ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


งานชาที่ดอยแม่สลอง

            ดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นดินแดนที่ปลูกชาจนมีชื่อเสียงไปก้องโลก และได้มีการประกวดชาโลกที่ดอยแม่สลองมาแล้ว ผลปรากฎว่าชาที่ปลูกบนดอยแม่สลองได้รางวัลชนะเลิศและพื้นที่ปลูกใบชาบนดอยแม่สลองนี้มีมากมายหลายพันไร่ แต่มีระดับที่ปลูกถึงพันไร่อยู่ ๓ รายด้วยกัน ขึ้นไปบนดอยแม่สลองเวลานี้จะพบร้านจำหน่ายใบชามากมายกว่า ๓๐ ร้าน และหากแวะชิมกันทุกร้านไป เราเข้าไปเขาก็ชงให้ชิมโดยไม่คำนึงว่าจะซื้อชาของเขาหรือไม่ ชิมกันจนตาค้าง แต่หากดื่มตอนร้อน ๆ แล้วท้องจะไม่ผูก เขาแนะนำว่าใบชาจะมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถลดไขมัน ลดระดับคลอเรสโตรอลในเส้นเลือด ลดเบาหวานด้วยการคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ขจัดสารพิษในร่างกาย (เช่นสารนิโคตินในบุหรี่) ควบคุมความดันโลหิต บำรุงสุขภาพ และชลอความชรา (ข้อนี้ชอบเป็นพิเศษ) รวมทั้งต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งเป็นสาเหตุของฟันผุ เป็นสรรพคุณอันมหัศจรรย์ของชาที่ทั่วโลกยอมรับ ต้นชาจะต้องปลูกบนที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่น้อยกว่า ๑,๓๕๐ เมตร จึงจะเกิดกลิ่นหอมตามธรรมชาติ และมีคุณภาพได้มาตรฐานดังได้กล่าวมาแล้ว

            เมื่อชามาดังบนดอยแม่สลอง จนถึงขั้นมีการประกวดชาโลกขึ้นบนดอยแม่สลองและมีการจัดงาน "มหัศจรรย์ชา ซากุระบาน" ขึ้นบนดอยแม่สลอง ในตอนปลายเดือนธันวาคมคือ จัดงานมหัศจรรย์ชาส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และจะตรงกับฤดูที่ซากุระบนดอยแม่สลองบาน ซึ่งจะบานกันเต็มที่ก็ปลายเดือนมกราคมไปจนถึงต้นกุมภาพันธ์ แต่เริ่มบานตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมแล้ว เมื่อปลายปี ๒๕๔๘ ต่อไปจนถึงต้นปี ๒๕๔๙ มีการจัดงานมหัศจรรย์ซากุระบาน "ครั้งที่ ๑๐ สถานที่จัดงานคือดอยแม่สลอง ในบริเวณอนุสรณ์สถาน อดีตทหารจีนคณะชาติภาคเหนือประเทศไทย" ซึ่งในงานนี้จะมีการแสดงแสง สี เสียง ย้อนรอยดอยแม่สลอง การออกร้านเพื่อจำหน่ายใบชาและสินค้าโอท๊อบ "ร้านอาหารชนเผ่า" การแสดงทางวัฒนธรรมชนเผ่า การประกวดธิดาใบชา การประกวดร้องเพลง พบกับศิลปิน ดารา การแสดงบนเวที
            การเดินทางไปงานใบชาบนดอยแม่สลอง จากตัวเมืองเชียงรายไปได้ ๒ เส้นทางคือ
                เส้นทางที่ ๑  เมื่อเลยอำเภอแม่จันไปแล้ว ก็เลี้ยวซ้ายขึ้นดอยแม่สลองตรงหลัก กม.๘๖๐ ตรงข้ามปั๊ม ปตท.แล้ววิ่งไปอีก ๓๖ กม. คดเคี้ยวไปตามไหล่เขา ขึ้นไปจนผ่านทางแยกขวาขึ้นพระบรมธาตุศรีนรินทร์ เลยไปอีกนิดก็จะถึงบริเวณงานอยู่ทางซ้ายมือ พื้นที่กว้างขวางพอสมควร แต่ลานจอดรถมีน้อยไปหน่อย ทางเข้าบริเวณงานก็คือทางเข้าอนุสรณ์สถาน ฯ
                เส้นทางที่ ๒  ก่อนถึงตัวอำเภอแม่จัน ๑ กม.จะมีถนนแยกซ้ายไป อ.แม่อาย อ.ฝาง ไปเชียงใหม่ สาย ๑๐๘๙ วิ่งไปตามไหล่เขา ๓๑ กม. ก็จะมีทางแยกขวาตรงป้อมตำรวจไปอีก ๑๓ กม.ก็จะถึงบริเวณจัดงาน ถนนเส้นนี้ช่วงแยกขวา ๑๓ กม.ขยายลาดยางใหม่กว่า ๖๐  แต่จะไกลกว่าเส้นที่ ๑ ประมาณ ๖ กม. เดี๋ยวนี้เวลาขับขึ้นดอยแม่สลองผมจึงขับขึ้นตามเส้นทาง ๒ แล้วขับลงตามเส้นทาง ๑ พอลงสู่ถนนพหลโยธินก็ขับต่อไปเที่ยวแม่สาย ไปสามเหลี่ยมทองคำ ไปหอฝิ่น ไปพระธาตุดอยกิติ ที่เชียงแสน แล้วกลับมาเชียงรายผ่านทางแม่จันกลับมานอนเชียงรายอีกที
                อาหารที่เรียกว่าอาหารชนเผ่าจัดมาจำหน่ายในงานนั้น จัดมาจาก ๑๓ หมู่บ้าน ๙ ชนเผ่า ส่วนร้านชาในงานมี ๓๒ ร้าน งานนี้หากมัวหลงระเริงกับการชิมชาก็คงจะพุงกาง เพราะเต็มไปด้วยน้ำชา หากลองชิมเขาแล้วไม่ว่าร้านไหน ล้วนแต่รสวดี กลิ่นหอมกรุ่น ถ้วยเดียวไม่พอก็แล้วกัน
                ร้านอาหารชนเผ่าจากหมู่บ้านต่าง ๆ มีดังนี้
                หมู่บ้านสันติคีรี ขาหมูหมั่นโถว เป็นอาหารลือชื่อของดอยแม่สลอง
                และยังมีกลุ่มแม่บ้านแม่สลองตั้งแผงขายชาเขียวหมั่นโถว เต้าหู้ยี้ (อร่อยมาก) ไส้กรอกยูนนาน หมู่บ้านนี้หรือชนเผ่าของหมู่บ้านสันติคีรี พื้นเพเดิมคือยูนนาน อาหารจะรสร้อนแรง เผ็ด แต่อาหารที่มาทำกินกันที่บนดอยแม่สลองนี้ลดความรสจัดของอาหารลงไป คลายความเผ็ดลง และเมืองเดิมของเขาจริง ๆ อากาศหนาวกว่าที่นี่ จึงต้องมีการสะสมอาหารไว้ยามฤดูหนาว อาหารยูนนานหลายชนิดจะเก็บไว้ได้นานเช่น ไส้กรอกยูนนาน ซื้อมาแล้วเอาแขวนไว้ได้นานนับเดือน
                บ้านอาแหละ มียำผักกาด ลาบหมู ใบทอง หมกไข่ใส่หอม
                บ้านเล่าสิน เผ่าเย้า หมูเผา กระบอกไม้ไผ่ หมูม้วนใบชา หมูผัดพริก
                บ้านธาตุ เผ่าลีซู  ไก่ดำต้มสมุนไพร "ต๋อ จิง นา" ไก่ดำผัดยอดใบชาอ่อน "ปาตือแล"
                บ้านจะมูสี เผ่ามูเซอแดง แกงฟักเขียวใส่ไก่ น้ำพริกผักจิ้ม ลาบหมูใส่เปลือกไม้
                บ้านกลาง (จีนกลาง) ไก่ดำตุ๋นยาจีน หมูชุบแป้งทอด ทอดใบชา
                บ้านอาแม  เผ่าอาข่า  เนื้อไก่หมกใบตอง น้ำพริกอาข่า ลาบหมูอาข่า
                บ้านป่าคา  สามัคคี เผ่าอาข่า ยำเห็ดหูหนู ยำไก่ใบชา น้ำพริกอาข่า
                บ้านพนาสวรรค์ เผ่ามูเซอ หมูห่อใบชา หมูพันอ้อย ไก่ตุ๋นตังกุย
                บ้านแม่เต๋อ เผ่าอาข่า เนื้อไก่ยำใบชา ลาบหมู ไส้หมูผัดขิง
ผมทราบจากกรรมกรว่ามี ๑๓ หมู่บ้าน ๙ ชนเผ่า แต่จดมาได้ไม่ครบ เพราะพอเข้าไปในบริเวณงานที่จอดรถเต็มหมดแล้ว ผมไม่ได้ไปตอนมีพิธีเปิดตอนเช้า ๐๙.๐๐ ซึ่งพระองค์เจ้าสิริวรรณวลี ฯ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิด ตอนผมไปถึงกำลังเสด็จกลับพอดี รถที่ไม่ได้ตามเสด็จจึงยังคงจอดรอเที่ยวงานอยู่ ลานจอดรถจึงมีรถจอดเต็ม ผมวิ่งเข้าไปข้างในจนถึงหน้าอนุสรณ์สถาน ฯ ถึงอาคารตึกแถวที่สร้างถาวรตลอดไป เป็นร้านค้าถาวรของบริเวณอนุสรณ์สถาน เห็นที่ว่างก็รีบเอารถเข้าไปจอด ปรากฎว่าจอดเอาหน้าร้าน ซึ่งเป็นกรรมการสำคัญและเป็นผู้ที่เชิญผมมาในงานนี้ และร้านนี้ก็คงจะเป็นแหล่งชุมนุมกรรมการทั้งหลาย ที่วนเวียนกันเข้ามา ผมก็เลยไม่ต้องไปไหนกัน แม้แต่อาหารชนเผ่าที่ให้ชิม ตอนนั่งอยู่ที่ร้านใบชานี้ไม่ต้องไปซื้อไปหา มีชนเผ่าแต่งชุดประจำเผ่าของเขาวนเวียนกันเอาอาหารชนเผ่ามาให้ชิม เรียกว่าเกือบอิ่มตั้งแต่ยังไม่ได้ออกเดินตระเวณ พอตอนออกเดินสำรวจนั้นพุงแน่นไปด้วยอาหารชนเผ่า และน้ำชาแล้ว ตอนตระเวนชิม เขาก็ยังเชิญให้ชิมอีก เพราะทำอาหารใส่จานวางไว้ หากนั่งกินสั่งอาหารก็จ่ายเงิน หากแค่จิ้ม หรือตักชิมก็มีให้ชิมฟรี อาหารที่เขาทำมาอร่อยแทบทุกอย่าง  ซื้อหอบหิ้วกลับมาก็มีเช่น ใส้กรอกยูนนาน เพราะติดใจตั้งแต่กินที่ร้านแม่สลองแล้ว อาหารทุกชนเผ่ามีป้ายของกระทรวงสาธารณสุขคือ ป้าย "อาหารปลอดภัย"  ซึ่งปี พ.ศ.๒๕๔๘ - ๒๕๔๙  นั้น  "สธ"  ตั้งให้ผมเป็นฑูตอาหารปลอดภัย พอดีเลยได้สำรวจความสะอาด ความปลอดภัยของอาหารไปด้วย แสดงว่างานนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาสำรวจก่อนแล้ว ตอนที่ผมนั่งชิมอยู่ในร้านใบชา ก็มีเจ้าหน้าที่ของสาธารณสุข (น่าจะเป็นแพทย์)  ของ อ.แม่ฟ้าหลวง  มาตรวจพอดี  เมื่อผมออกเดินสำรวจบ้าง คนแน่นแย่งชิงกันชิมอาหารชนเผ่า คงจะจดตก ๆ หล่น ๆ ไปบ้าง มาทบทวนทีหลังหาเผ่าม้งไม่พบ
            ได้แนะนำกรรมการไปว่า นักท่องเที่ยวสนใจอาหารชนเผ่ากันมาก  ควรจะจัดอาหารถาวรที่มีหลายห้องนี่แหละ แบ่งเอามาสัก ๒ ห้อง แล้วตั้งแผงขายอาหารชนเผ่า แผงละเผ่าหรือแผงละหมู่บ้าน ขายกันเป็นการถาวรไปเลย ไม่เช่นนั้นนักท่องเที่ยวที่มาไม่ตรงกับเทศกาลงานชา จะอดชิม ทางกรรมการเขาก็เห็นด้วย  รวมทั้งการให้เช้าชมอนุสรณ์สถานฟรี ๆ ไปสักระยะหนึ่งด้วย
            จบจากเที่ยวงานชา  หนาวหน้ายังขับรถขึ้นดอยไหว อาจจะไปเที่ยวอีกเพราะยังติดใจ ปีนี้มีเวลาอยู่ในงานน้อยไป และไปชนิดเขารู้จักตัว ตระเวณชิมไม่สะใจ  คนชวนชิมแยะเกินไป ลงจากดอยแม่สลอง กลับสู่ถนนพหลโยธิน ตรงหลัก กม.๘๖๐  ซึ่งเลย อ.แม่จันมาแล้ว ก็เลี้ยวซ้ายมายัง อ.แม่สาย ตลาดชายแดน หากเป็นวันหยุดจะยิ่งหาที่จอดรถยากมาก ถ้าวันธรรมดาพอหาที่จอดรถได้  แต่หากเราเช่ารถไป สมัยนี้คนขับรถมีโทรศัพท์มือถือกันทั้งนั้น  พอเขาจอดส่งเราแล้ว ก็ขอเบอร์มือถือของเขาไว้ เขาไปตระเวนหาที่จอดรถได้เอง ได้เวลากลับก็โทรให้เขามารับ แต่หากขับรถไปเอง ให้ไปจนจวนจะถึงด่านจะมีทางแยกซ้าย ถนนแคบ ๆ พอรถเข้าได้ สองฟากร้านค้าเต็มไปหมด เป็นทางไปยังพระธาตุดอยวา หากเลี้ยวซ้ายเข้าซอยไปพระธาตุ จะมีลานจอดรถข้าง ๆ อุโบสถ (พระธาตุต้องเดินขึ้นดอยไปอีก หรือไปมอเตอร์ไซด์มีรับจ้าง พาขึ้นไปไหว้พระธาตุ)  ด้านหลังของอุโบสถ มีสถานที่สำคัญของนักท่องเที่ยวปูนผมคือ ห้องสุขา (ที่นี่แบบผสม ดีพอใช้)  ไปไหนต้องมองหาไว้ตลอด (ผมพึ่งไปลาวมา สุขาตามจุดท่องเที่ยวของลาวดูจะนำหน้าไทยไปแล้ว) จอดรถแล้ว เข้าห้องสุขา เดินขึ้นดอยไปสัก ๕๐ เมตร  ไหว้พระสังขกัจจายน์ หากขึ้นไหว้พระธาตุก็ขึ้นรถมอเตอร์ไซด์ตรงนี้ได้คนละ ๑๐ บาท  ตลาดแม่สาย สารพัดของขายส่วนใหญ่มาจากจีน ขอแนะนำว่าอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อฝั่งไทยนี่แหละ อย่าคิดข้ามไปต่างประเทศฝั่งพม่าเลย ของขายก็น้อยกว่าฝั่งไทย และแม่ค้ามาขายส่วนใหญ่ก็ข้ามมาจากฝั่งพม่า ยิ่งเอารถขับข้ามไปยิ่งไม่ควรข้าม พม่า ลาว เขมร ญวน ล้วนขับรถจราจรขวาทั้งสิ้น พลาดพลั้งถูกปรับแรงมาก และพม่าออกจะกลัวไทย อย่างน้อยก็กลัวความเจริญที่ไปไกลกว่าเขาสัก ๓๐ ปี  เขาจึงพยายามสร้างอนุสาวรีย์บุเรงนองไว้ตามชายแดน ให้หันหน้ามาทางไทย เช่นที่ท่าขี้เหล็ก  ฝั่งตรงข้ามแม่สาย หรือที่วิคตอเรีย ฝั่งตรงข้ามกับระนอง เป็นต้น ตลาดแม่สายขยายออกไปหลายเท่า ผมไม่ได้ไปแค่ ๒ ปี ซอกเล็ก ซอกน้อย กลายเป็นตลาดขายสินค้าไปหมดแล้ว  ซื้อสินค้าตลาดชายแดนสินค้าราคาถูก คุณภาพและราคาอยู่ที่ "ตา" ของเรา  รู้ราคามาก่อนก็จะต่อรองได้ เพราะส่วนใหญ่เขาบอกผ่านมาก ผมซื้ออะไรกับเขาไม่ค่อยได้  เพราะต่อรองไม่เป็นนอกจากสินค้าที่รู้ราคามาก่อน  ถามราคาถูกกว่าที่เคยซื้อมาก ๆ จึงซื้อ
            อาหารแปลกย่านนี้คือ ข้าวฟืนถั่ว  ลองถามดูตรงไหนมีขาย เพราไม่ได้มีขายทั่วไป  มีอาหารจีนยูนนานหลายร้าน วันนี้ไม่ได้ชิม เพราะชิมยูนนานมาจากดอยแม่สลองเสียเต็มพุง และร้านจานเด่น ๆ ของแม่สายค่อนข้างจะหายาก วันนี้หาร้านมื้อกลางวันได้มาร้านหนึ่งอร่อยใช้ได้  อาหารพื้นเมือง หากจ่ายกันจนสะใจแล้วกลับหันหลัง วิ่งกลับมาสัก ๕๐๐ เมตร  ซอยเทศบาล ๑๔  ปากซอยมีคลีนิคศรีบุรินทร์  เลี้ยวซ้ายเข้าซอยไปสัก ๒๐ เมตร แล้วเลี้ยวขวาบ้านจะอยู่ทางซ้ายมือ ชิมแล้วไม่ผิดหวัง สั่งมาชิมดังนี้ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอยน้ำเงี้ยว มีผักดอง ถั่วงอกดิบ  "ยอดถั่วลันเตา"  มะนาวฝาน ไม่เคยเห็นที่ไหนที่เอายอดถั่วลันเตามาเป็นเครื่องเคียง อร่อยแปลกดี  สั่งมาอีกมีลาบเหนือคั่ว ส้มตำ คอหมูย่าง แก่งอ่อม  มีจานผักมาอีกจานแนมลาบคือ  ใบโหระพา ยอดถั่วลันเตา ใบมะกอก ถั่งฝักยาว ผักชีฝรั่ง อาหารดี ทุกอย่างราคาถูก หรือถูกมาก

            กลับออกมาถนนพหลโยธินใหม่ เลี้ยวซ้ายมานิดเดียวจะมีทางแยกซ้ายมีป้ายบอกว่า ไปเชียงแสน ซึ่งจะต้องผ่านบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ระยะทางถึงเชียงแสน ๓๗ กม. ถนนดีตลอดเลียบชายฝั่งโขงเป็นส่วนใหญ่ ผมจะพาไปยัง หอฝิ่น  อีก ๕๐๐ เมตร จะถึงสามเหลี่ยมทองคำ ทางเข้าหอฝิ่นจะอยู่ทางขวามือเข้าไปแล้ว จะเห็นสระน้ำกว้างใหญ่ ปลูกต้นไม้ไว้ร่มรื่น โดยเฉพาะกอไผ่ ปลูกสวยเป็นระเบียบ เมื่อเข้าไปยังอาคารสำนักงานหรือทางเข้าจะมีรถเข็น ไว้บริการคนพิการด้วย สุขานั้นไม่ต้องพูด สะอาดเป็นสากลและมีมากหลายจุด ค่าเข้าชมคนละ ๒๐๐ บาท  อย่าเพิ่งร้องว่าแพง เข้าไปชมแล้วจะร้องว่าถูก ส่วนคณะของผมเกิน ๖๐ กันทุกคน  เขาบอกว่าหากโชว์บัตรประชาชน หากอายุเกิน ๖๐ ค่าเข้าชมจะลดเหลือคนละ "ห้าสิบบาทถ้วน" ผมไม่มีบัตรประชาชนมีแต่บัตรทหาร พรรคพวกบอกว่าพี่ไม่ต้องโชว์บัตรเขาคงยอม แม่สาวน้อยกล่าวหาว่าไม่สูงอายุ (ครึ้มไปทั้งวัน) ต้องเอาบัตรทหารผ่านศึกให้เขาดู เขาก็ลดเหลือ ๕๐ บาท ท่านที่ไปเส้นทางนี้เพื่อไปสามเหลี่ยมทองคำ อย่าข้ามหอฝิ่นไปเป็นอันขาด
            หอฝิ่น  HALL OF OPIUM)  คือ ชัยชนะเหนือทุ่งฝิ่น  เริ่มต้นจาก สมเด็จย่าของปวงชนชาวไทย  ทรงริเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑  เพื่อฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา ที่ยังชีพอยู่ด้วยการเผาถางป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น  ด้วยการส่งเสริมให้มีการปลูกป่า การปลูกพืชเศรษฐกิจ การทำการเกษตรอย่างมีระบบ การพัฒนาฝีมือเพื่อส่งเสริมอาชีพหัตถกรรม และมีโครงการบำบัดชาวบ้านที่ติดยาเสพติด ประสบความสำเร็จ
            ฝิ่น เป็นตัวยาที่ได้จากพืชที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งในประวัติศาสตร์ มีประสิทธิภาพในการลดความปวด แก้ท้องเสีย และลดอาการไอ ต่อมาถูกนำไปใช้เป็นยากล่อมประสาทอันทรงพลัง เกิดเป็นการค้าที่มีผลประโยชน์อย่างมหาศาล และเป็นปัญหาแพร่ไปทั่วโลก
            คุณ โทษ วิธีการสูบ การเปิดตลาดที่นำไปสู่สงคราม เช่น สงครามฝิ่นในจีน  การแก้ปัญหาไม่ให้ลุกลามไปถึงขั้นสงคราม หรือการบีบบังคับจากมหาอำนาจของรัชกาลที่ ๔ ที่นำไทยเอาตัวรอดจากการกดดันเพื่อขายฝิ่นของอังกฤษ โทษของคนขายฝิ่น โทษต่อร่างกายของคนสูบฝิ่น สารพัดเรื่องเกี่ยวกับฝิ่นจะถูกบรรจุอยู่ในหอฝิ่นนี้ทั้งสิ้น ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมงในหอฝิ่นจะไม่รู้สึกเบื่อ เย็นสบาย เมื่อยมีที่นั่ง มีวีดีโอให้ชม ผมเองเข้าใจว่าฝิ่นเริ่มจากจีน กลายเป็นเริ่มต้นจากอินเดีย อินเดียเป็นผู้ผลิตฝิ่นถูกกฎหมายรายใหญ่ในโลก ปลูกมากทางตอนเหนือของอินเดีย และฝิ่นจึงแพร่มาสู่จีน จนจีนพบอันตรายอย่างร้ายแรงเกิดกับ
ประชาชน จึงสั่งเผาฝิ่นเมื่อปี ค.ศ.๑๘๓๙ เป็นผลให้เกิดสงครามฝิ่นระหว่างจีนกับอังกฤษและอีกหลายประเทศ รบกันอยู่ ๓ ปี บีบบังคับให้จีนเปิดตลาดฝิ่นเป็นตลาดเสรี จีนไม่ยอม เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่สองอีกเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙ รบกันอยู่ ๔ ปี จีนแพ้ เป็นผลให้ฝิ่นทะลักเข้าสู่จีน คนจีนติดฝิ่น และจากนั้นจึงแพร่มาสู่ทางตะวันออก และมาสู่ไทย ซึ่งจะชมได้อย่างละเอียด "ฝิ่นในสยาม" ผมนำมาเล่าให้ทราบเพียง ๑ ใน ๑,๐๐๐ ของที่จะได้ชมในหอฝิ่น  หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ สร้างและอำนวยการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สร้างด้วยเงินหลายร้อยล้านหรืออาจจะถึงพันล้าน เพื่อชี้ให้เห็นโทษของฝิ่น ดูจากผู้มาเที่ยวยังมีจำนวนไม่มากพอที่จะเลี้ยงตัวได้ แต่อยู่ได้เพราะมูลนิธิของสมเด็จย่าที่ก่อตั้งไว้คือ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง  หอฝิ่นมีที่พัก ผมยังไม่เคยพักแต่หารายละเอียดมาได้ว่าเป็นที่พักชั้นเยี่ยม ติดแม่น้ำโขง  บังกะโล ๒ ห้องนอนก็มี มีห้องอาหารรสเลิศ ติดต่อศูนย์ท่องเที่ยวและบริการโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) ๐๕๓ ๗๖๗ ๐๑๕ - ๗ หรือที่หอฝิ่น ๐๕๓ ๗๘๔ ๔๔๔ หรือที่กรุงเทพ ฯ ๐๒ ๒๕๒ ๗๑๑๔ ต่อ ๒๑๗ หอฝิ่นหยุดทุกวันจันทร์ จุดสุดท้ายอยู่ตรงทางออกเป็นจุดเดียวที่มีของขายคือเครื่องดื่ม มีกาแฟ มีขนม คุกกี้ที่โรยหน้าด้วยเมล็ดฝิ่น มีผลิตภัณฑ์ของอาคาเดเมียที่อร่อย
            จากหอฝิ่น เลาะริมโขงมาอีก ๕๐๐ เมตรก็จะถึงพื้นที่ของสามเหลี่ยมทองคำ ผมไม่แนะนำให้ข้ามแม่น้ำรวกตรงเยื้อง ๆ หอฝิ่นเพื่อไปเล่นการพนันที่ฝั่งพม่า รับรองว่าไปก็หมดตัวกลับมา รอให้เมืองไทยเปิดค่อยเล่นก็แล้วกัน ไม่ว่าบ่อนเขมร ลาว พม่า อย่าข้ามไปเล่นเลย เจ้าของบ่อน (ผมไม่เรียกให้ไพเราะว่าคาสิโน) ก็เป็นคนไทยนั่นแหละ แต่มีทุน มีอิทธิพลมากพอที่จะข้ามไปเปิดในต่างประเทศเพื่อนบ้านได้ บ่อนล้อมประเทศไทยไว้ทุกด้านแล้ว
            สามเหลี่ยมทองคำพัฒนาไปไกลกว่าเดิม ที่หายไปคือ ร้านห้าเชียง ที่เขาว่าตั้งขายเพื่อบังหน้าในกิจการบางอย่าง เมื่อจบกิจการแล้ว ก็เลิกกิจการค้า และโรงแรมไปเช่นกัน เขาเล่าให้ฟังอย่าเพิ่งเชื่อผมในเรื่องนี้ ที่มีใหม่มาในระยะไม่กี่ปีมานี้คือ
            ตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓ ตุง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ตุงกลางจะเป็นรูปเทวดา ปีกระต่าย (ปีเถาะ) สร้างไว้ริมแม่น้ำโขง
            ปี ๒๕๔๒ มี ๒ ตุง ตุงกลางเป็นรูปนางฟ้า รูปลิง (ปีวอก) สร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้า ฯ

            ระหว่างตุง สร้างช้างใหญ่ไว้ ๒ เชือก และทางด้านซ้ายของตุงคือ พระพุทธรูปประทับนั่งบนเรือธรรม และใกล้ ๆ กันมีประตูสามเหลี่ยมทองคำเอาไว้เป็นฉากหลัง ในการถ่ายรูปกับหนูน้อยชาวเขา มีเรือพาล่องแม่น้ำโขงเช่าเหมาลำ
            จากสามเหลี่ยมทองคำ เลยไปอีก ๑๐ ก.ม.ก็จะถึงตัวอำเภอเชียงแสน เที่ยวเชียงแสนเมืองเก่า ไปไหว้พระธาตุจอมกิตติที่อยู่ห่างจากตัวอำเภอ ๑.๕ ก.ม. ซื้อสาลี่ แอปเปิล  ที่แผงขายริมแม่น้ำโขง เดี๋ยวนี้ตั้งแผงหน้าอำเภอ ยาวสัก ๑๐๐ เมตร บังวิวแม่น้ำโขงหมดผลไม้เหล่านี้มาจากจีนส่งมาขายไทย มีรถรับส่งไปขายตลาดไทและแพร่ขายไปทั่ว ที่ริมโขงราคาจะถูกมาก ซื้อยกกล่องกันเลย
            จากเชียงแสน กลับมานอนเชียงราย พอผ่าน อ.แม่จัน ซื้อส้มสายน้ำผึ้ง บางแผงจะมีส้มเชียงรุ้ง เลยมาหน่อยซื้อสับปะรดนางแล หรือบางฤดูก็กลายเป็นนางเมิน เพราะเปรี้ยวก็มี  ซื้อภูแล พันธุ์ใหม่ลูกเล็กแต่หวานฉ่ำ

            ขอทบทวนร้านอาหารในกรุง ฯ ไว้อีกครั้ง เพราะตั้งใจจะไปกินข้าวแช่ ชาววังแท้แน่นอน ปรากฏว่านอกจากข้าวแช่ฝีมือชาววัง น้ำพริก น้ำยา ซาวน้ำ หมี่กรอบ โรตี แกงเผ็ดพริกขี้หนู หมู/เนื้อ  ปิดท้ายด้วยขนมหวานลูกตาลอ่อนลอยแก้ว ยังมีเพิ่มมาใหม่ต้องรีบเอามาบอกกล่าวอีกทีคือมีอาหารโบราณเพิ่มขึ้นมา ๓ รายการได้แก่ปลาแห้งแตงโม ม้าห้อ และต้มปลาสลิดกับใบมะขามอ่อน ผมเลยบอกว่าให้ทำแกงบวนอีกอย่างเพราะคนไทยจะไม่รู้จักกันแล้วทำออกขายเมื่อไรช่วยบอกผมด้วย และยังเปิดห้องให้จัดเลี้ยงได้อีกสัก ๕๐ คน ยังรับไหว โทรสั่งล่วงหน้าก็แล้วกัน  และชอบใจอีกอย่าง คนที่ขี้เกียจมากินข้าวแช่ที่ร้าน ให้คนรถมาซื้อจะจัดใส่กล่องกลับไป
ให้ ราคาชุดละ ๑๕๐ บาท ระหว่างนั่งรอจะมีขนมหวานมาเลี้ยง เห็นนั่งซดลูกตาลลอยแก้วจนวางช้อนไม่ลง บอกเส้นทางไว้อีกที
            หากไปจากสี่แยกรัชโยธินเลี้ยวซ้ายไปผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ ลงสะพานแล้วตรงต่อไป (อย่าขึ้นสะพานอีก) ถึงสี่แยกประชานุกูล เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคลองประปา ซอยทางซ้ายจะเรียงกันไปซอย ๓๐,๓๑,๓๒ พอถึงซอย ๓๓ เลี้ยวซ้ายเข้าไปจนถึงเสาไฟฟ้าต้นที่ ๗ เลี้ยวซ้ายวิ่งไปสัก ๕๐ เมตร เข้าประตูบ้าน หรือร้านไปเลย ร้านในบ้านจอดรถสดวกสบาย ผมจะขอบรรยายอาหารเพิ่มเติม เริ่มต้นด้วยข้าวแช่
            ข้าวขาวสวยพร้อมน้ำหอมด้วยดอกมะลิ มีผักแกะสลักเห็นแล้วอยากเอาไปบูชาพระ เพราะแกะกระชายเป็นดอกจำปี แกะมะม่วงเป็นใบไม้ ฯ อาหารข้าวแช่จัดสวย มีลูกกะปิที่ขาดไม่ได้หัวไชโป๊ผัดเค็มอมหวาน หมูหวานฉีกฝอย หอมใหญ่ชุบแป้งทอด พริกหยวกยัดไส้ห่อไข่ พริกแห้งยัดไส้ชุบแป้งทอด โรยน้ำแข็งทุบ มีขายทั้งปี ยอดอาหารฤดูร้อน แต่กรุงเทพร้อนทั้งปี
            ปลาแห้งป่นผัดใส่ถ้วยวางกลาง ล้อมด้วยแตงโมสีแดงหวานฉ่ำ เป็นอาหารคาวของคนโบราณ ทำเลี้ยงพระ พระชอบนักฉันกับข้าวแล้วพระฉันเป็นผลไม้ไปเลย ปลาแห้งแตงโม
            ยกมือให้สองมือให้ต้มปลาสลิดกับใบมะขามอ่อนหวานด้วยกะทิ เค็มด้วยปลาสลิดแดดเดียวเอามาทอดก่อน ไม่ทราบว่าทอดแบบไหนปลาสุกพอดี ต้มแล้วไม่ยุ่ย เคี้ยวสนุก
            อาหารจานนี้ห่วงอย่างเดียวหากหาใบมะขามอ่อนไม่ได้ทำยังไงดี เลยบอกว่าลองปลูกมะขามในกระถางหมั่นเด็ดใบ แล้วให้น้ำให้หนัก อาจจะแตกใบอ่อนทั้งปีก็ได้ (ไม่แตกอย่าว่ากัน)
            ม้าห่อ แกล้มเบียร์วิเศษนัก แต่ร้านนี้ไม่มีเครื่องดื่มประเภทมึนเมา สัปปรดหวานอมเปรี้ยว หน้าเป็นหมูผัดกับถั่วลิสง เรียกน้ำย่อยวิเศษนัก
            หมี่กรอบเส้นเล็กบาง ยากจะหาใครเทียม หรือขนมจีน น้ำพริก น้ำยา เห็นเหมือดผักก็อิ่มแล้ว หากถามทำไมอิ่มก็จัดมาสวยแล้วมากจนไม่ต้องกินกับขนมจีนก็ยังได้
            ปิดท้ายเสียด้วยลูกตาลอ่อนลอยแก้ว มีของหวานอย่างเดียว แต่มีให้ชิมตลอดปี

......................................................................

| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์