ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| หน้าต่อไป |

เมืองระนอง

            จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดแรกของภาคใต้ที่อยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน มีความสำคัญมาแต่โบราณในหลายฐานะด้วยกันคือ เป็นเมืองดีบุก หรือตะกั่วดำ เป็นเมืองชายแดน เป็นเมืองเจ้าของชื่อคอคอดกระ เมืองเสด็จประทับแรม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรักษาสุขภาพ และเมืองปกครองแบบพิเศษ ทีนี้ต้องอธิบาย.-
            ระนองเป็นจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย อยู่ฝั่งทะเลตะวันตกหรืออันดามัน การเดินทางไประนองทางรถยนต์จะไปตามเส้นทางสายใต้ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร (สี่แยกปฐมพร) แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนที่เมื่อสมัยก่อนเรียกว่า ๒๐๐ โค้ง เดี๋ยวนี้โค้งน่าจะลดลงไปอีก ระยะทาง ๑๒๐ กิโลเมตร โดยประมาณ จังหวัดที่มีฝนตกแปดแดดสี่ คือฝนตกเสีย ๘ เดือน ในแต่ละปีหรือมากกว่านั้นด้วยซ้ำไปและเป็นจังหวัดที่มีพลเมืองน้อยกว่าจังหวัดอื่น ๆ
            เมืองดีบุก  เป็นเมืองแรกที่มีนายเหมืองเป็นนายอากร เพราะเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยแร่ดีบุก มีการทำเหมืองแร่ นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา มีรายได้มหาศาลที่ส่งเข้าคลังเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ
            คอซู้เจียง  ๑ เจ้าคุณเฒ่า คือพระยารัตนเศรษฐี ท่านเป็นต้นตระกูล ณ ระนอง ท่านผู้นี้ไม่รู้หนังสือไทย เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน เดินทางมาจากเมืองจิวหู มณฑลฟูเกี้ยน ประเทศจีน เริ่มต้นตั้งแต่อาชีพกรรมกรรับจ้างที่ปีนัง พอมีฐานะดีขึ้นท่านก็มาค้าขายอยู่ที่ตะกั่วป่า และต่อมาได้ขอประมูลอากรดีบุก แขวงเมืองตระ (กระบุรี) และเมืองระนอง นำเงินส่งเข้าคลังปีละ ๒,๐๖๔ เหรียญ และโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นหลวงรัตนเศรษฐี ตำแหน่งนายอากรดีบุกเมืองตระ และเมืองระนอง และสุดท้ายท่านไต่เต้าขึ้นไปถึงตำแหน่งเจ้าเมืองระนอง และรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ทำประโยชน์ให้แก่เมืองระนอง และชายฝั่งทะเลเมืองอันดามันอย่างใหญ่หลวง แม้เมื่อท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าเมือง แล้วก็ยังเป็นที่ปรึกษาราชการเมืองระนอง ท่านผู้นี้มีบุตรชาย ๖ คน ใน ๖ คน นี้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาถึง ๔ คน ๑ ใน ๔ คือ "ท่านคอซิมบี้" ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้าสงความเจริญให้แก่จังหวัดตรัง และจังหวัดภูเก็ตคือท่าน พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี มีอนุสาวรีย์อยู่ที่จังหวัดตรัง และที่ยอดเขารัง จังหวัดภูเก็ต  เป็นผู้ที่นำต้นยางพาราเข้ามาปลูกเป็นคนแรก เมืองดีบุกของระนอง จึงมีนายเหมือง มีนายอากร และท้ายที่สุดคือเป็นถึงท่านเจ้าเมือง
            เมืองชายแดน  ระนอง เป็นจังหวัดชายแดนไทย พม่า มีแม่น้ำกระบุรีเป็นเส้นกั้นเขตแดน
            เมืองคอคอดกระ  เมื่อตอนผมมทำหน้าที่ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีกลาโหม กลุ่มที่ ๖ ของท่านบิ๊กจิ๋ว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔ - ๒๕๔๕ พลอยให้เป็นกรรมการอะไรต่ออะไรอีกหลายตำแหน่ง ๑ ในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น (ไม่มีเงินเดือนทุกตำแหน่ง) คือรองประธานกรรมการ ฯ พิจารณาในเรื่องการขุดคลองกระ ซึ่งเป็นกรรมการแห่งชาติ ในการพิจารณาครั้งนั้น กรรมการเห็นสมควรขุดคลองกระ แนวที่ขุดที่นำมาพิจารณากันถึง ๑๑ แนว แต่ผลการพิจารณาไม่มีแนวขุดผ่านคลองกระหรือระนองเลย เพราะจะขุดยาก ขุดแล้วจะต้องล้ำเข้าไปในแนวพม่า กลายเป็นคลองสองประเทศและระนองเป็นที่สูง หากขุดไปออกทะเลอ่าวไทยที่ชุมพร อาจจะต้องยกคลองขึ้นสูง เรืออาจจะวิ่งเหนือรถยนต์เช่น คลองเล็ก ๆ หลายคลองในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เคยเห็นมาแล้ว และหลายท่านหรือแม้แต่เอกสารการท่องเที่ยวก็ไปเขียนไว้ว่า การขุดคลองกระมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง แต่กระทบต่อความมั่นคงของชาติด้านการทหาร ผมขอรับรองว่าไม่มีการกระทบต่อความมั่นคงของชาติด้านการทหาร เมื่อผมเป็นกรรมการ ผมก็ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมกรรมการทหารทราบว่า ปัญหาข้อนี้ตัดออกไปได้เลย ถ้าเป็นสมัยที่มลายูยังอยู่ในการปกครองของอังกฤษยังพอมีผลบ้าง แต่ปัจจุบันทั้งมลายู (มาเลย์เซีย) และเมียนม่า เป็นเอกราชหมดแล้ว หากจะกระทบละก็กระทบกับพม่าแน่นอน เพราะจะขุดคลองกระให้เรือเดินสมุทรขนาดหลายแสนตันผ่านนั้น ไม่ใช่ให้วิ่งเข้ามาตามลำน้ำกระบุรีก่อนแล้วจึงมาเข้าคลองกระ ไปอีกร่วม ๙๐ กิโลเมตร จึงจะออกอ่าวไทย เรือขนาดหลายแสนตันเข้าแม่น้ำกระบุรีไม่ได้ ต้องขยายแม่น้ำออกไปทั้งสองฝั่ง ขยายฝั่งเดียวก็ไม่ได้ อีกฝั่งเขาต้องพังลงมาคือฝั่งพม่า ดังนั้นเมื่อขุดคลองกระตรงนี้ขยายแม่น้ำกระบุรีออกไปและยังต้องสร้างถนน สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมากมายจะไปสร้างฝั่งเดียวไม่ได้ ต้องสร้างทั้ง ๒ ฝั่ง พม่าจะยอมง่าย ๆ หรือ เลิกคิดได้ว่าจะขุดคลองกระกันตรงนี้ไปขุดกันตรงโน้นตะกั่วป่า สุราษฎร์ธานี  คณะกรรมการชุดที่ผมเป็นรอง ฯ ได้เสนอขึ้นไปพร้อมทั้งข้อกำหนดเรียบร้อยแล้วว่าสมควรขุด และทางฝ่ายรัฐบาลก็ตั้งกรรมการขึ้นอีกร่วมสิบชุดแยกกันพิจารณาในรายละเอียนเช่น ปัญหาน้ำเค็ม เข้าคลองแล้วจะซึมไปสองฝั่งคลอง ไกลแค่ไหน มีผลอย่างไรต่อดิน คลองนั้นกว้างประมาณ ๒๘๐ เมตร ลึก ๒๓ เมตร น้ำทะเลจะไหลเข้ามาผ่านคลองอย่างมหาศาลต่อเนื่อง ต้องใช้เวลาในการพิจารณา ส่วนนายทุนนั้นไม่ต้องห่วง เงินสำรองประมาณสองพันล้านบาท เงินก่อสร้างประมาณเก้าแสนล้านบาท มีเจ้าสัวอยากจะมาทำกันแยะไป

            คอคอดกระ  เป็นแผ่นดินส่วนที่กิ่วและแคบที่สุดของแหลมมลายู กว้าง ๙ กิโลเมตร พื้นที่ด้านตะวันตกอยู่ในเขตของกระบุรีหรือเมืองตระมาก่อน มีภูเขาสลับซับซ้อน มีทางลัดผ่านช่องเขาเพียงสายเดียว  เมื่ออังกฤษมาได้มะริด ทวาย ตะนาวศรี ไปจากไทยแล้ว ดินแดนคอคอดกระจึงถูกแบ่งให้อยู่ในเขตไทยและเขตพม่า
           เมื่อเสด็จประทับแรม  ระนองเคยเป็นเมืองเสด็จประทับแรมของพระมหากษัตริย์ถึง ๔ พระองค์
                ๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ บริเวณเขานิเวศน์คีรี เมืองระนอง ๓ ราตรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓ ปัจจุบันพระที่นั่งแห่งนี้คือศาลากลางจังหวัดและในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสแหลมมลายูทั้งทางบกและทางเรือ แวะประทับที่ระนองและที่รอยต่อของจังหวัดชุมพรกับระนอง มีหินที่ลงพระปรมาภิไธยไว้เรียกว่า "หิน จปร." การเสด็จครั้งนี้ได้พระราชทานนามถนน ในเขตเทศบาลเมืองระนองชื่อคล้องจองกันรวม ๑๐ สาย ได้แก่ "ท่าเมือง เรืองราษฎร์ ชาติเฉลิม เพิ่มผล ชลระอุ ลุวัง กำลังทรัพย์ ดับคดี ทวีสินค้า ผาดาด" และนามที่พระราชทานนี้ล้วนมีความหมายเช่น เส้นทางไปบ่อน้ำร้อนชื่อ "ถนนชลระอุ" หรือถนนดับคดีคือถนนที่จะไปศาล
                ๒. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐
                ๓. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสระนอง เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑
                ๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ เสด็จเมื่อ ๗ มีนาคม ๒๕๐๒
           เมืองปกครองแบบพิเศษ  มีการแต่งตั้งเจ้าเมือง ผู้ว่าราชการเมือง โดยการสืบทอดทายาท เป็นเวลาเกือบร้อยปีเช่น บุตรท่านคอซู้เจียง พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ท่านเป็นเจ้าเมืองคนแรก บุตรของท่านคือ คอซิมเจ่ง ได้เป็นผู้ช่วยราชการเมืองระนอง แต่ถึงแก่กรรมในตำแหน่งเสียก่อน จึงไปไม่ถึงเจ้าเมืองท่าน คอซิมก๊อง เป็นผู้ช่วยราชการเมืองระนอง แล้วเลื่อนไปจนนถึงพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี สมุหหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร
                ท่านคอซิมจั๊ว  ถึงแก่กรรมในตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง
                ท่าคอซิมขอม  เป็นผู้ช่วยราชการเมืองระนอง แล้วเลื่อนเป็นพระยาอัษฎางคตทิศรักษา ผู้ว่า ฯ เมืองกระบุรี
                ท่านคอซิมเต็ก  พระยาจรูญราชโภคากร เป็นผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน
           คอซิมบี้  ท่านผู้นี้สำคัญกว่าทุกท่าน ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๕ ต่อมาเป็นหลวงบริรักษ์โลหวิสัย ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง แล้วเลื่อนเป็นพระอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่า กระบุรี ต่อมาเลื่อนขึ้นเป็น พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ผู้ว่าราชการเมืองตรัง แล้วเลื่อนขึ้นเป็น สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต  เสียดายที่ท่านผู้นี้ถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่งสมุห ฯ เมื่ออายุยังไม่ถึง ๖๐ ปี ไม่เช่นนั้นคงสร้างประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองได้อีกมาก
           จวนเจ้าเมืองระนอง สร้างในสมัย คอซู้เจียง แต่ผู้สร้างคือท่านคอซิมเก๊อง บุตรคนที่ ๒ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองระนอง มีพื้นที่ประมาณ ๓๓ ไร่เศษ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว
           สุสานเจ้าเมืองระนอง  ตั้งอยู่ที่เนินเขาระฆังทอง ตำบลบางนอน อำเภอเมือง ในเส้นทางเข้าเมือง เป็นที่ดินที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ ๕ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ บริเวณสุสานล้วนทำด้วยศิลาที่สั่งมาจากจีน ล้วนมีความหมายทั้งสิ้นได้แก่ เสาศิลาด้านซ้ายและขวา รูปปั้นแพะ หมายถึงโภคทรัพย์และความมั่งคั่ง  รูปปั้นม้า คือข้าทาสบริวาร รูปปั้นเสือหมายถึงพลังอำนาจ รูปขุนนางฝ่ายบู๊หมายถึงขุนนางที่ทำหน้าที่ในราชสำนัก
          เมืองท่องเที่ยวเพื่อรักษาสุขภาพ  ระนองมีน้ำแร่ตามธรรมชาติที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดในประเทศ หากมาจากชุมพรตามถนนสาย ๔ เพชรเกษมสายดั้งเดิม (กำลังขยายถนน) พอผ่านโรงแรมสปาอินน์ ก็มีถนนระหว่างสปาอินน์กับโรงแรมจันทร์สมธารา เข้าไปยังสวนสาธารณะรักษะวลิน ที่นี่บ่อน้ำแร่ร้อน ๓ บ่อ บ่อพ่อ แม่ ลูก บริการอาบแช่น้ำแร่เพื่อรักษาสุขภาพ อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมถามเทศบาลระนอง โทร. ๐๗๗ ๘๑๑๔๒๒
            เลยบ่อน้ำร้อนนี้เข้าไปอีก ๒ กิโลเมตร ก็จะถึงวัดหาดส้มแป้น ซึ่งมีทะเลสาปน้อย ๆ ซึ่งเป็นขุมเหมืองเก่า เลยวัดหาดส้มแป็นไปอีกก็จะถึง "ระนองแคนย่อน" ทะเลสาปน้อยที่เชิงเขาล้อมรอบ เงาสะท้อนลงสู่พื้นน้ำสวยทีเดียว เส้นทางนี้จะเลยต่อไปยังอำเภอละอุ่นได้ ซึ่งที่อำเภอละอุ่นนี้ มีซากเรือรบญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ญี่ปุ่นมาตั้งฐานส่งกำลังบำรุงไปพม่าอยู่ที่เขาฝาชี เรือจมอยู่ในแม่น้ำละอุ่น ข้างสะพานข้ามแม่น้ำ
            โรงพยาบาลระนอง มีการนำน้ำแร่เข้าสู่โรงพยาบาล จัดเป็นคอร์สให้ผู้สูงอายุพักโรงพยาบาล นวดด้วยน้ำแร่
            ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพน้ำแร่ โรงพยาบาลระนอง ติดต่อ โทร. ๐๗๗ ๘๑๒๖๓๐ - ๓ ต่อ ๑๔๐ จะจัดโปรแกรมน้ำแร่ธาราบำบัด อาบสมุนไพร นวดตัว นวดฝ่าเท้า จัดทัศนศึกษานอกสถานที่ โปรแกรมนี้น่าสนใจ
            ส่วนโรงแรมจันทร์สมธารา ที่ผมเคยพักประจำก็มีท่อน้ำแร่ต่อเข้าโรงแรมอาบฟรี โทร.๐๗๗ ๘๑๒๕๑๖ จองโรงแรม
            ระนองยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง มีอุทยานแห่งชาติแหลมสน มีหาดบางเบน และหาดแหลมสนที่งดงาม
            อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ตรงข้ามกับภูเขาหญ้า หรือเขาหัวโล้น ฟดูแล้งหญ้าแห้งเป็นสีทอง ฤดูฝนหญ้าขึ้นเขียวชอุ่มสีเขียวสด ไม่มีต้นไม้ใหญ่เลย ส่วนน้ำตกหงาวอยู่บนเขาทางขวามือ ทั้งภูเขาและน้ำตกมองเห็นได้จากถนน
           ท่าเรือ  ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นเมืองใหม่ของระนองไปแล้ว มีเรือหางยาวสำหรับข้ามฟากไปฝั่งพม่า ไปเกาะสอง ไปเล่นการพนันหรือไปพักที่โรงแรม ผมไม่เคยไปเลยไปดูแต่ท่าเรือ ที่มีสะพานปลา คนงานเกือบทั้งหมดเป็นชาวพม่า ระนองน่าจะมีคนงานพม่าเข้ามาทำงานมากยิ่งกว่าที่อื่น ไม่กลัวปัญหากันบ้างหรือเขามาอยู่เพื่อมาหาเงิน ไม่ได้มาอยู่ด้วยความรักแผ่นดินไทย
            จากตัวเมืองระนอง หากล่องใต้ต่อไป ไปยังอำเภอกะเปอร์ และต่อไปยังคุระบุรี ตะกั่วป่า ท้ายเหมืองของพังงา และพอถึงโคกกลอยก็จะต่อไปอีกนิดเดียวก็ข้ามสะพานเทพกษัตรีไปยังภูเก็ต
            ๑๓ กิโลเมตร จากตัวเมืองระนอง คือศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาว เป็นพื้นที่บริเวณป่าชายเลนที่สมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้หายากมากกว่า ๒๐ ชนิด เช่นต้นตำปูนดำยักษ์ อายุมากกว่า ๓๐๐ ปี สัตว์ป่าชายเลนที่หาดูยากนักเช่น ปูก้ามกามหลากสี (อัญมณีแห่งชายเลน) แม่หอมฝูงลิงแสมและนาก มีหมู่บ้านชาวเล ติอต่อ โทร.๐๗๗ ๘๔๘๓๙๑
            โรตีตำบลหงาว จากตัวเมืองมา ๑๔ กิโลเมตร ทางขวาจะเห็นป้ายเทศบาลตำบลหงาว หากเลี้ยวขวาเข้าไปตามถนนประชาพิทักษ์ ปากทางระหว่าง กม.๖๒๗ - ๖๒๖ ผ่านตลาดนัดเช้า หอนาฬิกา เลยไปอีกนิดจนถึงปากซอยประชาพิทักษ์ ๕ ห่างป้ายซอยสัก ๑๐ เมตร ร้านหัวมุม และร้านที่ถัดไปอีก ๒ ห้องเป็นร้านเดียวกันชื่อร้าน นันทนา แต่ร้านเดียวกัน ร้านหัวมุมที่กำลังทำโรตีอยู่นั้นชื่อ นิสรา โทร. ๐๗๗ ๘๒๑๔๑๕  ร้านนันทนานั้นตั้งกะทะทอดไก่ ทอดน่ากิน โรยด้วยหอมเจียว มีข้าวเหนียว ส่วนร้านหัวมุมนั่งได้แต่แน่น มานั่งร้านไก่ทอดดีกว่ากินไก่ด้วย โรตีอร่อยสุด ๆ มีแกงกะหรี่ไก่ ชามละ ๑๐ บาท จิ้มโรตี พอท้องใกล้จะอิ่มอาหารอาหารคาวก็เปลี่ยนเป็นเอาโรตีจิ้มนมแทน มีนมข้นวางไว้ให้บนโต๊ะเลยทีเดียว และผมพึ่งหายเชยเพราะไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้โรตีเขาก้าวหน้าไปถึงขั้นทำใส่ถุงแช่แข็งกันแล้ว ซื้อกลับมากรุงเทพ ฯ ยังได้ อาศัยตอนเย็น ๆ หอบไปเข้าตู้เย็นโรงแรมช่องแข็งเอาไว้ เช้าก็แบบกกลับมา ร้านนี้มีโรตีแช่แข็งด้วย เอากลับมาทอดใหม่เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ อร่อยนัก เสียดายไม่รู้จะซื้อแกงกะหรี่เขาได้อย่างไร เพราะอร่อยมาก ๆ มีน่องไก่ด้วย
            โรตีหงาว  โรตีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดยังตามหาชิม "ผู้ว่าบอกว่าอร่อยที่สุดในเมืองระนอง" เกือบลืมบอกไปต้องสั่งชาร้อนใส่นม ชงชาอร่อยมาก เป็นชาอินโดจีน เขาบอกว่าซื้อมาจากหาดใหญ่
            เลยต่อไปจนถึงหลักกิโลเมตร ๖๔๑ เลี้ยวซ้ายจะเข้าไปยังน้ำตกโตนเพชร ตำบลราชกรูด เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีทั้งหมดถึง ๑๑ ชั้น น้ำไหลตลอดปี ผ่านชะง่อนหินที่มีรูปทรงสวยงามมาก กำเหนิดจากเทือกเขาพ่อตาโซงโคง เสียดายที่รถยังเข้าไม่ถึง เมื่อเลี้ยวซ้ายเข้าไปแล้วก็ไปตามถนนคอนกรีต ต่อด้วยลูกรัง มีป้ายบอกทางเข้าค่ายลูกเสีอ และ "โตนเพชร จังเกิลรีสอร์ท" เมื่อเข้าไปได้สัก ๒ กม. จะมีทางแยกไปน้ำตกโตนเพชร แยกไปแล้วต้องจอดรถเดินต่อประมาณ ๑ ชั่วโมง แต่ตรงทางแยกนี้หากแยกไปทางซ้ายไปข้ามลำธารหลายแห่งที่มีฝายกั้นน้ำคอนกรีต รถข้ามได้สบาย ไปเรื่อย ๆ ตามเส้นทางลูกรังก็จะไปยัง "โตนเพชร จังเกิลรีสอร์ท" ซึ่งเป็นความริเริ่มของกำนันตำบลราชกรูด (ชื่อตัวท้ายเหมือนชื่อผมเลย) กำนัน จัดรีสอร์ทนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในตำบล ทำกับลูกบ้าน ไม่ได้จ้างมืออาชีพมาจากไหน ทำคล้าย ๆ โฮมสะเตย์ แต่ไม่ได้พักบ้านชาวบ้านเท่านั้น สร้างบ้าน สำนักงาน ด้วยวัสดุในป่าทั้งสิ้น สร้างกระท่อมหลังเล็ก ๆ ชั้นเดียว ยกพื้นสูง มีที่นอน มีมุ้งกาง เครื่องใช้ทำจากไม้ในป่าและไม้ไผ่ ที่ดินไม่ได้อยู่ในเขตป่าสงวนหรืออุทยานแห่งชาติ พื้นที่อนุญาตให้ทำกินได้ ตกแต่งพื้นที่สวย เป็นธรรมชาติจริง ๆ มีชาวบ้านรับจ้างพาเดินท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ไปสู่ยอดเขาที่มีลานกว้างใหญ่ ใช้เวลาเดินแค่ชั่วโมงเศษ ๆ มีสำนรักงาน ห้องอาหารพร้อม เวลานี้เปิดให้เข้าพักได้แล้ว ติดต่อกำนัน โทร.๐๗๗ ๘๔๐๐๖๐, ๐๖ ๗๓๙๗๔๘๗ เพื่อจองที่พักราคาถูก หากไปก่อนพฤศจิกายน ๒๔๕๖ ต้องบอกเขาเรื่องความต้องการอาหารด้วย
            ห้องสุขา ใหญ่มาก เพราะทุกห้องจะสร้างห้องสุขาโอบต้นไม้ใหญ่ที่ยังไม่ตายเอาไว้ โคนไม้ปลูกไม้เลื้อยขึ้นไป ห้องสุขาไม่มีหลังคา อาบน้ำ ใช้สุขาท่ามกลางแสงจันทร์ได้เลย แต่ไม่ร้อนเพราะมีต้นไม้โล่ง ๆ ดีพิลึก หนุ่มสาวคงชอบมากกว่าผู้สูงอายุ แต่แม้จะไม่มีหลังคาก็ไม่มีใครปีนชมได้ เขาปลูกบ้านพักห่างกัน มีน้ำอุ่น จะนั่งอาบนอนอาบเท่าไรไม่ว่ากัน เพราะเขาต่อท่อมาจากน้ำตกขนาดเล็กรอบที่พักมีอีกหลายแห่ง จึงใช้น้ำฟรี ราวตากผ้าไม้ไผ่ ขอแขวนผ้าไม้ขอ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติหมด เว้นสุขานั้นเป็นสากล "คือส้วมโถ" ชักโครกยี่ห้ออย่างดีทีเดียว ได้ความว่ากำนันก็เป็นแฟนหนังสือของผมเหมือนกัน บอกว่าทำส้วมโถเพื่อคนสูงอายุ คนอ้วน คนพิการ และฝรั่ง รีสอร์ทของตำบลราชกูด ฝรั่งถนนข้าวสารชอบมาก บอกว่าบางคนมาพักเป็นเดือน เพราะเขามีที่เที่ยวไปตกปลา ไปขึ้นเขา ไปน้ำตก เข้าเหมืองก็ได้ กลับไปแล้วจองปีหน้าต่อไปเลยก็มี บอกเพื่อนฝูงให้มาก็มี พักกันทีนาน ๆ ผมไปนอนมาหนึ่งคืนชอบมากจะไปอีก
            ผมให้เขาทำอาหารให้ อาหารพื้นเมืองแท้ แกงหัวตือหรือสะตือ ล้างพิษได้ ผัดสะตอ แกงมัสหมั่นแพะ ต้มยำหัวปลา ใบเหลียงผัดไข่ แกงเผ็ดปลา และหอยแมลงภู่อบ ให้เขาทำเอง ไม่ได้กำหนดชื่ออาหาร "อร่อยจริง ๆ "
            ทีนี้กลับมาย้อนอดีต ซาลาเปา ทับหลี ถ้ามาจากตัวเมืองระนองมาทางอำเภอกระบุรี เลยมาอีกก็จะถึงจุดคลองกระ ส่วนที่แคบที่สุดเลยมาอีกนิดเดียวจะพบป้ายยกไว้ว่า "หมู่บ้านซาละเปาอร่อยที่สุดในประเทศไทย"
            เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ผมกับเพื่อนอีก ๓ คน อุตริขับรถจิ๊บมาจากปราจีนบุรี รถพ่วงบรรทุกน้ำมัน ๒๒๐ ลิตร ผ่านมาตรงทับหลี ทางซ้ายมือ เมื่อมาจากชุมพรกิโลเมตร ๕๔๑ - ๕๔๒.๕ โดยประมาณ เห็นมีลังถึงตั้งอยู่ริมถนนขายซาละเปา มีอยู่รานเดียวชื่อร้าน "ฮั่นติงหย่วน" ตั้งอยู่กลางป่าแปลกดี ลงซื้อกินและพอกัดเข้าไปเท่านั้นลงความเห็นว่าต้องซื้อไปกินตามทางเป็นเสบียง เพราะสมัยนั้นหาร้านอาหารยาก ถนนจากระนองไปตะกั่วป่า ไม่มี
            ทับหลีทุกวันนี้มีร้านดั้งเดิม ฮั่นติงหย่วน ตัวก๋งต้นตระกูลซาละเปาทับหลีซี้ไปแล้ว ร้านเปลี่ยนไปขายอย่างอื่น แต่ซาละเปาทับหลีเกิดตามมาอีกกว่า ๒๐ ร้าน และรุกเข้ามาขายที่จังหวัดอื่นหน้าปากซอยบ้านผมก็ยกป้ายทับหลีแต่รสไม่ใช่ ทับหลีรสต้องเข้ม แป้งต้องนุ่มพิเศษ เวลานี้ซาละเปาทับหลี ที่รุ่นก๋ง ทำโต๊ะจีนและซาละเปามาพร้อมกับก๋ง ฮั่นติงหย่วนได้ให้ชั้นหลานซึ่งเป็นบัณฑิตสาวแถมสวยจบจากรามคำแหง สองพี่น้องขายซาละเปาอยู่ในหมู่บ้านทับหลีนี่แหละ เข้าหมู่บ้านแล้วอยู่กลาง ๆ หมู่บ้าน ร้านเขามีทั้งซ้ายและขวาของถนนชื่อร้าน "โกซิน" มีซาละเปา ขนมจีบ ไส้หมูแดง สังขยา ไส้หมูสับ ถั่วดำ หมูหยอง ซาละเปาลูกละ ๓ บาท ขนมจีบ ๒ บาท มีพวกของฝากเช่นไตปลาปลาทู กุ้งเสียบ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะขามแก้ว กล้วยกวนขายด้วย เนื่องจากทันสมัยเลยทำเคาน์เตอร์น้อย ๆ ขายกาแฟสดด้วย ชงอร่อยเสียด้วย ร้านนี้มีโต๊ะอยู่ ๒ ตัว เก้าอี้ ๕ - ๖ ตัว ยืนซดเอาก็แล้วกัน อยากกินของอร่อยก็ต้องยอม รถเข็นขายโอ้เอ๋ว เจ้าอร่อยที่สุดในภูเก็ตในตรอกข้างสยามสปอร์ทคลับ ถนนเยาวราช ยิ่งกว่านี้มีโต๊ะเดียว เก้าอี้ ๒ ตัว อยากกินขี้เกียจรอโต๊ะว่าง ยืนซดเสียเลยรู้แล้วรู้รอดไป

................................................................


| หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์