ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ

                ผมเคยเล่าถึงพระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ  ซึ่งอยู่บนเขาธงชัย วัดทางสาย ซึ่งเขาธงชัยนี้อยู่ริมหาดบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ผมได้ไปอีกหากจำไม่ผิดก็คงจะเป็นครั้งที่ ๔ แล้ว คือ ไปกันตั้งแต่เริ่มสร้าง จนเดี๋ยวนี้สร้างเสร็จเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว จึงขอกลับเอามาเล่าอีกที และเปลี่ยนสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พักใหม่ ไม่ได้พักที่เคยพัก ซึ่งที่พักแห่งใหม่ที่พักในคราวนี้เป็นรีสอร์ท ที่ผมอยากจะเรียกว่ามี ๒ บรรยากาศ ส่วนเป็นอย่างไรเดี๋ยวผมจะกลับมาเล่าให้ฟัง
        ผมออกเดินทางจากบ้านลาดพร้าว ไปกันหลายคนเลยไม่ต้องขับรถเอง เช่ารถตู้ไปก็สบายดีและไม่ได้มุ่งค้นหาร้านอาหารตามทาง จึงไม่มีห่วงในการทำหน้าที่เมื่อเวลาเดินทาง ซึ่งปกติต้องขับไป เที่ยวไป หาแหล่งกินไปด้วย คราวนี้นั่งคุยกันสบายไป จุดแรกที่แวะคือ วัดห้วยมงคล หากเราไปหัวหินแต่แยกเข้าบายพาสที่ก่อนจะข้ามทางรถไฟไปยังชะอำ ไปตามถนนสายบายพาส ซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ เหมือนกัน วิ่งเรื่อยไปจนพบสี่แยก หากเราเลี้ยวซ้ายจะเข้าตลาดหัวหิน แต่เราจะไปวัดห้วยมงคลเราก็เลี้ยวขวา วิ่งไปประมาณ ๔ กม. เลี้ยวซ้ายไปอีกสัก ๔ กม. ก็จะถึงวัดห้วยมงคล ซึ่งบัดนี้การสร้าง "หลวงพ่อทวด"  ที่บอกว่าเป็นองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (ผมว่าใหญ่ที่สุดในโลกด้วย)  ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว คงเหลือการตกแต่งภายในบริเวณวัด เช่น ถนนลานจอดรถเป็นต้นแต่ก็ถือว่า เรียบร้อย ๙๐%  เมื่อถึงบริเวณวัดเลี้ยวขวาเข้าไปแล้วก็เห็นองค์หลวงพ่อทวด ใหญ่โตงดงามยิ่งนัก ทางด้านซ้ายมือของลานคือ ที่จำหน่ายวัตถุมงคล และมีโรงทานด้วยแต่ที่ผมไปอาจจะยังไม่ถึงเวลาหรือ จะเลี้ยงเฉพาะวันเทศกาลก็ไม่ทราบ จึงไม่มีการเลี้ยงฟรี ด้านหลังของศาลานี้เป็นสุขาที่สะอาดแต่ไม่เป็นสากล ได้นมัสการหลวงพ่อทวด สมใจแล้วก็ออกเดินทางกลับเข้ามาในตลาดหัวหิน ซึ่งจะมาโผล่ตรงสี่แยก หากเลี้ยวขวาที่สี่แยกนี้ไปนิดเดียว ทางขวาคือ ตลาดฉัตรไชย เลยหน้าตลาดไปเป็นสี่แยกอีก เลี้ยวซ้ายลงทะเล และจะผ่านสี่แยกที่หัวมุมขวาบนจะมีร้านกาแฟ ในร้านกาแฟ  ต่างเวลากันละก็อาหารที่ขายจะต่างกันไปด้วย ที่ผมชวนชิมเอาไว้คือ  "ข้าวแกง อร่อยสุด ๆ คือ แพนง" แผงหน้าร้านสายหมด ประมาณสองโมงเช้าเศษ ๆ ข้าวแกงอร่อยเจ้านี้หมดแล้ว ยามเช้ายังมีรถเข็น ข้าวมันไก่แม่พูล ข้าวเลือดหมู และยังมีอีกหลายเจ้า แต่ผมชวนชิมเอาไว้ ๔ เจ้า แต่หากใครชอบกาแฟแล้วแนมด้วยปาท่องโก๋ ต้องเดินข้ามฟากไปซื้อที่ฝั่งตรงข้าม จะได้ของอร่อยมาชิม พอมื้อเที่ยงพวกกลุ่มขายเช้าที่หมดหาบไปแล้ว ก็จะมีอาหารอื่นหมุนมาขายแทน ตกมื้อค่ำมาอีกพวกหนึ่งอีกเรียกว่า รอบร้านกาแฟ แทบจะเกือบยี่สิบสี่ชั่วโมง มีอาหารมาหมุนเวียนขาย นั่งกินกันในร้านกาแฟ ไม่สั่งกาแฟเขาชิมก็ไม่ว่ากัน แต่ใครจะไปอดน้ำอยู่ได้ อย่างน้อยก็ต้องสั่งน้ำมาดื่ม สีวนตรงสี่แยกตรงหัวมุมซ้ายล่างเช้า สาย บ่ายค่ำ ก็มีรถเข็นอาหารมาตั้งขายตลอดเวลา และที่กระโดดข้ามไปไม่ได้สำหรับนักชิม คือ อยู่ตรงหัวมุมซ้ายบน ซึ่งมื้อเที่ยงวันนี้พอกลับมาจากวัดห้วยมงคล คณะของผมก็มาแวะชิมอาหารกลางวันกัน ร้านนี้เก่าแก่ขายมาเกิน ๔๐ ปี ผมนับแค่สมัยผมเป็นนักเรียนเสนาธิการทหารบก ตอนนั้นโรงเรียนเสนาธิการ ตั้งอยู่ที่สวนสนประดิพัทธ์ ซึ่งมีนักเรียนเสธ. ฯ มากิน มานอน มาเรียนกันที่นี่เพียง ๕ รุ่น ก็ย้ายกลับไปตั้งอยู่ที่กรุงเทพ ฯ สมัยเมื่อสี่สิบปีมาแล้ว กับวันนี้ฝีมือแทบจะไม่แตกต่างกันเลย ตัวแกซี้ไปกว่าสิบปีแล้ว ร้านในปัจจุบันเป็นฝีมือลูกสาวคุมร้านทำอาหารถ่ายทอดฝีมือพ่อเอาไว้ ส่วนลูกชายแยกไปเปิดอีกร้านหนึ่งอยู่เลยธนาคารกรุงไทยไป อยู่ทางขวามือฝีมือลูกสะใภ้ จานเด็ดที่ต้องถือเป็นต้นตำรับ คือ ผัดคะน้าปลาเค็ม ไม่เหมือนใครเข้าใจว่าจะทอดปลาเค็มก่อน แล้วคงจะแกะเอาแต่เนื้อแล้วเอาคะน้าผัด ใส่ปลาเค็มผัดตามคลุกเคล้าลงไป รสปลาเค็มจะไปปรุงรสให้เสร็จ ไปชิมวันนี้คงต้องสั่งสูตรเดิมเอาไว้ก่อน คือ คะน้าปลาเค็ม แก่งป่า จะเป็นแกงป่ากุ้ง หรือปลาอร่อยทั้งนั้น เป็นแกงป่าที่เผ็ดนิด ๆ รสเข้มข้น ราดข้าวแล้วตามด้วย ไข่เจียวหอยนางรม อีกจานอย่าลืมสั่ง คือ หอยจ๊อ ลูกโต กรอบนอก นุ่มใน
            ตรงสี่แยก ที่เลี้ยวซ็ายมายังร้านกาแฟ แต่หากเลี้ยวขวาถนนทั้งสายตั้งแต่ยามเย็น จะแปรสภาพเป็นตลาดกลางคืน อาหารอร่อยมีมากมาย บางร้านอร่อยแต่ต้องซื้อไปกินที่อื่น เช่น โรตี ที่อร่อยจนถึงขั้นเข้าคิวรอ อยู่ติดกับอ่างขายขาหมู อิสลามขนานแท้คือ โรตี อิสลามไม่กินหมู แต่ตั้งกะทะทำโรตีขายอยู่ติดกับขาหมูเจ้าอร่อยเรียกว่า ไม่ตั้งกรรมการสมานฉันท์ อิสลามกับพุทธก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ไม่เคยได้ข่าวว่าโรตี กับขาหมูตีกันเลย ต้องถ่ายภาพไปออก ที.วี. ให้ทางใต้ชมกัน และเยื้อง ๆ โรตีก็คือ "ไอศคริม ขนาดต้องเล่นเก้าอี้ดนตรี เพราะมีโต๊ะอยู่ ๕ - ๖ ตัว ซื้อโรตีแล้วไปนั่งกินไอศคริม มีไอศคริมกะทิ รสหวานมัน ไอศคริมผลไม้ เช่น น้อยหน่า ทุเรียน ไอษคริมแบบชื่อฝรั่ง รัมเรซิน ช็อคโกแลต ฯลฯ  มีเครื่องใส่ไอศคริม เช่น ข้าวเหนียว ลูกตาลเชื่อม มะยมเชื่อม กล้วยเชื่อม เป็นต้น  และหากเดินร้านไอศคริมไปจนถึงสี่แยกที่มุมขวา จะมีรถเข็นขายกะลอจี๊ ที่อร่อยมาก และแปลกไม่เหมือนใคร เป็นลูกผสมว่างั้นเถอะ คือ กะลอจี๊ คงใช้แป้งทอดน้ำมาทากระทะเป็นแผ่นกลม ๆ เช่น กะลอจี๊ทั่ว ๆ ไป แต่ใส่ใส้มีใส้เผือก ใส้ถั่ว หากผมไปกันสองคน ปู่ ย่า พักหัวหินกี่วันเป็นมาต่อไอศคริม โรตี กะลอจี๊ เท่าจำนวนคืนที่พัก และยังมีร้านไอศคริมชนิดราคาสูง แต่อร่อยมาอีกร้าน ไปร้านนี้ต้องเลยแยกตลาดโต้รุ่งไปอีกสี่แยกหนึ่ง ซึ่งหากเลี้ยวซ้ายมายังโรงแรมโซฟิเทล ร้านอยู่ขวามือ ห้องเดียวเล็ก ๆ แน่นตลอดเวลา บางทีคนชิมไม่รอโต๊ะว่างรวมทั้งผมด้วย สั่งมายืนซดกันในร้ายนั่นแหละ และสี่แยกที่มาร้านไอศคริมนี้ หากเลี้ยวขวา ก็จะไปยังสถานีรถไฟเลี้ยวมาสัก ๔๐ เมตร ทางซ้ายมือเช้าไปยันเที่ยง จะมีข้าวแกงอยู่ริมถนนเจ้าหนึ่ง มีโต๊ะนั่งหลายตัว บอกเผื่อเอาไว้หากข้าวแกงร้านกาแฟ หมดเสียก่อนจะได้มาร้านนี้แทน ไม่มีชื่อมีตู้ใส่กับข้าวไปชี้เอาตามใจชอบ ไหน ๆ ชวนชิมหัวหิน ทางผ่านเสียยาวแล้วแถมเอาไว้อีกนิด หากเลยสี่แยกรถไฟมาแล้วก็จะมาถึงตึกแถวที่ก๋วยเตี๋ยวเป็ด ย้ายมาอยู่ที่นี่ รสอร่อยน่าจะลดลงไปสักนิด แต่ชามหน้าร้านยังวางกองสูง เหมือนเดิม ไม่ไกลกันและเยื้องกับธนาคารกรุงไทย ร้านลูกชิ้นที่อร่อยนัก อยู่เยื้อง ๆ ธนาคารกรุงไทย เป็นต้นตำรับเดียวกันกับลูกชิ้นที่กรุงเทพ ฯ  ฯ ถนนนวมินทร์ ซอย ๙๖  เข้าซอยไป ๕๐๐ เมตรอยู่ซ้ายมือ และยังมีที่ประจวบคีรีขันธ์ หน้าวิทยาลับเทคนิค ส่วนร้านต้นตระกูลคือ รุ่นพ่ออยู่ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เตี่ยวางมือแล้ว เลยขายอาหารตามสั่งแทนเฉพาะร้านที่เบตง  ส่วนร้านขนมอร่อยอยู่ถนนเพชรเกษมนี่แหละปากซอย ๙ หัวหินยังมีให้ชิมกันอีกแยะ ลอดช่องสิงคโปร์ กล้วยแขก ข้าวเหนียวมูล ขาหมูน้ำแดง หรือกินกันให้โก้อร่อยด้วยคือ ที่ห้องอาหารโรงแรม วันหลังผมจะพาตระเวนเที่ยววัด เที่ยววังกันทั้งเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ชิมอาหารกันให้อ้วนกลับไปเลยทีเดียว

            ทีนี้ไปพระบรมธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ กันเสียที จากหัวหินมาผ่าน อ.เมืองจังหวัดประจวบ ฯ เลยไปหน่อยก็มีทางแยกเข้าไปยังอุทยานวิทยาศาสตร์หว้ากอ หากจะไปเขาหินเทิน ไปด่านสิงขร ก็แยกขวาที่หลัก กม. ๓๒๒  ไปอีก ๘ กม. จะพบหินก้อนใหญ่วางซ้อนเกยกันอยู่ตามธรรมชาติ เลยจุดนี้ไปอีก ๔ กม. ก็จะถึงด่านสิงขร เส้นทางเดินทัพของพม่าในอดีต แต่พระม่าไม่ค่อยเดินทัพผ่านทางนี้ ดูเหมือนจะผ่านด่านสิงขรเพียง ๒ - ๓ ครั้งเท่านั้น  ไม่เหมือนด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านแม่ละเมาที่ชื่อจะคุ้นหู  ไปผ่านอำเภอทับสะแก ที่อำเภอนี้ มีอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง และอุทยานแห่งชาติหาดวนกร  จนกระทั่งถึงหลัก กม.๓๘๒  ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนคู่ขนานพอเกือบถึง กม.๓๘๓  จะผ่านหน้าปั๊ม ปตท. ให้เลี้ยวซ้ายมีป้ายบอกไปหาดบ้านกรูด วิ่งเข้าไปตามถนนสายนี้ประมาณ ๙ กม.  จะพบป้ายชี้ทางไปหลายแห่ง หากเลี้ยวซ้ายไปอีก ๔ กม.  ก็จะถึงทางแยกขวาเพื่อที่ขึ้นไปสู่ยอดเขาธงชัย  ที่ตั้งของพระบรมธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ ที่งามเหมือนวิมานลอยอยู่กลางอากาศ

            ผมเลี้ยวขวาไปก่อนเพื่อไปยังที่พักไปประมาณ กม. เศษ ๆ ที่พักอยู่ทางขวามือริมถนนที่เลียบชายหาดบ้านกรูด ที่เป็นหาดแสนสวย และยังเป็นธรรมชาติมาก ไม่มีรถขายอาหาร ไม่มีร่มกางให้คนไปนั่งกินเหล้า กินอาหาร เป็นหาดที่เวลาน้ำลงจะเป็น "ลากูน"  คือ มีสันทรายสูงกั้นน้ำทะเลเอาไว้เป็นเหมือนทะเลาสาบน้อย ๆ และลากูนจะหายไปเมื่อน้ำทะเลขึ้น รีสอร์ทที่พักคราวนี้อยู่เลยที่เคยพักไปนิดหนึ่งสัก ๒๐๐ เมตร  จะมองเห็นรั้วยาวไปตามถนน รีสอร์ทแห่งนี้เป็นรุ่นบุกเบิกของหาดบ้านกรูด เรียกว่าตั้งมาก่อนแห่งอื่น ๆ กว่า ๑๒ ปีมาแล้ว  ด้านหน้าติดถนน ข้ามถนนไปคือชายหาดที่งดงาม เมื่อเข้ามาในรีสอร์ทที่มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐ ไร่  มีต้นไม้ที่ร่มรื่นไปทั่ว ยังกับป่าธรรมชาติ และยังงดงามด้วยไม้ดอก ไม้ประดับที่ปลูกเพิ่มเติม ส่วนไม้ใหญ่ต้นโต ๆ ได้เก็บไม้ดั้งเดิมตามธรรมชาติเอาไว้ด้วย ไม้จึงต้นโตมาก และยังปลูกเพิ่มขึ้นมาอีกเลยยิ่งมาก นอกจากบ้านพักของรีสอร์ทแล้ว ด้านหลังยังมีผู้มาซื้อที่ดินของรีสอร์ทปลูกบ้านพักสวย ๆ ของเขาเอง หลังรีสอร์ทเป็นคลองตามธรรมชาติ เลยออกไปคือ ภูเขา น้ำจะไหลจากเขาลงสู่คลอง ครบเครื่องทั้งภูเขา ลำคลอง ไม้ร่มรื่นและทะเล รอบบ้านพักก็เต็มไปด้วยต้นไม้ มีสระว่ายน้ำถึง ๒ สระ ผมพักด้านติดถนน ติดสำนักงานติดสระว่ายน้ำเล็ก หากยืนริมสระจะได้สองบรรยากาศ คือ หากหันหน้าเข้าตัวบ้านพัก คือ ไม้ที่ร่มรื่น แต่หากหันหลังกลับจะกลายเป็นชายหาดและทะเล สวยจริง ๆ
            บังกะโล ที่พักจัดแบบโรงแรม มีทั้งแบบห้องนอนเดียว สองห้องนอน และมีห้องกลางเป็นห้องรับแขก ที.วี ตู้เย็น พร้อม หลัง ๒ ห้องนอนราคา ๒,๘๐๐ ในวันธรรมดา  วันหยุดราคา ๓,๐๐๐ ส่วนหลังห้อนนอนเดียว ราคาถูกกว่านี้ ราคานี้รวมอาหารเช้า ๔ ที่ด้วย  พักในสถานที่เงียบสงบในบรรยากาศแบบนี้ต้องถือว่าไม่แพง แต่หากจะพักหาดบ้านกรูดราคาถูกก็มี ให้ออกจากรีสอร์ทเลี้ยวขวาไปสัก ๓ - ๔ กม. มีที่พักอีก ๒ - ๓ แห่ง  ประเภทฉับแกละทัวร์ เสียงฉิ่ง เสียงฉาบตีกันสนั่นหวั่นไหวไปเลยทีเดียว  แต่พอเลยย่านนี้ออกไปก็จะไปถึงอ่าวบ่อทองหลาง ซึ่งเป็นย่านประมงมีสะพานปลายื่นออกไปในทะเล มีลูกเรือประมงเป็นชสวพม่าเป็นส่วนใหญ่เดินกันให้เกะกะ มีร้านประเภทคาราโอเกะ มีสาวปากแดงนั่งรอหน้าร้าน เปิดกันกลางวัน เพราะตกเย็นเรือประมงออกทะเลหมด เลยอ่าวบ่อทองหลางไปก็จะถึงอ่าวแม่รำพึงจะมีที่พัก แต่จะไกลจากหาดบ้านกรูดกว่า ๑๐ กม.  และอ่าวทั้งสองนี้ทางลงหาดค่อนข้างชัน แต่หาดกว้างมาก สะอาด บริสุทธิ์จริง ๆ ไม่มีที่พัก และมากางเต๊นท์พักกันเลย ไม่มีร้านค้า บ้านคนไม่มีทั้งนั้น ทรายละเอียด สีชาวบริสุทธิ์ไม่ช้าความเจริญจากหาดบ้านกรูดคงตามมาถึงหาดนี้

            ผมจะชวนชิมอาหารของ รีสอร์ท ทีผมพักเสียก่อน เพราะต้องยกให้เลยว่าอาหารเป็นเลิศทั่วพื้นที่ของ ที่พักนั้นได้รับรางวัลดีเด่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากกระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนห้องอาหารรับรองความอร่อย ด้วยป้าย คลีน ฟู๊ด กู๊ด เทสท์ ของกระทรวงสาธารณสุข สะอาดและอร่อยจริง  มื้อเช้า กับมื้อเย็นตลอดเวลาที่พักที่รีสอร์ทนี้ ไม่ได้ไปชิมที่ไหนเลย ตกเย็นก็ยึดโต๊ะหัวมุมเห็นทะเล เห็นรถวิ่งผ่าน ลมทะเลตีหน้าเย็นสบาย ลองดูรายการอาหารที่สั่งมาชิมใน ๒ วันมีดังนี้  ปลากะพงขาวผัดฉ่า น้ำพริกสั่งมาทั้ง ๒ วัน เพราะน้ำพริกของเขาอร่อยมาก มีน้ำพริกตะไคร้ และน้ำพริกกะปิ  ปลาสามรสเป็นปลากะพงขาว ไข่เจียวปู ทอดมันปลาอินทรีย์  กุ้งอบวุ้นเส้น ยำ ๓ กรอบ  เนื้อปลาอินทรีย์ลวกจิ้ม กุ้งผัดเปรี้ยวหวาน กุ้งอบเกลือ ไปกัน ๑๐ คน จึงสั่งได้มาก รับรองในความอร่อยทุกอย่าง ข้อสำคัญคือ ราคาถูก หวานด้วยไอศคริม และผลไม้
            ส่วนมื้อเช้า มี ข้าวต้ม โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ปาท่องโก๋จิ้มนม ขนมจีนแกงเขียวหวาน นอกจากนี้ก็มีแบบโรงแรมทั่ว ๆ ไปคือ น้ำผลไม้ แฮม เบค่อน ไส้กรอก ไข่ดาว ออมเลท คอร์นเฟลค น้ำชา กาแฟ โอวัลติน มีพร้อม บรรจุอาหารเช้าที่รวมอยู่ในราคาห้องพักแล้ว ก็ไปเที่ยว
            พระบรมธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ  ไปจากรีสอร์ทก็เลี้ยวซ้ายวิ่งไปจนถึงเขามีทางไปต่อ มีป้ายนำทางไปจนกระทั่งขึ้นสู่เขาธงชัย ซึ่งสูงเพียง ๑๑๕ เมตร เมื่อไปถึงต้องจอดรถที่ลานจอดรถแห่งเดียว เมื่อก่อนไหว้พระแล้วเอารถขึ้นไปจอดบริเวณพระเจดีย์ได้ ตอนนี้ต้องเดินขึ้นไปตามบันได ประมาณ ๑๒๐ เมตร  จอดรถที่ลานจอดแล้วก็เดินไปดังนี้ เริ่มต้น
            นมัสการ พระพุทธกิติสิริชัย  พระพุทธรูป ปางคันธาราราษฎร์  ปางแรกที่มีพระพุทธรูปเกิดขึ้นในโลก ประทับนั่งปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑๐ เมตร สูง ๑๓.๘๒ เมตร สมเด็จพระสังฆราช ฯ ประทานนามและประทานพระบรมสารีริกธาตุเพื่อบรรจุในองค์พระพุทธรูป โดยสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาบรรจุเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙  เวลา ๐๙.๔๕   พระพุทธรูปประดิษฐานห่างจากลานจอดรถประมาณ ๓๐ เมตร
            พระตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์   เดินลงจากลานหน้าพระพุทธรูปสะดวกที่สุด ดีกว่าเอารถลงไป ไกลกว่า และจะหาที่จอดรถยาก เดินลงไปสัก ๒๐ เมตร ก็ถึงพระตำหนักแล้ว
            พระบรมธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ  เดินขึ้นบันไดไปจากลานหน้าพระพุทธรูป ก่อนขึ้นเงยหน้าขึ้นชมเสียให้อิ่มก่อน จะเห็นเหมือนวิมานลอยอยู่กลางอากาศ เดินขึ้นบันไดไปประมาณ ๑๒๐ เมตร อย่าลืมให้พรรคพวกที่เดินช้ากว่า หรือผลัดกันถ่ายภาพให้ติดทั้งคน และวิมานกลางอากาศนี้ไว้ จุดถ่ายที่สวยที่สุดคือ ตอนขึ้นบันไดนี่แหละ เมื่อขึ้นไปถึงเชิงบันไดพระบรมธาตุ ถอดรองเท้าแล้วเดินขึ้นไป ชั้นที่สองไปถึง คือ ชั้นที่ ๓
            พระอาจารย์ไมตรี ฐิตปัญโญ คือเจ้าอาวาสวัดทางสายที่อยู่เชิงเขาเป็นผู้ริเริ่มในการก่อสร้าง เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ครองราชย์สมบัติครบ ๕๐ ปี เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙
            ประธานกรรมการก่อสร้างที่สามารถระดมทุนกว่า ๒๐๐ ล้านบาท และคุมการก่อสร้างคือ นายสวัสดิ์ โชติพานิช อดีต "กกต." ชุดแรก
            ผู้ออกแบบคือ ท่านผู้เป็นศิลปินแห่งชาติและศิลปินแห่งราชสำนักคือ ม.ร.ว.มิตรวรุณ เกษมศรี ท่านเริ่มออกแบบงานที่เป็นงานชิ้นสุดท้าย เมื่ออายุได้ ๘๐ ปี งานแล้วเสร็จเมื่ออายุท่านได้ ๘๒ ท่านทุ่มเทเพื่อให้เป็นงานสถาปัตยกรรม แบบใหม่ล่าสุดคือ นำเอาอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ วิหารคด มารวมเอาไว้ในอาคารเดียวกันทางแนวตั้ง ท่านทุ่มเทต่องานนี้ราวกับว่าท่านมีญานที่ทราบว่า จะเป็นงานชิ้นสุดท้ายในชีวิตของท่าน เมื่องานออกแบบสิ้นสุด ชีวิตท่านก็สิ้นสุด ไม่ได้อยู่เห็นผลงานชีวิตของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ได้สิ้นไปแล้ว แต่ผลงานจะอยู่ตลอดไป
            พระบรมธาตุมี ๕ ชั้น อาคาร กว้างยาวสูง ด้านละ ๕๐ เมตร หมายถึงทรงครองราชยย์ ๕๐ ปี แบ่งชั้นต่าง ๆ ออกได้ดังนี้
            ชั้นใต้ดิน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และพิพิธภัณฑ์ลายไทยของ ม.ร.ว.มิตรวรุณ ฯ
            ชั้น ๓ คือชั้นที่ให้ผู้ชมเข้าไปได้ เมื่อเข้าประตูไปแล้วมีโต๊ะตั้งบจำหน่ายวัตถุมงคล มีประวัติย่อ มีพระเครื่องให้บูชาเพื่อนำไปบรรจุกรุ ควรได้ทำบุญที่ห้องนี้เพราะจะไม่มีการตั้งตู้เรี่ยไรที่ไหนอีก เมื่อเดินเข้าไปภายในจะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ เป็นวิหารที่ฟังธรรม จุคนได้ประมาณ ๑,๐๐๐ คน การทอดกฐิน ทอดผ้าป่า จะมีพิธีกันในห้องนี้ ตรงกลางจะมีพระพุทธรูป ๔ พระอิริยาบถ ประจำทั้ง ๔ ทิศ และพระพุทธรูปปางประจำวันเกิด
            ชั้น ๔ เป็นอุโบสถมีพระพุทธรูปปางลีลา เป็นพระประธาน มีพุทธลักษณ์ที่งดงามยิ่งนัก ผมไปทีไรนั่งมองได้นาน ๆ เหมือนเห็นชายจีวรพระพุทธรูปไหวได้ อากาศจะเย็นสบายโดยไม่มีพัดลม หรือติดแอร์ เพราะสร้างหน้าต่างดักทิศทางลม ให้มีลมพัดเข้ามาตลอดเวลา บานหน้าต่างเป็นกระจกสี ที่นำมาต่อกันแบบต่อภาพจิ๊กซอ ต่อแล้วกลายเป็นภาพตัวละครในเรื่องมหาชนก ด้านหลังองค์พระประธานเป็นภาพเขียนที่ใหญ่มากคือ ภาพพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในวันออกพรรษา งามยิ่งนัก
            ชั้น ๕ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อาคารสูง ๕ ชั้น หมายถึงขันธ์ ๕ หมู่ เจดีย์ มี ๙ องค์ หมายถึง รัชกาลที่ ๙ ผมจะไปอีก ไปชมวิมานลอยฟ้าที่หาชมที่ไหนไม่ได้
            การออกแบบนั้นทำละเอียดมาก ด้านหลังมีสนามหญ้า ไปเดินไปชมวิวชมความงามของหาดด้านหลังพระบรมธาตุ ฯ ได้ และด้วยความรอบคอบด้านหลังขอบสนามยังมีห้องสุขาไว้บริการฟรีอีกด้วย
            มื้อกลางวัน คณะผมเลยไม่กลับไปยังห้องอาหารของรีสอร์ท แต่วิ่งกลับมารีสอร์ทตามเส้นทางเดิม พอเลยทางแยกที่เข้ามายังหาดบ้านกรูดไปสัก ๑๐๐ เมตร พบร้านเข้าตาเลยชักชวนพรรคพวกที่สุดแล้วแต่ผมจะพาไปอยู่แล้วชิมกัน ร้านอยู่ทางฝั่งขวาของถนน เมื่อกลับลงมาจากพระบรมธาตุ ริมถนนที่เลียบชายหาดบ้านกรูด เข้าไปแล้วเห็นป้ายรับยรองความอร่อย คลีน ฟู๊ด กู๊ด เทสท์ แขวนอยู่ สั่งอาหารมาคือ
                แกงป่าปลาทราย ปลาทรายตัวเล็ก ๆ น้ำแกงรสชาวใต้เผ็ดอร่อย กินไปร้องไห้ไป
                ปลาวสำลีแดดเดียว ปลาทอดแล้วผ่าซีก มีถ้วยยำมะม่วงมาให้จิ้มปลาทอด
                ส้มตำทะเล จานนี้อย่าโดดข้ามไปสาว ๆ ชอบกันนัก กุ้ง ปลาหมึก หอยแมลงภู่ ฯ
                หอยตลับผัดฉ่า หอยตัวโต เนื้อมาก ผัดเก่ง หอยอ้าปากมาแทบจะทุกตัว
                ปูจ๋า ปูตัวเล็กทอดมาสัก ๑๐ ตัว จิ้มน้ำจิ้มซอสหวาน
                จานนี้สำคัญ เผ็ดอีก กุ้งผัดเผ็ดใส่สตอ รสอาหารใต้
                ยังไม่จบ สั่งมาอีก ผัดผักรวม มีทั้งมะเขือเทศ เห็นฟาง ถั่วลันเตา แครอต ข้าวโพดอ่อน ผักกาดขาว ไม่มีไอศครีม มีแต่ผลไม้จานโตมาเป็นของหวาน

..............................................................



| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์