอง
            กลับมานอนที่โรงแรมจันทรา สระแก้วตามเดิม เย็นนั้นกินข้าวที่ร้านเจ้จู เป็นร้านอาหารโบราณเก่าแก่ของอำเภอสระแก้วเลยทีเดียว คือตั้งมาก่อนจังหวัดสระแก้ว หากมาทางถนนใหญ่ยังไม่ถึงโรงแรม จะมีถนนแคบ ๆ แยกซ้าย มีป้ายบอกว่าไปสถานีตำรวจ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายนี้ ร้านเจ้จูอยู่หน้าสถานีตำรวจ เป็นร้านขนาด ๒ ห้อง ดูแล้วสะอาดตา ห้องแถวไม้ พื้นก็เป็นไม้ โต๊ะเก้าอี้ไม้มะค่าหนาปึก สั่งอาหารมาได้ดังนี้
            แกงป่าปลาดุก สารพัดผัดที่ใส่ลงไป ทำให้น้ำแกงหวานด้วยรสผัก น้ำแกงเข้มข้น รสถึงเข้มข้นตาม ในชามมีทั้งถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ พริกไทยอ่อน พริกหยวก ฯ
            หมูผัดกะปิ ผัดกับพริกหยวก พริกชี้ฟ้า โหระพาหอมแดง หมูนุ่ม น้ำผัดแยะราดข้าวได้
            ผัดหน่อไม้ฝรั่งกับกุ้ง หน่อไม้สด กรอบอร่อย
            ปลาดุกทอดกรอบแล้วเอามาผัดเผ็ด รสอ่อนอร่อย กินเป็นแกล้มได้สบาย
            ไข่ตุ๋นของทำง่ายหากินยาก สั่งมาซดเป็นแกงจืด
            ด้วยความตะกละเหลือก็จะห่อกลับไป สั่งหมูแดดเดียว ไม่ผิดหวัง
            บอกกล่าวเล่าไว้ตอนท้ายอีกนิด เพราะงานนี้จะเที่ยวให้สนุกต้องพักสัก ๓ - ๔ คืน ผ่านปราจีนบุรี เลยสถานีรถไฟไปทางเข้าเมือง ตรงข้ามธนาคาร ธกส. ร้านตะโกราย อาหารมังสะวิรัช อร่อยนัก
            ที่อรัญประเทศ ถนนมิตรสัมพันธ์ข้าง ๆ ธนาคารกรุงไทย ทั้งสายมีแต่อาหารเวียตนาม ร้านที่ชวนชิมไว้คือร้าน "แอมซัน" (น้องซัน) อีกร้านชื่อแปลกดี "ยายต๊าม" และยังมีอีกร้านเลือกชิมดู เป็นมื้อกลางวัน
 
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |
ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์