ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ |

ชายกว๊าน

            ชายกว๊าน ที่ผมจะเขียนเล่าในวันนี้คือ ริมกว๊านพะเยา ประมาณสัก ๒ ปี มาแล้ว ผมเคยเล่าเรื่องไปเที่ยวที่กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ๒ ปี ผ่านไป ชายกว๊านพะเยาก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เจริญขึ้น โดยเฉพาะร้านอาหารมีมากขึ้น ร้านที่เคยดังมาก่อน บางร้านก็ฝีมือตกไป มือใหม่ขึ้นมาแทนเมื่อค้นพบแล้ว เลยต้องเอามารายงานให้ทราบ จะได้ไม่ถูกต่อว่า เมื่ออ่านแล้วก็เก็บหลักฐานเอาไว้ แต่พอ ๒ ปี ผ่านไป จึงจะมีโอกาสไปชิม ปรากฎว่าชักจะไม่เป็นเรื่อง ร้านอาหารนั้น หากเจ้าของร้านไม่มีฝีมือเยี่ยมด้วยแล้ว พอแม่ครัวใหญ่ออกไป มักจะด้อยคุณภาพลงทันที
            ผมเดินทางวันนี้ตั้งใจจะไปผ่านจังหวัดแพร่ เพื่อไปไหว้พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุของคนที่เกิดปีขาล หรือปีเสือ ส่วนแพะเมืองผี จะไม่แวะ กะวิ่งกันรวดเดียวถึงพะเยาเลย ออกจากกรุงเทพ ฯ ไปตามเส้นทางพหลโยธิน ต่อเข้าสายเอเซีย และกลับเข้าสายพหลโยธินใหม่ เมื่อผ่านแยกเข้าชัยนาทมาแล้ว ไปผ่านตัวเมืองนครสวรรค์ (ไม่แยกเข้าบายพาส)  พอพ้นสี่แยกไฟสัญญาณแรกแล้ว ก็ถึงแยกที่สองเลี้ยวขวาเข้าถนนมุ่งหน้าไปยังพิษณุโลก เส้นนี้ระยะทางประมาณ ๑๓๑ กม. ใช้คำว่าประมาณเพราะเมื่อก่อนผมจำได้ว่า ๑๒๙ กม. แต่ตอนนี้สร้างเป็นถนนสี่เลนเรียบร้อยแล้ว ป้ายบอกระยะทางว่า ๑๓๑ กม. ก่อนถึงตัวเมืองพิษณุโลก จะมีถนนบายพาสแยกขวาไปเชื่อมกับถนนสายที่มาจาก หล่มสัก วิ่งตรงผ่านสี่แยกไปตามถนนสาย ๑๑ ซึ่งสายนี้จะยาวไปจนเชียงใหม่ เมื่อเข้าถนนสาย ๑๑ แล้วพอใกล้จะถึงอุตรดิตถ์ จะมีสี่แยก มีไฟสัญญาณมีป้ายบอกให้เลี้ยวขวาไปยัง อ.ทองแสนขัน เลี้ยวขวาไปสัก ๒ กม. ก็เลี้ยวซ้ายไปอีก ๙ กม. เพื่อไปยังบ้านเหล็กน้ำพี้ ไปคราวก่อนไม่มีสตางค์พอที่จะซื้อดาบเหล็กน้ำพี้กลับมา เพื่อนำไปถวายที่ศาลสองมหาราช ที่เขาค้อเพชรบูรณ์ คือ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประทับคู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ในประเทศไทย น่าจะมีศาลเดียว)  สร้างไว้ที่วัดวิชมัยปุญญาราม ติดกับพระบรมธาตุเจดีย์กาญจนาภิเษก ที่ใครไปเขาค้อ หากเป็นชาวพุทธไม่ควรเลยไป ดาบที่สร้างด้วยเหล็กน้ำพี้จะเป็นดาบที่เหล็กเนื้อดีเลิศ สีค่อนข้างจะออกเขียว ไปซื้อที่ศูนย์โอท๊อป ร้านตั้งอยู่ที่ริมลานจอดรถ ก่อนที่ขึ้นไปชมพิพิธภัณฑ์เหล็กน้ำพี้ และบ่อพระแสงกับบ่อพระขันธ์ ซึ่งเป็นบ่อเหล็กน้ำพี้ ที่ยังอยู่ เหล็กในบ่อน้ำพี้นี้เคยไปสร้างพระแสงของ้าว ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงในวันกระทำยุทธหัตถี สร้างดาบนันทกาวุธ ของกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๑ สร้างดาบที่พระยาพิชัย (ดาบหัก)  ถือในมือซ้าย (ดาบที่หักคือ ดาบที่ถือในมือขวา ไม่ได้สร้างจากเหล็กจากบ่อน้ำพี้)  ได้ซื้อดาบที่ด้ามและฝักทำจากไม้ชิงชัน สีจะเข้ม สวยมาก คมกริบ ราคาพร้อมฝักและแท่นรองตั้งชุดละ ๔,๓๐๐ บาท หากฝักและแท่นทำด้วยไม้อื่นราคาจะถูกกว่านี้ เมื่อซื้อดาบแล้ว ก็กลับออกมาผ่านประตูวัดน้ำพี้ แล้วเลี้ยวขวามาสัก ๕๐ เมตร แวะกินอาหารกลางวันที่ร้านอาหารอร่อยมาก ราคาถูก มีป้าย คลีนฟู๊ด กู๊ดเทสท์ รับรองความสะอาด รสชาติอร่อย แม้ว่าจะเป็นร้านเดียวในหมู่บ้าน ก็ยกให้เป็นหนึ่งจริง ๆ จากร้านอาหารกลับไปออกถนนสาย ๑๑ ไปผ่านทางแยกเข้าตัวเมืองอุตรดิตถ์ วิ่งไปจนถึงสามแยกเด่นชัย (เลี้ยวซ้ายไป ลำปาง, เชียงใหม่ )  ให้เลี้ยวขวาผ่านอำเภอสูงเม่น ใครคิดจะซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก กลับมาต้องเอารถกระบะไป เพราะจะมีเฟอร์นิเจอร์ไม้สักขายมาก ตั้งแต่สามแยกเด่นชัยเรื่อยมา มากที่สุดก็ตรงสูงเม่นนี่แหละ เลยสูงเม่นมาแล้วเป็นสามแยกอีก หากตรงไปเข้าเมืองแพร่ ตรงหัวมุมมีร้านอาหารอร่อยชื่อ บ้านฝ้าย วันนี้ไม่ได้แวะเพราะอิ่มมาจากบ้านน้ำพี้แล้ว แยกไปทางเส้นขวา ซึ่งเป็นเส้นบายพาส ของถนนเมืองแพร่ และเมื่อจะไปยังพระธาตุช่อแฮ ก็ไปตามเส้นนี้เมื่อถึงสี่แยกที่จะเลี้ยวขวาไปยังพระธาตุ จะมีป้ายบอกไปพระธาตุช่อแฮ เลยแยกไปพระธาตุจะมีแยกอีกคราวนี้บอกว่าไป "แม่หล่าย"  ตำบลนี้มีของอร่อย มีชื่อเสียงคือ "ขนมครก" เมื่อตอนผมค้นพบร้านขนมครกแม่หล่าย เมื่อสัก ๕๐ ปี มาแล้ว ดูเหมือนจะเป็นร้านตั้งอยู่โดด เดี๋ยวนี้เจริญจนเป็นตำบลไปแล้ว แต่ขนมครกแม่หล่ายยังมีเจ้าเดียว อย่าลืมแวะไปซื้อขนมครกแม่หล่ายชิม เข้าหมู่บ้านร้านจะอยู่ทางซ้ายมือ พ้นหมู่บ้านแม่หล่ายไปแล้ว ถนนจะบรรจบกับเส้นที่มาทางบายพาส ก็เลี้ยวขวามุ่งไปทางจังหวัดน่าน ซึ่งจะต้องผ่านอำเภอร้องกวาง ก่อนถึงตัวอำเภอ จะมีถนนแยกซ้าย ให้เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นนี้ จะไปผ่านทางเข้าอำเภอสอง ซึ่งหากเลี้ยวขวาเข้าไปก็จะไปยังพระธาตุพระลอ และมีอนุสาวรีย์พระลอ ที่ยืนเคียงข้างด้วยพระเพื่อนและพระแพง
            ผ่านแยกเข้าอำเภอสองไปแล้ว ก็จะไปบรรจบกับถนนพหลโยธิน ที่มาจากลำปางที่ อ.งาว สมัยผมรับราชการอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ นายตำรวจรุ่งพี่ผมคนหนึ่ง ชมว่าผมโชคดีที่มาอยู่เชียงใหม่ ส่วนรุ่นพี่ท่านบอกว่าโชคไม่ดี เพราะอยู่ น่าน "ก็ตกไม้เอก"  กลายเป็นอยู่ "นาน"  (น่าน เมื่อ ๔๐ ปี ที่แล้ว ไม่ใช่น่าน วันนี้ที่ใคร ๆ ก็อยากไปอยู่) พอรุ่นพี่ได้ย้ายก็ดีใจ แต่ปรากฎว่าย้ายไปอยู่ อำเภองาว ที่เขาโอนไม้เอกจากน่านมาให้ เลยกลายเป็นง่าวไป (ง่าว คำเมืองแปลว่า โง่ )  อย่าลืมว่า ผมเล่าเรื่องเมื่อสี่สิบปีมาแล้ว อย่าเผลอมาเล่นงานผมเข้า ผ่าน อ.งาว ไปแล้ว อีกประมาณ ๔๕ กม. ก็จะถึงทางแยกซ้ายไปยัง อ.วังเหนือ ไป อ.เวียงป่าเป้า หรือกลับไปเชียงใหม่ได้ ก่อนเข้าตัวเมืองพะเยา จะมีทางแยกขวาไปยัง จ.น่าน ได้อีกเส้นทางหนึ่ง
            เมื่อวิ่งเข้าตัวเมือง พอเริ่มมองเห็นกว๊านพะเยา ทางซ้ายมือ ก็จะข้ามสะพาน เมื่อข้ามมาแล้วทางขวามือคือ วัด ทางซ้ายจะมีถนนแคบ ๆ ให้เลี้ยวเข้าไปถนนสายนี้คือ ถนนพหลโยธิน สายดั้งเดิมรวมทั้งเป็นสายปัจจุบันด้วย ส่วนถนน ๖ เลน ที่วิ่งตรงต่อไปนั้นเรียกว่า ถนนซูเปอร์  วิ่งผ่านตัวเมืองพะเยา ตัดตรงไปยังเชียงราย ไปชายกว๊าน ก็เลี้ยวซ้ายเจ้าตรงนี้เลยก็ได้ แต่เมื่อเข้าถนนพหลโยธินแล้ว ต้องไปเลี้ยวอีกที เพราะพหลโยธินไม่ผ่านที่ชายกว๊านพะเยา จะหักไปบรรจบกับถนนซูเปอร์ กลายเป็นพหลโยธินใหม่ คราวนี้ยาวไปจนสุดเหนือที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เลย เมื่อเข้าถนนชายกว๊านแล้ว หากวิ่งเลียบไปตามถนนสายนี้ ซึ่งยาวหลายสิบ กม. เพราะจะวิ่งไปได้จนรอบกว๊านพะเยา
            ชายกว๊าน ตั้งแต่วิ่งเลียบเข้ามา ทางขวาเต็มไปด้วยร้านอาหารมากมาย ผมชิมแล้วเอามาเล่าให้ฟังแล้วก็หลายร้าน ถนนสายนี้จะไปผ่านอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง (ก่อนถึงจะมีถนนแยกขวาชื่อ ถนนท่ากว๊าน) ผ่านวัดพระธาตุจอมทอง เยื้อง ๆ กันคือ วัดศรีโคมคำ ไปพะเยาชาวพุทธต้องไปนมัสการ "พระเจ้าตนหลวง"  พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุด ในล้านนาไทย หน้าตักกว้างถึง ๑๔ เมตร สูง ๑๗ เมตร สร้างเมื่อ ๔๐๐ ปีเศษ และยังหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุ กว๊านพะเยา เป็นแอ่งน้ำที่รวบรวมของลำธารน้ำต่าง ๆ ถึง ๑๗ สาย เป็นต้นน้ำของแม่น้ำอิง เป็นแหล่งประมงน้ำจืดและเพาะเลี้ยงปลาบึก เป็นแห่งแรกมีเนื้อที่ประมาณ ๑๒,๘๓๑ ไร่ ริมกว๊านนอกจากจะเป็นแหล่งรวมร้านอาหารอร่อยแล้ว ยังจัดเป็นสวนสาธารณะ ยามเย็นไปคอยชมพระอาทิตย์ตกที่งามนัก จะตกลับเหลี่ยมเขา (ไม่ตกลงกว๊าน)  และใกล้สวนสาธารณะยังมีแปลก พึ่งเคยเห็นคราวนี้คือ มีรถจักรยานขายอาหาร ประเภทส้มตำ ไก่ย่าง ที่ว่าแปลกเพราะเขาเอาอาหารใส่ตะกร้าที่หน้ารถจักรยาน คนกิน ก็ปูเสื่อ หรือนั่งกินที่ริมกว๊าน
            แม่น้ำอิง ที่ไหลจากกว๊านพะเยา ไปสู่แม่น้ำโขงที่ จ.เชียงราย นั้นเดิมชื่อ แม่น้ำสายตา ที่มาของชื่อแม่น้ำ "อิง" มาจาก ๓ พระสหาย คือ พญางำเมืองผู้ครองอาณาจักรภูกามยาว หรือพะเยา พญามังรายผู้ครองนครเวียงพิงค์ และพ่อขุนราม แห่งอาณาจักรสุโขทัย ๓ พระองค์นี้ เป็นพระสหายสนิท และศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันมาคือ เคยศึกษาเล่าเรียนวิทยายุทธ์จาก สำนักสุกทันตฤาษี เมืองละโว้ (ปัจจุบันอยู่ที่เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง ลพบุรี) เมื่อกลับมาครองเมืองก็คงรักษาความสนิทสนมไว้ดังเดิม แม้คราวที่พญามังราย จะสร้างเวียงเชียงใหม่ ยังเชิญพระสหายทั้งสองไปร่วมพิจารณาภูมิประเทศด้วย สวนพระสหายจึงนัดหมายกันกระทำสัจจปฎิญาณ ร่วมสาบานเป็นมิตรไมตรี ณ ริมฝั่ง "แม่น้ำสายตา" ด้วยการกรีดข้อพระหัตถ์ให้โลหิตหยดลง ในภาชนะแล้วนำมาผสมกับน้ำดื่ม (มีตำนาน)  โดยทั้ง ๓ พระองค์ จะนั่งเอาหลังพิงกัน ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า "อิง"  แม่น้ำสายตาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นแม่น้ำอิง ตั้งแต่นั้นมา
            อนุสาวรีย์ พ่อขุนงำเมือง ตั้งอยู่ริมถนนชายกว๊านพะเยา บริเวณสวนสมเด็จย่า เป็นรูปหล่อสำริด มีลักษณะสุขุม มีอำนาจ พระหัตถ์ถือดาบ ความสูงเท่าครึ่ง ของพระองค์จริงประมาณ ๒ เมตร ๗๐ เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่บนพระแท่นสูง ๒ เมตร ๕๐ เซนติเมตร พระพักตร์ หันออกสู่กว๊านพระเยา
            พงศาวดารโยนก เล่าไว้ว่า พระยาหลวงเงินผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง เป็นพระราชบิดาของขุนจอมธรรม ได้สั่งให้ขุนจอมธรรมไปครองเมืองภูกามยาว เป็นนครเก่าร้างมาแต่โบราณ อยู่เชิงเขาชมพู หรือดอยด้วน ขุนจอมธรรมจึงยกไพร่พลมาแผ้วถาง สร้างเมืองในนครนี้ พญางำเมือง เป็นกษัตริย์ลำดับที่ ๙ นับจากพ่อขุนจอมธรรม ประสูติเมื่อ พ.ศ.๑๗๘๑ เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ไปศึกษาที่เมืองละโว้ จึงได้พบกับพระสหายอีก ๒ พระองค์
            ไปพะเยา ผมจะพักที่โรงแรม  โรงแรมสะอาดเรียบร้อย ไม่พลุกพล่านอยู่ไม่ไกลจากกว๊านพะเยา โรงแรมที่พะเยาราคาจะถูก (มีแพงโรงแรมเดียว)  เป็นเกสท์เฮาส์ เป็นรีสอร์ทก็มี และพะเยานั้น ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ ๙๔ กม. รถวิ่งชั่วโมงเดียว ไปเที่ยวเชียงรายพักเสียที่พะเยา จะประหยัดค่าโรงแรมได้มาก เช้าก็วิ่งไปเที่ยวเชียงราย เย็นกลับมากินอาหารเย็นที่พะเยา นอนพะเยา หรือจะกินเย็นที่เชียงรายเสียก่อน แล้วกลับมานอนพะเยายังไหว แถมถนนหน้าโรงแรม ตกเย็นรถเข็นขายอาหารไม่น้อยกว่า ๓๐ คัน สารพัดอาหารจะมาตั้งขายอาหารนั่งกินริมถนนก็ได้ จึงเสนอเอาไว้ด้วยว่า นอนเสียที่พะเยา ไปเที่ยวได้ทั่ว นอนสัก ๓ คืน กำลังดี เที่ยวพะเยา เชียงราย
            ร้านอาหารชายกว๊าน ที่ชิมในวันนี้ เส้นทาง หากบอกทางแบบอ้อมโลก จากอนุสาวรีย์พญางำเมือง วิ่งมาทางซ้ายเลียบชายกว๊านมาประมาณ ๕๐๐ เมตร ร้านจะอยู่ทางซ้าย (ฝั่งขวา คือ กว๊าน)  เป็นร้านขนาด ๒ ห้อง มีชั้นบนจัดเลี้ยงได้สัก ๕๐ คน ชั้นล่างโล่ง นั่งรับลมกว๊านเย็นสบายไม่ต้องติดแอร์ บรรยากาศแจ่มแจ๋ว ราคาอาหารมาตรฐาน พนักงานสาว สวย ๆ ทั้งนั้น เส้นทางอีกทางคือ ขาจากพหลโยธินมายังชายกว๊าน ร้านอยู่ต้น ๆ
            ไส้หมูไฟแดง อย่าโดดข้ามไปเป็นอันขาด ทำแบบร้านอาหารจีนชั้นดี ทอดแล้ว กรอบนอก นุ่มใน ไม่เหนียว เคี้ยวสนุก จิ้มน้ำซีอิ้วหวาน แนมด้วยแตงกวา ไปหลายคนอย่าสั่งจานเดียว จะแย่งกัน
            แกงป่าปลาคัง ใช้ปลาคังตัวใหญ่มาก น่าจะหนักเกิน ๑๐ กก. เนื้อจึงมากและแน่น ไม่มีก้างฝอย หนังหนา กรอบกรุ๊บ ต้องบอกว่าอร่อยมากอีกนั่นแหละ ใส่ผักแยะ มะเขืออ่อน พริกไทยอ่อน มะเขือพวง ถั่วฝักยาว ข้าวโพดอ่อน เห็ดฟาง ใบกระเพรา ผักสุกแล้วยังสีสด รสเข้ม ซดร้อน ๆ หรือราดข้าวก็เยี่ยม
            ไข่ฟูหมูสับ ทอดไม่เหมือนใคร ไข่ทอดแล้วฟองฟู ม้วนมายังกับโรตี เข้ากันนักกับแกงป่า
            ถ้าไม่สั่งแกงป่า ต้องการชนิดราดข้าว ซดพอได้ ต้องสั่ง แกงเขียวหวาน
            ปลาอินทรีย์หลน ผัดผักเก่ง สุกแล้วยังสด กรอบ ปลาเค็มจากทะเล ไม่เค็มจัด ทอดมาเป็นชิ้น วางมาข้างบนผักคะน้า ให้สังเกตกินข้าวเมืองเหนือจะนุ่ม ไม่นิยมหุงข้าวแข็งและหอม
            ของหวานมีแต่ผลไม้กระป๋อง แต่คณะผมไม่สน เพราะเล็งไว้ตั้งแต่ออกจากโรงแรมแล้วคือ ขบวนรถเข็นหน้าโรงแรม โรตี กับน้ำเต้าหู้ เต้าฮวย กับปาท่องโก๋

............................................................

| ย้อนกลับ | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์