ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย



วังวรดิศ

            ผมจะเล่าเรื่อง วังวรดิศ การไปเยี่ยมวังวรดิศนั้น ต้องไปหมู่ เป็นคณะ และต้องขออนุญาตล่วงหน้า ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนสถานที่สำคัญอีกแห่งในบริเวณเดียวกันคือ "ดาบนันทกาวุธหอสมุดดำรงราชานุภาพ"  หอสมุดเปิดทุกวัน ตามวันและเวลาราชการ ไปเยี่ยมชม ไปศึกษาหาความรู้ได้ทุกวัน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น อยากให้หาโอกาสไปเยี่ยมชมให้ได้  การติดต่อขอเข้าเยี่ยมชม "วังวรดิศ"  ต้องไปเป็นหมู่ เป็นคณะ รายละเอียด ขอให้โทรถาม ๐ ๒๒๘๒ ๙๑๑๐ ๐ ๒๒๘๑ ๗๕๗๗ หรือโทรสาร ๐ ๒๒๘๒ ๙๑๑๐  น่าจะทราบรายละเอียด ส่วนหอสมุดไม่ต้องขออนุญาตไปได้ทุกวันราชการ
            วังวรดิศ คือ วังของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งพระองค์คือ
            ผู้ที่ได้รับการยกย่องจาก  UNESCO   ว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๕  และใน พ.ศ.๒๕๔๔   ซึ่งเป็นวันครบรอบปีประสูติ ๑๔๐ ปี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กำหนดวันที่ ๑ ธันวาคม ของทุกปี เป็น วันดำรงราชานุภาพ เพื่อน้อมนำให้อนุชนรำลึกถึงคุณูปการ ที่ทรงมีต่อแผ่นดินไทย
            ได้รับการยกย่อง จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยว่าท่านคือ พระบิดาของมัคคุเทศก์ไทย และถือเอา วันที่ ๒๑ มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันมัคคุเทศก์ไทย ทั้งนี้เพราะพระองค์มีพระอัจฉริภาพทางการท่องเที่ยว ได้กำหนดเส้นทางท่องเที่ยวเอาไว้ ๑๕ เส้นทาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๗
            สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระนามเดิม พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาชุ่ม ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔  ได้ทรงกรม เป็นกรมหมื่น ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙  ทรงกรม เป็นกรมหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ ทรงกรมเป็น กรมพระ ในรัชกาลที่ ๖ และทรงกรมเป็น กรมพระยา ในรัชกาลที่ ๗ ตำแหน่งสำคัญ ๆ ที่ทรงได้รับ
            เป็นราชฑูตพิเศษ คราวรัชกาลที่ ๕ เสด็จยุโรป พ.ศ.๒๔๓๔
            เป็นองค์ปฐมเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ ซึ่งมีผลงานมากมาย เช่น การปฎิรูปการปกครอง โดยแบ่งประเทศออกเป็น ๗๑ จังหวัด และทรงออกตรวจราชการทุกจังหวัด ทั้ง ๆ ที่การคมนาคมในเวลานั้นไม่สะดวก รถไฟพึ่งจะเริ่มมีไปถึงเพียงบางจังหวัด รถยนต์มีแล้ว แต่ถนนดี ๆ ไม่มี และไม่ใช่รถยนต์วิ่งตามถนนดิน จึงต้องออกตรวจราชการโดยไปเรือ ไปช้าง ไปม้า ฯ และผลการออกตรวจราชการ จึงทรงทราบว่า จังหวัดใดมีโบราณสถานสำคัญอะไรบ้าง ทรงปรับปรุงการบริหารราชการให้ทันสมัย ตามอย่างอารยประเทศ ทรงเรียบเรียงหนังสือด้านการปกครองไว้เป็นจำนวนมาก ทรงนิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับโบราณคดี และประวัติศาสตร์ไว้มากมาย ทรงตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจแห่งแรก ที่ห้วยจระเข้ เป็นองค์ปฐมผู้บัญชาการทหารบก (ดำรงพระยศ พลเอก)  ผู้อำนวยการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรัชกาลที่ ๖ ทรงวางศิลาฤกษ์ อธิบดีกรมศึกษาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัน โรงเรียนนายร้อยทหารบก ฯ
            ด้วยพระอัจฉริยภาพทางวิชาการ ทำให้ได้รับการมอบหมายให้ว่าการ ในตำแหน่งสภานายกหอพระสมุด สำหรับพระนคร และเป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ทรงเป็นอภิรัฐมนตรี นายกราชบัญฑิตสภา ทรงบุกเบิกด้านการโบราณคดีไทย ทรงนิพนธ์หนังสือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีไทยไว้เป็นจำนวนมาก จนได้รับการยกย่องว่าเป็น  "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย"
            เส้นทาง  การไปวังวรดิศ และหอสมุดดำรงราชานุภาพ หากไปกันเป็นหมู่คณะ หนทางที่สะดวกที่สุดคือ ไปรถแท็กซี่ หรือรถเมล์ นัดเวลาพบกัน ต้องไปถึงประมาณ ๐๙.๐๐ เพราะจะมีผู้บรรยาย หากเป็นการขอชมวัง วันที่ผมไป "ทายาทระดับเหลน"  กรุณามาบรรยายคือ ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล หากไปวันราชการเพื่อเข้าชม หรือหาความรู้จากห้องสมุด เอารถส่วนตัวไป หากไปเช้า ๆ คงจะพอหาที่จอด ในบริเวณหน้าหอสมุดได้ ผมไปจากบ้านลาดพร้าว ขึ้นทางด่วนไป ๓ เด้ง ลงที่ยมราช แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนหลานหลวง ข้ามสะพาน ตรงไปทางจะไปผ่านฟ้า รถเดินทางเดียว ชิดซ้ายเข้าไว้ ลงสะพานมาสัก ๑๐๐ เมตร ทางเข้าวังด้านหอสมุดอยู่ทางซ้ายมือ ประตูแคบ ต้องสังเกตให้ดี หากเลยไปวนกันอีกไกล

            เมื่อเข้าประตูวังมาแล้ว ทางขวามือคือ ตึกที่เป็นหอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นอาคาร ๓ ชั้น ทรงยุโรป ตั้งอยู่ในบริเวณวังวรดิศ เป็นห้องสมุดที่เก็บรวมรวมหนังสือ ซึ่งพระองค์ทรงสะสมไว้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ประมาณ ๗,๐๐๐ เล่ม เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ หม่อมเจ้าหญิง พูนพิศสมัย ดิศกุล ซึ่งเป็นทายาทองค์หนึ่ง ได้รับมรดกส่วนที่เป็นหนังสือทั้งหมด รวมทั้งสิ่งของมีค่าต่าง ๆ ตลอดจนรูปถ่ายของพระองค์ และได้ประทานให้เป็นสมบัติของชาติ โดยขอให้กรมศิลปากรจัดตั้งเป็นอนุสรณ์แด่พระบิดา
            หอสมุดดำรงราชานุภาพ เดิมจึงเป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมศิลปากร รวมอยู่ในกองวรรณคดี ตั้งอยู่ระหว่างหอพระสมุดวชิรญาณ (ตึกถาวรวัตถุ)  กับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว
            หอสมุดดำรงราชานุภาพ เปิดให้บริการมาตั้งแต่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๙๐ ต่อมาจัดระเบียบส่วนราชการในกรมศิลปากรใหม่ กองวรรณคดีเปลี่ยนชื่อเป็นกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ หอสมุด ฯ จึงเป็นแผนกหนึ่งของกองนี้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ แบ่งส่วนราชการใหม่อีก แยกหอสมุดวชิราวุธ หอสมุดวชิรญาณ และหอสมุดดำรงราชานุภาพ ออกจากกองประวัติศาสตร์ ฯ ไปตั้งเป็นกองสมุดแห่งชาติ และย้ายที่ตั้งมาอยู่ในอาคารสร้างใหม่ในวังวรดิศ แต่คงขึ้นตรงกับแผนกหอสมุด กองหอสมุดแห่งชาติ
            การจัดห้องบริการ เมื่อเข้าไปที่ชั้นหนึ่ง ตรงทางจะขึ้นบันได จะมีโต๊ะตั้งจำหน่ายหนังสือที่นิพนธ์ ชั้นนี้จัดเก็บหนังสือส่วนพระองค์ เรียงใส่ตู้ไว้เป็นหมวดหมู่ ให้บริการในลักษณะแบบชั้นปิด มีบริการหนังสือพิมพ์ และวรสาร ชั้นสอง ห้องแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ บริการหนังสือทั่วไป และหนังสือวิชาการ โดยเน้นในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี การเมือง การปกครอง การท่องเที่ยว ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ชั้นสาม เป็นพิพิธภัณฑ์ และห้องประชุม (ผู้บรรยาย จะบรรยายในห้องนี้ )
            หอสมุดดำรงราชานุภาพ ๑๘๒ ถนนหลานหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพ ฯ ๑๐๑๐๐ เปิดบริการเฉพาะวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ ปิดวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดตามประกาศของทางราชการ
            แต่เดิมเมื่อครั้งรัขกาลที่ ๕ สมเด็จ ฯ ได้ทรงรับพระราชทานวังที่ริมถนนเจริญกรุงตรงเชิงสะพานดำรงสถิตย์ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากพระยาอัพภณตริกามาตย์ (ดิศ) มีศักดิ์เป็นตา ต่อมาเมืองขยายตัว มีการสร้างอาคารขึ้นรอบวังเป็นที่แออัด สมเด็จ ฯ จึงต้องย้ายมาสร้างวังใหม่คือ วังวรดิศในปัจจุบัน (อยู่บริเวณเดียวกันกับหอสมุด ฯ ) วังวรดิศสร้างบนพื้นที่ ๑๐ ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระมารดา อาคารสำคัญในวังวรดิศคือตำหนักที่ประทับเป็นตึกสามชั้น เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบเรอเนสซองส์ ออกแบบโดย ดร.คาร์ล คอหริง ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบวังบางขุนพรหม ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ และพระรามราชนิเวศน์ที่เพชรบุรี ตัวตำหนักสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ ค่าก่อสร้างพระตำหนักคิดเป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับประทานจากอีกหลายพระองค์ ทรงประทับอยู่ที่วังนี้จนถึง พ.ศ.๒๔๗๕ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงถูกจับกุม และต้องเสด็จไปประทับที่ปีนังจนถึง พ.ศ.๒๔๘๕ จึงได้เสด็จกลับมาประทับที่วังนี้ จนสิ้นพระชนม์เมื่อ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๖ พระชันษาได้ ๘๑ ปี ทายาทในราชสกุลดิศกุล ได้ครองวังต่อมา
            ปัจจุบันตำหนักใหญ่ของวังวรดิศ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของ พลตรี ม.ร.ว.สังขดิศ ดิศกุล
                ห้องสำคัญในพระตำหนัก
                    ชั้นล่างมีห้องต่าง ๆ คือ ห้องรับแขก สมเด็จ ฯ ทรงเรียกห้องนี้ว่าห้อง study ใช้เครื่องเรือนแบบยุโรป และมีรูปจำลอง plata  จากของจริงที่อิตาลีตั้งอยู่ ห้องเสวย จัดโต๊ะเสวยแบบฝรั่ง ห้องจีน มีประติมากรรมฮก ลก ซิ่ว ตั้งอยู่ในบานเฟี้ยมอย่างจีนโบราณ และมีชุดรับแขกประดับมุก ฝีมือช่างจีนแผ่นดินใหญ่ ได้รับพระราชทานจากพระพุทธเจ้าหลวง

                    ชั้นบน มีห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ ยังมีฉลองพระองค์บางส่วนตั้งแสดงไว้ มีซุ้มที่ไว้โต๊ะสำหรับแต่งพระองค์ เป็นของที่หาดูที่อื่นได้ยาก ห้องทรงพระอักษร ที่ห้องนี้ยังมีโต๊ะทรงพระอักษรตั้งอยู่ และมีนาฬิกาแขวนที่ "ลานหมด หยุดเดิน" ณ เวลาที่สิ้นพระชนม์ ห้องทรงพระอักษรนี้อยู่ในทำเลดีเป็นพิเศษคือ ติดหน้าต่างกระจกขนาดใหญ่ ได้รับแสงมาก ห้องกลาง ห้องนี้ว่าง ประดับพระฉายาลักษณ์ประทับยืนในกรอบใหญ่ และออกไปยังห้องสุขา ซึ่งมีอ่างทองเหลืองใบโตแทนตุ่มน้ำ มีส้วมโถ

และมีอ่างอาบน้ำ บอกว่านำมาติดตั้งภายหลัง ติดกับห้องกลางคือ ห้องพระ หรือห้องพระบรมอัฐิ เป็นห้องสำคัญมีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะประดิษฐานพระพุทธรูปแบบเชียงแสน และพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๑,๒,๔,๕ และพระอัฐิสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศและเจ้านายในราชสกุลดิศกุล
                    ไปชิมอาหารที่นางเลิ้ง อยู่ไม่ไกลจากวังวรดิศ ร้านนี้ชิมกันมานานคงไม่น้อยกว่าห้าสิบปี เป็นร้านขายเป็ดย่าง ไม่ใช่แบบหนังกรอบ เส้นทางหากมาจากสะพานผ่านฟ้า ตรงเรื่อยมามาผ่านสี่แยกจักรพรรดิ ตรงต่อไปผ่านทางแยกเข้าที่จอดรถวัดโสมนัส ก่อนถึงสะพานข้ามคลองร้านจะอยู่ทางซ้ายมือ ปากซอยนครสวรรค์ ๗ ตรงข้ามกับทางเข้าตลาดนางเลิ้ง (ปากซอย ๖) ส่วนผมไปจากวังวรดิศ ออกจากวังก็เลี้ยวซ้าย วิ่งมาพอถึงสี่แยกหลานหลวงก็เลี้ยวขวามา จะถึงสี่แยกจักรพรรดิให้เลี้ยวขวา จะซ้ำกับเส้นทางแรก (หากไม่เลี้ยวขวาตรงไปจะข้ามสะพานพระราม ๘)
                    เป็ดย่างร้านนี้ขายมานานเต็มที นานจนคนขายเองก็ชักจะจำไม่ค่อยได้แล้ว ส่วนผมเคยกินมาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนนายร้อย เพราะอยู่ไม่ไกลจาก รร.นายร้อย จปร. สมัยที่ผมเรียนคือตรงข้ามสนามมวยราชดำเนิน ร้านยังอยู่ในสภาพเดิม ๒ ห้อง ไม่มีแอร์มีแต่พัดลม มุมขวาตู้แขวนเป็ดย่าง น่ากินเหลือประมาณและยังมีหมูแดง หมูกรอบ เครื่องในเป็ดอีกด้วย ไปชี้เอาในตู้หรือจะบอกเขาว่าเอาเป็ดย่างมาจานโต ๆ  (แต่ไป ๒ คน อย่าไปบอกอย่างนี้เขา) ในตู้มีอะไรเอามาให้หมด จะได้มาทั้งเป็ดย่าง หมูแดง หมูกรกอบ ที่ไม่อยู่ในตู้แต่ต้องสั่งมาซดร้อน ๆ ตอนกินข้าวกับเป็ดย่างคือ "เป็ดตุ๋น" เป็นร้านเป็ดย่างอีกร้านหนึ่งที่คงความอร่อยมากเอาไว้และขายมานานเกินกว่าห้าสิบปี
                    ของหวานไม่มี แต่ไม่ต้องกลัวอด เดินข้ามฟากไปเข้าซอยนครสวรรค์ ๖ ที่ฝั่งตรงกันข้ามคือทางเข้าตลาดนางเลิ้ง ที่มีอาหารสำเร็จรูปทั้งคาว หวาน น่าจะใหญ่ยิ่งกว่าตลาดใด มีโต๊ะอาหาร เป็นโต๊ะยาว นั่งได้เป็นส่วนรวมก็มี โต๊ะชุดเล็ก ๆ นั่งได้ไม่กี่คนในร้านบางร้านก็มี อาหารมีขายมากกว่า ๕๐ แผง เป็นตลาดที่มีอาหารสดขายบ้างเหมือนกันแต่น้อย เมื่อก่อนมีโรงภาพยนตร์ด้วย เดี๋ยวนี้คงไม่มีแล้ว มองไม่เห็น ส่วนตัวตลาดไปคราวนี้ก็สร้างใหม่หลังคาสูง ไม่ใช่หลังคาสังกะสีเหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อน พอเข้าซอย ๖ ไปถึงตัวตลาด หากเลี้ยวซ้ายเป็นทางเดินแคบผ่านตามหน้าร้าน ร้านบะหมี่อร่อยมีป้ายชวนชิมอยู่ทางด้านนี้ และอีกหลายอย่างเช่นเต้าหู้ ส่วนทางมุมขวา ก็เป็นร้านเย็นตาโฟ รสเลิศ เลยร้านเย็นตาโฟไปสัก ๒ - ๓ ร้านคือร้านขนมแห้ง ข้าวตัง แม่ลาวสาคู ไส้หมู แป้งสิบ แม่สอิ้ง ติดกันคือ ร้านไส้กรอกข้าวปลาแนม เชลล์ชวนชิม คงนานกว่าสามสิบปีมาแล้วกระมัง ตรงข้ามไส้กรอกปลาแนมคือแผงขายหัวหมูพะโล้ เจ๊สวย เยื้องกันหอยทอด ขนมครก เยื้องหอยทอดขนมหวาน ประเภททองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้นอร่อยนัก เลยไปอีกนิดขนมหวานโรยด้วยน้ำแข็งใส คณะผมที่กลับมาจากวังวรดิศต่างคนต่างมา มาชุมนุมกันแถวนี้เพื่อกินขนมหวาน เช่นข้าวเหนียวดำ น้ำกะทิ ลูกชิดกับเม็ดบัว ฯ แล้วใส่น้ำกะทิหรือน้ำเชื่อม โรยน้ำแข็งใส หวานเย็น ชื่นใจ นาน ๆ ได้มากินสักที กินเสีย ๒ ชามเลย น้ำตาลขึ้นก็ไม่กลัวแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้กินสมุนไพรเวียดนามที่เคยเล่าให้ฟังที่ชื่อฮว่านง็อก กินเป็นประจำก่อนอาหารเช้าทุกวัน วันละ ๗ ใบ ทางแถวซ้ายของตลบาด ใกล้ ๆ เขียงหมู ลืมชื่อไปแล้ว คือขาหมูพะโล้ที่อร่อยมาก ขายมานานนับสิบปีเช่นกัน วันนี้ไม่มีพุงจะใส่ขาหมู เพราะบรรจุเต็มมาตั้งแต่ร้านเป็ดย่าง
                    ถ้ายังไม่อยากชิมเป็ด หรือกะซื้อเป็ดหิ้วกลับไปกินเป็นมื้อเย็น ขอแนะนำว่าลองเข้าไปแสวงหาอาหารในมื้อกลางวันในตลาดนางเลิ้งชิมดูบ้าง แล้วจะติดใจ สำคัญเห็นอะไรน่าชิมไปหมด

| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์