ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


พระนารายณ์ราชนิเวศน์

             เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๘ ผมได้เชิญชวนท่านผู้อ่านไปทอดกฐินกับผมที่วัดฝั่งหมิ่น ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย การทอดกฐินครั้งนี้ เพื่อนำเงินไปสมทบกับเงินที่ผมได้ทอดผ้าป่าไว้ เพื่อนำไปสร้างเมรุที่เป็นมาตรฐานให้แก่ชุมชนแม่กรณ์ ซึ่งยังมีเตาเผาศพต้องเรียกว่า เตา เพราะไม่ได้เป็นเมรุ แค่ก่ออิฐถือปูนเอาตะแกรงวาง ก็เอาศพวางเผาได้แล้ว และทางเหนือมักจะไม่เก็บศพเอาไว้นาน สวดกันแค่คืนสองคืนก็นำไปเผาแล้ว และหากจน ๆ ก็ไม่ใส่โลงด้วยซ้ำไป เวลาเผาหากไปเจอสัปเหร่อมือใหม่ ไม่ตะแคงศพหรือคว่ำศพ พอลวดที่มันถูกความร้อนละลาย ศพอาจจะลุกขึ้นมานั่งดูว่าใครมาเผาตูบ้าง ถ้าตอนพลบ ๆ และใครไม่รู้ว่าเส้นเอ็นคนเรานั้นมันยืดมันหดได้ก็วิ่งกันตับแล๊บไปเท่านั้นเอง ยอดเงินบริจาคยังตามมาเรื่อย ๆ เพราะสร้างเมรุมาตรฐานนั้นสร้างวันเดียวไม่เสร็จ มีสตางค์ก็ทำติดต่อกันไปได้ แต่ด้วยจำนวนเงินที่ได้แน่ ๆ แล้วรวมกับเงินผ้าป่าก็จะเพียงพอที่จะสร้างเมรุมาตรฐาน เจ้าอาวาสวัดนี้เขาขยันแบบเดียวกับวัดยายสร้อยที่ อ.ค่ายบางระจัน สิงห์บุรี คือทำอะไรได้เองก็ให้พระนั่นแหละช่วยกันทำ จึงทุ่นค่าแรง นอกจากจะได้เมรุแล้ว ยังได้ศาลาที่จะตั้งศพอีกหลังหนึ่ง แถมทางวัดยังได้สร้างสุขาที่เป็นสากล เอาไว้รับรองชาวกรุงอีกด้วย แจ่มแจ๋วไปเลยแบบเดียวกับหลวงพ่อที่วัดพระธาตุจอมกิติเมื่อ ๖ - ๗ ปีที่แล้ว ผมทอดผ้าป่า ๒ ปี ติดกันนำเงินไปสร้างถังน้ำประปาบนยอดเขาเพราะวัดตั้งอยู่บนยอดดอย บูรณะองค์พระธาตุจอมกิติ และสร้างกุฎิเจ้าอาวาสใหม่ พออีกปีก็ตั้งมูลนิธิพระธาตุจอมกิติได้สำเร็จ ใครจะทำบุญสมทบกองทุนมูลนิธิ ก็ถวายปัจจัยที่วัดพระธาตุจอมกิติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย ได้ พอสำเร็จตามความมุ่งหมาย หลวงพ่อให้สร้างสุขาอย่างดีหลายห้อง ซึ่งสุขาแบบนี้สะอาดอย่างนี้ และมีหลายห้องด้วยยากที่จะหาได้ตามวัด แม้แต่พระอารามใหญ่ ๆ ยังไม่ค่อยจะเจอ
            ทีนี้ผมจะพาไปพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เมืองลพบุรีนั้นผูกพันกับผมเพราะเป็นจังหวัดที่ผมอยู่นานรองจากกรุงเทพ ฯ เลยทีเดียวคือ ครั้งแรกบิดาของผมท่านเป็นทหารอากาศ ตอนนั้นเป็นผู้บังคับหมวดช่างอากาศกองบินน้อยที่ ๔ โคกกระเทียม ลพบุรี (บิดาท่านบิ๊กจ๊อด ท่านเป็นผู้บังคับหมวดช่างอากาศ กองบินน้อยที่ ๒ ที่ตั้งอยู่คนละฟากเขา) ผมจึงได้อยู่ที่โคกกระเทียมเสีย ๔ ปี และต้องขออธิบายการสะกดคำว่า "โคกกระเทียม" เอาไว้ด้วยเดี๋ยวจะมีใครจับผิดเล่นงานเอาอีก สถานีรถไฟโคกกระเทียมเก่าแก่ก่อนผมเกิดสะกดว่า "โคกกะเทียม" หัวเสาหลัก กม.ของกรมทางถนนเลียบคลองชลประทานและสถานีอนามัยที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟ สะกดว่า "โคกกระเทียม" ผมถือตามสถานีรถไฟ ใครจะจับผิดคัดค้านก็ไปคัดค้านกันเอาเองอย่ามายุ่งกับผม สถานที่ราชการเหมือนกันแต่สะกดไม่เหมือนกัน ไปต่อว่ากันเอง
            ผมอยู่ลพบุรีกับบิดา เรียนที่โรงเรียนสองเหล่าสร้าง (ตั้งมา ๖๘ ปีแล้ว) ที่ทหารปืนใหญ่อุปถัมภ์เรียนอยู่ ๔ ปี บิดาจึงไปสงครามทั้งอินโดจีน และเอเซียบูรพา จึงย้ายจากโคกกะเทียม พอเป็นนายทหารก็กลับมารับราชการในเหล่าปืนใหญ่อีก ซึ่งทหารปืนใหญ่ทุกคน เมื่อสำเร็จเป็นนายทหาร จะต้องมาเริ่มต้นชีวิต การเป็นนายทหารปืนใหญ่ กันที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ โคกกะเทียม ลพบุรี ทีนี้ผมก็ย้ายเข้าย้ายออกจากศูนย์การทหารปืนใหญ่หลายครั้ง รวมแล้วรับราชการที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่นานกว่าทุกแห่ง รวมรับราชการบ้านนอกได้สามสิบปีพอดี แถมตอนได้ย้ายมาอยู่กรุงเทพ ฯ อีก ๕ ปี ก็ยังอุตสาห์ได้รับความเมตตาจากนาย ให้ไปตระเวนหางานทำตามแนวชายแดน จนเกษียณอายุราชการ เลยติดนิสัยมาจนบัดนี้ หยุดไม่ได้ต้องออกตะเวนต่างจังหวัด แทบจะทุกสัปดาห์ ตอนนี้กำลังเป็นกรรมการหลักในการตัดสินมือทอง จูเนียร์ ประกวดการทำอาหารของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวะศึกษาทั่วประเทศ เป็นแนวทางหนึ่งของครัวไทยสู่ครัวโลก เพราะนักศึกษาจะคิดเมนูอาหารใหม่ ๆ มาทำแข่งกันเกิดเมนูใหม่ขึ้นมา เลยเป็นผลให้ผมได้งานตระเวนต่างจังหวัดอีกงานหนึ่ง คราวนี้พาท่านกลับมาลพบุรีอีกที เพราะไปพบอาหารอร่อยควรแก่การมาเที่ยว

            เส้นทางไปลพบุรี ไปได้หลายเส้นทาง เอาเส้นทางหลักก็แล้วกันคือ ถนนพหลโยธิน จากกรุงเทพ ฯ ผ่านรังสิต วังน้อย หินกอง ออกสายเลี่ยงเมืองสระบุรี ไปผ่านพุแค แวะเที่ยวชมสวนพฤกษศาสตร์ที่พุแค ถ่ายรูปงาม ๆ เสียก่อนก็ได้ ไปผ่านพระพุทธบาท หากชาวพุทธมีเวลาควรได้แวะนมัสการพระพุทธบาท ชาวพุทธเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีกันแล้ว ได้แต่วิ่งผ่านกันไปจากพระพุทธบาทสระบุรี ๑๘ กม. ก็จะถึงวงเวียนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีพระราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านอยู่ แต่ชื่อวงเวียนจริง ๆ นั้นชื่อวงเวียนเทพกษัตรีย์ ตรงต่อไปก็จะถึงวงเวียนที่เรียกกันทั่วไปว่าวงเวียนสระแก้ว แต่นามจริงของวงเวียนคือ วงเวียนพระสุริโยทัย ตรงบริเวณสระแก้วนี้คือ บริเวณเมืองใหม่เกิดเมื่อ ๖๐ กว่าปีที่แล้ว เกิดเพราะจอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายทหารปืนใหญ่ และอดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานยิ่งกว่าท่านผู้ใด ได้สร้างเมืองใหม่เพื่อขยายอาณาเขตของตัวเมืองลพบุรี เพื่อไม่ให้การก่อสร้างยุคใหม่มาทำลายโบราณสถาน ขนาดท่านทำเร็วยังไม่ทันพวกทำลาย โบราณสถานหลายแห่ง ถูกขุดทำลายไปก่อนที่กรมศิลปากรจะได้สำรวจ และประกาศเป็นโบราณสถาน ทำลายเพื่อสร้างอาคารเพื่อการค้า สวถาปัตยกรรมยุคเมืองใหม่ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ท่านจะสร้างให้เป็นแบบเรียบง่าย แต่สวยแปลกตาเช่น โรงแรมทหารบก (เมื่อก่อนชื่อนี้) หลังศาลพระกาฬ โรงภาพยนต์ทหารบก ที่สระแก้ว อาคารอำนวยการของโรงพยาบาลอานันทมหิดล เป็นต้น ไปลพบุรีอย่าลืมชมอาคารเหล่านี้ อย่างน้อยก็ชมโรงภาพยนต์ทหารบก ที่ไม่เหมือนโรงภาพยนต์ในเมืองไหนทั้งสิ้น ส่วนด้านหลังของโรงภาพยนต์คือ สวนสัตว์ ที่เดิมเมื่อแรกสร้างนั้นใหญ่เป็นที่สองรองจากสวนสัตว์ดุสิตเท่านั้น

            จากวงเวียนสระแก้วตรงต่อไปตามถนนนารายณ์มหาราช ก็จะไปชนกับศาลพระกาฬ ตรงนี้จะห่างจากกรุงเทพ ฯ เป็นระยะทาง ๑๕๘ กม. ไม่ไกลเลย ขับรถสบาย ๆ ในวันหยุด ขับแบบผมขับประมาณสองชั่วโมงเศษ ๆ นับเวลาตั้งแต่ออกจากบ้านที่ลาดพร้าว โรงแรมทหารบกดั้งเดิมอยู่ตรงมุมหลังซ้ายของศาลพระกาฬ ควรขึ้นไปกราบไหว้นมัสการศาลเก่าแก่แห่งนี้ และฝูงลิงลูกศิษย์เจ้าพ่อดูจะมีมากเหลือเกิน มากจนจะครองเมืองอยู่แล้ว จากหน้าศาลพระกาฬวิ่งข้ามทางรถไฟแล้วตรงต่อไป จะพบทางยกขวา  หากเลี้ยวขวาจะไปสิงห์บุรี โดยจะผ่านวัดมณีชลขันธ์ วัดสำคัญอีกวัดหนึ่ง  แต่หากไม่เลี้ยวขวา ตรงต่อไปก็จะพบสามแยก ที่โบราณสถานสำคัญ เก่าแก่ร่วมพันปี คือ ปรางค์แขก อยู่ตรงกลางเลยทีเดียว (หากตรงไป ผ่านสามแยก ทางขวาคือ บ้านวิชาเยนทร์ ตรงข้ามคือ วัดเสาธงทอง วัดสำคัญอีกวัดหนึ่ง)  เลี้ยวซ้ายตรงปรางค์แขก ก็จะมาผ่านตลาดเทศบาลทางขวามือ ถึงสี่แยก พอผ่านสี่แยกคือประตูทางเข้าพระราชวัง ฯ ที่มีกำแพงล้อมรอบทั่วบริเวณพระราชวังแห่งนี้

             พระนารายณ์ราชนิเวศน์  เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์ โปรด ฯ ให้สร้างขึ้นที่เมืองลพบุรี มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอันมาก กรมศิลปากรได้อนุรักษ์ติดต่อกันมาโดยตลอด เพื่อให้โบราณสถานแห่งนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงซ่อมแซมพระที่นั่งบางองค์ จัดเป็นที่แสดงศิลปะโบราณวัตถุตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อผ่านประตูพระราชวังเข้ามาแล้ว ทางขวาคือลานจอดรถและมีป้ายขายบัตรผ่านประตู ซื้อบัตรแล้วเดินตรงเข้าไป ซึ่งในพระนารายณ์ราชนิเวศน์นั้นมีสถานที่สำคัญมากถึง ๒๓ แห่งด้วยกัน จะขอบอกเล่ากราวรูดไปเลย ท่านขยันเดินละก็เดินชมให้ทั่วก็แล้วกัน ผมเดินทั่วเพราะเข้ามาหลายครั้งแล้ว เข้าครั้งแรกตั้งแต่ปีที่สำเร็จเป็นนายทหาร เขามีงานสังเวยสมเด็จพระนารายณ์ ดูเหมือนจะเป็นปีแรกที่มีการสังเวย จะต้องมีการตีกระบี่กระบองในพระราชวังด้วย ตีตรงไหน ผมจำไม่ได้แล้ว เพราะผ่านมา ๕๐ ปีพอดีพอดิบ  ผมเล่นอาวุธโบราณหรือกระบี่กระบองของโรงเรียนนายร้อย ตั้งแต่เป็นนักเรียนเตรียมนายร้อย เล่นอยู่ ๗ ปี ผมเล่นกระบอง อาจจะตีกันด้วยกระบองหรือตีกับ "ไม้สั้น" ผมเป็นนายทหารเหล่าปืนใหญ่ อยู่ลพบุรี เพื่อนคู่ตีเล่นไม้สั้นเป็นทหารราบ ตอนนั้นศูนย์การทหารราบอยู่ในตัวเมืองลพบุรี ไม่ได้อยู่ปราณบุรีเช่นทุกวันนี้ ปรากฏว่ารุ่นผมที่ฝึกอาวุธโบราณมาด้วยกัน และมีผมเป็นหัวหน้าทีมมาเป็นทหารราบ ทหารปืนใหญ่กันหลายคน  เมื่อเขาจะมีการตีสังเวยสมเด็จพระนารายณ์ เขาก็มองจากนายทหารใหม่ ผมก็จัดการจับคู่กันได้หลายคู่ คู่ดุเดือดที่ตีกันมาตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อย ก็อยู่ลพบุรีทั้งคู่คือ ฟันกันด้วยดาบสองมือ ซึ่งตอนนี้ทั้งคู่ตีของผมกับคู่ตีดาบสองมือ ตายเรียบร้อยไปแล้วฝ่ายละหนึ่งคน ไม่ต้องมารบกันอีก การไปตีสังเวยในครั้งนั้นคือ การเข้าไปในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ครั้งแรกของผม ซึ่งยังไม่ได้มีการบูรณะให้งดงามเช่นทุกวันนี้ แผนผังที่ตั้งสำคัญ ๒๓ แห่งได้แก่  พระที่นั่งจันทรพิศาล พระที่นั่งพิมานมงกุฎ  พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย  พระที่นั่งไชยศาสตรากร  พระที่นั่งอักษรศาสตราคม  พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท  พระที่นั่งสุทธาสวรรค์  ตึกพระเจ้าเหา  ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง อ่างเก็บน้ำ  โรงช้าง  ทิมตึกพระประเทียบ ประตูยาตรากษัตริย์  ประตูนารีลีลา  ประตูด้านทิศใต้ ประตูต้น ประตูด้านทิศตะวันออกแถบใต้ ประตูพยัคฆา  ประตูด้านทิศเหนือแถบตะวันออก  ประตูวิเศษไชยศรี และ "ป้อม"  รวม ๒๓ จุดสำคัญ
            พระนารายณ์ราชนิเวศน์นั้นเหมาะสมด้วยประการต่าง ๆ  ตัวเมืองตั้งอยู่บนเนินสูง น้ำท่วมไม่ถึง  ทางทิศตะวันออกมีป่า และธารน้ำ สามารถทดน้ำเข้ามาใช้ในเมืองได้ มีแม่น้ำลพบุรีไหลผ่าน เป็นทั้งคูเมือง และเส้นทางคมนาคมติดต่อกับเมืองอื่นได้  ด้านอื่นเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก เมืองนี้จึงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคปัจจุบัน  "พระนารายณ์ราชนิเวศน์" เป็นนามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้ เมื่อคราวที่พระองค์โปรดให้ซ่อมแซมบูรณะ และมีการสร้างพระที่นั่งบางองค์ขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙ พระราชทานนามนี้ เพราะเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาก่อน
            สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ประสูติ เมื่อ พ.ศ.๒๑๗๕ และปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ.๒๑๙๙  ได้รับการเทิดพระเกียรติเป็น "มหาราช" เพราะได้นำความเจริญมาสู่ประเทศชาติ ในเกือบจะทุก ๆ ด้าน เช่น ทำสงครามขยายพระราชอาณาเขต  ด้านกวีนิพนธ์ วรรณคดี ด้านการทูต การต่างประเทศ "นิโคลาส์ แชร์เวส" ชาวฝรั่งเศส ผู้เคยได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ได้เขียนสรรเสริญพระองค์ท่านไว้เป็นอันมาก
            สาเหตุที่ทรงสร้างลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สอง น่าจะมีสาเหตุจากที่ได้ครองราชย์มาเป็นเวลาสิบปีแล้วคือ พ.ศ.๒๒๐๙  นอกจากสร้างเพื่อเป็นที่ประทับอีกแห่ง นอกไปจากพระราชวังที่ประทับ ณ กรุงศรีอยุธยาแล้ว มีข้อสันนิษฐานจากเหตุการณ์ เมื่อ พ.ศ.๒๒๐๗ เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฮอลันดา ฮอลันดาได้นำเรือมาปิดปากอ่าวไทย บังคับให้ไทยทำสนธิสัญญาทางการค้า เป็นสัญญาที่ฝ่ายไทยเสียเปรียบ และเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในทำเลที่มีความเสียเปรียบทางยุทธศาสตร์ อยู่ริมแม่น้ำใหญ่ ห่างจากทะเลไม่มากนัก มหาอำนาจใช้เรือปืนบุกเข้ามาได้จนถึงเมืองหลวง จึงโปรดให้สร้างลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ นอกจากเหตุผลสำคัญดังกล่าวแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ยังโปรดล่าสัตว์ ทางทิศตะวันออกของเมืองเป็นป่าใหญ่ สัตว์ป่าชุกชุม จึงโปรดให้สร้างเพนียดเพื่อคล้องช้าง และสร้างพระตำหนักเย็นไว้ประทับ เมื่อไปประพาสป่า อยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง
            พระนารายณ์ราชนิเวศน์  มีเนื้อที่กว้างขวางถึง ๔๒ ไร่เศษ ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้า หันเข้าหาตัวเมือง ด้านหลังติดแม่น้ำลพบุรี กำแพงสูง ๕ เมตร ตรงมุมและกึ่งกลางกำแพงมีป้อมปืนและยังมีกำแพงชั้นใน ลักษณะของซุ้มประตูเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปกรรมในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
            เขตพระราชฐานชั้นนอก  เป็นบริเวณซึ่งหันหน้าเข้าสู่ตัวเมือง มีทางเข้า ๓ ประตู กว้างขวางกว่าเขตพระราชฐานชั้นอื่น ผู้เข้าชมจะผ่านเขตนี้ก่อน และเห็นโบราณสถานทางด้านซ้ายมือ ก่อนผ่านประตูเข้าสู่เขตชั้นกลาง
            เขตพระราชฐานชั้นกลาง  มีประตูใหญ่เป็นทางผ่านเข้าไป มีพระที่นั่งที่สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เพียง ๒ องค์ ตรงกึ่งกลางกำแพงทางด้านขวา มีประตูน่าจะเป็นประตูพิเศษชื่อ ประตูวิชาเยนทร์ พอออกจากประตูนี้ก็จะตรงกับบ้านวิชาเยนทร์ ซึ่งบ้านวิชาเยนทร์นี้ก็น่าเข้าไปชมอย่างยิ่ง เพราะยังมีซากอาคารที่ค่อนข้างสมบูรณ์อยู่หลายหลัง น่าจะสร้างพระราชทานให้แก่ คอนสแตนติน ฟอลคอน ที่เป็นชาวกรีกและรับราชการจนได้ตำแหน่งสูงถึงที่สมุหนายก และต่อมายังได้สร้างอาคารเพิ่มเติม เป็นที่พักของเอกอัครราชทูตจากฝรั่งเศส เป็นบ้านที่มีโบสถ์คริสต์อยู่ในบ้านด้วย มีบันทึกของชาวฝรั่งเศส ได้บันทึกไว้ว่า เขตพระราชฐานชั้นกลางนี้งามกว่าชั้นนอกมากนัก
            เขตพระราชฐานชั้นใน  เป็นพื้นที่ต่ำกว่าเขตพระราชฐานส่วนอื่น ๆ ต้องเดินผ่านพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญปราสาทไปก่อน มีลานกว้าง ต้นไม้ร่มรื่น ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ฯ จะเป็นเขตหวงห้าม เข้าได้เฉพาะมหาดเล็กในพระองค์กับขุนนางบางคน
            ปัจจุบันพระที่นั่งต่าง ๆ กรมศิลปากรได้จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ชั้น ๓ ของพระที่นั่งพิมานมงกุฎ จัดแสดงเป็นห้องที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมฉายาลักษณ์ มีแท่นบรรทมเป็นต้น หน้าบันทั้งสองด้านมีลวดลายปูนปั้นที่งามนัก
            ตึกพระประเทียบ  มีทั้งหมด ๘ หลัง เป็นลักษณะผสมไทย - ยุโรป ฝ่ายในพำนัก ผู้ชายเข้าไปไม่ได้ และปัจจุบันเป็นห้องแสดงของพิพิธภัณฑ์ด้วยเช่นกัน
            สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประชวรหนักในพระราชวังแห่งนี้ และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๒๓๑ พระเพทราชา ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้เข้ายึดอำนาจขึ้นครองราชย์สืบต่อและทรงประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่นั้นมา ลพบุรีก็เป็นเพียงที่พระมหากษัตริย์ เสด็จประพาสเป็นครั้งคราว และกลับมาฟื้นฟูบูรณะเป็นที่ประทับอีกครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
            ชมนารายณ์ราชนิเวศน์แล้ว มีหนทางปฏิบัติ ๓ หนทางคือ
                ๑. ออกจากประตู เลี้ยวซ้ายไปชมบ้านวิชาเยนทร์ต่อ
                ๒. ออกจากประตูเลี้ยวขวาไปสุดถนนแล้วเลี้ยวซ้าย มีร้านอาหารจัดร้านรก ๆ แต่อาหารดีราคาถูกมาก ลองชิมต้มแซ๊บโครงหมู น้ำตก ยำกระเพาะปลาดูบ้าง

                ๓. ไปร้านส้มตำปลา
                เส้นทาง ออกจากตัวเมืองผ่านศาลพระกาฬ พอถึงวงเวียนสระแก้วเลี้ยวซ้ายผ่านปั๊มน้ำมัน ปตท.ผ่านสี่แยกจะพบกลุ่มร้านอาหารและร้านขายต้นไม้ตกแต่งสวน ให้เลี้ยวขวาตามป้ายเข้าไปอยู่ด้านในสุดของกลุ่มร้านแถวนี้ หน้าร้านมีครกเมืองยักษ์ตั้งอยู่
                ร้านส้มตำปลา ต้องสั่งส้มตำเป็นคำสั่งแรก เคยนับเมนูส้มตำของเขาได้ ๒๕ ชนิด แต่ที่ต้องสั่งคือส้มตำปลา นอกนั้นเคยสั่งมาชิมอร่อยทุกอย่างเช่น ส้มตำปู
                หมูแดดเดียว ต้องรีบสั่งเป็นจานต่อไป นุ่ม มีรส ไม่ต้องไปจิ้มอะไรอีก หากยังไม่สะใจ ขอแนะนำว่าซื้อกลับมาอีกสัก ๒ จาน แดดเดียวรสนี้ นุ่มอย่างนี้หากินยาก
                ต้มโคล้งปลากรอบ เนื้อปลาไร้ก้าง ทอดกรอบ มีใบมะกรูด ข่า ตะไคร้ หัวหอม พริกขี้หนูทุบใส่มาพอได้รสเผ็ดอร่อย หอมน่ากิน เสริฟมาในกระทะตั้งไฟร้อนโฉ่
                ตับหวาน ลวกตับได้เก่ง ลวกแล้วนุ่ม เคี้ยวกรุบ ๆ หอมข้าวคั่ว มาพร้อมกระจาดผัก
                ส้มตำคอหมูย่าง หนังกรอบ มีมะเขือเทศถั่วฝักยาว กุ้งแห้ง กระเทียมสด ถั่งลิสง พริกขี้หนูแห้งทอด รสจัด แข่งความอร่อยกับส้มตำปลา
                ไก่ทอด น่าสั่งปีกไก่ทอดมาแทะ ทดสอบความแข็งแรงของฟัน กลิ่นหอมน่ากิน
                อย่าลืมสั่งข้าวนึ่งหรือข้าวเหนียว จึงจะเข้ากับอาหารแบบนี้ นึ่งข้าวได้นุ่ม และควรสั่งเส้นหมี่ผัดมาด้วย เส้นหมี่ผัดน้ำมันกินเข้ากันดีนักกับส้มตำ
                ปิดท้ายด้วยของหวานมาแก้เผ็ดคือมัน ฟักทองแกงบวด แถมฟรีให้คนละถ้วย ส่วนราคากินได้สบายใจ  ราคาถูก ไม่ทราบว่าได้คลีนฟู๊ด กู๊ด เทสท์แล้วหรือยัง

...................................................

| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์