ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| หน้าต่อไป |

กำแพงเพชร (๑)

            เมืองกำแพงเพชรนั้นเป็นเมืองเก่าแก่นานกว่า ๗๐๐ ปีแต่ไม่ปรากฏ หลักฐานผู้สร้าง ไม่เด่นชัดเหมือนเชียงใหม่ว่าพระเจ้าเม็งรายมหาราชได้สร้างไว้ ประวัติของเมืองกำแพงเพชรจึงมีทั้งประวัติที่วิเคราะห์ว่า น่าจะเป็นและตำนาน เอาตำนานกันก่อน ผมเคยเล่าถึงวัดพระธาตุจอมกิติ ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายไปแล้วว่า เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๘๓ นั้นพระเจ้าพรหมมหาราช โอรสของพระเจ้าพังคราช ได้เสด็จขึ้นไปสร้างองค์พระบรมธาตุที่ดอยน้อย หรือที่เรียกว่าพระธาตุจอมกิติ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงแสน ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร แล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ พระเจ้าพรหมมหาราชองค์นี้ มีบุญญาธิการมาก จนยกย่องให้เป็นมหาราชองค์แรกของไทย เมื่อประสูติ เมืองเชียงแสน ถูกขอมครอบครองอยู่ และขอมได้เนรเทศพระเจ้าพังคราช ราชบิดาของพระเจ้าพรหม ออกไปอยู่เมืองอื่น จนเมื่อพระเจ้าพรหมประสูติและฝึกปรือกำลังพล จัดหาอาวุธตลอดจนได้ช้างเผือกคู่บารมี จึงแข็งเมืองต่อขอม และจะไปตีเอาเชียงแสนคืนมา ขอมยกทัพมาปราบ (บ้างก็ว่าเป็นทัพขอมที่อยู่ ณ เมืองอุมงคเสนานคร หรือเมืองฝาง) พระเจ้าพรหมก็ขี่ช้างเผือกพางคำออกต่อสู้และได้รับชัยชนะ พอชนะแล้วก็ขี่ช้างยกทัพโยธาไล่ตี พวกขอมหนีหัวซุกหัวซุนลงมาทางใต้ จนถึงที่ตั้งเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบันนี้ ร้อนถึงพระอินทร์ "ทิพย์อาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา กระด้างดังศิลาประหลาดใจ" (จากสังข์ทอง) พระอินทร์ส่องกล้องทิพย์ของท่านดูรู้ว่าหากไม่ช่วยขอม ขอมสูญพันธุ์แน่ จึงให้พระวิษณุกรรมเทวบุตรลงมา เนรมิตเมืองเป็นกำแพงศิลากั้นทางเดินทัพของพระเจ้าพรหมเอาไว้ ด้วยเทวานุภาพพระเจ้าพรหม ก็ไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ พวกขอมที่รอดตายพากันล่องลงแม่น้ำระมิง ล่องไปจนถึงฝั่งมหาสมุทร เมืองอินทปัตนครแดนกัมพูชา พระเจ้าพรหมกุมารยกทัพกลับนครโยนกนาคบุรี จึงได้ชื่อเมืองที่เทวดามาสร้างไว้นี้ว่า เมืองกำแพงเพชร
            ทีนี้มาดูจากประวัติจาก พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตเลขา ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ถือว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้กล่าวถึงเมือง ๓ เมือง ที่ซ้อนทับกันอยู่ในปัจจุบัน (ความจริงยังมีไตรตรึงษ์อีกเมืองหนึ่ง แต่ไม่มาทับเหมือนสามเมืองนี้) ๓ เมืองที่ว่าซ้อนทับกันคือ เมืองชากังราว นครชุม และกำแพงเพชรที่เกิดขึ้นทีหลัง
            ในพงศาวดารได้ทรงวิเคราะห์ไว้ว่า
            ข้าพเจ้าจะต้องอธิบายเรื่องเมืองชากังราวไว้ตรงนี้สักหน่อยหนึ่ง ด้วยยังไม่ได้พบอธิบายในที่อื่นว่าเมืองชากังราว เป็นเมืองไหนแน่ในปัจจุบันนี้
            ในหนังสือพระราชพงศาวดารมีเรื่องเกี่ยวกับเมืองชากังราวหลายแห่ง ในตอนแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชนี้ เป็นอย่างมาก แต่ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ยังออกชื่อเสียงชากังราวลงไปถึงแผ่นดิน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบแผนที่เข้ากับเรื่องที่มาใน พระราชพงศาวดารเห็นว่า เมืองชากังราวจะเป็นเมืองอื่น นอกจากเมืองกำแพงเพชรทุกวันนี้ไม่ได้ และได้พบหลักฐานประกอบในพระราชกฤษฎีกาของ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เรียกชื่อเมือง "ชาดงราว" กำแพงเพชรควบไว้ดังนี้ (คำว่า ชาดงราว นั้นเชื่อได้แน่ว่า ผู้คัดลอกเขียนผิดมาจาก ชากังราวนั่นเอง)
            ที่เมืองกำแพงเพชร ที่จริงมีเมืองตั้งติดต่อกันอยู่ถึง ๓ เมือง คือ เมืองหนึ่งอยู่ข้างฝั่งตะวันออกยังมีพระมหาธาตุอยู่ เมืองนี้ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเป็นเมืองเดิมที่มีชื่อเรียกว่า ชากังราว ต่อมาสร้างเมืองขึ้นอีกเมืองข้างฝั่งตะวันตก เมืองนี้เห็นชื่อในจารึกของพระมหาธรรมราชา (ลิไท) เรียกว่าเมืองนครชุม มีวัดวาอารามใหญ่โต ซึ่งเป็นฝีมือสร้างครั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีอยู่หลายวัด
            ต่อมาเห็นจะเป็นด้วยเกิดเกาะขึ้นตรงหน้าเมืองนครชุม สายน้ำเปลี่ยนไปเดินข้างตะวันตก ทำให้เมืองนครชุมเป็นเมืองดอนไป จึงสร้างเมืองกำแพงเพชร เดี๋ยวนี้ขึ้นที่ริมแม่น้ำหน้าเมืองนครชุม มีป้อมกำแพงอย่างแข็งแรงไว้ต่อสู้ข้าศึก อยู่ตรงกับเมืองชากังราวเดิม ชาวข้างใต้คงจะเรียกชื่อเมืองชากังราวอยู่ตามเดิมโดยมาก โหรจึงใช้ชื่อนั้นจดลงในปูมและพระราชกฤษฎีกาของ สมเด็จพระรามาธิบดี จึงใช้ควบกันทั้งชื่อเก่าและชื่อใหม่ ที่หนังสือพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จยกกองทัพหลวงขึ้นไปตีเมืองชากังราวนั้นคือ ไปตีเมืองกำแพงเพชรเป็นแน่ โดยไม่มีที่สงสัย..... เป็นบทวิเคราะห์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงวิเคราะห์ประวัติเมืองกำแพงเพชรไว้
            ยังมีแถมอีกนิดว่า สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ยึดได้เมืองสุโขทัยไว้ในอำนาจ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๑ และแบ่งอาณาเขตของสุโขทัยเป็น ๒ อาณาเขต คือ ให้พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (พญาไสยลือไท แห่งราชวงศ์สุโขทัย) ปกครองเขตทางลำน้ำยม ลำน้ำน่าน และให้พระยาญาณดิศ ราชบุตรบุญธรรม ปกครองเขตทางลำน้ำปิง โดยมีเมืองชากังราวเป็นราชธานี แล้วเปลี่ยนเป็นเรียกชื่อว่ากำแพงเพชรตั้งแต่นั้นมา
            ไปกำแพงเพชรนั้นไปได้หลายหนทาง ไปเครื่องบินก็ได้แต่ต้องไปลงที่สุโขทัย แล้วนั่งรถมาอีกกว่า ๘๐ กิโลเมตร ใครจะอุตริไปทางเรือก็ได้คงไม่เกินเดือน ไปตามลำน้ำเจ้าพระยา จนถึงปากน้ำโพ แล้วแยกไปตามลำน้ำปิงก็จะถึงกำแพงเพชรได้ ส่วนผมนิยมไปรถยนต์ที่ขับเอง ขับกันมาตั้งแต่ยังไม่มีถนนราดยางแม้แต่เมตรเดียว จนเดี๋ยวนี้ถนนราดยางตลอดจากกรุงเทพ ฯ ยันเชียงใหม่ และเป็นถนนสี่เลน เป็นอย่างน้อยหมดแล้ว ๓๕๘ กิโลเมตรจากกรุงเทพ ฯ ถึงกำแพงเพชร จึงไปได้เร็วมาก จะช้าก็ตอนผ่านเมืองนครสวรรค์ เพราะยังไม่มีถนนเลี่ยงเมือง แต่ถึงจะสร้างถนนเลี่ยงเมืองที่นิยมเรียกกันว่า บายพาส ก็คงไม่ใกล้นักจะให้ดีสร้างถนนยกระดับ ข้ามถนนสายพหลโยธิน เริ่มกันตั้งแต่ก่อนถึงหน้าค่ายทหารสักหน่อย แล้วยาวไปจนเลยทางแยกขวาที่แยกพิษณุโลก ก็จะช่วยลดการรถติดในการวิ่งผ่านตัวเมืองนครสวรรค์ได้
            จากนครสวรรค์ไปอีก ประมาณ ๑๑๘ กิโลเมตร ก็จะถึงทางแยกเข้าตัวเมืองกำแพงเพชร แต่หากวิ่งไปอีกหน่อยเดียวจะถึงสะพาน หากวิ่งลอดใต้สะพานกลับมาแล้วเลี้ยวซ้ายก็จะเข้าเมืองกำแพงเพชรได้เช่นกัน แต่เป็นการวิ่งผ่านเมืองนครชุมไป และผ่านวัดสำคัญคือ วัดพระบรมธาตุ และเมืองนครชุมนี้ก็จะอยู่ตรงกันข้าม กับเมืองโบราณกำแพงเพชร แต่นครชุมนั้นไม่ได้รวมอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
            เมื่อเลี้ยวเข้าเมืองกำแพงเพชร ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำมาแล้ว จะมาผ่านวงเวียน (หากเลี้ยวขวาก็เข้าตัวตลาด ตัวเมือง) หากตรงไปอีกหน่อยแล้วเลี้ยวซ้าย ก็จะมายังอุทยานประวัติศาสตร์
            สิ่งก่อสร้างในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่เป็นโบราณสถานนั้น ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง การก่อสร้างกำแพงเมืองก็เช่นเดียวกัน จึงแข็งแรงมากและจึงได้ชื่อว่ากำแพงเพชร
            เอกลักษณ์ของโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรนั้น หากสังเกตให้ดี จะเห็นความแตกต่างกว่าที่อื่น อย่างเห็นได้เด่นชัด คือ.-
            ๑.  ศิลาแลงที่จะนำมาก่อสร้างนั้นจะขุดเอามาจากบ่อใกล้สถาน ที่ก่อสร้างนั่นเอง บ่อจึงยังคงอยู่
            ๒.  ต้องมีสระน้ำขอบศิลาแลง
            ๓.  มีห้องน้ำ ศิลาแลง (มักจะอยู่ด้านหน้า)
            ๔.  มีศาลา (ศาลานั่งพักของผู้ที่มาทำบุญ มาทำธุรกิจในตัวเมือง)
            ๕.  เสาศิลาแลง จะฉาบวัสดุคล้ายฉาบด้วยปูน (น้ำอ้อย ปูนขาว ทราย หนังสัตว์ ยางไม้ น้ำ) คือเอกลักษณ์ที่จะพบในการ ก่อสร้าง โบราณสถานของกำแพงเพชร
            ย้อนมาดูฝั่งนครชุม คือฝั่งของเมืองนครชุมก่อนที่จะข้ามฟากมายังฝั่งกำแพงเพชร มีวัดสำคัญคือ วัดบรมธาตุ ซึ่งศิลาจารึกสมัยสุโขทัย หลักที่ ๓ ได้ค้นพบที่วัดนี้ ได้ระบุไว้ว่า พระเจ้าลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้เสด็จมาประดิษฐาน พระธาตุไว้ในเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๐ เจดีย์พระบรมธาตุเดิมจึงน่าจะเป็นเจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูม อันเป็นเจดีย์เอกลักษณ์ ของสุโขทัยราชธานี แต่มาในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ เศรษฐีพ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้หนึ่งขออนุญาตทำการบูรณะ จึงบูรณะด้วยการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ครอบเจดีย์เดิม และสร้างแบบเจดีย์ มอญ - พม่า เจดีย์ทรงนี้จะให้ความสำคัญแก่ฐานซ้อนลดหลั่น โดยสอบเข้าเพื่อขึ้นไปรองรับทรงระฆัง และเรียวต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงยอด
            ลักษณะเจดีย์ของกำแพงเพชร จะแบ่งออกได้อย่างเด่นชัดว่ามี ๓ แบบ เวลาไปชมละก็ให้ยืนสังเกตดี ๆ จึงจะเห็นชัดว่ามีเจดีย์แบบสุโขทัยทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบหนึ่ง เจดีย์ทรงกลมรูประฆังคว่ำแบบลังกา ตอนล่างทำเป็นช้างหรือสิงห์โตอยู่โดยรอบ และเจดีย์แบบที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มุมละห้าเหลี่ยม มีระฆังคว่ำแบบเจดีย์ลังกาอยู่ตอนบน

            ในนครชุม มีเจดีย์สำคัญอยู่องค์เดียว องค์อื่น ๆ มีแต่เล็ก ๆ และหากล่องใต้ลงมาตามลำแม่น้ำปิง อีกประมาณ ๑๘ กิโลเมตร จึงจะถึงเมืองเก่าอีกเมืองคือ ไตรตรึงษ์ ซึ่งเป็นเมืองเก่าร่วมสมัย เป็นเมืองสำคัญเช่นกัน เป็นที่ถือกำเนิด ของราชวงศ์อู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
            ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดสำคัญคือ วัดพระแก้ว  ซึ่งพระแก้วมรกตนั้นก่อนที่จะไปพบกันจนมีประวัติแน่นอน ที่วัดพระแก้วในเมืองเชียงรายนั้น ก็สันนิษฐานกันว่าไปประดิษฐานมาหลายแห่งแล้ว เช่นที่ลังกาก็เคย และที่วัดพระแก้วนี้ก็เคยประดิษฐานเช่นกัน แต่หลักฐานไม่แน่นอน เหมือนพบที่เจดีย์เมืองเชียงรายถูกฟ้าผ่าจนแตกเห็นองค์พระ ที่ยังฉาบปูนเอาไว้ และต่อมาปูนที่ฉาบห่อหุ้มไว้แตกอีกครั้ง จึงพบว่าเป็นองค์พระพุทธรูปที่สร้างด้วยแก้วมรกต
            วัดพระแก้วสร้างอยู่ใจกลางเมืองโบราณ แต่ก็อยู่ติดกับถนนใหญ่ที่ไปสุโขทัย วัดพระแก้ว สร้างเป็นแนวยาวจากตะวันออกไปยังตะวันตก สร้างวิหาร กับเจดีย์คู่กันเป็นชุด ๆ วิหารมีฐานสูงใหญ่
            ทรงปรางค์ ที่เรียกว่าบุษบก เรียกกันเช่นนี้เพราะเชื่อว่า พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ตรงนี้ ส่วนเจดีย์ประธาน คือ เจดีย์ทรงระฆัง ใหญ่กว่าเจดีย์องค์อื่น ๆ ส่วนฐานมีซุ้มอยู่ ๓๒ ชั้น ภายในซุ้มเคยมีรูปสิงห์ประดับไว้ ส่วนชั้นเหนือขึ้นมามี ๑๖ ซุ้ม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นที่ชำรุดเกือบทั้งหมด
            นอกจากนี้ภายในบริเวณวัด ยังมีซากอาคารและวิหาร อาคารยังเหลือส่วนฐาน มีพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ ๒ องค์ ประทับนอน ๑ องค์ ยังอยู่ในสภาพที่ดี ได้รับการบูรณะตกแต่งจนดูสะอาดตา และรื่นรมหมดแล้ว
            หากไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด จะมีทางเข้ากลุ่มโบราณสถานหรือเรียกว่าวัดป่า อันเป็นส่วนสำคัญของอุทยานแห่งนี้  ภายในวัดป่ามีวัดที่สำคัญเช่น วัดพระนอน วัดนี้จะมีการสร้างที่ครบตามเอกลักษณ์ดังที่ได้เล่าไว้ คือ มีศาลาพัก มีสระน้ำ บ่อน้ำ วัดพระสี่อริยาบถ สี่ด้านสี่องค์คือพระอริยาบถ ยืน นอน นั่ง อีกองค์คือปางลีลา
            การไปเที่ยวชมโบราณสถานของกำแพงเพชร หากไปเลยขึ้นไปทางที่เรียกว่า โบราณสถานอรัญญิก มีวัดวาอารามอยู่หลายแห่ง ยังไม่บูรณะก็มี เป็นป่าเลยทีเดียว ไม่เหมาะที่จะเข้าไปเที่ยวชม ๒ - ๓ คน ไม่แน่ว่ากลับออกมาจะเหลือกางเกงนุ่งออกมาหรือเปล่า ไปกันทั้งทีต้องยกขบวนไป มีไกด์ชาวเมืองนำไปละก็เหมาะ ผมไม่รู้เรื่องเมื่อก่อนนี้เคยเข้าไป ๒ คน ออกมาชาวบ้านร้องโวยว่าหลุดเข้าไปได้อย่างไร เลยบอกว่ามีพระดีถึงออกมาได้
            อีกแห่งที่ควรแก่การไปท่องเที่ยวอย่างยิ่งคือ พิพิธภัณฑ์ของกำแพงเพชร เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มีหนังสือขายด้วย หนังสือของกรมศิลปากรนั้นหากจะซื้อกันมาก ๆ น่าจะไปซื้อที่กรมศิลปากรจะได้มากกว่า เพราะไม่เช่นนั้นเที่ยววางขายตาม พิพิธภัณฑ์มีแห่งละไม่กี่เล่ม แต่ผมก็ตามซื้อเอามาจากแหล่งขายเหล่านี้ ไม่เคยไปซื้อที่กรมศิลปากรสักที ติดกับพิพิธภัณฑ์คือ เรือนไทยที่สร้างไว้งดงามมีของใช้อยู่ด้วย พิพิธภัณฑ์อยู่ติดกับอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เสียสตางค์นิดหน่อย ถูกกว่าที่เมืองพม่าแยะเลย ที่พิพิธภัณฑ์เมืองย่างกุ้งนั้นเขาเก็บค่าผ่านเข้าชมกับชาวต่างประเทศถึงคนละ ๕ ดอลล่าร์  แถมให้เป็นเงิน จ๊าต ของพม่าก็ไม่รับเสียอีก
            แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติของกำแพงเพชรนั้นมีมาก แต่ต้องไปกันทีละแห่ง ใช้เวลากันเป็นวันหรือนอนค้างคืน
            อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน  ห่างจากตัวเมืองลงมา ๖๕ กิโลเมตร
            อุทยานแห่งชาติแม่วงก์  เป็นรอยต่อของนครสวรรค์กับกำแพงเพชร มีน้ำตก มีบ่อน้ำร้อน
            อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า  ห่างจากตัวเมืองขึ้นไป ๗๐ กิโลเมตร เขตตำบลโกสัมพี
            เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสน - เขาสมานเพรียง
            นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมายหลายสิบแห่ง ๓ วันยังเที่ยวกันไม่ครบ ไปขอและซื้อเอกสารที่พิพิธภัณฑ์เสียก่อนแหละดี แล้วนอนพักสัก ๒ คืน หรือหากหนุ่มสาว หรือคนไม่เฒ่านักก็ไปนอนเสียตามอุทยาน ติดต่อกองอุทยานแห่งชาติ ๐๒ ๕๗๙๐๕๒๙
            พอลงจากสะพานข้ามแม่น้ำมาทางขวาของขอบสะพาน คือ ก๋วยเตี๋ยวนายหยา และข้าวมันไก่ มีก๋วยเตี๋ยวกุ้งด้วย ลงสะพานมา เลี้ยวซ้ายไปทางเรือนจำ หน้าโรงพัก อำเภอเมือง ฯ มีห้องแถวเก่า ๆ ๒ ห้องขายก๋วยเตี๋ยวอร่อย มีของกินหลายอย่างน่าจะเป็นครอบครัวตำรวจขายเอง ตำรวจนั่งกินกันแยะ เมื่อก่อนนี้พอลงสะพานมาตรงต้นโพธิ์ ที่สี่แยกทางซ้ายมือ มีร้านก๋วยเตี๋ยวชากังราวอยู่เจ้าหนึ่งเก่าแก่เลยทีเดียว ตอนนี้ย้ายไปแล้ว ต้องไปอย่างนี้คือ ลงสะพานแล้วเลี้ยวขวากลับหลัง วิ่งเลาะสะพานเข้าหาแม่น้ำปิง พอชนแม่น้ำเลี้ยวซ้ายวิ่งเลียบแม่น้ำไป จนถึงทางแยกซ้ายมองเห็นโรงแรมนวรัตน์อยู่ทางขวามือ วิ่งเลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงแรมไป แล้วเลี้ยวซ้ายอีกที ร้านก๋วยเตี๋ยวชากังราวอยู่ทางขวาหาง่าย
            ของกินเมืองกำแพงเพชรที่ลือชื่ออีกอย่างคือ กล้วยไข่ ผลิตภัณฑ์จากกล้วยไข่จึงมีมาก และมากเหลือที่จะแบกกลับคือริมถนนพหลโยธินตรงตลาดริมทาง ก่อนถึงทางแยกเข้าเมืองกำแพงเพชร สารพัดขายมีกระทั่งหน่อกล้วยไข่ หน่อละ ๒ - ๕ บาท ขนซื้อมาปลูกที่บ้านได้ กล้วยฉาบ กล้วยทอด
            ร้านอาหารตอนมื้อกลางวันไปกินก๋วยเตี๋ยวเลยไม่ได้หาร้านอาหารชิม และผมพักที่เพชรโฮเตล โรงแรมดีราคาถูก อยู่กลางเมือง ห้องไม่มีตู้เย็นราคาคืนละ ๕๕๐ บาท อีก ๒ โรงแรม คือ ชากังราวและนวรัตน์ ที่นิยมพักกัน
            มื้อเย็นไปกินข้าวต้มพุ้ย เจอเข้าโดยบังเอิญ คือ ไม่ได้ตั้งใจจะชิมข้าวต้มและเห็นเข้าตากรรมการ (๒ คน) เลยแวะเข้าไปชิม ไม่ผิดหวังและราคาถูกมาก ร้านนี้บอกว่าขายมา ๖ - ๗ ปีแล้ว ออกขายแต่ตอนเย็นไปถึงดึก ชื่อร้าน "ทุ้งข้าวต้ม หรือข้าวต้ม ทุ้ง" อ่านไม่ดีจะกลายเป็นข้าวต้มพุ้ย ทิศทางไปออกจะยากต้องตั้งต้นให้ดีดังนี้ ร้านตั้งอยู่ที่ถนนเจริญสุข บอกอย่างนี้โกรธกันตายไปไม่ถูก หากลงจากสะพานข้ามแม่น้ำปิง ตรงมาโดยจะผ่านวงเวียน ผ่านต้นโพธิ์ทางซ้ายพบสี่แยก เลี้ยวขวาเข้าถนนที่รถจะเดินทางเดียว วิ่งตรงไปจะผ่านสี่แยกไฟสัญญาณที่ ๑ (ร้านขนมป้าหาดขนมไทย) ตรงต่อไปผ่านสี่แยกที่ ๒ ไม่มีไฟสัญญาณ มองเห็นโรงแรมราชดำเนินอยู่มุมขวา ตรงต่อไปพบสี่แยกไฟสัญญาณที่ ๓ ให้เลี้ยวซ้ายตรงนี้ผ่านวัด ผ่านสี่แยกไฟสัญญาณ ผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ (ทางซ้าย) ผ่านปั๊มเอสโซ่ (ทางขวา) ตรงมาจะถึงปั๊มคิว ๘ ให้เลี้ยวขวากลับรถตรงนี้ กลับมาสัก ๕๐ เมตร มีตู้โทรศัพท์ มีร้านชื่อหมูแดง ร้านทุ้งตั้งอยู่บนฟุตบาธ ข้างถนนตรงนี้ จุดเด่นที่ชวนให้เข้าไปคือ มีหม้อเหมือนกล่องอลูมิเนียม ๔ กล่อง ตั้งอยู่หน้าแผงอาหารสด
            ในหม้อเหมือนกล่องนี้ หากเปิดฝาขึ้นมาจะมีควันพุ่งขึ้นมาร้อนโฉ่ ไปเปิดฝากล่องดู กล่องใบแรกคือ ต้มซี่โครงหมู กับหัวผักกาด  ใบที่ ๒ หน่อไม้ต้มกับไก่  ใบที่ ๓ ต้มมะระยัดไส้หมู  ใบที่ ๔ ตีนเป็ดตุ๋นยาจีน พิจารณาแล้วสั่ง ตีนเป็ดตุ๋นยาจีน ๑ ชาม แล้วสั่งต่อ
            เป็ดพะโล้ ที่แขวนอยู่เอามา ๑ จาน เนื้อเป็ดนุ่มนวล รสดี กินกับข้าวสวยในชาม ต้องพุ้ย แล้วซดซุปตีนเป็ดตาม (จะแทะตีนเป็ดด้วยก็จะยิ่งอร่อย) เป็นนั้นจิ้มน้ำเต้าเจี้ยว
            กุ่ยฉ่ายขาวผัดหมูกรอบ ผัดแล้วหมูยังคงความกรอบ กุ่ยฉ่ายขาวเส้นยังเหนียวเคี้ยวสนุก
            ยำไส้ตัน อย่าโดดข้ามไป ยำไม่เปรี้ยวนัก ผมชอบรสนี้ ลวกไส้ได้เก่ง กรอบ กรุ๊บ
            เครื่องในไก่อ่อนผัดเครื่องแกง ใส่ใบโหระพา พริกชี้ฟ้าแดง เอาเครื่องแกงมาคลุกข้าวกิน
            ตอนเก็บสตางค์ ข้าว อาหาร น้ำ รวมแล้ว ๒๑๐ บาท ต้องถือว่าไม่แพง น้องสาวทุ้งมาเก็บเงิน เห็นตัวน้องสาวทุ้งที่โตกว่าผมแล้วก็เดาได้ล่วงหน้าว่า อาหารร้านนี้ต้องอร่อย

...........................................

| หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์