ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ |

เมืองละโว้

            เมืองละโว้ที่เรารู้จักกันดีก็คือ จังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน  ผมไม่ได้เกิดที่ลพบุรีแต่อยู่ในลพบุรีนานพอ ๆ กับอยู่ในกรุงเทพ ฯ ทั้งนี้เพราะเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑  บิดาของผมซึ่งเป็นนายทหารอากาศเป็นเหล่าช่างอากาศ ได้ย้ายไปรับราชการที่กองบินน้อยที่ ๔ ตั้งอยู่ที่โคกกระเทียม อยู่ติดกับกองบินน้อยที่ ๒ ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของภูเขาและทั้งสองหน่วยบินก็จะอยู่ติดกับทหารปืนใหญ่ของกองทัพบก ทหารปืนใหญ่กับทหารอากาศช่วยกันสร้างโรงเรียนให้ลูกหลานทหารได้เรียนกัน รวมทั้งลูกหลานพลเรือนด้วย ชื่อโรงเรียนสองเหล่าสร้าง  ปัจจุบันโรงเรียนสองเหล่าสร้าง กองทัพบกอุปถัมภ์ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ ส่วนผมมาเข้าเรียนเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ และศิษย์เก่ารุ่นเดียวกันนี้ที่ถือว่าได้เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ระดับผู้นำประเทศมาแล้วก็คือ "บิ๊กจ๊อด" ซึ่งท่านหนีผมไปเรียบร้อยแล้ว และอีกท่านหนึ่งก็เป็นพลเอกเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีศิษย์รุ่นเก่ารุ่นหลัง ๆ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่กันอีกมากมาย จึงน่าภูมิใจสำหรับโรงเรียนที่เมื่อ ๒๔๘๐ นั้นอยู่เกือบจะกลางป่า   ซึ่งสมัยผมเรียนอยู่นั้นยังทันได้เห็น "รถถ่อ" คือรถเหมือนรถถ่อของรถไฟ ที่ใช้ไม้ถ่อค้ำให้รถวิ่งไปข้างหน้า  ผู้โดยสารจะต้องช่วยถ่อด้วย ส่วนผมยังเด็กไม่ต้องถ่อนั่งเฉย ๆ อย่าให้ร่วงลงไปก็แล้วกัน เขาวางรางรถถ่อจากสถานีรถไฟโคกกระเทียม ผ่านทหารปืนใหญ่ ไปสิ้นสุดที่เชิงเขาในศูนย์การทหารปืนใหญ่  เดี๋ยวนี้ถนนสายรถถ่อวิ่งนี่กลายเป็นสี่เลนไปเกือบหมดแล้ว คือถนนที่ชื่อว่า พหลโยธิน  ซึ่งหลายท่านอาจจะไม่รู้จักแล้วว่า ถนนพหลโยธินที่แท้จริงนั้นคือสายไหน ผ่านตรงไหนบ้าง ผมขอชี้แจงฉบับย่อคือถนนที่มาจากกรุงเทพ ฯ ผ่านบางเขน หลักสี่ ดอนเมือง ไปรังสิต บางตอนก็ถูกทับด้วยวิภาวดีรังสิตไปแล้ว พอพ้นรังสิตก็จะไปผ่านวังน้อย สระบุรี ไปผ่านลพบุรีตรงวงเวียนที่มีพระบรมราชาอนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วจะเลี้ยวขวาไปผ่านทหารปืนใหญ่ หักซ้ายไปผ่านเขาพระงาม หักขวาไปโคกสำโรง หักซ้าย (ผมใช้คำว่าหักเพราะถนนหักข้อศอกเลยทีเดียว) ไปตาคลี ไปพบกับถนนสายเอเซียที่ทางแยกสู่ชัยนาท ไปนครสวรรค์ ไปกำแพงเพชร ตาก เถิน ลำปาง พะเยา เชียงราย แม่สาย สิ้นสุดทางของถนนพหลโยธิน
            เวลานี้ใครไปลำปางไม่มีใครวิ่งไปตามสายนี้แล้ว วิ่งมาถึงกิโลเมตร ๕๔ ที่ประตูน้ำพระอินทร์ก็เลี้ยวซ้ายไปอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ได้เลยแและเมื่อถึงเถินหากเป็นเมื่อก่อนจะไปเชียงใหม่ต้องหักซ้ายไปลี้ ไปป่าซาง ลำพูน เชียงใหม่ แต่เดี๋ยวนี้พอถึงอำเภอเถินก็ตรงไปลำปางแล้วออกไปเชียงใหม่ได้ จากเชียงใหม่ก็ไปเชียงรายได้โดยไม่ต้องย้อนกลับมาลำปางอีก ขออภัยที่มาลำดับเส้นทางให้ทราบ เพราะเที่ยวกับผมต้องชำนาญเส้นทาง ผมขับรถด้วยตัวเองมาตั้งแต่หนุ่มจนกระทั่งทุกวันนี้วนประเทศไทยหลายรอบแล้ว
            ทำไมเรียกว่าเมืองละโว้ เพราะนักโบราณคดีบอกว่า ลพบุรีนั้นเป็นเมืองเก่าแก่ มีมนุษย์อยู่มานานตั้งหมื่นปีมาแล้ว เอากันแค่พบเจอหลักฐานกันแน่ ๆ ก็ประมาณ ๓,๕๐๐ ปี หากลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับเมืองละโว้คงจะได้ดังนี้
               ตั้งแต่ พ.ศ.๑๑๐๐ เริ่มปรากฏศิลปะแบบทวารวดี ไปจนถึง พ.ศ.๑๖๐๐ จึงเสื่อม
                        พ.ศ.๑๓๐๐ ลวะปุระหรือละโว้ เป็นศุนย์กลางแห่งหนึ่งของศิลปะทวารวดี
                        พ.ศ.๑๓๑๑  พระนางจามเทวี เสด็จจากละโว้ไปครองเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน
                        พ.ศ.๑๕๐๐  ขอมสร้างปรางค์แขก (ปัจจุบันบูรณะแล้วอยู่กลางเมืองลพบุรี)
                        พ.ศ.๑๕๖๕  ขอมแผ่อิทธิพลเข้าลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบจารึกสมัยสุริยวรมันที่ ๑ ที่ศาลสูงลพบุรี
                        พ.ศ.๑๖๕๖  พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ สร้างนครวัดที่เสียมราฐ
                        พ.ศ.๑๗๒๔  พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สร้างนครธม ที่เมืองเสียมราฐ ให้จารึกลงในปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนครกล่าวถึงพระพุทธรูป "ชยพุทธมหานาถ" ที่พระองค์โปรดให้นำมาประดิษฐานที่ลพบุรีและเมืองอื่น ๆ
            ในการแกะสลักภาพที่ระเบียงปราสาทนครวัดนั้นมีอยู่ภาพหนึ่ง ซึ่งมองดูก็รู้ว่าทหารไทย ภาพนั้นคือภาพของทหารละโว้ ที่ยกไปช่วยขอมรบกับจาม (ญวน)  ผมไปยืนมองภาพนี้ที่นครวัดอยู่นานพอสมควร เพราะทหารในภาพร่าเริงกันเหลือเกิน ไม่มีลักษณะเป็นทหารเกณฑ์ของเมืองขึ้นเลย แสดงว่าละโว้เวลานั้นมีอำนาจ มีอิทธิพลอาจจจะทัดเทียมกับขอมใน "พระนคร" เลยทีเดียว เรียกว่าไปรบอย่างไปช่วยมิตร  ดังนั้นเท่าที่ผมสรุปมาได้นี้ ก็แสดงว่า ขอมมามีอิทธิพลในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและถือเอาละโว้ ในอดีตหรือลพบุรีในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ผมจึงขอเรียกเมืองลพบุรีในตอนนี้ว่าเมืองละโว้ เพราะเป็นเมืองที่ขอมเข้ามามีอิทธิพลอยู่นาน ขอมนั้นพอหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเป็นนักสร้างตัวยงก็เริ่มเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดขอมก็ถึงขั้นสูญพันธ์ไปเลยทีเดียว เหมือนอิตาลีไม่มีชาวโรมัน การขุดค้นแหล่งโบราณสถานที่ฮือฮากันมาก คือการขุดพบแหล่งฝังศพในบริเวณศูนย์การทหารปืนใหญ่ ซึ่งอยู่ชายเขาพระงาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนโบราณเหล่านี้ มีความเจริญในทางเทคนิควิทยาสูง เพราะมีเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะที่มีรูปร่างและเทคนิคในการทำสูง ไปชมได้ในพิพิธภัณฑ์ของเมืองลพบุรี
            ผมจะเล่าถึงโบราณสถานเมืองละโว้ให้ทราบ  เริ่มกันตั้งแต่ยุคของทวาราวดีก่อน คงจะต้องเริ่มต้นที่ "ศาลพระกาฬ" หรือชาวบ้านเรียกกันว่า "ศาลสูง" ใครไปลพบุรีหากมาตามเส้นทางถนนพหลโยธิน ก็จะต้องมาผ่านวงเวียนพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (เลี้ยวขวาไปโคกสำโรง) ตรงต่อไปก็จะผ่านวงเวียนสระแก้ว (ทั้งสองวงเวียนนี้มีชื่เป็นทางการ) ตรงต่อไปอีกก็จะเข้าเมือง แต่ก่อนที่จะข้ามทางรถไฟสายเหนือ ก็จะต้องผ่านวงเวียน ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลพระกาฬไปก่อน ศาลได้รับการพัฒนางดงามแล้ว ไม่เหมือนสมัยที่ผมยังเป็นเด็ก ๆ นั้นใกล้จะพัง มีแต่ลิง ปัจจุบันสวย  แต่ลิงคงเยอะตามเคย
            ศาลพระกาฬ  เป็นที่ประดิษฐานของเจ้าพ่อศาลพระกาฬ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของลพบุรี ซึ่งความจริงก็คือพระนารายณ์สี่กรสลักศิลา  เดิมไม่มีเศียรและกร ต่อมาจึงมีการนำเศียรและกรมาต่อให้ แต่อีกสองพระกรยังไม่ได้ต่อเติมจนถึงปัจจุบันนี้
            วัดนครโกษา  เมืองลพบุรีนั้นมีทั้งพุทธและพราหมณ์ ซึ่งละโว้คือเมืองที่ขอมมีอิทธิพลมาก่อน  ดังนั้นหากกษัตริย์ขอมนับถือศาสนาใด ก็ย่อมแผ่เข้ามายังดินแดนที่ขอมมีอิทธิพลด้วย  ก่อนสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ขอมนับถือพราหมณ์ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จึงไปทางพราหมณ์ ปราสาทนครวัด เป็นพราหมณ์ แต่พอมาปราสาทนครธม (ทั้ง ๒ ปราสาทอยู่ในเสียมราฐ) กลับเป็นพุทธ เพราะพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ นับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด  สมัยโอรสของท่านเลิกนับถือพุทธกลับทำลายหันไปนับถือพราหมณ์ใหม่ เป็นผลให้ขอมอ่อนกำลังจนสิ้นชาติ  ดังนั้นโบราณวัตถุของละโว้จึงมีทั้งขอมและพราหมณ์  วัดนครโกษา อยู่ติดกับสถานีรถไฟ ได้ปรับปรุงองค์ปรางค์แล้วเป็นวัดสมัยทวารวดี อิฐที่ใช้สร้างจะมีขนาดใหญ่กว่าอิฐของสมัยอยุธยา มีแกลบข้าวเหนียวในเนื้ออิฐ  และใช้ดินเหนียวสอเชื่อมอิฐแต่ละก้อน วัดนครโกษามาขุดแต่งกันเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ ได้พบหลักฐานสถูปและลวดลายปูนปั้นสมัยทวารวดี ยังอยู่ข้างใต้ตัวสถูป เป็นการชี้ว่าในสมัยทวรวดีมาก่อน  แล้วมาถูกเปลี่ยนแปลงเป็นเทวสถานของขอมในยุคหลัง มาต่อเติมกันใหม่ในสมัยอยุธยา



            ตรงกันข้ามคือวัดพระมหาธาตุ  ซึ่งไม่ใช่ยุคละโว้ ผมขอกระโดดข้ามไปก่อน แต่ท่านที่ไปเที่ยวชมโบราณสถานละโว้หรือลพบุรี ไม่ต้องโดดข้ามไปไหนไปชมเสียเลย
            ตรงข้ามศาลพระกาฬ เยื้องทางขวามือคือ "ปรางค์สามยอด" สัญลักษณ์ของเมืองลพบุรี ปรางค์สามยอดสร้างอยู่บนเนินสูง มีปรางค์สามองค์ และมีทางเดินเชื่อมระหว่างปรางค์ทั้ง ๓ องค์ ปรางค์องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน ซึ่งจะสูงกว่าปรางค์ทางด้านทิศเหนือ และทิศใต้ ซึ่งมีขนาดเล็กและต่ำกว่า องค์ปรางค์เป็นศิลปะลพบุรี หรือจะเรียกว่าปรางค์แบบเขมรก็ได้ ไม่สูงชลูดแบบปรางค์ไทย สร้างด้วยศิลาแลงไม่สอปูน และสันนิษฐานกันว่าต้องสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือปรางค์องค์กลางประดิษฐานพระรูปนาคปรกทรงเครื่อง องค์ทิศเหนือประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร องค์ทิศใต้ประดิษฐานนางปรัชญาปรมิตา "เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด"
            ปรางค์แขก  เดินเลยไปจากปรางค์สามยอดสัก ๑๐๐ เมตร กลายเป็นวงเวียนกลางเมือง เป็นโบราณสถานแบบขอมอีกแห่งหนึ่ง ที่ได้รับการบูรณะแล้ว
            ศิลปะขอมนั้น สมเด็จเจ้าพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้เรียกว่าศิลปะลพบุรี เก่าแก่ก่อนที่จะไปสุโขทัย อยุธยา ฯ ผมคงพาชมได้แค่นี้  นอกนั้นน่าจะไม่ใช่ศิลปะลพบุรีที่ขอมสร้าง และก็น่าจะพิจารณาได้อีกว่า ขอมคงไม่ยกโขยงช่างขอมมาจากเมืองขอม ก็คงสั่งสร้างแล้วก็สร้างด้วยช่างไทยนี่แหละ แต่แบบของขอม
            ผมขอทบทวนเส้นทางไปลพบุรีไว้ก่อน ที่จะพาไปชมเมืองลพบุรี ที่เขียนมาถือว่าเป็นตอนของเมืองละโว้ ต้องขออีกตอนเป็นตอนเมืองลพบุรี
            เส้นทางหลัก  คือ ที่ได้กล่าวมาแล้วว่าไปตามสายพหลโยธิน หากไปจากกรุงเทพ ฯ ก็ไปตามถนนวิภาวดีก่อนจนถึงรังสิต ก็เข้าพหลโยธินไปผ่านวังน้อย หินกอง สระบุรี พระพุทธบาท (ก่อนเข้าเมืองมีทางเลี่ยงเมืองไปสิงห์บุรีได้) ตรงต่อไปจนถึงพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตรงวงเวียนนี้จะเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดและอำเภอเมือง  หากตรงต่อไปก็จะเข้าเมืองผ่านวงเวียนสระแก้วซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนต์ทหารบกที่เก่าแก่ ๖๕ ปี และสวนสัตว์ซึ่งตั้งมานานพอ ๆ กับโรงภาพยนต์ทหารบก  เจ้าลิงไมค์พำนักอยู่ที่นี่ เจ้าไมค์ตายตอนผมเขียนต้นฉบับเห็นเขาจัดพิธีรดน้ำทรากเจ้าไมค์ก็แปลกดีพอ ๆ กับเลี้ยงโต๊ะจีนลิง  ลิงชอบกล้วยมากกว่าหอยจ๊อแน่ ๆ
            เส้นทางที่สอง  ระยะทางใกล้กว่าร่วม ๒๐ กิโลเมตร แต่เป็นถนน ๒ เลน รถสวนกันได้ ใครขับรถแบบสบาย ๆ น่าจะมาเส้นนี้ผมไปเสมอ รถไม่มากวิ่งเลาะริมคลองชลประทานไป เริ่มต้นจากประตูน้ำพระอินทร์ กม.๕๔ ก็เลี้ยวซ้ายผ่านอยุธยา เลยไปสัก  ๑๓ กม.จะมีทางแยกขวา (ความจริงต้องเลี้ยวซ้ายข้ามสะพาน) ไปบางปะหัน เลี้ยวขวาวิ่งไปชนคลองชลประทาน แล้ววิ่งเลาะเรียบริมคลองไปเรื่อย ผ่านสี่แยกเจ้าปลุกมีร้านอาหารอร่อยก่อนถึงสี่แยกคือ คลองบุญ เลยไปคือเจ้าปลุกปลาเผา เลาะริมคลองเรื่อยไปอีกผ่านวัดยาง มีพิพิธภัณฑ์เรือ เลาะริมคลองเรื่อยไปจนไปโผล่ที่ทางแยกซ้ายไปวงเวียนสระแก้ว
            เส้นที่สาม  ซ้ำกับเส้นแรก แต่มาเข้าลพบุรีเมื่อถึงทางแยกเข้าท่าวุ้ง
            เส้นที่สี่  ซ้ำกับเส้นที่สาม แต่มาแยกเข้าลพบุรีเมื่อถึงทางแยกเข้าสิงห์บุรี
            สมัยที่ผมยังรับราชการอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งสงนั้น ผมได้รับคำสั่งให้เป็นผู้จัดตั้งร้านสหกรณ์กองทัพภาคที่ ๔ ขึ้นในค่ายทหารทุ่งสง  เมื่อจัดตั้งแล้วผมก็ต้องเป็นผู้จัดการด้วย จากปี พ.ศ.๒๕๒๔ จนถึง พ.ศ.๒๕๒๙ ก็ได้รับการคัดเลือกเป็นร้านสหกรณ์ดีเด่นประเภทร้านค้าของจังหวัด พออีกปีก็ได้รับการคัดเลือกเป็นร้านสหกรณ์ดีเด่นระดับชาติ ประเภทร้านค้า  พอวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๓๐ ผมก็ได้ไปรับพระราชทานโล่รางวัลจากพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว ที่ท้องสนามหลวงในวันทำพิธีพืชมงคล  งานหนึ่งของสหกรณ์ร้านค้าได้เปิดร้านอาหาร ผมได้ตั้งชื่อว่าร้านแก้วเจ้าจอม ตามชื่อต้นแก้วเจ้าจอมที่ผมยกกระถางเอาไปปลูกลงดินไว้หน้าสหกรณ์ เลยตั้งชื่อห้องอาหารตามชื่อต้นไม้  แก้วเจ้าจอมคือไม้ดอกที่รัชกาลที่ ๕ นำมาจากอินโนนีเซีย และพระราชทานนามตามนามของเจ้าจอมแก้ว ดอกสีน้ำเงินสวยมาก แต่ไม่ค่อยออกดอกง่าย ๆ ห้องอาหารแก้วเจ้าจอมมีชื่อเสียงมาก  แต่พอผมย้ายจากมาลูกน้องเก่าย้ายตามมาแยะ ส่วนมากจะกลับมาอยู่ลพบุรี  แม่ครัวเอกของแก้วเจ้าจอมก็ย้ายตามสามีมาอยู่ลพบุรีด้วย และมาตั้งร้านอาหารเล็ก ๆ ขายอาหารปักษ์ใต้ขนานแท้  ก็ไม่แท้ได้อย่างไร คุณเธอเป็นชาวนครศรีธรรมราช โดยกำเนิด แถมมารดายังตามมาช่วยทำอาหารอีก จึงเกิดร้านอาหารปักษ์ใต้ขนานแท้ขึ้นในเมืองลพบุรี ผมไปพบเข้าโดยบังเอิญ ชิมแล้วอาหารอร่อยเสียยิ่งกว่าตอนเป็นแม่ครัวที่ร้านสหกรณ์เสียอีก แนะให้เขาพัฒนาร้านให้ดีขึ้นแล้วตั้งชื่อให้ว่า แก้วเจ้าจอม
            ร้านแก้วเจ้าจอม  อาหารปักษ์ใต้ขนานแท้ แต่ตั้งอยู่เมืองลพบุรี มีเส้นทางไปหาร้านดังนี้ ถ้ามาจากกรุงเทพ ฯ ก็วิ่งมาจนชนราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วเลี้ยวขวาไปทางโคกสำโรง เลี้ยวขวาแล้ววิ่งไปสัก ๕๐๐ เมตร จะพบสี่แยกมีไฟสัญญาณให้เลี้ยวขวา (ถนนเส้นนี้มีร้านอาหารขายมากอร่อย ๆ แยะด้วย) เลี้ยวขวาวิ่งไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ร้านแก้วเจ้าจอม อยู่ทางขวา  เดี๋ยวนี้สร้างเป็นศาลาใหญ่ ๒ ศาลาอยู่ติดกัน อยู่หน้าบ้าน มีป้ายมองเห็นได้ชัด ร้านอยู่ทางขวามือ จะเข้าไปนั่งกินข้าวแกงจานเดียวหรือไปซื้ออาหารใต้ในตู้กระจกที่มีมากมายเกินกว่า ๑๐ อย่าง หรืออิ่มแล้วหรืออีกทียามเช้าจะไปชี้เอาในหม้อใหญ่ เพื่อซื้อแกงถุงกลับบ้านก็ได้ทั้งสิ้น
            ปลาทับทิมสามรส ถ้าจะเป็นใต้ก็ตอนที่รสของเขาจัด สีพริกแดงสดน่ากินนัก
            ผักสดที่ยกมาให้ เรียกว่าผักเหนาะ นับทีไรเกิน ๑๐ ทุกที ถั่วฝักยาว มะเขือ แตงกวา ใบมันปู ผักหวาน ใบเหนียง (มีบางวัน) ลูกฉิ่ง ใบมะกอก ใบแมงลัก ผักกะเฉด ฉั่วพู ใบสะระแหน่ ฯ จัดผักใส่จานมาสวย สดน่ากินเหลือประมาณ อาหารใต้จะมีรสเผ็ดอร่อย ต้องกินกับผักสด
            หางหมูตุ๋นยาจีน ใส่เห็ด ใส่ยาจีน สับหางหมูเป็นท่อนเอาไปตุ๋นซดร้อน ๆ วิเศษนัก กลิ่นหอมด้วย
            แกงเผ็ดกระดูกหมู  ถือว่าเป็นอาหารที่จะขาดไม่ได้ถ้ามาชิมที่ร้านนี้ รสจัดเผ็ดหน่อย ๆ ราดข้าวจะอร่อยนัก ตักข้าวเข้าปากแล้วตามด้วยผักสด
            แกงเผ็ดฟัก แกงกะทิแกงกับไก่ ราดข้าวร้อน ๆ จะตามด้วยน้ำปลาพริกสักนิดก็ดี
            ปลาดุกหมักมิ้น หรือปลาดุกหมักขมิ้น  จานนี้อย่าข้ามไป เขาจะเอาปลาดุกไปหมักขมิ้นเสียก่อนแล้วจึงเอามาชุบแป้งทอด แป้งกรอบ หอมกลิ่นขมิ้น หอมอ่อน ๆ จะกินกับข้าวหรือมีน้ำพริกด้วยก็ดีทั้งนั้น
            กลัวว่ามีแต่อาหารเผ็ด ก็สั่งไข่พะโล้ หรือไข่ลูกเขยมาแนม
            เขายังมีข้าวยำปักษ์ใต้หากินยาก และข้าวหมกไก่ ข้าวสีเหลืองอ่อน หอมกลิ่นผงกะหรี่ มีหอมเจียวโรยหน้า แตงกวาวางเคียงและไก่ชิ้นโต ข้าวหมกไก่อิสลามเมืองนครศรีธรรมราชนั้นมีชื่อ
            ปิดท้ายด้วยขนมหวาน หมุนเวียนไป แต่วันนี้หมดเขาเลยชวนชิมไอศครีม มีทั้งซ๊อคโกแล็ก รวมมิตร กาแฟ เผือก บลูเบอร์รี่ มะนาวและไม่ควรพลาด เมื่อมาถึงขอให้สั่งน้ำผลไม้ที่ครอบครัวทหารช่วยกันทำมาส่งไว้ปราศจากสารกันบูด เรียกว่าทำกันสด ๆ สะอาดอร่อยชื่นใจ แก้เผ็ด ได้แก่น้ำฝรั่ง น้ำข้าวโพด น้ำมะนาว น้ำมะพร้าวของเขาเด็ดจริง ๆ

----------------------------------


| ย้อนกลับ | บน |


ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์