ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

วัดเจดีย์ซาว

            วัดเจดีย์ซาว อยู่ที่ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ไปวัดเจดีย์ซาวซึ่งเป็นวัดสำคัญของลำปาง และมีองค์พระธาตุเจดีย์ซาว (ซาว แปลว่า ๒๐) เป็นศิลปล้านนาผสมศิลปพม่า จะไปวัดเจดีย์ซาวก็ต้องเดินทางไปยัง จังหวัดลำปางเสียก่อน ซึ่งจังหวัดลำปางนี้มีแหล่งท่องเที่ยว แหล่งซื้อของมากมาย เช่น ผ้าทอพื้นเมือง หมู่บ้านแกะสลัก กระดาษสาและผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญยิ่งในสายตาของผมคือ พวกเซรามิคทั้งหลายที่งดงาม และราคาถูกยิ่งกว่าซื้อ ณ เมืองใด ผมจะเล่าถึงแหล่งจับจ่ายใช้สตางค์ทีหลัง
            ประวัติย่อของเมืองลำปางมีอยู่ว่า เจ้าอนันยศ โอรสของพระนางจามเทวี (ผู้ครองนคร หริภุญชัย) เป็นผู้สร้างนครลำปางโดยมีพระฤษีสุเทวะ เป็นผู้ชี้ชัยภูมิสำหรับสร้าง ซึ่งได้แก่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำวังกะนที เจ้าอนันยศได้ขนานนามเมืองที่สร้างนี้ว่า เขลางค์นคร และลำปางต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของเมืองอื่น หลายยุคหลายสมัย
            พ.ศ. ๑๖๐๐ - ๑๘๐๐ ลำปางตกอยู่ใต้อิทธิพลของมอญและขอม
            ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ เศษ  ก็ตกอยู่ในอำนาจของพ่อขุนเม็งราย กษัตริย์ล้านนา (เชียงราย) ที่มาตีได้หริภุญชัยแล้วสร้างเวียงกุมภกาม สร้างนครเชียงใหม่ ได้ลำปางไว้ในอำนาจด้วย
            ในสมัยอยุธยาไทย กับพม่า ผลัดเปลี่ยนกันมีอำนาจเหนือลำปาง
            สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงขับไล่อำนาจพม่าออกไปได้โดยเด็ดขาด และทรงแต่งตั้งให้เจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำปาง
            สมัยรัตนโกสินทร์ เจ้ากาวิละ ไปครองเมืองเชียงใหม่ เชื้อสายของเจ้ากาวิละยังคงครองเมืองลำปาง ต่อมาจนกระทั่งยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมือง
            ลำปางมีชื่อหลายชื่อ แต่ที่ปรากฏอยู่ในตำนานพระธาตุลำปางหลวงคือ เมืองกุกุตตนคร ซึ่งแปลว่าเมืองไก่ หรือบางทีเรียกว่า เมือง กุกกุฏนคร อันมีความหมายว่า เมืองไก่ขาว ตราประจำจังหวัดในปัจจุบันจึงเป็นรูป ไก่อยู่ในมณฑป ชื่ออื่น ๆ เช่น เมืองศรีดอนชัย เมืองสัมภะกัมปะนคร ในตำนานชินกาลมาลินีเรียกว่า เขลางค์นคร และ ลัวะดอนลำปาง และเพี้ยนมาเป็นนครลำปางในชื่อปัจจุบันนั่นเอง
            สภาพทางภูมิศาสตร์ ลำปาง ลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกะทะ เป็นดินแดนที่มีภูเขาไฟ และดับหมดแล้ว หินภูเขาไฟหรือหินอัคนี ปรากฏอยู่ตามรอยแยกของแผ่นดินที่เคยเป็นปากปล่องภูเขาไฟ ที่มีอำเภอสบปราบ อำเภอเกาะคา เรียกว่าสบปราบบะชอลต์ ส่วนหินอีกกลุ่มหนึ่ง เรียกว่าแม่ทะบะชอลต์ อยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอแม่ทะ ทั้งสองกลุ่มเป็นหินภูเขาไฟที่มีอายุ ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว บริเวณปากปล่องของภูเขาไฟที่ดับมานานแล้วเช่นนี้ จึงมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น มองไม่เห็นปากปล่องเด่นชัดเหมือนภูเขาไฟที่เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ที่ผมเคยพาไปเที่ยวมาแล้ว นั่นมองเห็นชัดเจน เป็นเหมือนสนามหญ้าขึ้นอยู่อย่างเรียบร้อยทีเดียว
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นที่ปีน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพ ฯ และอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปีนี้เป็นปีน้ำท่วมกรุงเทพ ฯ ครั้งใหญ่ เรียกว่าในชีวิตของผมยังไม่เคยเจอน้ำท่วมกรุงเทพ ฯ มากเช่นปี ๒๔๘๕ อีกเลย ท่วมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ที่ชาวกรุงรุ่นหลังผม ว่ามากนั้นเทียบไม่ได้กับปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ซึ่งน้ำท่วมขังอยู่นานเป็นเดือน ขนาดต้องใช้เรือสัญจรกันทั่วกรุง ฯ หมดสิทธิ์การใช้รถยนต์ทุกประเภท สมัยนั้นยังไม่มีสิบล้อเลย ไม่ทราบว่าหากมีสิบล้อ จะวิ่งได้หรือเปล่า แต่จำได้แต่ว่า ไปไหนต้องไปเรือ และส่วนมากจะเดินลุยน้ำก็ไม่ไหวเพราะน้ำท่วม ใครว่ายน้ำไม่เป็นก็หัดว่ายกันตอนนั้นนั่นเอง ส่วนบิดาของผมไปราชการสนามคือ ไปกับหน่วยที่ออกปฏิบัติการชายแดนภาคเหนือ แต่เนื่องจากเป็นทหารอากาศจึงไม่ต้องไปตั้งหน่วย อยู่ที่ชายแดนเหมือนทหารบก บิดาของผมจึงไปประจำอยู่กับฝูงบินขับไล่ ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณ สนามบินลำปางเดี๋ยวนี้ ส่วนอีกฝูงหนึ่งเป็นฝูงบินทิ้งระเบิด ท่านผู้บังคับฝูงยังมีชีวิตอยู่คือ ท่านพลอากาศเอก หะริน  หงสกุล (ผมเรียกท่านว่า คุณอาตามแบบทหารที่นับญาติกันหมด) ส่วนบิดาของผมเป็นผู้บังคับหมวดช่างอากาศ เรียกว่ามือแก้เครื่องบิน แบบ เบอร์เก้, คอรแซร์, ฮอลค์ ชื่อทำนองนี้ ผมกำลังอยู่ในวัยที่เรียกว่านมพึ่งจะแตกพาน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ การรบไม่ได้หนักหนาอะไรที่เมืองไทย โดยเฉพาะที่ลำปาง ทางทหารจึงอนุญาติให้นำครอบครัวขึ้นไปอยู่ด้วยกันได้ แต่ต้องเช่าบ้านอยู่เองสมัยนั้นไม่มีการเบิกค่าเช่าบ้าน แต่ก็พอทราบว่าค่าเช่าบ้านสมัยนั้นเดือนละไม่กี่บาท ชีวิตของผมจึงสัมผัสเมืองลำปางตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ และได้เข้าโรงเรียนที่โรงเรียนบุญวาทวิทยาลัย ๑ ปีในชั้นมัธยม ๓ (ปัจจุบันคงเป็นชั้น ม.๑) ซึ่งต้องเดินไปโรงเรียนระยะทางวันละหลายกิโลเมตร ถือโอกาสเล่าชีวิตตอนหนึ่งให้ฟังเสียเลย
            กลับมาอีกทีก็หลังจากนั้นอีก ๒๒ ปี มาดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ ซึ่งหน่วยตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่รับผิดชอบของปืนใหญ่กองพันของผม รวมถึงพื้นที่ในเขตจังหวัดลำปางด้วย จึงมีโอกาสมาลำปาง หรือผ่านลำปางไปยังเชียงราย พื้นที่ชายแดน ถนนสายเชียงใหม่ ผ่านเวียงป่าเป้าไปเชียงรายยังไม่มีถนนสาย ลำปาง เชียงใหม่ เพิ่งเริ่มจะกรุยทางก่อสร้างกัน การไปเชียงใหม่สมัยนั้น จึงต้องเลี้ยวซ้ายที่อำเภอเถิน อ้อมไปทางอำเภอบ้านโฮ่ง, ลี้,ป่าซาง ลำพูน เชียงใหม่
            กลับมาเที่ยวลำปางกันใหม่ การเดินทางไปลำปางระยะทางถนนประมาณ ๖๐๐ กิโลเมตร ไปได้สะดวก ๒ เส้นทาง เส้นทางหลัก ไม่มีภูเขาให้ไต่ อย่างดีแค่ขึ้นเนินคือถนนสายพหลโยธิน และสายเอเซีย กรุงเทพ ฯ ประตูน้ำพระอินทร์ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเอเซีย ที่กิโลเมตร ๕๔ ไปผ่านสิงห์บุรี ชัยนาท ทับกับสายพหลโยธินใหม่ไปนครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง ส่วนอีกสายหนึ่งไปได้ช้ากว่า แต่เส้นทางสวยหลายตอน ลัดเลาะไปตามไหล่เขา และแม่น้ำหลายแห่ง คือจากนครสวรรค์แยกขวาไปพิษณุโลกอีก ๑๒๙ กิโลเมตร (ตอนนี้เส้นทางกำลังขยายเป็นสี่เลน) จากพิษณุโลก เลี้ยวขวาไปทางหล่มสัก แล้วเลี้ยวเข้าถนนไปอุตรดิตถ์ไปผ่านเด่นชัย แยกซ้ายไปผ่านวัดพระธาตุสุทนคีรี แล้วแยกขวาไปลำปาง ผ่านไปทางอำเภอแม่ทะ จะถึงลำปางเข้าทางเหนือ ส่วนเส้นแรกเข้าทางใต้ของลำปาง ทางเครื่องบินก็มี ทางรถไฟก็ได้ หรือใครจะอุตริไปทางเรือ ก็คงไปถึงในเวลาไม่เกินเดือนกระมัง
            สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองลำปางนั้นมีมาก มีแทบทุกอำเภอ เอากันแค่ในอำเภอเมืองก็แล้วกัน เพราะจุดหลักที่เป็นเป้าหมายของผมอยู่ที่วัดเจดีย์ซาว

            วัดสำคัญของลำปางคือ วัดพระธาตุลำปางหลวง อยู่ในเขตอำเภอเกาะคา
            นอกจากวัดสำคัญนี้แล้ว ยังมีอีกหลายวัดที่มีความสำคัญ เก่าแก่ งดงาม เช่น วัดศรีขุม วัดศรีรองเมือง วัดพระแก้วดอนเต้า วัดป่าผาง วัดพระธาตุม่อนพญาแช่ วัดพระธาตุเสด็จ วัดเสลารัตนบัพพดาราม หรือวัดไหล่หินแก้ว วัดนี้อยู่ในอำเภอเกาะคา ไม่ไกลจากตัวเมืองมาจากกรุงเทพ ฯ จะผ่านก่อน มีวิหารเก่าแก่นี้มีข่าวเชียงตุง วัดปงยางตก อยู่ในเขตอำเภอเกาะคาเช่นกัน มีวิหารเจ้าแม่จามเทวี และวัด อักโขชัยศิริ ในอำเภอแจ้ห่ม
            ก่อนถึงอำเภอเกาะคา หรือจะไปจากเกาะคาก็ได้ ห่างจากเกาะคา ๑๔ กิโลเมตร คือ วัดพระธาตุจอมปิง อีกวัดคือ วัดอักโขชัยศิริ และวัดพระธาตุลำปางหลวง ทั้ง ๓ วัดนี้ปรากฏการณ์ประหลาดคือ เงาของพระเจดีย์ที่ผ่านรูหน้าต่างโบสถ์ ซึ่งเป็นรูเล็กเปรียบเหมือนเลนซ์ของกล้องถ่ายรูป ลำแสงที่ผ่านรูนี้เข้ามาเมื่อตกต้องพื้นโบสถ์ หรือจะเอาฉากรับก็ได้ จะปรากฏเป็นภาพสีของพระเจดีย์ที่พื้นโบสถ์ หรือที่ฉากมารับแสง ตราบเท่าที่มีแสงสว่างเงานี้จะปรากฏอยู่ที่จุดเดิมตลอดทั้งวันไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ไม่ว่าดวงอาทิตย์จะหักเหไปทางทิศใด หากไปที่อำเภอเกาะคา พอข้ามสะพานข้ามแม่น้ำไปแล้ว หากเลี้ยวซ้ายไป ๑๔ กม.จะไปยังวัดพระธาตุจอมปิง หากเลี้ยวขวามาสัก ๕ กิโลเมตร จะมาวัดพระธาตุลำปางหลวง และหากไปเชียงใหม่ก็วิ่งผ่านหน้าวัดไปออกอำเภอห้างฉัตรได้เลย จะร่นระยะทางไปประมาณร่วม ๒๐ กิโลเมตร


            วัดเจดีย์ซาว จะเดินทางไปวัดนี้ต้องถามทางเพื่อไปข้ามแม่น้ำวัง ข้ามที่สะพานเก่าแก่คือ สะพานรัษฎา (สะพานข้ามแม่น้ำเห็นมีอยู่ ๒ สะพาน) ซึ่งอยู่ในเมือง เมื่อข้ามสะพานรัษฎาไปแล้ว วิ่งต่อไปจนถึงสี่แยกที่มีไฟสัญญาน ก็เลี้ยวขวามีป้ายบอกว่าไปวัดเจดีย์ซาว เส้นนี้จะผ่านวัดหัวข่วงทางซ้ายมือ ซึ่งเป็นวัดที่มีโบราณสถาน มีวิหารสกุลช่างเชียงแสน ซึ่งสร้างไว้ตั้งแต่เคลื่อนย้ายลงมาอยู่ที่เขลางค์นคร มีลวดลายประดับงดงามอย่างยิ่ง หากมองจากประตูวัด จะมองเห็นเจดีย์ทองของวัดอีกวัดที่อยู่ทางฝั่งตรงกันข้าม จากนั้นจะไปผ่านสุสานไตรลักษณ์ ผ่านวัดวังหม้อไปอีก ๓๐๐ เมตร จะมีทางแยกซ้าย มีป้ายบอกว่าไปวัดเจดีย์ซาวหลัง ซาวคำเมืองแปลว่า ๒๐ ซาวหลัง เจดีย์ ๒๐ องค์ เลี้ยวซ้ายเข้าไปสัก ๑ กิโลเมตร ที่หน้าวัดยกป้ายว่าวัด พระเจดีย์ซาวหลัง
            วัดเจดีย์ซาว หรือวัดเจดีย์ซาวหลัง หรือวัดป่าเจดีย์ซาวหลัง เมื่อเข้าประตูวัดเข้าไปแล้ว มองตรงไปจะเห็นอุโบสถ และทางซ้ายของอุโบสถคือ กลุ่มเจดีย์สีขาวบริสุทธิ์ เขาบอกว่ามี ๒๐ องค์ แต่เขาก็บอกกันอีกว่าให้ลองนับดูหากใครนับได้ครบ ๒๐ องค์ ก็ถือว่ามีบุญ หรือจะอธิษฐานขออะไรไว้ล่วงหน้าก็ได้ แล้วลองนับดู ผมมาทราบความนี้เมื่อกลับออกมาแล้ว เลยไม่ได้ลองนับว่ามี ๒๐ องค์จริงหรือเปล่า
            ไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าวัดเจดีย์ซาวสร้างเมื่อใด แต่ดูจากอายุพระเครื่องที่ขุดพบที่บริเวณเจดีย์ ประมาณว่าอายุน่าจะถึงพันปี และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้เริ่มมีการบูรณะจากสภาพวัดร้างให้เป็นวัด ซึ่งในตอนนั้น เป็นป่ารกชัฏมีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปกคลุม บรรยากาศเงียบสงัดไม่มีเสนาสนะใด ๆ ในวัด คงมีแต่กลุ่มพระเจดีย์อยู่ในดงไม้ที่ปกคลุมอยู่ พร้อมกับเนินซากวิหารด้านเหนือ และมีปะรำมุงหญ้าคาหลังเล็ก ๆ พอเป็นที่กำบังฝนชั่วคราวของชาวบ้านในถิ่นนั้น ทำขึ้นเพียงเพื่อไว้ประกอบกิจการกุศลในวันเพ็ญเดือน ๙ ต่อมาได้มีพระภิกษุชาวพม่าชื่อ อูวะยันต่าเถระ ซึ่งเล่าเรียนจบพระไตรปิฎกมาจากเมืองมัณฑะเล ประเทศพม่า ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์พม่า ให้มาทำการสอนพระบาลีคัมภีร์พระไตรปิฎกแก่พระสงฆ์พม่าในนครลำปาง ในการมาครั้งนั้นท่านได้นำตำนานวัดเจดีย์ซาวติดตัวมาด้วย สันนิษฐานกันว่า เพราะลำปางตกอยู่ใต้อำนาจของพม่า เมื่อพม่ามารุกราน หัวเมืองฝ่ายเหนือได้ชัยชนะแล้ว ก็ขนเอาของมีค่ากลับไปเมืองพม่าด้วย
            ในตำนานที่พม่านำมานั้นกล่าวว่า เมื่อประมาร ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีพระอรหันต์ ๒ องค์ จาริกมาจากชมพูทวีป เพื่อประกาศพระพุทธศาสนา และได้มาพำนัก ณ สถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่จำพรราา เผยแพร่ศิลธรรม เทศนาสั่งสอนแก่ผู้คนในถิ่นใกล้เคียงนั้น ต่อมามีพระยาองค์หนึ่งนามว่า พระยามิลินทร์  ได้มาพบปะพระอรหันต์แล้วไต่ถามปัญหาธรรมะข้อข้องใจต่าง ๆ  ได้รับการชี้แจงให้รอบรู้ในเหตุและผล จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระอรหันต์ทั้งสอง จึงได้ปรวารณาตนเป็นศิษย์ และประสงค์จะสร้างถาวรวัตถุขึ้น ณ ที่นั้น จึงขอเส้นเกษาจากพระอรหันต์ ๒ องค์
            เมื่อพระเถระได้นำตำนานมาด้วย จึงอ่านตำนานนั้นให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านต่างมีศรัทธาจึงออกค้นหาพระธาตุของพระอรหันต์จนพ (ไม่ได้บอกว่าพบเมื่อไร และอ่านให้ฟังเมื่อไร) และร่ำลือกันไปทั่ว จนทราบไปถึงเจ้าบุญวาทย์มานิต ท่านจึงรับเป็นประธานในการปฏิสังขรณ์ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนชาวไทย พม่า และไทยใหญ่ เสร็จเรียบร้อยเมื่อกุมภาพันธ์ ๒๔๖๖ แต่เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้ถึงแก่พิราลัยก่อนที่การบูรณะจะเสร็จ แต่ศรัทธาโดยการนำของทายาทเจ้าพ่อ ก็ทำต่อกันมาจนเรียบร้อย และได้จักงานสมโภชเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๗
            ภายในวัดมีสิ่งที่น่าชม น่าเคารพสักการะหลายแห่งด้วยกัน นอกเหนือไปจากพระธาตุเจดีย์ซาวคือ
            พระแสนแซ่ทองคำ  อยู่ในวิหาร เป็นพระพุทธรูปทองคำหนัก ๑๐๐ บาท สองสลึง โดยชาวบ้านขุดพบเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ชาวบ้านนำมาถวายไว้ที่วัด มีพระพุทธรูปทันใจ อยู่ในวิหารหลังเล็กข้างเจดีย์ ซึ่งบานประตูทั้งสาม เขียนลวดลายรดน้ำงดงามมาก มีพิพิธภัณฑ์มีศาลเจ้าแม่กวนอิมพันมือพันเนตร ซึ่งหมายถึงว่าทุกข์มากเหลือเกิน จึงต้องมีเจ้าแม่ที่พันมือพันเนตรลงมาช่วยปลดทุกข์ มีวิหารพระสังกัจจายน์ วิหารพระศิวลี
            อุโบสถ  มีหลวงพ่อโต และมีจิตรกรรมฝาผนัง ที่วาดภาพเล่าเรื่องของวัดเจดีย์ซาว เช่น วาดภาพสถาพเดิมก่อนปฏิสังขร ภาพพระอรหันต์ ๒ องค์ มอบเกษาธาตุให้แก่พระยามิลินทร์ ภาพชายอนาถา ๒ พี่น้องขุดบ่อน้ำ
            บริเวณวัดร่มรื่น ยังมีไม้ใหญ่ ไม้เก่าแก่ขึ้นครึ้มไปหมด ด้านหลังหรือน่าจะเรียกว่าด้านข้างขวาสุด มีมะม่วงใหญ่ และบ่อน้ำเล็ก ๆ ๒ บ่อ เล่ากันว่า เมื่อพระอรหันต์มาพำนักอยู่นั้น ชายอนาถา ๒ พี่น้องมาหาพระอรหันต์ และขุดบ่อน้ำถวายคนละบ่อ และเมื่อจะขุดก็ตั้งจิตอธิษฐานขอให้ขุดพบน้ำ และอยู่ยงตลอดไป เมื่อขุดลงไปจนลึกพบน้ำใสสะอาดพุ่งขึ้นมา และอยู่กระทั่งบัดนี้ (หากตำนานนี้จริงก็อายุ ๒,๐๐๐ ปีแล้ว) และปลูกมะม่วงอีกคนละต้น ตายไป ๑ ต้น ไม่แน่ใจว่าต้นของพี่หรือของน้องที่ตายไปแล้ว อายุมะม่วงนั้นอายุยืนมาก เท่าที่ผมทราบแน่ ๆ ว่าที่ประเทศอินเดียนั้นมะม่วงอายุ ๕๐๐ปี ยังออกลูกอยู่
            การไปเที่ยววัดเจดีย์ซาวจึงได้ข้อมูลมาเพียงเท่านี้ แต่น่าไปเที่ยว ไปนมัสการ ไปกราบไหว้บูชาอย่างยิ่ง แม้นับถือศาสนาอื่น หากไม่ขัดต่อหลักศาสนาแล้วก็คุ้มค่าที่จะไปชม จึงมีฝรั่งไปอาจจะมากกว่าคนไทยไปด้วยซ้ำไป
            ผมออกจากวัดเจดีย์ซาวแล้วไม่ได้ย้อนกลับมาลำปาง คงต่อไปยังอำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ แล้วไปออกแม่ขจาน อำเภอเวียงป่าเป้า ไปต่ออำเภอแม่สรวย เข้าพักที่เชียงราย คันทรี ฮิลล์รีสอร์ท
            แวะลำปาง ของที่ระลึกที่น่าซื้อ น่าหา น่าชม เห็นจะได้แก่ ผ้าทอด้วยกี่พื้นเมือง ที่อำเภอแจ้ห่ม และบ้านทุ่งกว้าว อำเภอเมืองปาน
            หมู่บ้านแกะสลักบ้านหลุก ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ แกะสลักไม้เป็นรูปสัตว์เช่นช้าง
            กระดาษสา เป็นอุตสาหกรรมพื้นบ้านของบ้านโท้ง ทำจากปอสา และนำกระดาษมาประดิษฐ์ของใช้เซรามิค ลำปางมีแหล่งแร่ดินขาวคุณภาพดีที่สุด มากที่สุดของประเทศ จึงเกิดอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา แหล่งที่ผมซื้อประจำและราคาถูกมาก เป็นแหล่งใหญ่อยู่หน้าจวนผู้ว่าราชชการจังหวัด มีหลายสิบร้าน ร้านที่ผมซื้อประจำชื่อร้านป้าน้อย เข้าทางด้านถนนผ่านหลังวัดป่าดัวะ ร้านแรกทางขวามือเมื่อเข้าประตูไป
            ร้านจำหน่ายของที่ระลึกมีมากที่หอนาฬิกา และไปลำปางอย่าลืมซื้อชามตราไก่ของลำปางกลับมาเอาไว้กินข้าวต้ม
            ทีนี้ไปร้านอาหาร ชื่อร้านรสนานา ร้านนี้คนเป็นใบ้ก็สั่งอาหารได้ เพราะหากไม่พูดไม่จาไม่สั่งอะไรเขายกมาให้ครบชุดเลย และเขาดูคนหากไปหลายคนมาชุดใหญ่มีอาหาร ๕ อย่าง แต่เพิ่มสลัดให้อีกอย่าง สามร้อยกว่าบาท หากไปน้อยคนเช่น ๒ คน ยกมาทั้งชุดมี ๕ อย่างเช่นกัน สองร้อยกว่าบาท แถมหน้าร้านมีขนมขายแบบโฮมเมด เป็นคุกกี้นานาชนิด ทำจากธัญพืชซื้อมาชิมแล้วอร่อยมาก
            ทิศทางหาร้านให้เจอ ต้องตั้งต้นว่ามาจากกรุงเทพ ฯ โดยมาตามถนนสายหลัก พหลโยธินที่ผ่านมาทางอำเภอเถิน มาถึงอำเภอเกาะคาก็เลี้ยวขวามาลำปางให้คอยนับแยกที่มีสัญญานไฟให้ดี ๆ
            เมื่อพบป้ายทางซ้ายบอกว่าอีก ๗ กิโลเมตร จะถึงลำปางจะพบสัญญานไฟของแยกที่ ๑
            ตรงต่อไปจะพบสัญญานไฟที่ ๒ ซึ่งหากเลี้ยวซ้ายจะไปเชียงใหม่ ให้ตรงต่อไป
            ข้ามสะพานข้ามทางรถไฟ ผ่านบิ๊กซี แล้วผ่านสัญญานไฟที่ ๓ พบป้ายลำปาง - เชียงราย
            ให้เลี้ยวซ้ายที่สัญญานไฟที่ ๔ นี้เข้าเมืองผ่านโรงแรมลำปางเวียงทอง วิ่งไปนิดเดียวถึงสี่แยกให้เลี้ยวขวา แล้ววิ่งตรงเรื่อยมาจนพบสี่แยกมีสัญญานไฟอีก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสวนดอก วิ่งไปสัก ๕๐ เมตร ร้านรสนานาอยู่ทางซ้ายมือ ร้าน ๒ ห้อง มีป้ายเขียนด้วยตัวหนังสือว่าเชลล์ชวนชิม แต่ไม่มีสัญลักษณ์อะไรบอกไว้ ร้านนี้ขายมาตั้งแต่รุ่นเตี่ย สามสิบกว่าปีแล้ว อาหารชุดของเขาที่ว่าคือ
            ขาหมูพะโล้ หรือจะเอาคากิ ตีนหมูพะโล้ ก็สั่งเพิ่มมาอีกได้ น้ำพะโล้ เยี่ยม เนื้อนุ่ม มันน้อย
            ไส้กรอกไข่เค็ม จานนี้ยกให้เป็นเลิศ ไม่เคยกินที่ไหนมาก่อนเลย
            หมูผัดพริกน้ำมันหอย เป็ดพะโล้เนื้อนุ่ม เคี้ยวสนุกนัก และแกงจืดครบ ๕ อย่าง เรียกว่าไปนั่งร้าน ไม่พูด ไม่จาอะไร เขาถามอะไรก็ไม่พูด รับรองว่าเขายกอาหารใส่ถาดมาให้ ๕ จาน พร้อมข้าวสวยร้อน ๆ ครบคน

...............................


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์