หลวงพ่อบ้านแหลม
หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร สูง ๒.๗๖ เมตร
หล่อด้วยทองเหลืองปิดทอง ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือเรียกกันทั่ว
ๆ ไปว่า วัดบ้านแหลม ตั้งอยู่ใจกลางตลาดแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม
หลวงพ่อบ้านแหลมนับถือกันว่า มีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์นานาประการ เป็นที่เคมรพสักการะของชาวแม่กลองและต่างจังหวัด
เช่นเดียวกับหลวงพ่อโสธร เมืองแปดริ้วเลยทีเดียว
มีตำนานเล่าถึงความเป็นมาของหลวงพ่อไว้ดังนี้ หลวงพ่อวัดบ้านแหลมองค์นี้ท่านลอยน้ำมาจากเมืองเหนือ
ตำนานบอกว่า เดิมทีมีพี่น้องห้าคนอยู่ในเมืองเหนือ มีวิชาความรู้มาก เมื่อสิ้นชีพแล้วไวด้อธิษฐานขอให้ไปสิงสู่อยู่ในพระพุทธรูป
๕ องค์ แล้วชวนวกันลอยน้ำลงมายังเมืองใต้คือภาคกลาง
พระพุทธรูปที่ลอยน้ำลงมา ๕ องค์นั้น
ได้แยกย้ายกันไปประดิษฐานอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ รวม ๕ จังหวัด คือ .-
พระพุทธรูปองค์พี่ใหญ่ ลอยไปตามลำน้ำบางปะกง ขึ้นประดิษฐานที่วัดโสธร คือ
หลวงพ่อโสธร
องค์ที่ ๒ ลอยไปตามน้ำนครชัยศรี ขึ้นประดิษฐานที่วัดไร่ขิง เรียกว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง
จ.นครปฐม
องค์ที่ ๓ ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้นประดิษฐานที่วัดบางพลี ปากคลองบางพลี
เรียกว่า หลวงพ่อวัดบางพลี
อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
องค์ที่ ๔ ลอยมาตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม เรียกว่า พลวงพ่อวัดบ้านแหลม
จ.สมุทรสงคราม
องค์ที่ ๕ ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา เรียกว่า
หลวงพ่อเขาตะเครา
จ.เพชรบุรี
ก่อนที่หลวงพ่อวัดบ้านแหลมจะขึ้นมาประดิษฐานที่วัดบ้านแหลมนี้นั้น ตำนานเล่าไว้ละเอียดว่า
ชาวบ้านแหลมเดิมทีเดียวอยู่ที่บ้านแหลมเมืองเพชรบุรี หนีภัยสงครามจากทหารพม่าที่ยกมาตีเพชรบุรี
เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๗ ส่วนใหญ่ชาวบ้านเหล่านี้จะเป็นชาวปะมง วันหนึ่งออกไปลากอวนหาปลาตามอาชีพดั้งเดิมที่ปากอ่าวแม่กลอง
ก็ปรากฎว่าวันนั้นติดพระพุทธรูปขึ้นมใาสององค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน
อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง จึงแบ่งองค์หลังให้ญาติพี่น้องนำปไประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา
เรียกว่า หลวงพ่อเขาตะเครา
ส่วนอีกองค์หนึ่งที่เป็นพระพุทธรูปยืนนำมาประดิษฐานที่วัดศรีจำปา
อันเป็นวัดเก่าแก่มีมานานแล้วที่แม่กลอง
ชาวบ้านที่ได้พระมา พื้นเพดั้งเดิมคือชาวบ้านแหลม เพชรบุรี จึงเรียกกันติดปากว่าหลวงพ่อบ้านแหลม
และเมื่อนานไปหลวงพ่อมีอภินิหาร มีความศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่เลื่องลือ มีผู้เดินทางไปนมัสการกันมากมาย
เป้นผลให้วัดศรีจำปา ซึ่งเดิมเป็นวัดเล็ก ๆ ที่ทรุดโทรมก็กลับเจริญรุ่งเรือง
เป้นวัดใหญ่และชื่อก็เปลี่ยนไปเป็น "วัดบ้านแหลม"
เรียกว่าเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ นานไปจึงได้รับการยกย่องฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิดวรวิหาร ได้รับพระราชทานนามว่า วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
พระพุทธรูปหลวงพ่อบ้านแหลมองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร เมื่อชาวประมงลากอวนได้มาจากทะเลนั้นบาตรได้หายไปแล้ว
บาตรแก้วสีน้ำเงินที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่บาตรดั้งเดิมเป็นบาตรที่สมเดฌ็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ถวายใหม่เมื่อคราวเสด็จมานมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม
การเดินทางเพื่อไปนมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลม หากไปจากกรุงเทพ ฯ เช่นผมไปจากบ้านลาดพร้าว
ผมก็ขึ้นทางด่วนไป ๒ เด้ง ไปลงที่ถนนพระราม ๒ ที่กำลังจะหายจากสภาพถนนล้านปีตามที่ผมตั้งชื่อไว้แล้ว
ไปตามถนนพระราม ๒ หรือทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๕ ประมาณ กม.๖๗ จะมีทางแยกซ้าย เพื่อวิ่งข้ามสะพานข้ามถนนไปเข้าเมืองสมุทรสงคราม
(เพราะเป็นถนนสี่เลน จึงข้ามสะพานกลับไป) เมื่อเข้าเมืองแล้วตามป้ายไปในเมืองที่บอกว่า
เพชรสมุทรก็จะไปถึงยังลานจอดรถที่หน้าวัดได้ ที่จอดรถมีลานกว้างขวาง
แต่วันที่ผมเดินทางไปนั้น ผมยังไม่ได้เข้าเมืองไปนมัสการหลวงพ่อเลยทีเดียว
เพราะจะไปยังวัดเขายี่สารเสียก่อน
ผมจึงยังไม่เข้าเมือง คงวิ่งตรงต่อไปข้ามสะพานแม่น้ำแม่กลอง ตรงต่อไปอีกพอถึง
กม. ๗๑ - ๗๒ มองทางซ้ายจะเห็นปั๊มน้ำมัน ปตท.ให้เลี้ยวรถเข้าไปหากอยากกินก๋วยเตี๋ยว
ร้านหลังปั๊ม จัดร้านสะอาดน่ากิน ยกป้ายไว้ว่าก๋วยเตี๋ยวปลา เป็นก๋วยเตี๋ยวที่อร่อย
ซดร้อน ๆ ยามเช้าวิเศษนัก รวมทั้งปลารวกด้วย หรือจะกินข้าวแกงที่ร้านนี้ก็มีข้าวแกง
ใส่ตู้โชว์ไว้ไปชี้เอาได้ ผมไปครั้งแรกผมแวะกินก๋วยเตี๋ยวปลาและปลาลวก ก่อนที่จะเข้าไปยังวัดเชายี่สาร
แต่ชมวัดได้ไม่ละเอียดเพราะฝนตกเดินไม่ทั่ว ได้แต่ไปชมพิพิธภัณฑ์ของวัดเขายี่สาร
และไหว้ขอพรพระขอโชค ขอลาภ จากพ่อปู้ศรีราชา แต่เป็นพระพุทธรูปอยู่ในศาลใกล้
ๆ ทางขึ้นไปยังวงัดเขายี่สาร วันหลังไปใหม่ ไปถึงวัดตั้งแต่ตอนสายตลาดนัดที่ลานหน้าวัดเขาเริ่ทวายหมดแล้ว
เลยไม่ได้เดินซื้ออะไร แต่ริมน้ำหรือริมคลองขุดนั้นมีที่น่าสนใจนคือ พลับพลาหลังน้อย
ๆ ริมน้ำ ซึ่งเคยจัดให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสหุดา เมื่อมาชมพิพิธภัณฑ์
และมาชมอุทยานมัจฉาปลาน้ำเค็ม
ซึ่งผมเพิ่งเคยเห็นที่ในคลองแห่งนี้ และใกล้กันกลับพลับพลาคือศาลานั่งกินอาหาร
ร้านนี้เขาขายอาหารตามสั่งและขายขนมพื้นบ้านของชาวอัมพวา เพราะบ้านเขายี่สารนี้ขึ้นกับอำเภออัมพวา
สมุทรสงคราม เวลาเปิด ปิดร้านของเขาไม่เหมือนใคร คือเปิดร้าน ๐๖.๐๐ - ๑๖.๐๐
ถามว่าทำไมเปิดเช้านัก เขาบอกว่าคนมาตลาดนัดกันตั้งแต่เช้า กผ้ขายอาหารได้เลย
ทิศทางเข้ามายังวัดเขายี่สารคือจากปั๊มน้ำมัน ปตท.ให้เลี้ยวซ้ายมานิดหนึ่งจะพบถนนแยกซ้าย
ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายนี้ ปากทางมีป้ายบอกไว้ และยังบอกอีกว่ามีเส้นทางลัดไปอำเภอชะอำ
อย่าหลงเชื่อเป็นอันขาด เพราะถนนไปได้จริง ชาวบ้านบอกว่าขืนไปกี่ชั่วโมงจะไปโผล่ชะอำเขาไม่ทราบ
เพราะพวกเขาไม่ไปกัน ทางราดยางหลอกไว้นิดเดียว จากนั้นทางจะแคบและเป็นถนนลูกรัง
เป็นหลุมเป็นบ่อไปตลอดทาง
บ้านเขายี่สารนี้ประวัติเล่าไว้ว่า
เป็นบ้านเก่าแก่ร่วม ๗๐๐ - ๘๐๐ ร้อยปีมาแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในเขตทะเลตมรอบอ่าวไทย
เป็นชุมทางที่จะถ่ายสินค้าไปสู่เมืองหลวงคือกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนมาถึงสมัยกรุงธนบุรี
และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พึ่งมาหมดความสำคัญลงเมื่อการคมนาคมดี มีถนนหนทางเชื่อมถึงกันหมด
การขนถ่ายสินค้าจากทะเลจึงนิยมไปกันทางรถยนต์ ตำนานเล่าว่ามีคนจีนสามพี่น้อง
ล่องเรือสำเภามาค้าขายพอเรือมาถึงบริเวณเขายี่สาร เรือสำเภาได้พุ่งเข้าชนเขาจนเรือแตก
พี่คนโตชื่อ จีนเครา ไปขึ้นที่เขาตะเครา คนรองชื่อ จีนขาน มาขึ้นอยู่ที่เขายี่สาร
และคนสุดท้องชื่อ จีนกู่ มาขึ้นที่เขาอีโก้ และต่างตั้งบ้านเรือนจนเกิดชุมชนสืบต่อมา
ชาวบ้านเชื่อกันว่า จีนขาน คือพ่อปู่ศรีราชา จึงมีการตั้งศาลไว้ในชุมชน เป็นรูปไม้เจว็ด
ไว้เคารพบูชากัน นานไปมีควาวศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นจนมาถึงสมัยมีรถยนต์วิ่งผ่าน
ก็เลยบวชพ่อปู่ คือสร้างพระพุทธรูปปางห้ามมาร ประทับนั่ง ส่วนไม้เจว็ดนั้นยังคงวางไว้ด้านหลังพระพุทธรูป
มีเรือสำเภาจำลองเอาไว้หลังพระพุทธรูปลำหนึ่ง มีผู้ไปเคารพบูชากันมาก ให้โชคลาภดีนักบอกได้แค่นี้
ลองไปหาตัวเลขเอาเองก็แล้วกัน วัดเขายี่สารเป็นภูเขาลูกเดียวของจังวหัดสมุทรสงคราม
ตัววัดอยู่บนเขา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีการสร้างโบสถ์สร้างวิหารไว้ตามส่วนต่าง
ๆ ของเขา จอดรถไว้ที่เชิงเขาติดกับพิพิธภัณฑ์แล้วเดินขึ้นบันไดไปนิดเดียว
วิหารตั้งอยู่บนยอดเขา ที่ไม่สูงเดินไม่ทันเหนื่อย มีฐานโค้งแบบตกท้องช้าง
เป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัยกรงุรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองสี่รอย
ที่ควรชมคือ การแกะสลักของบานประตูไม้ ส่วนอุโบสถพึ่งได้รับการบูรณะใหม่ มีลายปูนปั้นฝีมืองช่างเพชรบุรี
ที่แปลกคือ บานหน้าต่างโบสถ์จำนวน ๒๐ บาน มีภาพเขียนเป็นตัวละครในเรื่องห้องสินของพงศาวดารจีน
ซึ่งเรื่องนี้ใครชอบเรื่องจีนละก็อ่านสนุกเพราะรบกันตลอดเรื่อง แต่ละภาพที่เขียนมีภาษาไทยกำกับไว้
จึงนับว่าแปลกที่เคยเห็นมีแต่เขียนภาพพระพุทธประวัติ นี่เขียนเรื่องจีน
พิพิธภัณฑ์ เปิดเฉพาะวันเสาร์
อาทิตย์ และติดต่อให้จัดที่พักแบบโฮมสเตย์ก็ได้ โทร ๐ ๑๘๕๙ ๓๑๙๕ จัดเรือนำเที่ยวเป็นหมู่คณะก็ได้
หรือให้จัดวิทยากรนำชมก็ได้อีก ราคาไม่แพง อาจารย์ที่มาจัดพิพิธภัณฑ์นั้นเป็นชาวยี่สาร
และยังรับราชการอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร กำแพงแสน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้พึ่งจัดขึ้นเมื่อ
พ.ศ.๒๕๔๐ แต่สมเด็จพระเทพ ฯ ทรงสนใจเสด็จมาเยี่ยมชม มาศึกษาชีวิตชาวบ้านเขายี่สารแล้ว
ศาลาพิพิธภัณฑ์นี้เริ่มแรกคือ ศาลาการเปรียญได้มาตกแต่งดัดแปลง และยังใช้เป็นศาลาการเปรียญของวัดอยู่ด้วยในวันพระ
มีสองชั้น ชั้นบนจัดแสดงจำลองภาพตั้งแต่เกิดขึ้นและพัฒนาการของชุมชนยี่สาร
มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบนำมาแสดง แม้จะไม่สมบูรณ์ก็ทำให้ทราบว่าบ้านยี่สารนี้คือ
ชุมชนเก่าแก่แน่นอน และยังมี "โพล่" คือโอ่งใส่น้ำโบราณ มาแสดงด้วย ชั้นล่างแสดงวิถีชีวิตชาวบ้าน
เช่น สำรับอาหารพื้นบ้าน การตัดไม้โกงกางเผาถ่าน เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
ฯ
ร้านอาหาร ที่ผมบอกว่าเขาเปิดตั้งแต่หกโมงเช้านั้น เขาขายอาหารตามสั่ง มีศาลานั่งกินอาหารริมน้ำ
นั่งชมน้ำในคลองขุดที่ไหลเอื่อย ๆ และใสสะอาด เป็นร้านแบบโชห่วย มีขายสารพัดตั้งแต่แปรงสีฟันยันสากกะเบือ
หวาน คาว มีพร้อม สำคัญคือมีอาหารพื้นบ้านได้แก่ ชะครามลวก ราดกะทิ มาคู่กับน้ำพริกะปิ
รายการนี้อย่าโดดข้าไปเป็นอันขาด ต้องสั่งใบชะครามนั้นเป็นผักที่ขึ้นในเลนน้ำเค็ม
ผักจึงมีความเค็ม เขาจะต้องเอามาลวก มาต้มให้หายเค็มเสียก่อนแล้วจึงราดกะทิน่ากินนักแล
หรือจะสั่งแกงส้มกุ้งใบชะครามอีกก็ได้ แต่ที่ยอดเยี่ยมหาใครเทียมยากคือ ต้มส้มปลากระบอกเด็ดจริง
ๆ รวมทั้งปลาดุกทะเลผัดฉ่าด้วย ส่วนของหวานนั้นให้เดินไปที่ตู้ขนมของร้าน
จะมีพวกทองหยิบหวานฉ่ำ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน และขนมหม้อแกงไข่ขาว สั่งให้เขาใส่จานมาให้
หวานจัดมาก หวานชื่นใจ คนเป็นเบาหวานหากอยากชิมเต็มทีอนุญาตให้คำเดียว ไม่งั้นผมว่าน้ำตาลขึ้นช๊อคอยู่ตรงนั้นเอง
ไปไหนต่อไม่ได้เว้นไปโรงพยาลาล
ผมกินอาหารเป็นมื้อสาย จะไปต่อมื่อเที่ยงให้ได้อีกมื้อ ตามภาษาคนช่างกิน มาทั้งทีต้องไม่ให้เสียเที่ยว
จากบ้านเขายี่สาร ย้อนกลับมาเข้าเมืองสมุทรสงคราม พอข้ามสะพานแม่กลองแล้วมาหน่อยเดียวก็เลี้ยวซ้ายเข้าเมืองตามป้ายไป
เข้าสู่ถนนที่มีธนาคารแยะมุ่งหน้าไปทางตลาดสด ตามป้ายไปถึงวัดเพชรสมุทร ซึ่งหน้าวัดมีลานจอดรถกว้างขวาง
จอดได้ไม่เสียค่าจอด อาหารขาย ของขายรอบลานวัด และมีตลาดหลังลาน เห็นมีอาหารขายเหมือนกัน
จากลานเดินข้ามถนนมาเข้าประตูวัด ซื้อดอกไม้ธูปเทียนของวัดแล้วต้องจุดธูปไหว้พระหลวงพ่อองค์จำลอง
ที่ข้างนอกหน้าพระอุโบสถ ด้านข้าง ๆ มีลานเป็นเวทีสำหรับแก้บนถวายละครรำ เราก็ยืนชมฟรีได้
เห็นมีมาแก้บนกันตลอดเวลา แล้วจึงเข้าไปไหว้หลวงพ่อองค์จริงในพระอุโบสถ เขาให้ขึ้นไปปิดทองหลวงพ่อได้
จำไว้ด้วยว่าหลวงพ่อประทับยืนอุ้มบาตร ในพระอุโบสถมีวัตถุมงคลจำหน่ายด้วย
จากวัดหลวงพ่อบ้านแหลม ผมออกมาทางถนนหน้าวัดแล้วไปเลี้ยวขวาไปทางศาลากลาง
วิ่งไปตามถนนหน้าศาลากลาง ตามป้ายที่บอกว่าไปดำเนินสะดวก พอวิ่งไปถึง หลัก
กม.ที่ ๓๗ ให้เลี้ยวซ้ายซึ่งปากซอยที่เลี้ยวเข้าไปนี้จะมีป้อมตำรวจอยู่ตรงมุมขวา
(หากเลยป้อมตำรวจไปสัก ๓๐ เมตร จะมีบ้านเรือนไทย มีเพิงต่อออกมาขายผัดไทยประยุกต์
คือผัดไทยกุ้งสด และกุ้งสามรส จะเชิมเสียเลยก็ยังได้) เมื่อเลี้ยวซ้ายตรงป้อมตำรวจแล้วก็จะไปข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง
ไปถึงวัดภุมรินทร์ก็เลี้ยวขวา
ที่นี้ให้ตามป้ายวัดอินทารามเรื่อยไป
จะพบทางแยกซ้ายให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนน "ผลไม้" จำตรงนี้ไว้ดี ๆ หากไม่เลี้ยวซ้ายเข้าถนนผลไม้
จะไปเที่ยวก่อนชิม ก็อย่าเพิ่งเลี้ยว วิ่งตรงไปจะไปยังค่ายบางกุ้งและวัดบางกุ้งโบสถ์ปรกโพธิ์ที่เคยร้างจนต้นไทร
ต้นกร่าง ต้นโพธิ์ขึ้นปรกคลุมเต็มไปหมด ทุกวันนี้ก็เป็นเช่นนั้น ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ผมเคยเล่าว่าศิลปากรกำลังบูรณะ
ซึ่งตอนนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คือ หลวงพ่อดำ
หรือหลวงพ่อนิลมณี และในบริเวณค่ายบางกุ้งนี้ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
มีบ่อน้ำโบราณ
มีคัมภีร์ยาโบราณ
(ต้องไปขอดูจากเจ้าอาวาส) และดินแดนของค่ายบางกุ้งนี้ถือว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาก
เพราะสมเด็จพระเจ้าตากสินรบกับพม่าที่บริเวณนี้ และตีพม่าแตกพ่ายไป หากรบแพ้
ไทยจะแพ้ไปทั้งชาติ เพราะเป็นศึกแรกตั้งแต่กอบกู้อิสรภาพคืนมาได้ หลังกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ
พ.ศ.๒๓๑๐ ดังนั้นหากยังไม่หิวละก็ วิ่งไปค่ายบางกุ้งเสียก่อนหรือจะเลยต่อไปยัง
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด
(โบสถ์บางนกแขวก) ซึ่งทั้งค่ายบางกุ้ง และโบสถ์คริสต์แห่งนี้อยู่ในท้องที่อำเภอบางคนที
ตำบลบางนกแขวก สมุทรปราการ เป็นโบสถ์อายุมากกว่า ๑๐๐ ปี และจะเปิดเฉพาะวันอาทิตย์ต้องขออนุญาตเข้าชม
แต่งดงามมาก
ขอทบทวนเส้นทางอีกที เพราะถนนคดโค้งดีเหลือเกิน กว่าผมจะไปชิมอาหารพื้นบ้านของอัมพวาได้ต้องไปเสีย
๒ ครั้ง ครั้งแรกไปแล้วหลงทาง ต้องกลับออกมากินผัดไทยประยุกต์ที่ร้านติดบ้านโบราณ
ซึ่งอยู่ริมถนนใหญ่สายมาจากสมุทรสงคราม เลยป้อมตำรวจตรง กม.๓๗ ไปสัก ๓๐ เมตร
เชิงสะพานที่จะข้ามไปยังวัด ผัดไทยร้านนี้เป็นผัดไทยกุ้งสด จานละ ๓๐ บาท แต่จะให้เด็ดต้องสั่งกุ้งแม่น้ำสามรส
ราคากุ้ง กก.ละ ๖๐๐ บาท สั่งสักครึ่ง กก. หรือให้ได้กินกุ้งคนละ ๒ ตัวละก็เหมาะ
เขาจะทอดสามรสมาให้ รสจัด เอามาราดก๋วยเตี๋ยวผัดไทยอีกที เป็นผัดไทยประยุกต์
ความเด็ดจะอยู่ที่น้ำผัดกุ้งสามรสไปคลุกเคล้ากับรสผัดไทยนั่นแหละ และร้านนี้ยังมีสารพัดส้มตำ
เห็นคณะที่เขามากันทั้งครอบครัวหลายคน เขาสั่งส้มตำกันละจานและคนละอย่างด้วย
กินกันซี๊ดซ๊าดเหลือเกิน จบแล้วก็มีขนมหวานและขนมเบื้อง
ไปครั้งที่ ๒ จึงเล็งให้ดี พอถึง กม. ๓๗ ผมก็เลี้ยวซ้ายแถมยังเข้าไปถามตำรวจอีกว่าไปโรงพยาบาลไปทางไหน
ตำรวจก็บอกว่าเลี้ยวซ้ายไปนี่แหละ เลี้ยวซ้าย ข้ามสะพาน ผ่านวัดดภุมรินทร์กุฎีทอง
เลี้ยวขวาตามป้ายวัดอินทารามไป ผ่านโรงพยาบาลอัมพวา แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนผลไม้
(หากไม่เลี้ยวก็จะข้ามสะพานไปค่ายบางกุ้ง) แต่เมื่อเลี้ยวซ้ายมาตามถนนผลไม้แล้วก็มาถึงวัดอินทาราม
หน้าวัดมีผลไม้ชั้นดีขาย ตรงนี้เป็นสามแยก (ผมเคยหลงไปทางซ้าย) ให้เลี้ยวขวาข้างวัดอินมาราม
จะผ่านวัดเสด็จ
ผ่านวัดละมุด
ผ่านวัดราษฎร์บูรณะไป
๓๐ เมตร ก็เลี้ยวขวาเข้าบ้านผู้ใหญ่ทองหยิบที่ปลูกเป็นเรือนไทยหลังโต อยู่ริมน้ำใสไหลผ่านหน้าบ้าน
เป็นศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวเกษตร หยุดทุกวันจันทร์ที่สามของเดือน ร้านหรือบ้านเปิดขายอาหารตั้งแต่
๑๐.๐๐ - ๒๐.๐๐ นอกจากอาหารขายแล้วยังจัดโฮมสเตย์ ผู้ใหญ่คนละ ๓๕๐ บาท รวมอาหารเย็นและเช้ากาแฟ
ฟรี มีบริการแจวเรือให้ชมหิ่งห้อยตามคลองในยามค่ำ อาหารนั้นสั่งล่วงหน้าก็ดีเพราะวันที่ผมไปนั้นเขาเห็นผมศรัทธามากคือ
บอกเขานี่มา ๒ ครั้งแล้ว แต่ไม่ได้แนะนำตัวเองว่าเป็นใคร ขอกินอาหารอัมพวาด้วย
เขาบอกว่าไม่มี แต่ผู้ใหญ่ทองหยิบ (สาวใหญ่) ใจดี พอทราบจากบริการสาวน้อย
แต่งตัวทันสมัย นุ่งขาสั้น เดินเท้าเปล่ามาบริการเลยทีเดียว บอกว่ารอหน่อยก็แล้วกัน
จะโค่นต้นกล้วยและไปเก็บมะเดื่อให้ รวมทั้งย่างปลาทูด้วย โปรดดูอาหารที่ผมสั่งและต้องคอยกว่าครึ่งชั่วโมง
แต่ไม่เดือดร้อนเพราะในกระเพาะมีอาหารจากร้านคุณจ๋ายังตุนอยู่ นั่งดูน้ำใสไหลเอื่อย
เย็นสบายท่ามกลางบรรยากาศสวนผลไม้
ปลาทูปิ้ง เขาบอกว่าปลาทูนั้นจะอร่อยมาก ตัวโตมากคือฤดูหนาว และต้อง "หน้างอ
คอหัก" จึงจะเป็นยอดปลาทู วันนี้ไม่ใช่หน้าหนาว ปลาทูจึงตัวไม่โตนักและมันน้อย
แต่หาหน้างอ คอหักให้ได้ เขาก็ปิ้งปลาทูหน้างอ คอหักเอามาให้เท่าจำนวนคน ซึ่งปลาทูนี้ต้องจิ้มด้วย
"น้ำปลามอญ" อร่อยจนต้องถามสูตรเขา ป้าก็ดีใจหาย บอกสูตรมาให้ดังนี้ น้ำปลา
ใส่ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม กระชาย ใบมะกรูด น้ำมะขาม น้ำตาล มะพร้าว พริกขี้หนูสด
เป็นสูตรของพวกมอญที่ล่องเรือมาแควอ้อม (คลองหน้าบ้าน) มอญจะเอาหม้อดินมาแลกมะพร้าว
น้ำตาล และหมาก จานนี้เด็ดจริง ๆ "ปลาทูย่าง - น้ำปลามอญ" ชิมแล้วจำมาปิ้งซึ่งมีเคล็ดอีก
ปิ้งหรือย่างให้หนังปลาเหลืองสวย ไม่แตก ต้องเอาใบตองมาปิดบนตัวปลาด้วย
ต้มส้มไส้กล้วย ชามนี้เแหละที่ผู้ใหญ่ถึงขั้นสั่งโค่นกล้วยในสวนให้ ๑ ต้น
เพื่อเอาไส้มาแกง โดยแกงกับหมูและกุ้ง และต้องเป็นไส้กล้วยจากกล้วยน้ำไทย
แกงคั่วมะเดื่อ ชามนี้ก็เช่นกันที่ผู้ใหญ่ต้องสั่งเด็กไปเก็บมะเดื่อมาให้
มีแบบเแกงกับกุ้ง แกงกับเนื้อวัวติดมัน ซึ่งจะต้องใส่ปลาย่าง (ปลาเนื้ออ่อน)
คณะผมเลือกเอาแกงกับกุ้ง ส่วนมะเดื่อลูกน้อยต้องผ่าเพื่อให้น้ำแกงซึมเข้าไป
สั่งแกงอีก เพราะถามเขาว่าอาหารพื้นบ้านมีอะไรที่พอจะจัดให้ได้บ้าง "แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย"
เป็นแกงรายการที่ ๓ แต่อร่อยจริง ๆ กะทิจากต้นมะพร้าวในสวนเข้มข้นแตกมัน มันย่องราดข้าวตามด้วย
น้ำปลาพริกนิหนึ่ง ข้าวร้อน ๆ ด้วยอย่าบอกใครเชียวว่าอร่อยแค่ไหน และแกงของเขายังมีกะทือสด
ซึ่งเป็นสมุนไพรแก้ปวดท้อง ท้องอืด หั่นเป็นเส้นโรยมาให้เคี้ยวอีก
เสียดายที่หมดหน้าเสียแล้ว คือวันที่ไปลิ้นจี่อัมพวาหมดแล้ว มีแต่ลิ้นจี่เชียงรายขายเต็มเมือง
เขาบอกว่าไม่เอามาปรุง "ลิ้นจี่พล่ากุ้งแม่น้ำ" จะมีกินช่วงปลายกุมภาพันธ์
ไปยันมีนาคมเท่านั้น หากไปกันมาก ๆ เขาก็รับไหว เพราะเขาเป็นกลุ่มแม่บ้านมีคนมาก
ที่เขารับผมช้าเพราะผมไปวันที่ฝนตก เขาไม่นึกว่าจะมีลูกค้ามา และเล่นสั่งอาหารพื้นบ้านอัมพวาแท้
เลยต้องช้ากันตอนที่ไปโค่นต้นกล้วยกับส่งอีกพวกหนึ่งไปปีนเก็บลูกมะเดื่อมาแกงให้นี่แหละ
........................................................
|