ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ |

ไหว้พระธาตุประจำวันเกิด (พระธาตุพนม)

            พระธาตุประจำวันเกิดทั้ง  ๗ วันนั้น ไปรวมกันอยู่ในจังหวัดนครพนม แต่ต่างอำเภอกัน ซึ่งผมจะพาท่านไปตามเส้นทางที่ควรจะเดินทางไป ไม่ได้เรียงตามวันอาทิตย์ จันทร์ อังคาร ฯ ได้พาท่านไปไหว้พระธาตุศรีคุณ หรือศรีคูณ ที่อำเภอนาแก มาแล้ว ซึ่งพระธาตุศรีคูณนี้เป็นพระธาตุประจำวันเกิด ของคนเกิดวันอังคาร
            จากนาแก เย็นแล้วผมรีบไปยังอำเภอธาตุพนม เพราะตั้งใจจะค้างที่นี่ ๑ คืน จองที่พักมาตามเอกสารการท่องเที่ยว ดูรายชื่อแล้วน่าจะดี ราคาไม่แพง เป็นรีสอร์ทอยู่ก่อนถึงตัวอำเภอธาตุพนม ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขง ป้ายอยู่ริมถนนต้องเลี้ยวขวาเข้าไป พักแล้วผิดหวังมาก คือ ไม่สะดวก สถานที่ไม่ดี ราคาไม่สมกับสถานที่ คือ แพงไป แต่ไม่เป็นไรเพราะพักคืนเดียว เข้าที่พักแล้วก็วนไปหาร้านอาหารอร่อยที่ในตัวอำเภอธาตุพนม และออกจะหายาก เพราะเริ่มค่ำมืดแล้ว แต่ก็หาจนได้ ร้านธาตุพนมโภชนา เดี๋ยวผมจะกลับเอามาเล่าให้ฟัง
            รุ่งขึ้นเช้า ออกจากที่พักเช็คเอาท์เลยทีเดียว ไม่ย้อนกลับมาอีก ไปหาอาหารเช้าเสียก่อน โดยไปที่ตลาดสด ซึ่งอยู่ห่างจากหน้าวัดธาตุพนมประมาณสัก ๑๐๐ เมตร เช้า ๆ มีนัดออกมานอกตลาดส่วนมากจะเป็นอาหารสด ผักสด และรถเข็นขายอาหารต่าง ๆ คงขายแต่ตอนช่วงเช้าเป็นส่วนใหญ่ ทราบได้จากรถเข็นขายปาท่องโก๋ นี่แหละ เพราะไปถึงตอนประมาณ ๐๘.๐๐ น. รถเข็นปาท่องโก๋ กำลังทำความสะอาดรถ มีแต่กะทะที่ยังใส่น้ำมันอยู่วางไว้ให้ชม ส่วนปาท่องโก๋นั้นไม่มีเหลือ ถามไถ่ดูได้ความว่าต้องมาก่อนแปดโมงเช้า เป็นได้กินแน่ เดินเข้าไปในตลาดสด ผมไปเมืองไหน หากได้ค้างคืนไม่ว่าจะเป็นเมือง หรือเป็นแค่อำเภอยามเช้า จะต้องไปเดินตลาดสดให้ได้ ก่อนหรือหลังอาหารเช้าเท่านั้น มิเช่นนั้นเหมือนไปไม่ถึงเมืองของเขา ชมตลาด ชมวัด ชมเมือง ที่เป็นกิจวัตรในการไปเที่ยว ปากทางเข้าตลาดสดมีแผงขายขนมครก ท่าทางน่ากิน ฝากเอาไว้ก่อน เดินเลยเข้าไปกลางตลาด มีร้านขายกาแฟชนิดท้องถิ่นแท้ ๆ มีอยู่ ๒ ร้าน ผมเลือกเอาร้านทางซ้ายเลยทีเดียว มีโต๊ะอยู่ ๒ - ๓ ตัว สั่งกาแฟร้อนใส่นมมา ๒ แก้ว แล้วให้เลขารีบเดินไปซื้อขนมครก ที่หมายตาเอาไว้ที่หน้าตลาดมาชิม เดาว่าอร่อยแน่ ชักช้าขนมครกจะหมดอีก
            กาแฟร้อนใส่นมข้น โบราณแท้ ชงแบบโบราณคือ ใช้ถุงกาแฟที่เรียกว่า ถุงนมยายมาชงให้ได้กินกาแฟรสโบราณสมใจ ตามด้วยขนมครก อร่อยถูกใจอีก จบอาหารเช้า จากนั้นเดินไปในวัดเพื่อนมัสการพระธาตุพนม
            พระธาตุพนม  ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม
            ประวัติ เป็นเจดีย์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ในภาคอีสาน มีทำเลที่ตั้งเป็นโคกสูงกว่าบริเวณอื่น จึงเรียกว่า ภูกำพร้า
            ตามตำนานอุรังคธาตุ เล่าไว้ว่า พระธาตุพนมสร้างอยู่ในบริเวณภูกำพร้า ในผืนแผ่นดินของอาณาจักรโคตรบูร เมื่อ พ.ศ.๘ โดยมีท้าวพญาทั้ง ๕ เป็นประธานในการก่อสร้าง ท้าวพญาทั้ง ๕ นี้ เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ
                ๑. พญาจุลณีพรหมฑัต  ครองแคว้นจุลณี เป็นผู้ก่อด้านตะวันออก
                ๒. พญาอินทปัตนคร  ครองเมืองอินทปัตนคร หรือแคว้นกัมพูชาโบราณ เป็นผู้ก่อด้านใต้
                ๓. พญาคำแดง  ครองเมืองหนองหานน้อย ซึ่งปัจจุบันคือ อำเภอหนองหาน อุดรธานี ก่อด้านตะวันตก
                ๔. พญานันทเสน  ครองเมืองศรีดโคตรบูร  เป็นผู้ก่อด้านเหนือ
            นอกจากนี้ยังมีพญาสุวรรณพิงคาร ผู้ครองเมืองหนองหานหลวง คือ จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน  เป็นผู้ก่อรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี ตั้งแต่ปี พ.ศ."๘"  นับถึงวันนี้เป็นเวลา ๒๕๔๐ ปี พระธาตุพนมผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง และพังทลายลงมาจนต้องสร้างหใม่ ๑ ครั้ง แต่ความศรัทธาเชื่อของประชาชนไม่ว่าไทย หรือ ลาว กลับมีอย่างต่อเนื่อง อย่างแรงกล้า จนมาสืบสาวราวเรื่องย้อนหลังสู่อดีตแห่งอาณาจักรศรีโคตรบูร อันรุ่งเรืองได้อย่างชัดเจน กล่าวได้ว่า องค์พระธาตุพนมเป็นสัญญลักษณ์ ของอาณาจักรศรีโคตรบูร
            ลักษณะพระธาตุองค์เดิม ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละ ๒ วา สูง ๒ วา ข้างในเป็นโพรงมีประตูปิดทั้ง ๔ ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้อัญเชิญ พระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปเถระ นำมาจากอินเดีย โดยยังไม่ปิดประตูองค์พระธาตุให้ปิดสนิท  มาฐาปนาให้สมบูรณ์ปิดประตูกันเมื่อ พ.ศ.๕๐๐
            อายุของพระธาตุพนม ที่สันนิษฐานกันไว้คือ
            สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระราชวิจารณ์ว่า พระธาตุสร้างก่อนสมัยขอม อยู่ในสมัยฟูนัน
            เลอ เมย์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ได้ทำการศึกษาศิลปกรรมที่ธาตุพนม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ ให้ความเห็นว่า พระธาตุพนมควรจะถูกสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หรือ ๑๒ อยู่ร่วมสมัยไพรกเม็ง ของอาณาจักรเจนละ และทวารวดีในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หรือทวารวดีในอีสาน
            ศาสตราจารย์ บวส เชอริเย่ นักโบราณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กำหนดว่าจะอยู่ในพุทธสตวรรษที่ ๑๕ โดยดูจากอายุของภาพสลักอิฐ
            อาจารย์ อนุวิทย์  เจริญศุภกุล  นักโบราณคดีไทย ได้ให้ความเห็นโดยดูจากการเรียงอิฐ การก่อสร้างองค์พระธาตุพนม มีลักษณะเหมือนปราสาทเนินกู่ ปราสาทเมืองแขก ปราสาทอิฐ ปราสาทหินพนมรุ้ง ปรางค์แขกที่ลพบุรี ซึ่งปราสาทต่า งๆ เหล่านี้นักโบราณคดี กำหนดอายุไว้ว่าสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ แต่จะไม่ลงไปเกินพุทธศตวรรษที่ ๑๓
            ประวัติการบูรณะ ก่อสร้างองค์พระธาตุพนมทำกันหลายครั้ง สรุปได้ดังนี้
                ครั้งที่ ๑   ในราว พ.ศ.๕๐๐  โดยมีพญาสุมิตรธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นพระประธานในการบูรณะ เติมยอดพระธาตุองค์เดิมขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุจากที่บรรจุไว้ในอุดมงค์เดิม ที่บรรจุไว้ตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปะเถระ นำไปประดิษฐานใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่ ๒ ซึ่งครั้งนี้ได้มีการปิดประตูองค์พระธาตุอย่างมิดชิด ถือว่าได้ฐานปนาโดยสมบูรณ์
                การบูรณะครั้งที่ ๒  เมื่อ พ.ศ.๒๑๕๗  โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตรบูร แห่งเมืองศรีโคตรบูร มาเป็นประธาน ได้สร้างกำแพงแก้วรอบองค์พระธาตุพนม พร้อมทั้งซุ้มประตูและเจดีย์หอข้าว
                การบูรณะครั้งที่ ๓  พ.ศ.๒๒๓๖ - ๒๒๔๕  ครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญ และมีการจารึกเอาไว้ โดยพระครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งเมืองนครเวียงจันทน์ เป็นประธาน ได้ใช้อิฐต่อเติมขึ้นไปจนสูง ๔๗ เมตร ปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้วมรกต และอัญมณีต่าง ๆ ไว้ และจารึกพระธาตุพนมว่า "ธาตุประนม"
                การบูรณะครั้งที่ ๔  ใน พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๖  โดยมีเจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทน์เป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่ ด้วยทองคำประดับด้วยเพชรพลอยสีต่าง ๆ ได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๖  แต่ฉัตรนี้ได้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุพนม เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗
                การบูรณะครั้งที่ ๕  ใน พ.ศ.๒๔๔๔  โดยมีพระครูวิโรจนรัตโนบล  วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุใหม่ ลงรัก ปิดทอง ซ่อมแซมกำแพงชั้นใน ชั้นนอก
                การบูรณะครั้งที่ ๖  ใน พ.ศ.๒๔๘๓ - ๒๔๘๔  ในสมัยรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ซึ่งมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี หลวงวิจิตรวาทการเป็นหัวหน้า ได้สร้างเสริมครอบพระธาตุองค์เดิมด้วยคอนกรีต เสริมเหล็กตั้งแต่ชั้นที่ ๓ ขึ้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร
            เมื่อบูรณะจนยกขึ้นสูงถึง ๕๗ เมตร แล้ว ก็จะมีฐานกว้างด้านละ ๑๖ เมตร สูงจากพื้นดินถึงบัวล่าง ๘ เมตร เป็นของเก่าโบราณแต่ดั้งเดิม ประดับด้วยแผ่นอิฐสีแดง จำหลักลายวิจิตรงดงามทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปของกษัตริย์โบราณเกี่ยวพันด้วยรูปสัตว์ และกนกลายก้านขดลายในผักกูดตรงกลาง
            ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๓  รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยกฐานะของวัดพระธาตุพนม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
            การพังทลายของพระธาตุพนมเมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘  ได้เกิดฝนตกพรำติดต่อกันหลายวัน ลางครั้งก็ตกหนัก และมีลมแรงพัดกรรโชกด้วย จึงเป็นผลให้องค์พระธาตุพนมที่เก่าแก่ และผุพังอยู่บ้างแล้ว ได้พังทลายลงมาทั้งองค์เมื่อเวลา ๑๗.๐๐ ของวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘  ทับวัสดุก่อสร้างบริเวณนั้นลงอย่างยับเยินเลยทีเดียว ได้แก่ กำแพงแก้วชั้นที่ ๑ - ๒  หอพระเหนือใต้เจดีย์ หอบูชาข้าวพระ ศาลาการเปรียญ และพระวิหารหอพระแก้ว แม้จะมีการบูรณะหลายครั้งแต่ได้ต่อเติมก้นขึ้นไป แต่ไม่ได้สร้างฐานดั้งเดิมเสียใหม่ คือ ไม่ได้สร้างฐานชั้นที่ ๑ ใหม่ ทำให้เมื่อฝนตกหนักน้ำซึมเข้าไป ฐานไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงพังทลายลงมา
            การพังทลายลงมานั้น ในสมัยรัฐบาลที่มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช  เป็นนายกรัฐมนตรี และได้สั่งการให้มีการบูรณะขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว การบูรณะสร้างใหม่ครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ปีที่พังลงมาคือ พ.ศ.๒๕๑๘  ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์มีการสมโภชในปี พ.ศ.๒๕๒๒ สมัยที่ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการสร้างขึ้นใหม่ทั้งองค์ โดยรักษาโครงสร้างขนาดรูปแบบ และลวดลายจำหลักต่าง ๆ ให้เหมือนองค์เดิม สร้างในที่เดิม สูงเท่าองค์เดิม คือ ๕๗ เมตร แต่ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย
            พระธาตุพนมองค์ใหม่ สร้างครอบฐานพระธาตุองค์เดิม ซึ่งยังเหลืออยู่ประมาณ ๖ เมตรเศษ คราวนี้สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ข้างในกลวงเป็นโพรงมีคานยึด ๕ แห่ง มีกรุสำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุ ๑ กรุ และมีกรุสำหรับบรรจุสิ่งของที่พบเมื่อพระธาตุพังทลายลงมา ๘ กรุ
            พระอุรังคธาตุนั้น ไม่ได้พบในวันที่พระธาตุพังทลายลงมา แต่มาพบเอาหลังจากวันที่พังทลายลงมาแล้วถึง ๖๒ วัน คือ มาพบเอาเมื่อวันที่ ๑๗ - ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘  จึงพบพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในผอบแก้ว มีหลักฐานคล้ายรูปหัวใจ สีขาวแวววาว คล้ายแก้วผลึก มีน้ำมันจันทร์หล่อเลี้ยงและมีพระอุรังคธาตุบรรจุอยู่ ๘ องค์
            วันที่ ๒๑ - ๒๒ มีนาคม ๒๕๒๒  มีพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ โดยมีพิธีดังนี้
            วันแรก ทำพิธีแห่พระอุรังคธาตุ
            วันที่สอง  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานในการยกฉัตรพระธาตุ
            วันที่สาม  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ เสด็จมาทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ
            งานนมัสการพระธาตุพนม  ซึ่งเป็นประเพณีสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน จะจัดในวันเพ็ญ เดือน ๓ ของทุกปี  โดยถือเอาวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓  เป็นวันแรกของงาน และไปสิ้นสุดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓
            โบราณวัตถุ  คือ มรดกทางวัฒนธรรม ที่วัดธาตุพนม มีที่สำคัญคือ
                กลองมโหระทึก  ตั้งอยู่ภายในศูนย์วัฒนธรรมวัดพระธาตุพนม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๑ ซม. ลวดลายของกลองมโหระทึกใบนี้ เหมือนที่พบในประเทศเวียดนาม อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑ - ๕
                มีการค้นพบอีก ๑ ใบ ในท้องที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม  ขณะนี้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่น มีอายุ และขนาดไล่เลี่ยกับใบที่พบที่ธาตุพนม
                ใบเสมาหินทราย ชุมชนชาวพุทธที่ใช้ใบเสมา เป็นกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณสองฟากลำน้ำก่ำ อยู่ในพื้นที่เขตอำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม ลักษณะคล้ายใบหอกป้าน มีลายสลักรูปสันนูน แหล่งโบราณคดี ที่พบที่บ้านทู้ บ้านโปร่ง บ้านหลักศิลา เป็นต้น
                เสาอินทขีล  ทำจากศิลาทราย ในตำนานกล่าวไว้ว่า ท้าวพญาทั้ง ๕ ที่ริเริ่มสร้างองค์พระธาตุพนมนั้น ได้ให้คนไปนำมาจากที่ต่าง ๆ รวมกัน ๔ ต้น แล้วฝังไว้ในบริเวณรอบ ๆ พระธาตุทั้ง ๔ มุม ดังนี้
                    ต้นที่ ๑  นำมาจากเมืองกุสินารา  ฝังไว้ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือ และสร้างรูปอัจจมุขี ไว้ที่โคนเสา ๑ ตัว
                    ต้นที่ ๒  นำมาจากเมืองพาราณสี ฝังไว้ที่มุมตะวันออกเฉียงใต้  และสร้างรูปอัจจมุขี ไว้ที่โคนเสา ๑ ตัว
                    ต้นที่ ๓  นำมาจากเมืองลังกา  ฝังไว้ที่มุมตะวันตกเฉียงใต้
                    ต้นที่ ๔  นำมาจากเมืองตักศิลา ฝังไว้ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือ
                    ยังทีโบราณวัตถุที่สำคัญอีก คือ
                ประติมากรรมรูปม้า  ตามตำนานกล่าวาถึงม้าพลาหก  และม้าอาชาไนย ที่สลักจากศิลา พบที่วัดพระธาตุพนม เวลานี้อยู่ข้างบันไดทางขึ้นวิหารหอพระแก้ว ม้าดังกล่าวมีรูปแบบศิลปกรรมเฉพาะถิ่นต่างไปจากชุมชนโบราณแห่งอื่น เรียกว่าแบบนี้มีเฉพาะสองตัวนี้เท่านั้น
                ประติมากรรมรูปสิงห์  หรืออัจจมุขี พบที่วัดธาตุพนม ที่โคนเสาอินทขีล ต้นที่ ๑ และ ๒ เป็นศิลปกรรมเฉพาะถิ่น ไม่เคยพบในชุมชนโบราณแห่งอื่น ๆ
                นอกจากนี้ยังพบเหรียญเงินฟูนัน  เป็นเหรียญโลหะเล็ก ๆ พบบริเวณกำแพงแก้ว และเหรียญฟูนันแบบเดียวกันนี้ ได้พบที่เวียดนาม ชายฝั่งทะเล อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๘ ช่วงสมัยลพบุรี
                และยังพบพระพิมพ์ดินเผา อีกเป็นจำนวนมาก
            พระธาตุพนม เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีวอก และเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันอาทิตย์ มีพระคาถาบูชาชื่อ คาถาพระนารายณ์แปลงรูป ใช้ทางเมตตามหานิยม ให้สวดภาวนาวันละ ๖ จบ ดังนี้ " อะ วิต สุ นุต สา นุส ติ "
            ใครไปนมัสการซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้เกิดปีวอก หรือเกิดวันอาทิตย์ก็ตาม เชื่อว่าจะได้รับอานิสงฆ์บุญ บารมีและผู้คนให้ความเคารพนับถือ
            สิ่งของบูชาพระธาตุ  ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีแดง ธูป ๖ ดอก เทียน ๒ เล่ม

            ไปชิมอาหาร หากเดินออกจากวัดธาตุพนมตรงไปตามถนนสัก ๑๐๐ เมตร จะพบประตูโขง เลยประตูโขงไปอีกสัก ๑๐๐ เมตร สองฟากถนนจะมีร้านหลายร้านขายกาละแม ซึ่งเป็นของหวานที่มีชื่อเสียงของธาตุพนม ถนนจะไปชนกับถนนเลียบแม่น้ำโขง
            แต่หากไปแค่ประตูโขง แล้วเลี้ยวซ้ายไปสัก ๕๐ เมตร ร้านหัวมุมเลยทีเดียว เป็นร้านเก่แก่ ผมพบร้านนี้ตอนค่ำแล้ว เลือกเพราะป้ายร้านเก่าดี ปรากฎว่า ไม่ผิดหวัง คุยกันกับสี่สาวในร้านล้วนแต่เป็นสาวใหญ่ทั้งนั้น บอกว้าร้านตั้งมาก่อนรุ่นเขา ซึ่งเป็นรุ่นลูก และสาวที่เป็นรุ่นลูกสาวคนหนึ่งบอกว่า อายุขึ้นเลข ๕ แสดงว่าร้านนี้ตั้งมานานแล้ว
            อาหารที่สั่งมาชิม มีอาหารท้องถิ่นธาตุพนมอีกอย่างที่อร่อย จนต้องซื้อที่เขาใส่ขวดไว้กลับมา คือ เค็มสัปปะรด ซึ่งจะต้องเอามาหลน ทำจากสัปปะรดหมักกับหมู หรือปลา และเกลือไว้ ๓ เดือน จึงจะเอามาหลน วิธีหลนก็คล้ายกับหลนเต้าเจี้ยว ใช้เค็มสัปปะรดสัก ๒ ช้อน ต่อกะทิ ๑ ชาม ไม่ต้องใส่น้ำปลาอีก ที่ร้านธาตุพนมโภชนาใส่ขวดไว้ในตู้ ขายขวดละ ๑๐๐ - ๑๕๐ บาท  จัดผักใส่จานมา สดน่ากินนัก
            ขาหมูยัดไส้  แนมด้วยขิงดอง มีผักคือ แตงกวา มะเขือเทศ ยัดไส้ มีไข่แดง จิ้มจิ๊กโฉ่ เคี้ยวมันพิลึก
            ลาบปลาโจก  อยากกินมาตั้งแต่วันกินที่ร้าน ต้อย-ตุ๊ ที่กุมภวาปี แต่เขาไม่มีปลาโจก วันนี้ได้กินสมใจ
            ผัดเผ็ดหมูป่า  หมูเขามีวิธีเอามันออก จึงแห้ง หมูป่าแท้จากฝั่งลาว มีพริกไทยอ่อน พริกหยวก รสหวานนิด ๆ เคี้ยวหนังหมูกรุบ ๆ เพลินดี
            ต้มยำปลาบึก มากินริมโขงทั้งที ต้องได้ชิมปลาบึกขนานแท้ จึงสั่งต้มยำ ปลาบึกแม่น้ำโขงหนังจะหนา เคี้ยวหนังกรุบ ๆ เหมือนเคี้ยวหนังหมูป่า นั่นแหละ
            ของหวานไม่มี มีแต่กะละแม ของฝากมีชื่อของธาตุพนม
            อยู่กรุงเทพ ฯ ขอแถมเอาไว้อีกร้าน เป็นร้านขนมเปี๊ยะที่มีโรงงานใหญ่โต โรงงานอยู่นครปฐม แต่ร้านขนม เจ้านี้อยู่ที่ใกล้ ๆ กระทรวงมหาดไทย เส้นทางที่ไม่ผิดทิศทางแน่ คือ ไปตามถนนราชดำเนิน ผ่านสนามหลวง ผ่านกระทรวงกลาโหม พอพ้นหน้ากระทรวงกลาโหมก็เลี้ยวซ้ายทันที วิ่งมาข้ามสะพาน ลงสะพานแล้วผ่านสี่แยกเชิงสะพานไป ร้านจะอยู่ซ้ายมือ ป้ายที่เห็นชัดแต่ไกลคือ ป้ายร้านแว่นตาดำรงค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน อาศัยจอดหน้าร้านลงไปซื้อ ขนมเปี๊ยะกินได้ ขนมของเขาหากล่องแบบศิลปไทยเดิม และกล่องเมื่อกินขนมหมดแล้ว ยังนำมาทำภาพสามมิติได้อีก ขนมเปี๊ยะของเขาหากกล่องใหญ่ ในกล่องเดียวกันจะมีไส้ทุเรียน ไส้งาดำ ไส้ถั่ว อบควันเทียนไส้ชาเขียว ลำไย ไส้เผือก ชอคโกแลท และอีกหลายไส้
            มีขนมเปี๊ยะตุ๊กตาทำเป็นรูป ช้าง หมู ปลา เด็กชอบนัก อร่อยทุกไส้ กล่องเล็กมี ๑๐ ชิ้น กล่องใหญ่ ๒๐ ชิ้น และยังมีน้ำพริกมะยม น้ำพริกกุ้ง กล้วนกรอบ อร่อยทุกอย่าง ตามห้างสรรพสินค้าในเครือเซ็นทรัล ก็มีขาย และอีกหลายแห่ง ลองชิมขนมเปี๊ยะดู แล้วจะติดใจ

............................................................


| ย้อนกลับ | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์