ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ |

วัดพระปฐมเจดีย์

           วัดพระปฐมเจดีย์  เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ต.ปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม  มีประวัติและตำนานในตอนต้นไม่สู้จะตรงกันนัก ส่วนที่ผมจะเล่าให้ฟังนี้ผมถือเอาเรื่องพระปฐมเจดีย์ ของท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจากรัชกาลที่ ๔ ให้เป็นแม่กองดำเนินการสถาปนาปฎิสังขรณ์และข้อมูลจากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครปฐม เอามาผสมผสานรวบรวมนำมาเล่าให้ฟัง สรุปได้ดังนี้.-
           วัดพระปฐมเจดีย์ มีพระปฐมเจดีย์ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและยังมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลักษณะเจดีย์เป็นทรงลังกา สูง ๑๒๐.๔๕ เมตร วัดโดยรอบได้ ๒๓๕.๕๐ เมตร
           ฐานเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีชั้นลดทั้งสี่ทิศ มีระเบียงคตตรงทิศทั้งสี่ และมีวิหารประจำ สันนิษฐานกันว่า องค์พระปฐมเจดีย์นี้มีการสร้างและปฎิสังขรณ์หลายครั้ง
           สมัยเริ่มแรก  อยู่ระหว่าง พ.ศ.๓๐๐ - ๑๐๐๐ เป็นสมัยสุวรรณภูมิ ซึ่งสันนิษฐานกันว่า เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองอินเดียมีอานุภาพมาก และนับถือพระพุทธศาสนา ได้ส่งพระเถระไปเที่ยวเผยแพร่พระพุทธศาสนา ที่มาทางสุวรรณภูมิคือ พระโสณเถระ กับพระอุตระเถระ ที่มายังสุวรรณภูมิและคงจะต้องอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย
           สมัยที่สอง  คือ สมัยทวารวดี ระหว่าง พ.ศ.๑๐๐๐ - ๑๖๐๐ คงจะมีการสร้างเพิ่มเติม
           สมัยที่สาม คือ สมัยที่พระปฐมเจดีย์ถูกทิ้งร้างมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
           หลักฐานทางโบราณคดี ในสมัยทวารวดี พระปฐมเจดีย์ อยู่ห่างจากฝั่งทะเลประมาณ ๑๐ กม. เป็นเมืองสำคัญทางปากอ่าวไทยทางฝั่งตะวันตก โดยมีลพบุรีเป็นเมืองสำคัญทางปากอ่าวด้านตะวันออก
           องค์พระปฐมเจดีย์ ถูกทิ้งร้างมานานนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๑๕๐๐ เป็นต้นมา สาเหตุหนึ่งคือพระเจ้าอนุรุธ แห่งเมืองพุกาม ประเทศพม่า ซึ่งมีอำนาจมาก ได้บุกรุกเข้ามาถึงดินแดนแถบนี้และกวาดต้อนผู้คนไปยังพม่า ทำให้เมืองนครปฐมต้องถูกทิ้งร้างไป หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดได้จากเมืองพุกาม นั้นมีลักษณะเดียวกับที่ขุดพบที่นครปฐมเช่น พระพิมพ์เงิน เหรียญรูปสังข์ หรือวัดที่พุกามสร้างขึ้นหลังสมัยพระเจ้าอนุรุธ ก็มีแบบเดียวกับเจดีย์วัดพระเมรุ ซึ่งวัดนี้อยู่ห่างจากพระปฐมเจดีย์ไม่ถึง ๑ กิโลเมตร
           เมื่อถูกทิ้งร้างไปจนมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นครปฐมยังเป็นป่าในสมัยของรัชกาลที่ ๓ และเกิดกระทำปาฏิหารย์ขึ้น ได้เห็นได้ทั่วกันในบริเวณที่องค์พระปฐมเจดีย์ตั้งอยู่
           ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๔ เจ้าฟ้ามงกุฎหรือรัชกาลที่ ๔ ในแผ่นดินต่อมา ทรงผนวชอยู่ ณ วัดสมอรายหรือวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน ได้เสด็จธุดงค์มากับคณะสงฆ์มายังนครปฐม ทรงปักกลดที่โคนต้นตะคร้อด้านทิศเหนือ ทรงสังเกตเห็นว่าองค์พระมีขนาดใหญ่มากน่าจะมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่
           พระองค์จึงเสด็จขึ้นสวดมนต์บนลานพระปฐมเจดีย์แล้วทรงอธิษฐานว่า ถ้ามีพระบรมสารีริกธาตุขอให้เทพดาผู้รักษาจงได้แบ่งให้สัก ๒ องค์ เพื่อนำไปบรรจุในพระพุทธรูปที่สร้างใหม่คือพระพุทธรูปเนาวรัตน์ แล้วรับสั่งให้มหาดเล็กนำผอบใส่พานขึ้นไปตั้งไว้ในโพรงด้านทิศตะวันออก พอวันจะเสด็จกลับก็ให้ชึ้นไปอัญเชิญแต่ก็ไม่มีพระบรมสารีริกธาตุ
           ต่อมาเมื่อเสด็จกลับมาแล้วประมาณเดือนเศษ ๆ พระสงฆ์สวดมนต์ที่หอพระ วัดมหาธาตุ ขณะที่สวดไปครึ่งหนึ่งก็เกิดกลุ่มควันสีแดง กลิ่นหอมเหมือนควันธูป ควันมากขึ้นจนรมพระพุทธรูป พระสงฆ์ก็หยุดสวดมนต์ ลุกขึ้นไปดูก็ไม่พบอะไร รุ่งขึ้นจึงไปทูลให้ทรงทราบ พระองค์จึงเสด็จไปทอดพระเนตรพระพุทธรูปเนาวรัตน์ที่พระองค์ทรงสร้างไว้ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้แล้ว ก็ทรงพบว่ามีพระธาตุเพิ่มขึ้นมาอีก ๒ องค์ จึงโปรดให้บรรจุไว้ในพระสัมพุทธพรรณีองค์หนึ่ง ในเจดีย์สุวรรณผลึกอีกองค์หนึ่ง และเกิดแรงศรัทธามุ่งมั่นที่จะบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้จงได้  ทั้งนี้เพราะเมื่อเสด็จกลับมาแล้วนั้น ได้ไปถวายพระพรแด่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระดำรัสว่า "เป็นของอยู่ในป่ารก จะทำขึ้นก็ไม่เป็นประโยชน์อันใดนัก" ซึ่งเมื่อได้สดับพระกระแสร์รับสั่งว่าไม่โปรดแล้วก็ทรงพระจิตนาไว้ว่า จะทรงสถาปนาปฏิสังขรณ์ขึ้นไว้ให้จงได้
           ดังนั้นเมื่อ เจ้าฟ้ามงกุฎ ได้ลาผนวชขึ้นครองราชสมบัติแล้วได้ ๒ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เริ่มลงมือก่อสร้างปฎิสังขรณ์องค์พระเจดีย์เป็นการใหญ่ โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมมหาประยูรวงค์เป็นแม่กอง และเมื่อสมเด็จเจ้าพระยาถึงพิราลัยก็ทรงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาทิพากรวงค์มหาโกษาธิบดี ดำเนินการต่อไป
           เมื่อ ๒๓ มีนาคม ๒๔๐๐ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดพระปฐมเจดีย์ เพื่อก่อพระเจดีย์เป็นปฐมฤกษ์โดยเสด็จมาทางเรือ มาเสด็จขึ้นที่วัดชัยพฤกษมาลา แล้วจึงเสด็จทางบกไปประทับแรมที่พลับพลาท่าหวด วันรุ่งขึ้นจึงเสด็จทางเรือมาขึ้นที่คลองเจดีย์บูชา ซึ่งเป็นคลองที่โปรดให้ขุดขึ้นกับคลองมหาสวัสดิ์ (คลองนี้ขุดเชื่อมกับคลองเจดีย์บูชาที่วัดชัยพฤกษมาลามาสู่แม่น้ำท่าจีน ขุดหลังคลองเจดีย์บูชา)
           วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๐๐  ทรงก่อพระเจดีย์เป็นพระฤกษ์ แล้วโปรดเกล้าให้ชายฉกรรจ์ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับองค์พระปฐมเจดีย์ ถวายตัวเป็น "ข้าพระ" จำนวน ๑๒๖ คน
           ทรงตั้งผู้ดูแลรักษา พระราชทานนามว่า ขุนพุทธเกษตรานุรักษ์ และมีผู้ช่วยซึ่งทรงพระราชทานนามว่า ขุนพุทธจักรักษา สมุหบัญชีพระราชทานนามว่า หมื่นฐานาภิบาล ทรงยกค่านา ค่าภาษีให้แก่วัด
           การปฎิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ สร้างเป็นเจดีย์ใหญ่ครอบองค์เดิมไว้ภายใน เปลี่ยนจากบาตรคว่ำ มีพุทธบัลลังก์เป็นฐานสี่เหลี่ยม มียอดนภศูลและมหามงกุฎสวมไว้บนยอดองค์พระปฐมเจดีย์
           พ.ศ.๒๔๐๖  ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐิน
           การเกิดปาฎิหารย์ขององค์พระปฐมเจดีย์นั้นมีพระมหากษัตริย์ได้ทอดพระเนตรถึง ๓ พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อได้ทอดพระเนตรปาฎิหารย์แล้ว ได้บันทึกถวายรายงานแด่พระราชบิดาคือ พระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ร.ศ.๑๒๘ ".....ได้เห็นองค์พระปฐมมีรัศมีสว่างพราวออกทั้งองค์...." และเมื่อทอดพระเนตรแล้วก็ได้นิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูป มาสวดมนต์เย็นและเดินเทียนสมโภช และขอถวายพระราชกุศลแก่สมเด็จพระราชบิดา และเป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อได้ทอดพระเนตรปาฎิหารย์แล้วอีกหนึ่งปีต่อมา ก็ได้เสวยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และในสมัยรัชกาลปัจจุบันคือรัชกาลที่ ๙ ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นปาฎิหารย์แห่งองค์พระปฐมเจดีย์ถึง ๒ ครั้ง
           สถาปัตยกรรมและสิ่งสำคัญภายในวัดคือ .-
           บันไดนาคตรงกลาง  พื้นปูด้วยหินอ่อน สองข้างเป็นราวบันไดนาคเลื้อยแผ่พังพานแบบศิลปะขอม สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๖

           วิหารทิศ ๔ ทิศ  โดยมีระเบียงคดเชื่อมต่อกัน เดินได้รอบองค์พระเจดีย์
           วิหารทิศเหนือ หรือวิหารพระร่วงโรจน์ฤทธิ์  ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือนี้จะเป็นด้านที่ทุกคนเข้าใจกันว่าเป็นด้านหน้า เพราะทุกคนที่ไปนมัสการพระปฐมเจดีย์จะต้องขึ้นไปทางด้านนี้และไปนมัสการพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ความจริงด้านหน้าที่ตั้งชื่อถนนว่าถนนหน้าวัด คือด้านที่ถนนมาจากกรุงเทพ ฯ มาบรรจบเรียกว่าถนนหน้าวัด ส่วนทางด้านที่เข้าใจว่าเป็นด้านหน้าเป็นถนนซ้ายวัด
           พระวิหารด้านนี้ อยู่ด้านหลังขององค์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ต้องเดินเข้าประตูด้านหลังองค์พระร่วงเข้าไป จะแบ่งออกเป็น ๒ ห้อง ห้องแรกมีพระพุทธรูปปางประสูติ ห้องด้านในเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยกะหรือปาลิไลยก์
           พระพุทธรูป พระร่วงโรจน์ฤทธิ์นี้ มีประวัติว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระอิสริยยศเป็นมงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จออกตรวจราชการทางภาคเหนือและได้ไปพบพระพุทธรูปงดงามมากเหลือแค่เพียงเศียร แขนข้างเดียวและองค์พระ จึงอัญเชิญลงมากรุงเทพ ฯ เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้ว จึงโปรดให้จัดการพระราชพิธีสถาปนาพระพุทธรูปองค์นี้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๖  เสร็จแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่หน้าพระวิหาร ทางทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ และโปรดเกล้า ฯ ถวายพระนามเมื่อ ๑๖ ตุลาคม ๒๔๖๖ และยังทรงระบุไว้ในพินัยกรรมว่าให้นำพระบรมสริรังคารส่วนหนึ่งมาบรรจุไว้ที่หลังองค์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์อีกด้วย
           เขามอ  อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะจำลองธรรมชาติ
           ต้นศรีมหาโพธิ์  มองลงไปจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระ จะเห็นต้นโพธิ์ ซึ่งโพธิ์ต้นนี้ ดอกเตอร์ ยอห์น สไคว์ นำเมล็ดต้นโพธิ์มาจากพุทธคยา มาถวายรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้เพาะแล้วพระราชทานแจกจ่ายไปยังพระอารามหลวงหลายแห่ง ๆ ละหนึ่งต้น แต่พระราชทานมาที่องค์พระปฐม ๕ ต้น
           พระวิหารด้านทิศตะวันออกหรือพระวิหารหลวง มี ๒ ห้อง ห้องนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้ อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีจิตกรรมฝาผนังที่งดงามยิ่ง สีน้ำมันรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์ และภาพอื่น ๆ ส่วนห้องด้านในมีภาพจิตกรรมฝาผนัง มีแท่นบูชา เป็นพระแท่นสำหรับวางเครื่องสักการะบูชาองค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่สำหรับประกอบพิธีสักการะพระบรมสารีริกธาตุ
                - พระพุทธสิหิงค์  อยู่ในซุ้ม หากมองเงยหน้าขึ้นไปจะเห็นพระพุทธรูปองค์นี้
                และหากเรายืนที่ลานรอบองค์พระด้านถนนหลังวัด มองตรงไปจะเห็นอยู่ในแนวเดียวกันหรือมองจากพระราชวังสนามจันทร์ก็เช่นเดียวกันคือ พระที่นั่งพิมานปฐม หอพระคเนศ และองค์พระปฐมเจดีย์จะอยู่ในแนวเดียวกัน
                - เกย  อยู่ตรงกับประตูกำแพงชั้นใน
                - ทวารบาล  เป็นรูปคนนุ่งโจงกระเบนสีน้ำเงิน ผิวกายสีน้ำตาลเฝ้าประตูช่องบันได ด้านละ ๒ คน ซุ้มช่องบันไดนี้ ส่วนบนเป็นรูปรี เหนือขึ้นไปเป็นตรามหาพิชัยมงกุฎ
                - พลับพลาเปลื้องเครื่อง  พลับพลาหันหน้าเข้าหาองค์พระเจดีย์ พลับพลาทรงไทย รัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้าง

           พระอุโบสถ  อยู่บนลานชั้นลด ประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากวัดพระเมรุ ศิลปะทวารวดี ปางปฐมเทศนา นั่งห้อยพระบาท ฐานกลีบบัว เรียกกันทั่วไปว่า พระพุทธรูปศิลาขาว
           พิพิธภัณฑ์สถานวัดพระปฐมเจดีย์  อยู่บนลานชั้นลดด้านทิศเหนือ มีพระทองคำ อาวุธโบราณ ฯ
           พระวิหารด้านทิศใต้  ห้องนอกพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาพร้อมปัญจวัคคีย์ ห้องในเป็นพระปางนาคปรก ซึ่งนาคที่นี่มีลักษณะแปลกคือลำตัวใหญ่ แต่เศียรทั้ง ๗ มีขนาดเล็ก
                - เสาประทีป  เป็นเสาสำหรับตามไฟให้สว่างอยู่ที่ลานหน้าพระวิหาร
           พระวิหารด้านทิศตะวันตก  ห้องแรกเป็นวิหารพระนอน มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ห้องในเป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน
                - พระพุทธรูปปางไสยาสน์  พระพาหาจะตั้งพระหัตถ์รองรับพระเศียร
                - ปางปรินิพพาน  พระพาหาจะราบไม่ตั้งรองรับพระเศียร
                - พระพุทธรรูปศิลาขาว  ถวายพระนามว่า "พระพุทธนรเชษฐ์ ฯ " เป็นพระพุทธรูปที่ได้มาจากแหล่งเดียวกันคือวัดพระเมรุ มี ๔ องค์ พระประธานในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ ๑ องค์, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอยุธยา ๑ องค์, ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเทพ ฯ ๑ องค์ และ ณ ลานแห่งนี้ ๑ องค์ แต่มีการถวายพระนามองค์เดียว
           พระพุทธรูปที่สร้างไว้และประดิษฐานที่ศาลารายรอบองค์พระปฐมเจดีย์นั้น น่าศึกษาอย่างยิ่ง เพราะมีคำอธิบายประกอบไว้ด้วย ว่าเป็นพระพุทธรูปปางอะไร ซึ่งยากนักที่จะหาชมได้ในการที่จะสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ไว้ให้ศึกษาและสักการะ ผมไม่ได้นับให้ครบถ้วนแต่พอจะทราบว่าปางของพระพุทธรูปนั้นมีมากมายใกล้หลักร้อย หาอ่านได้จากหนังสือ "ปางพระพุทธรูป" และรอบระเบียงแห่งนี้ยังมีพระพุทธรูปปางประจำชีวิตต่าง ๆ ด้วย ได้แก่ พระพุทธรูปปางประจำวัน เช่นปางถวายเนตร ประจำวันอาทิตย์, ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้ พระประจำวันพฤหัสบดี
           พระพุทธรูปประจำเดือนเช่น พระประจำเดือนอ้ายคือพระพุทธรูปปางปลงกัมมัฎฐาน หรือปางชักผ้าบังสุกุล พระอริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า พระหัตถ์ขวายื่นไปข้างหน้า
           พระพุทธรูปประจำปีเกิดเช่น ปีมะแมคือพระปางประธานพร ประทับยืนยกพระหัตถ์ไว้เสมอพระอุระ แบบพระหัตถ์ขวาออกไปข้างหน้า แต่บางแบบยกพระหัตถ์ขวาขึ้น ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลง
           ซึ่งพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เหล่านี้ รวมทั้งประประจำวัน ประจำเดือน ประจำปีเกิด จะนมัสการได้จากพระระเบียงขององค์พระปฐมเจดีย์ หากมีโอกาสผมจะไปถ่ายภาพและหารายละเอียดของพระพุทธรูปปางประจำต่าง ๆ นี้มาเล่าให้ฟัง ตอนนี้ได้แต่รวบรวมและจัดพิมพิ์เป็นรูปเล่มเอาไว้แจกในงานพระราชทานเพลิงศพมารดาของผม ในวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๘ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ หลักสี่ คือเรื่องไหว้พระธาตุประจำปีเกิด ซึ่งได้ทยอยนำลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสารบางกอก รายสัปดาห์ ไปเรียบร้อยแล้ว
           ลานอาหารด้านหลังวัดขององค์พระปฐมเจดีย์ เรียกว่าเป็นลานอาหารที่ยิ่งใหญ่ทีเดียว พอตกตอนเย็นยังไม่ทันค่ำ รถเข็นขายอาหารคงจะร่วมร้อยคันก็มาตั้งเรียงแถวเป็น ๓ - ๔ แถว มีสารพัดอาหาร มึครบทั้งไทย จีน อิสลาม ขนม ไอศกรีมของโปรด มีพร้อม  โดยเฉพาะแถวแรกด้านหน้านั้นมีไอศกรีมเจ้าสำคัญคือ ไอศกรีมลอยฟ้า เขาเขียนบอกไว้อย่างนั้น คนตักจะโยนตัวไปมาเรียกว่าเต้นไปมาก็ได้ แล้วตักไอศกรีมโยบนขึ้นฟ้า พอไอศกรีมลอยลงมาก็เอาถ้วยรับ หรือยิ่งกว่านั้นให้คนอื่นรับแทน ดูเหมือนจะตักได้ทั้งหญิงและชาย ไม่กินไอศกรีมก็ไปยืนดูเขาตักไอศกรีมก็เพลินดีเหมือนกัน
           ขอแนะนำว่าไปเที่ยวนครปฐมนั้นขอให้ไปตอนเช้า ๆ แล้วแวะไปที่ตลาดนัดถนนเทศา ซอย ๒ ซึ่งถนนสายนี้คือถนนสายที่มุ่งหน้าเข้าหาองค์พระ ที่เรียกว่าหน้าพระ เช้า ๆ ก่อน ๐๙.๐๐ สารพัดของกิน ของใช้แปลก ๆ อร่อย ๆ ทั้งนั้น
           ร้านอาหารที่เปิดแต่เวลาค่ำ และอาหารหลักจานเด็ดคือ หัวปลาหม้อไฟ
           หากไปจากกรุงเทพ ฯ จนถึงแยกที่มีสะพานข้ามเข้าตัวเมืองนครปฐม อย่าข้ามสะพาน ให้ขับรถลอดใต้สะพานไปทางจะไปราชบุรี จนถึงสี่แยกไฟสัญญาณ มีป้ายบอกว่าไปองค์พระปฐมเจดีย์ ให้เลี้ยวขวาตรงนี้เรียกว่าทุ่งพระเมรุ เลี้ยวขวาเข้าถนนแคบ ๆ จะผ่านร้านข้าวต้ม ประเภทเปิดกลางคืน วิ่งต่อไปจะพบร้านเซเว่น ฯ อยู่ทางซ้ายมือและตลาดปฐมมงคล ๑ อยู่ทางขวามือ ตลาดนี้เป็นตลาดค้าผัก ผลไม้ รวมทั้งตลาดทางด้านซ้ายด้วย ให้จอดรถแถวตลาด แล้วเดินไปสัก ๒๐ เมตร อยู่ตรงโค้งของถนนแคบ ๆ นี่แหละ ตรงข้ามกับปฐมเภสัช ไม่ใช่ร้านแต่เป็นบ้านโบราณ ชั้นบนมีระเบียง มีชาน ตั้งโต๊ะที่ในตัวบ้าน และที่ชานนั่งซดกันกลางแสงดาว แสงเดือน เย็นสบายดี ไม่ต้องมีแอร์
           สั่งหรือต้องสั่ง ถ้ามาชิมร้านนี้คือ "หัวปลาต้มเผือกหม้อไฟ" ใช้หัวปลาเก๋า ตัวคงจะโตมาก มีเนื้อที่หัวปลาแยะ เอาเนื้อปลาจิ้มเต้าเจี้ยว น้ำซุปของเขาหวานด้วยปลาหมึกแห้ง ผักกาดขาว และกลิ่นนั้นหอมด้วยกลิ่นเผือก พอน้ำซุปร้อนได้ที่ ซดกันตอนร้อน ๆ ชื่นใจนัก ที่นั่งที่ชานระเบียงนี้นักซดสุราจองกันเต็ม
           สั่ง หอยแครงลวก ลวกเก่ง หอยอ้าปากเห็นเนื้อสีแดง แสดงความสดให้ชม ปลาดุกผัดฉ่า เอามากินกับข้าว ไส้ตันทอดกระเทียมพริกไทย หอมฟุ้งมาแต่ไกล ปลาช่อนทอดผัดคื่นฉ่าย ปลาช่อนยำ หากไปหลายคนหรือพุงยังรับไหว สั่งปลาช่อนทอดแกงส้มแป๊ะซะ
           ของหวานไม่มี อิ่มแล้วไปเดินตลาดหลังองค์พระ ไปกินไอศกรีมลอยฟ้า

..................................................


| ย้อนกลับ | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์