ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม

              ผมจะพาท่านผู้อ่านไปกินอาหารของชาวไทยลื้อ ซึ่งอยู่ที่บ้านวังไผ่า ชุมชนวังไผ่ทั้งหมู่บ้านนี้เป็นชาวไทยลื้อ ที่อพยพมาจากดินแดนสิบสองปันนา ในประเทศจีน และเข้ามาอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย แต่โชคดีที่บ้านวังไผ่ ที่พวกชาวไทยลื้อสิบสองปันนาอยู่อาศัยนี้ อยู่ในการพัฒนาของโครงการหลวงที่ชื่อ โครงการคือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม เป็นหมู่บ้านที่ใหญ่กว่าบ้านวังไผ่ สองหมู่บ้านนี้อยู่ติดกัน น่าเสียดายที่ทางราชการยังไม่พิจารณา ให้ชุมชนวังไผ่ได้รับสัญชาติไทย เขาอยู่มานานจนกลายเป็นคนไทยไปแล้ว หากเขาได้รับสัญชาติไทย เป็นคนไทยเต็มตัว เขาก็จะเสมือนรั้วตามแนวชายแดน พวกเขาเข้ามาอยู่โดยอพยพเดินเร่ร่อน กันมาจากสิบสองปันนาใช้เวลาเดินหลายวัน แล้วมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ริมน้ำแม่กก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ จนกลายเป็นคนไทยไปทั้งหมู่บ้าน ที่พวกเขาขาดคือ สัญชาติไทย ลูกหลานที่เกิดมารุ่นใหม่ได้สัญชาติไทย เพราะเกิดในแผ่นดินไทย แต่ไม่สมบูรณ์เพราะพ่อแม่ เข้าเมืองไทยอย่างไม่ถูกกฎหมาย และยังไม่ได้สัญชาติไม่มีหน่วยงานราชการ ที่คอยติดตามเรื่องสัญชาติให้พวกเขา ไม่เหมือนพวก "จคม." หรืออดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์ มาลายา (สายรัสเซีย) ที่อำเภอเบตง, บันนังสตาร์ และสะเดา พวกนี้ออกมาเพราะถูกกองทัพภาคที่ ๔ ส่วนหน้ากดดัน ปิดล้อม ให้ลำบาก อดอยาก จนในที่สุด ก็ต้องยอมมาเจรจากับผม ซึ่งทำหน้าที่แม่ทัพภาคที่ ๔ ส่วนหน้า เมื่อพาเขาออกมามอบตัว เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๓๐ แล้ว เราก็ให้ความสะดวกต่อพวกเขา ให้อาชีพ ให้ทุนเบื้องต้นและเมื่อถึงเวลาอันควร ก็ขอสัญชาติให้ ผมเกาะติดเรื่องสัญชาติของพวก จคม. ตั้งแต่รับราชการ จนผมปลดเกษียณ์ไปแล้วก็ยังติดตามเรื่องอยู่ จนในที่สุด ๒๐ ปี พวก จมค. จึงได้รับสัญชาติไทยเมื่อ มกราคม ๒๕๔๙ นี้เอง ส่วนพวกไทยลื้อที่บ้านวังไผ่ ไม่มีหน่วยงานใด หรือผู้ใดเกาะติดเรื่องให้พวกเขาจึงได้แต่คอย  และเมื่อดูสภาพความเป็นอยู่ของพวกเขาแล้ว ก็น่าจะถึงเวลาแล้วที่จะพิจารณา ให้สัญชาติไทยแก่ไทยลื้อกลุ่มบ้านวังไผ่นี้ ซึ่งมีอยู่เพียง ๔๒ ครัวเรือน ประชากร ๒๗๙ คน เราจะได้รั้วบ้านที่มั่นคง และเป็นหูเป็นตาให้เรา โดยเฉพาะการต่อต้านยาเสพติด ที่มีโอกาสที่จะเข้ามาทางด้านนี้ "หากรั้วของเราไม่มั่นคง"
            ผมเดินทางไปจากกรุงเทพ ฯ ไปกันหลายคน เลยเช่ารถตู้ไป ท่านที่ปรึกษาของโครงการหลวง ท่านเชิญให้ผมไปดูความเป็นอยู่ของพวกไทยลื้อจากสิบสองปันนา ที่บ้านวังไผ่ และขึ้นไปดูพวกชาวเขาเผ่าปะหล่อง ที่บ้านนอแล บนดอยอ่างขาง ซึ่งพวกปะหล่องนั้น เคยไปดูมาแล้วครั้งหนึ่ง จากกรุงเทพ ฯ มาพักนอนที่เชียงใหม่หนึ่งคืน  จากตัวเมืองเชียงใหม่ ก็มุ่งหน้าขึ้นเหนือ ผ่านอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว ซึ่งช่วงนี้ของถนนสาย ๑๐๗ กำลังขยายถนนคงจะเสร็จในปี ๒๕๕๐ นี้ ก่อนถึงตัวอำเภอเชียงดาว จะมีทางเลี่ยงเมืองไปได้เลย แต่หากหิวข้าวขอแนะร้านขาหมู ร้านเก่าแก่กว่าห้าสิบปี เข้าตัวอำเภอแล้ว จะอยู่ทางซ้ายมือ ตรงข้ามร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ แต่วันนี้ยังไม่หิว จะเก็บพุงเอาไว้ไปใส่อาหารไทยลื้อ เข้าสายเลี่ยงเมืองเชียงดาวมาแล้ว กม.๔ จะมีทางแยกซ้ายไปยังวัดถ้าเชียงดาว ที่เคยมีพระเกจิอาจารย์สำคัญจำพรรษาอยู่ เมื่อถนนมาบรรจบกับสาย ๑๐๗ ใหม่ วิ่งต่อไปจนถึง กม.๗๘.๕ มีทางแยกซ้ายเข้าถนน ๑๑๗๘ ถนนสายนี้ จะไปยังเมืองงาย ที่ตั้งพระสถูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เลยเมืองงาย ไปหน่อยจะมีทางแยกซ้ายไปยังอำเภอเวียงแหง และหากไม่เลี้ยวตรงต่อไป ก็จะไปถึงทางแยกขวาที่บ้านอรุโณทัย เป็นเส้นทางที่จะขึ้นไปยังยอดดอยอ่างขาง ได้อีกเส้นทางหนึ่ง ปกติผมขึ้นอ่างขางในระยะหลัง ๆ นี้ถนนดีแล้ว ผมจะขึ้นทางถนนสายนี้เพราะจะมีความชัน และคดเคี้ยวน้อยกว่าขึ้นทางด้านหน้าจาก อ.ฝาง ระยะทางจากเชียงดาว ใกล้เคียงกันประมาณ ๘๑ กม. พอวันกลับลงเขาก็จะลงทางด้านหน้ามาบรรจบกับสาย ๑๐๗ ได้เห็นภูมิประเทศที่แปลกตาไม่ซ้ำกัน แต่วันนี้จะไปบ้านวังไผ่ก่อน ไม่ซ้ำเส้นทางเดิม

จึงวิ่งเลยทางแยกไปเมืองงาย ตรงไปตามถนน ๑๐๗ จนถึง กม.๙๕ ทางขวามือริมอ่างเก็บน้ำที่สวยเย็นตา เย็นใจ เป็นที่ตั้งของ "ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก" ควรแก่การพักผ่อนเพราะเดินทางจากเชียงใหม่มาแล้ว ๙๕ กม. แต่ใช้เวลาเกือบสองชั่วโมง เพราะจากแม่แตงถนนจะขึ้นเขา และทางกำลังก่อสร้างด้วย ที่ศูนย์พัฒนาแห่งนี้ เดี๋ยวนี้ทำดีมาก มีร้านแบบเซฟเว่น ให้ซื้อสินค้ากระจุก กระจิกได้ มีร้านอาหารใครจะกินก็ซื้อคูปอง เอาไปซื้ออาหาร เท่าที่สำรวจมี ข้าวแกง ท่าทางดี ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว กาแฟสด ชา อาฆาตเอาไว้ก่อน วันหลังจะมาชิม มีร้านขายของดอยคำ  มีอาหารปลาซื้อไปโยนให้ปลาในอ่างเก็บน้ำ
            จากศูนย์พัฒนา ฯ วิ่งต่อไปพอข้ามสะพานห้วยลึก จะมีตลาดผลไม้ ให้จับจ่ายกัน
            กม. ๑๑๘ หากเลี้ยวขวาเข้าไป จะเข้าไปในไร่องุ่น

            กม. ๑๓๗  ปากทางที่จะเลี้ยวซ้ายขึ้นไปยังดอยอ่างขาง ที่ผมแนะว่าไปอ่างขางลงทางนี้ขึ้นทางเชียงดาว ก่อนเข้าตัวอำเภอฝาง จะมีทางเลี่ยงเมืองไปยังอำเภอแม่อายได้เลย แต่วันนี้ขาไปอยากวิ่งผ่านตลาดฝาง เพราะไม่ได้แวะเข้าไปนานแล้ว มีร้านอาหารอร่อยชวนชิมไว้ร้านหนึ่ง อยู่ทางขวามือเยื้อง ๆ กับวัด ฝางมีที่เที่ยวสำคัญคือ บ่อน้ำร้อนฝาง, อนุสาวรีย์พระเจ้าฝาง และพระนางสามผิว (ทุกวันสีผิว จะเปลี่ยนไปตามเวลา) กำแพงเมืองเก่า ที่เคยปักป้ายเอาไว้ว่า อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตีได้ฝาง เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ ผมเคยเขียนค้านไป เพราะอะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี ที่เมืองพิษณุโลก และทำนายว่าต่อไปจะได้เป็นกษัตริย์ ตอนนั้ พ.ศ.๒๓๑๘  แกอายุ ๗๒ ปี ดังนั้น ๒๓๓๐ แกต้องอายุ ๘๔ ปี ผมเป็นทหารแท้ที่แข็งแรงมากคนหนึ่ง อีกหลายปีกว่าจะอายุ ๘๔ ยังรู้สึกว่าร่างกายทรุดโทรมลงไปแยะ ท่านอะแซอายุ ๘๔ ในยุคที่ไม่มีหมอหัวใจ หอมฟัน ฯ ผมท้าให้แกไม่ต้องขี่ม้าถือทวนให้แกนอนเปลมีคนหามแล้วนอนกอดทวนมาคงตายเสียก่อน ระยะทางจากอังวะมาฝางประมาณ ๓๐๐ กม. ไม่ทราบว่าเขาแก้ที่ป้าย หรือยังว่าเป็นแม่ทัพอีกคนมายึดฝาง เพื่อเตรียมเสบียงไว้รอทัพใหญ่ จาก อ.ฝาง (ก่อนถึงฝาง ๔ กม.มีทางแยกขวาไป อ.แม่สรวยได้) ไปอีก ๒๔ กม.จะถึงตำบลท่าดอนที่อยู่ริมแม่น้ำกก ท่าดอนเจริญมาก มีเรือล่องไปยัง อ.เมืองเชียงรายได้ ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำกกตรงต่อไปฝั่งซ้ายที่ กม.๒๙ เที่ยวกลับน่าแวะคือ สวนส้มธนาทร ชมชิมส้ม ชมสวนที่ส้มออกลูกเต็มต้น ถนนจากฝางไปแม่อาย ท่าตอน เรื่อยไปจนถึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ถนนดี สองเลน ราดยางดีตลอดสาย
            กม.๓๖.๕ มีทางแยกขวาเข้าถนนในหมู่บ้าน วิ่งมุ่งหน้าสู่ภูเขาผ่าน "บ้านหมอกจ๋าม" เลยไปอีกประมาณ ๕ กม.ก็จะถึงชุมชนวังไผ่ หมู่บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำกก บริเวณบ้านสะอาดตา มีพ่อหลวงหรือผู้ใหญ่บ้านที่ยกย่องกันเอง ไม่ใช่ทางราชการตั้งเป็นผู้นำ ชุมชนนี้เป็นชาวไทยลื้อทั้งหมู่บ้าน อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา เมืองยอง มาแม่สาย แล้วมาปักหลักที่ตำบลท่าตอน บ้านวังไผ่ ตั้งเป็นหมู่บ้านมานาน ๓๓ ปีแล้ว (พ.ศ.๒๕๕๐) นับบถือศาสนาพุทธ การศึกษาส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือร้อยละ ๗๐ รองลงมาร้อยละ ๒๐.๕ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมร้อยละ ๙.๕ ประกอบอาชีพการเกษตรแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ รับจ้างและทอผ้า ส่วนที่บ้านหมอกจ๋ามมีอีกอาชีพคือ เจียระไนพลอย ไม่มีโรงเรียน มีศาลาเล็ก ๆ มีครูอาสามาจากเชียงราย จากตำบลเดียวกับครูจูหลิง สอนหนังสือให้เด็ก ไม่มีเงินเดือนประจำ นักเรียนไม่มีสัญชาติถูกต้อง จึงไปเรียนต่อระดับสูง ๆ ไม่ได้ โครงการหลวงได้เข้ามาทำโครงการให้พึ่งพาตนเอง "เน้นเศรษฐกิจพอเพียง" มีเงินทุนจากโครงการวิจัยโครงการหลวง ในหมู่บ้านนี้มีเพียง ๕ หลังคาเรือนที่นับถือศาสนาคริสต์ นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธ เด็ก ๆ รู้จักการเก็บขยะเพื่อคัดเลือกเอาไปขาย ให้พ่อค้าที่มารับซื้อเช่นขวดเป็นต้น ช่วยให้หมู่บ้านสะอาดตา
            ในฤดูแล้ง น้ำในแม่น้ำจะน้อย แต่ริมฝั่งธรรมชาติจะสวยมากเพราะหินก้อนโต ๆ จะโผล่ขึ้นมา มีน้ำไหลผ่าน จะไหลไปทางเชียงราย ฤดูฝนน้ำมาก ไหลเชี่ยวจะล่องแก่งไปเชียงรายได้
            พ่อหลวงคาที่ทำหน้าที่ผู้นำของหมู่บ้าน กำลังพยายามส่งเสริมให้บ้านพักของพวกเขาทำเป็นสะเดย์ เวลานี้ทำได้แล้ว ๗ หลังคาเรือน ผมไปดูแล้วสะอาดมาก มีคนมาพักน้อยเพราะไม่มีใครแนะนำ ผมจึงขอแนะนำชักชวน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวยิ่งดี ที่พักดี สะอาด ธรรมชาติสวยมาก ได้เห็นบ้านช่องแบบไทยลื้อสิบสองปันนา ได้เห็นประเพณีของเขา ได้กินอาหารไทยลื้อแบบสิบสองปันนาแท้ ซึ่งผมกำลังจะไปไปชิม เขารับรองว่าอาหารของเขาคงรสของสิบสองปันนาไว้ทุกประการ บ้านก็แบบไทยลื้อ ความเป็นอยู่ก็ลื้อ อาหารก็ลื้อ
            ท่านที่สนใจจะพัก เช่นไปเที่ยวเชียงใหม่แล้วจะไปเชียงรายต่อ ทดลองไปตามเส้นทางเชียงดาว ฝาง แม่อาย แวะเที่ยวตามทางมาเรื่อย ๆ แล้วมาพักที่ "บ้านวังไผ่" เสียคืนหนึ่งจะสุขใจอย่างยิ่ง การมาพักโทรติดต่อพ่อหลวง "คา" ๐๘๕ ๗๑๓ ๖๐๓๕ ค่าที่พักผมกำหนดราคาให้เขาเอง และบอกเขาว่าต้องทำอาหารแบบที่ทำให้ผมกิน (พวกผมจ่ายเงินให้เขาทำอาหารไทยลื้อให้) มีการแสดงของสาวชาวบ้านด้วย ให้คิดเงินคนละ ๓๐๐ บาท สำหรับพัก ๑ คืน อาหาร ๒ มื้อ เย็นและเช้า หรือใครไม่อยากพัก อยากไปเชียงรายเลย (อ.แม่จัน จะผ่านทางแยกซ้ายขึ้นดอยแม่สลอง) แต่อยากกินอาหารไทยลื้อ ก็ติดต่อพ่อหลวงคา ให้เขาจัดอาหารกลางวันให้ ราคาผมไม่ได้กำหนดไว้ ก็น่าจะไม่เกินหัวละ ๑๐๐ บาท ใกล้ ๆ ทางเข้าหมู่บ้านมีรีสอร์ทไม่ได้เข้าไปดู แต่ผมว่านอนบ้านไทยลื้อดีกว่า ได้บรรยากาศดี ๓๐๐ บาท กิน นอน ชมการแสดงด้วย
            ชาวบ้านเอาดนตรี มีเครื่องดนตรี ๕ ชิ้น มีกลอง ไวโอลิน กีตาร์ อีกชิ้นเรียกไม่ถูกเหมือนระนาด กลองก็ตามแบบของเขาเหมือนวตะโพนใบหนึ่ง กลองเล็กอีกใบหนึ่ง เริ่มบรรเลงตอนที่มาถึง ตอนกินข้าวและฟ้อน มีทั้งเด็กฟ้อน สาวฟ้อน สาว ๆ ไทยลื้อหน้าตาดี รูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว ผิดกับชาวเขาทั่วไป ทางแยกเข้าบ้านหมอกจ๋าม ห่างจากตัวตำบลท่าตอน ๑๖ กม.

            มาชิมอาหารไทยลื้อ สิบสองปันนาดูบ้าง เขารับรองว่าเหมือนที่สิบสองปันนาทุกประการ
            ลาบหมู เขาเลี้ยงหมูเอง ทำอาหารสะอาดน่ากิน ลักษณะลาบเหมือนลาบเมืองเหนือ ลาบสุกมีผักมาให้ทั้งผักสดและผักลวก เจอลาบของเขาจานแรกก็แทบอิ่มด้วยความตะกละ
            แกงผักกาด คล้าย ๆ แกงจอของเชียงใหม่ แต่ไม่มีรสเปรี้ยว รสค่อนข้างจืด พยายามอุ่นร้อน ๆ
            ปลาดุกย่างสิบสองปันนา ปลายัดไส้พริก หอม กระเทียม ขิง ยัดใส่แล้วพับปลาทับไว้ มีผักชี ผักกวางตุ้ง ผักกาดพื้นเมืองใส่จานมาให้
            ยำบุก เอาหัวบุกมาหั่นแบบยำหนังหมู กินเล่น กินจริงดีหมด กินแกล้มยิ่งดี
            ไก่อบ ๑๒ ปันนา มีน้ำซุปมาให้ด้วย รสชาติดี ไก่เนื้อนุ่ม สีขาวน่ากิน เนื้อนอกเกรียม
            ข้าวเกรียบบุก จานนี้สงสัยลืมยกมา เพราะควรยกมาเป็นจานแรก แต่มาทีหลัง ก็หมดจานอีกนั่นแหละ อาหารเติมได้ไม่อั้น กินกันจนพุงห้อย อาหารหมดไปไม่ถึงครึ่ง
            ข้าว อาหาร ของเขาต้องกินกับข้าวนึ่งหรือข้าวเหนียว แต่เขากลัวพวกเรากินไม่อร่อย เขาก็มีข้าวเจ้ามาให้ด้วย ปรากฎว่าคณะของผมไม่มีใครแตะข้าวเจ้า กินแต่ข้าวเหนียวกันทุกคน
            ของหวาน "ข้าวต้มเขาควาย" ห่อข้าวเหนียวที่ปรุงมีรสแล้วเอาไปนึ่ง คล้ายห่อข้าวต้มน้ำวุ้น แต่ห่อใหญ่กว่า ห่อเหมือนเขาควายมีสองเขา ผลไม้มีส้มสายน้ำผึ้ง อย่าเผลอไปกินข้าวต้มเขาควายก่อนกินข้าวเป็นอันขาด เกิดอร่อยขึ้นมาจะหยุดไม่ได้ ของหวานจานนี้ พออิ่มอาหารกันเรียบร้อยแล้ว ขอถุงเขามากวาดจากทุกโต๊ะมาใส่ถุง หิ้วขึ้นรถเอาไปด้วย พรุ่งนี้จะเอาไปแจกเด็ก ตอนไปบ้านชาวเขาเผ่าปะหล่อง ที่บ้านนอแล
            มีโอกาสขอเชิญไปเที่ยว ไปพัก ไปกระจายรายได้กับคนไทยลื้อดูบ้าง แล้วจะติดใจ

........................................................


| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์