ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ |

ภูเก็ต ๒

            เกาะภูเก็ตเป็นที่ตั้งของจังหวัดภูเก็ต  ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทย  ที่มีที่ตั้งอยู่บนเกาะ และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีเกาะเล็กเกาะน้อยเป็นบริวารอีก ๓๙ เกาะ แต่ขนาดว่าเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่น้อยของไทยเรา ภูเก็ตก็ยังมีพื้นที่มากกว่าเกาะสิงค์โปร์ทั้งประเทศ นานไม่รู้ว่ากี่พันปีมาแล้ว ภูเก็ตไม่ได้เป็นเกาะ เป็นแผ่นดินที่ยังเชื่อมอยู่กับแผ่นดินใหญ่คือ  พื้นที่ของจังหวัดพังงาในปัจจุบันนี้ แต่ต่อมาน้ำกัดเซาะจนขาดจากแผ่นดินใหญ่ กลายเป็นช่องแคบเรียกว่า ช่องปากพร และเมื่อก่อนนี้ไม่มีสะพานที่จะข้ามจากแผ่นดินใหญ่ไปยังพื้นที่บนตัวเกาะภูเก็ต ผมไปภูเก็ตครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ขับรถจิ๊บพ่วงรถเทรลเลอร์ไปด้วยเพื่อบันทุกน้ำมัน  เพราะสมัยนั้นปั๊มน้ำมันหายากมาก และถนนจากระนองไปยัง ตะกั่วป่าระยะทางประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร ยังไม่มี มีแต่เส้นทางรถลากไม้ในป่า เมื่อถึงริมฝั่งทะเลต้องเอารถลงแพข้ามไปยังตัวเกาะภูเก็ต สะพานสารสิน มามีในภายหลัง และคงจะตั้งตามนามสกุลของนายพจน์ สารสิน ที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรี หากจำไม่ผิดก็เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ แต่สะพานต้องมาสร้างหลังปี พ.ศ.๒๕๐๕ แล้ว สันนิษฐานว่าเกาะภูเก็ตเกิดชุมชนเมืองขึ้นที่อำเภอถลาง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ เพราะปรากฎหลักฐานว่าเป็นเมืองบริวารของนครศรีธรรมราช คือ เป็นเมืองบริวาร ๑๒ นักษัตร แต่ละเมืองจะมีสัญญลักษณ์ของเมืองเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ในตำนานเมืองไทรบุรีมะโรงมหาวังษา ก็เล่าเอาไว้สอดคล้องต้องกันว่า สาเหตุที่เกิดเป็นชุมชนเมืองก็น่าจะมาจากชุมชนของเมืองตะกั่วป่าและตะกั่วทุ่ง ข้ามไปหาแร่ดีบุกที่มีอยู่มากมายบนเกาะภูเก็ต จึงเกิดเป็นชุมชนขึ้นคือเมืองถลาง
            ภูเก็ต เริ่มเกิดเป็นชุมชนตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และมาปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ก็เป็นเมืองขนาดเล็กต้องขึ้นกับเมืองที่ใหญ่กว่าและอยู่บนเกาะเดียวกัน คือเมืองถลาง แต่กลับมีความเจริญอย่างรวดเร็ว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีการตั้งเจ้าเมือง
            พ.ศ.๒๓๙๓ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระภูเก็ต เป็นพระยาภูเก็ต มีศักดิ์ศรีเท่ากับพระยาถลาง  และรัชกาลที่ ๔ ยังโปรดเกล้าให้ยกเมืองภูเก็ตขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ ส่วนเมืองถลางที่เป็นเมืองมาก่อน เริ่มซบเซาสาเหตุมสำคัญมาจากแร่ดีบุก เริ่มจะหมดไป
            พ.ศ.๒๔๓๘ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ให้มีการปกครองเป็นแบบมณฑล และยกภูเก็ตขึ้นเป็นมณฑลภูเก็ต มีเมืองต่าง ๆ ขึ้นกับมณฑลภูเก็ตมากถึง ๗ เมือง คือ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล พังงา ตะกั่วป่า และระนอง ส่วนเมืองถลางกลับถูกลดลงมาเป็นอำเภอ ขึ้นกับเมืองภูเก็ต
            ปัจจุบัน ภูเก็ตมีเพียง ๓ อำเภอ คือ อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอถลาง และอำเภอกระทู้ แต่ทั้งเกาะนั้น มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย โดยเฉพาะฝั่งทะเลทางด้านตะวันตก
            อุทยานแห่งชาติ  แม้จะเป็นเกาะมีพื้นที่ไม่มากนัก แต่ด้วยความงดงาม ภูเก็ตจึงมีอุทยานแห่งชาติ คือ อุทยานแห่งชาติสิรินาท เมื่อข้ามสะพานเทพกระษัตรีมาแล้ว ทางขวาของถนนเลนเที่ยวกลับ จะเป็นชายหาดที่งดงามอย่างยิ่ง มีสวนสน มีหาดทรายที่ละเอียด และขาวสะอาด มีความยาวถึง ๑๓ กิโลเมตร นับตั้งแต่เชิงสะพานสารสินเรื่อยไป สะพานสารสินดั้งเดิมเวลานี้เป็นสะพาน สำหรับรถวิ่งในเที่ยวข้ามกลับ และมีขนาดเล็กกว่าสะพานเทพกระษัตรี พื้นที่ชายทะเลตั้งแต่เชิงสะพานเรื่อยไปคือ หาดทรายแก้ว หาดในทอน หาดในยาง หาดไม้ขาว ล้วนแต่เป็นหาดที่อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติสิรินาท  พื้นที่ของอุทยานประมาณ ๗๖% จะเป็นพื้นที่ในทะเล ส่วนพื้นที่บนบก เป็นป่าชายหาด ป่าชายเลน และป่าดงดิบ ไม้หลักในป่ามีบ้างแต่ไม่ใช่ไม้ใหญ่ เช่น ต้นเสม็ด มะนาวผี กระทิง ฯ ส่วนสัตว์มีแต่สัตว์เล็ก ๆ เช่น กระแต นกกางเขนบ้าน จั๊กจั่นทะเล
            ในช่วงเดือนพฤษจิกายน ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะเป็นช่วงที่เต่าทะเล ขึ้นมาวางไข่ เมื่อสมัยสัก ๓๐ ปี มาแล้ว ริมถนนตั้งแต่เชิงสะพานสารสิน จะมีแม่ค้าเอาไข่เต่าทะเลมาวางขายริมทาง แต่ปัจจุบันไม่มีแล้วกลัวว่าเต่าทะเลจะสูญพันธุ์ จึงห้ามไปขุดหาไข่เต่าเอามาบริโภค จะไปหาไข่จารเม็ดยำกินอร่อยปากเหมือนเมื่อก่อนหาไม่ได้ อยากกินจรง ๆ เอาไข่ไก่ลวก มายำแทนก็แล้วกัน
            ผมได้เล่าไว้ในตอนที่แล้วว่า ไปคราวนี้อยู่ภูเก็ตน้อยมาก ตั้งใจจะไปเยี่ยมพรรคพวกที่หาดป่าตองก็ไม่ได้ไป เพราะโดนเครื่องบินราคาถูกทำพิษเสียเวลาตั้ง ๕ - ๖ ชั่วโมง ทุกคนมีงานตอนเช้า จึงต้องยอมนั่งรถตู้กลับกรุงเทพ ฯ กัน เสียเวลาท่องเที่ยว ๑ วัน แต่กินไม่เสียคงทัวร์กินกันเรื่อยไปครบ ๓ มื้อ ถ้าหากว่าท่านไม่เคยอ่านที่ผมพาเที่ยวภูเก็ตมาก่อน ก็ขอแนะนำว่าให้ไปที่การท่องเที่ยว อยู่ถนนภูเก็ตเลยหอนาฬิกาไปทางจะไปสะพานหิน ฝั่งซ้ายมือหรือถามโรงแรมดูว่า การท่องเที่ยวมีสำนักงานอยู่ที่ไหน หรือ โทร.ถาม ๐๗๖ ๒๑๑ ๐๓๖, ๒๑๒ ๒๑๓ หรือ ๐๒ ๒๘๒ ๙๗๗๔ - ๖  หรืออีกที หาซื้อหนังสืออร่อยทั่วไทยไปกับ ปตท. ตามปั๊มน้ำมัน ปตท. เล่มภาคใต้ ผมเขียนไว้ทุกภาคไม่ทราบว่า เขาขายหมดหรือยัง ทราบแต่ว่าเป็นหนังสือขายดี เมื่อไม่ได้ไปเที่ยวไหนจึงขอเป็นทัวร์กิน
            ผมไม่เคยไป ศาลเจ้า จุ้ยเต้าโบ้เก้ง มาก่อนเลย ความสำคัญของศาลเจ้าแห่งนี้คือ เป็นศูนย์กลางของการถือศีลกินเจ ตามปฎิทินจีนจะเริ่มปลายกันยายน นำไปจนถึงต้นเดือนตุลาคม ปีนี้ผมบอกท่านช้าไปเขาจบงานกันไปแล้ว แต่การจะไปเที่ยวเทศกาลถือศีลกินเจ ของภูเก็ตหรือตรังก็ตาม ต้องเตรียมตัวกันนานทีเดียว ปีนี้โดนสึนามิถล่มเมื่อ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ เลยไม่ทราบว่าเทศกาลถือศีลกินเจ จะมีคนมาแน่นเหมือนทุกปีหรือไม่ แต่ปี ๒๕๔๙ เชื่อว่าคงกลับมาแน่นอีกแล้ว
            การกินเจ คือ การกินอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ ปราศจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์ เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเพราะเป็นจุดเน้นของการประกอบพฤติกรรม ละเว้นความชั่ว ส่วนประกอบอื่น ๆ ในเทศกาล เช่น การแสดงอภินิหารก็ดี กิจกรรมเน้นถึงความยิ่งใหญ่ของเทศกาล เป็นการส่งเสริมเติมแต่งให้เกิดความศรัทธา ส่วนการแสดงอภินิหารต่าง ๆ หรือ แสดงอิทธิฤทธิ์อภินิหารของเจ้าต่าง ๆ ที่เข้าทรงที่แสดงให้เห็นอย่างหวาดเสียว ใครขวัญอ่อนก็อย่าไปดู เช่น การไต่บันไดมีด ขึ้นไปใช้ใบมีดคมกริบทำเป็นบันได ไต่ขึ้นไปโดยที่มีดไม่บาด หรือการเอาศาตราวุธทิ่มแทงตามร่างกาย โดยไม่เกิดอาการเจ็บปวดให้เห็น หรือเป็นอันตราย การลุยไฟ ลุยดงหนาม ล้วนแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ การที่พระหรือเจ้าในร่างทรง ต้องแสดงอภินิหารทำร้ายร่างกายของตนเอง ก็เพื่อเป็นการรับเคราะห์ต่าง ๆ แทนมนุษย์ ซึ่งจะจริงหรือเท็จอย่างไรท่านต้องลองวินิจฉัยดู
            การถือศีลกินเจของผู้ศรัทธา มุ่งถึงการสร้างความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นทั้งกายและใจ เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีขาวบริสุทธิ์ การถืออุโบสถศีล ยกเว้นศีลข้อ ๖ ไม่กินอาหารยามวิกาล แก้เป็นกินอาหารยามวิกาลได้ แต่ต้องเป็นอาหารมังสะวิรัต หรืออาหารเจแทน ซึ่งจะบ่งบอกถึงความไม่เบียดเบียนสัตว์ งดเว้นกิจกรรมใดที่จะนำมาซึ่งความเบียดเบียน และเดือดร้อนแก่สัตว์ทั้งปวง มีการปฎิบัติทำวัตรเช้า - เย็น แนวทางเดียวกับพระพุทธศาสนา การทำสมาธิ รักษาจิตใจให้ผุดผ่อง สดใส ก่อให้เกิดปัญญาธรรม
            เทศกาลกินเจของภูเก็ตปี ๒๕๔๘ เริ่มตั้งแต่วันพุธที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๘ ไปจบในวันพุธที่ ๒ ตุลาคม วันยี่เก้า ทำพิธียกเสาโกเต้ง  ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์พิธีถือศีลกินผัก เหมือนเป็น๋อย จะทำพิธีนำเสา "โกเต้ง"  ลงเป็นการจบเทศกาลถือศีลกินเจประจำปี ๒๕๔๘ หากท่านต้องการทราบรายละเอียดว่าวันไหนมีอะไร วันไหนเป็นวันสำคัญต้องโทร ไปถามล่วงหน้านาน ๆ หน่อย โทร ๐๗๖ ๒๑๓ ๒๔๕, ๐๔ ๑๘๕ ๖๕๗๒  จะได้ไปชมวันสำคัญ ๆ
            ประวัติของ ศาลเจ้า จุ้นตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ดั้งเดิมตั้งอยู่ที่ ซอยอ่างอ่าหล่าย อำเภอเมืองภูเก็ต (ซอยรมณีย์)  ต่อมาเกิดไฟไหม้บริเวณบ้านเรือนลามมา จนถึงบริเวณศาลเจ้าจึงได้อัญเชิญ "เฮี้ยวโห้ย" ไฟศักดิ์สิทธิ์มาฝากไว้ที่ศาลเจ้าปุดจ้อ และเมื่อถึงเทศกาลกินผัก ก็จะอัญเชิญมายังศาลเจ้าชั่วคราว ที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างขึ้น ณ สวนพลูข้างศาลเจ้าปุดจ้อ  ต่อมาเจ้าของที่ดินสวนพลูจึงได้ยกที่ดินให้ เป็นการถวายแก่ กิ้วอ๋องไต่เต่ เพื่อสร้างเป็นศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย ซึ่งหลังแรกที่สร้างนั้นเป็นหลังคาจาก ต่อมาเมื่อชาวบ้านร่วมกันกินผักมากขึ้น จึงมีทุนที่จะพัฒนาจนรุ่งเรือง ดังที่เห็นในทุกวันนี้ ร้านอาหารเจ ขายข้าวแกงเจ๊อ๋อย  แต่เป็นคลองชาวบ้านจึงสร้างกังหันน้ำ เอามาเป็นกำลังในการตำข้าว จึงเป็นที่มาของคำว่า จุ้ยตุ่ย
            เส้นทางไปยังศาลเจ้า จุ้ยตุ้ยเต้าโบ้เก้ง ลงจากสะพานเทพกระษัตรีวิ่งตรงเรื่อยไปประมาณ ๔๐ กิโลเมตร จะไปเชื่อมกับถนนภูเก็ตที่จะตรงไปยังสะพานหิน ก่อนถึงวงเวียนหอนาฬิกาให้เลี้ยวขวา เข้าถนนรัษฎาจะผ่านภัตตาคารไล่อันเหลา จำร้านนี้ไว้ดี ๆ เลยไล่อันเหลาไปแล้ว ถึงวงเวียนน้ำพุ หากเลี้ยวขวาเข้าถนนเยาวราช ถ้าตรงไปจะเข้าถนนระนองผ่านตลาดสด เลยตลาดสดไปมีซอยแยกซ้าย คือ ซอยภูธร ปากซอยทางซ้ายมือคือ ร้านอาหารเจ๊อ๋อย อาหารเจ ขายตลอดปี ทางขวาคือ ศาลเจ้าปุดจ้อ ติดกันและเดินติดต่อกันได้ คือ ศาลเจ้า จุ้ยตุ้ยโบ้เก้ง จอดรถได้ริมถนน
            เมื่อขึ้นไปยังศาลเจ้าแล้ว จะมีธูปเทียนจำหน่ายจุดธูปกันทีละกำโต ๆ ต้องไปปักธูปไหว้เทพหรือเซียนต่าง ๆมากมายหลายองค์ มีคนคอยพาไปบอกว่าจะต้องไหว้ตรงไหนก่อนอย่าลืมให้รางวัลเขาบ้างก็แล้วกัน ไหว้กันนับสิบองค์เลยทีเดียว และลานระหว่างศาลเจ้าคือที่ตั้งบันไดมีดเมื่อมีเทศกาลกินเจ และตรงหน้าประตูใหญ่ เมื่อเราไหว้ครบแล้ว มีเซียมซีให้ถามโชคชะตาราศี รวมทั้งถามความเจ็บป่วยว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อถามแล้วได้เลขใบเซียมซีแล้วก็เอาไม้ประกับ ๒ อัน มาอธิษฐานถามอีกทีว่าหากเอาเลขนี้ไปซื้อยากินแล้วจะหายไหม หากโยบนไม้แล้วหงายอันหนึ่งคว่ำอันหนึ่ง แสดงว่ารักษาได้ ก็เอาหมายเลขเซียซีให้เจ้าหน้าที่เขา เขาจะให้สลากยาจีน ภาษาจีนมาให้เอาไปเจียดยาจากร้านขายเครื่องยาจีน หายหรือไม่ผมไม่รับรองเพราะไม่ได้ทดลองไปเจียด เลยเอาเลขใบเซียมซีไปซื้อหวยแทน วันที่เขียนนี้ยังไม่ทราบผล
            อาหารเช้า ผมเคยเขียนบอกว่าในภูเก็ตหาบ่ะกุ๊ดเต๋กินยาก โดนท่านผู้อ่านนักจับผิดแต่ส่งตรงมาที่ผมบอกร้านให้ด้วย บอกว่าผมไม่รู้จักหา พอไปก่อนคราวนี้ก็ไปแสวงหามาได้หลายร้าน ถนนเยาวราช แยกซ้ายที่สามแยกไฟสัญญาณร้านในซอยซ้ายมือหากไม่เลี้ยวมาตรงไปตามถนนเยาวราชคือร้านข้าวมันไก่ ต้นตำรับข้าวมันไก่หนังกรอบ ร้านอยู่ทางขวามือ
            ร้านแรก ถนนบางกอก ตำรับบ่ะกุ๊ดเต๋สูตรยะโฮร์ ออกรสหวาน แต่เขาจะย้ายร้านไปอยู่ถนนบางกอก ซอย ๗ ได้ประกาศนียบัตรมาตรฐานสุขาภิบาลระดับดี
            ร้านที่สอง ถนนพังงา เลยโรงแรมภูเก็ตซวิตี้ ไปสัก ๒๐ เมตร เลี้ยวขวา ร้านจะอยู่ทางซ้ายมือ บ่ะกุ๊ดเต๋ สูตรสิงค์โปร์ แต่ความหอมกรุ่นน้อยไปหน่อย ติ๋มซำแยะดี
            ร้านที่สาม ถนนบายพาส ทางซ้ายมืออยู่ระหว่างบิ๊กซีกับโลตัส เลยปั๊มน้ำมันไป มีไข่กระทะ กระเพาะปลา ติ๋มซำมากมาย ฯ และบ่ะกุ๋ดเต๋ เข้าร้านนี้ร้านเดียวอิ่มไปค่อนวัน ของกินแยะ
            อาหารกลางวัน ผมมีโอกาสได้กินที่ภูเก็ตมื้อเดียวคือมื้อที่เกาะรังใหญ่ ได้เล่าไปแล้ว จึงขอเล่ามือกลางวันวันเดินทางกลับ ซึ่งกลับมาทางพังงา แล้วเข้าถนนสาย ๔๔ สายอันดามัน วิ่งรวดเดียวมาโผล่สาย ๔๑ เลี้ยวสซ้ายไปไชยา เลี้ยวเข้าตัวอำเภอไป ๗ กิโลเมตร ผ่านบ้านพุมเรียง เลยไปอีก ๒ กิโลเมตร ถึงชายทะเล ร้านเก่าแก่ชิมกันมานานนับสิบปียังแจ่มแจ๋วเหมือนเดิม ขยายร้านใหญ่โต นั่งชมวิวสบายตา ลมทะเลพัดเย็น ได้ชิมแกงเหลือง "ต้องสั่ง" ปูทะเลผัดผงกะหรี่ หอยขาวหรือหอยตลับผัดพริกเผา หลนกุ้ง ปลาเก๋าทอดกระเทียมพริกไทย อร่อย ราคาย่อมเยา ของฝากจากสุราษฎร์ธานีก็ไม่มี ต้องไปวิ่งหาซื้อที่ไหน
            ของฝาก กลับมาซื้อของฝากยตอนนี้ ผมชอบซื้อที่ร้าน จอดรถสะดวก หาร้านง่ายและของฝากจะอร่อยทุกอย่าง มี ๒ ร้านคือ ร้านแรกหากออกมาจากในเมืองประมาณหลักกิโลเมตร ๖.๘ ทางซ้ายมือ แต่จอดรถสะดวกก็อีกร้านหนึ่งที่เปิดทีหลังอยู่เลยอนุสาวรีย์ท้าววเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ไปประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ระหว่างกิโลเมตร ๒๒ - ๒๓ ทางซ้ายมือ ห่างสนามบินแค่รถวิ่ง ๑๐ นาที ห่างสะพาน ฯ สัก ๑๕ นาที จอดรถสะดวกมาก ของกินก็แยะซื้อแล้วกลับบ้านเลย ร้านนี้ได้รับป้ายคลีน ฟู๊ด กู๊ดเทสท์ ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นร้านสินค้าภูมิปัญญาไทย สนับสนุนโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทราบว่าที่กรุงเทพ ฯ รับมาจำหน่ายก็มี หลังตลาด อตก. ร้านแม่บ้านเกษตรกร ร้านที่ซอยละลายทรัพย์ และร้านดังกล่าวข้างต้นกำลังขอ "ฮาราล" หาได้รับแล้วชาวไทยอิสลาม ซื้อกินได้ด้วยความสบายใจ อาหารที่แนะนำขอให้ซื้อกลับมา อย่าซื้อน้อยด้วยจะเสียใจคือแกงไตปลา มีไตปลาน้ำ ไตปลาแห้ง ไตปลาคั่วกลิ่ง น้ำบูดู ฯ ขนมพื้นเมืองโบราณ "เต้าส้อ" ขนมพริด ขนมเบ๊อต่ล้อ ขนมพ้างงเบี้ย ผมซื้อกลับมาแต่ไม่ถึงบ้าน เคี้ยวสนุกระหว่างทางเลยหมด ส่วนน้ำพริกก็มีน้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกกุ้งสามรส น้ำพริกมันกุ้ง (คลุกข้าวร้อนเด็ดนัก) น้ำพริกกุ้งเสวย น้ำพริกนรกกุ้ง น้ำพริกไข่เค็ม ของกินเล่นก็มากมายเช่นกุ้งเสียบยำสมุนไพร กุ้งเสียบยำตะไคร้ เกลือเคยสูตรโบราณ มีสินค้ามากกว่า ๕๐ ชนิด จาระไนไม่ไหว วันกลับเข้าร้านเดียวหอบกันไม่ไหว เสียดายเคยตั้งเตาทำขนมอาปง ไว้ที่หน้าร้านเดี๋ยวนี้ไม่มีขนมอาปงชักหากินยากเข้าทุกที โอ้เอ๋วไปเที่ยวนี้ก็ไม่ได้ชิม โลบะก็ไม่ได้ชิม ได้ความว่าร้านเบ่งสองโลบะ ย้ายร้านอีกแล้ว ยังไม่มีเวลาไปตามหา เคยตามหาพบทีหนึ่งแล้ว โกต้าวก็ไม่ได้ชิมอีก แต่ได้กลับมาชิมแก้อยากที่ร้านรสเกษตร ถนนพหลโยธิน อยู่ในสมาคมนักเรียนเก่าเกษตรศาสตร์ ก่อนถึงกรมป่าไม้ มีทั้งโลบะ น้ำพริกกุ้งเสียบ
            อาหารเย็นวันแรกที่ไปถึงคือร้านที่ได้เล่าไปแล้ว ก่อนถึงวันกลับไปเยี่ยมร้านเก่าแก่ที่ตั้งมานานกว่า ๔๖ ปี คือตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ เดี๋ยวนี้ปรับปรุงร้านแจ่มแจ๋วยิ่งกว่าเดิมสมัยที่ผมรับราชการที่ทุ่งสง ไปชิมกันแทบทุกเดือน ร้านอยู่ที่ถนนรัษฎา ถนนที่ไปตลาดสดและไปศาลเจ้า ร้านห้องแอร์ขนาด ๒ ห้อง หน้าร้านติดป้ายรับรองความสะอาดและความอร่อยคือ ป้ายคลีน ฟู๊ด กู๊ด เทสท์ บอกว่าป้ายเพิ่งได้รับการต่ออายุมาใหม่ ๆ แสดงว่าความอร่อยความสะอาดคงที่ คณะผมคณะนี้นักกิน แพงก็ไม่กลัว ขอให้อร่อยเป็นใช้ได้
            เป๋าฮื้อน้ำแดง อร่อยมาก เป๋าฮื้อจะอร่อยต้องทำแล้วได้กลิ่นเป๋าฮื้อต้องฮั่นชิ้นโต ๆ ได้เคี้ยวกรุ๊บ ๆ แต่นุ่ม จานนี้ราคามาตรฐานคือจานละ ๒,๘๐๐ บาท
            เต๋าเตย ได้ขนาดเกือบ ๒ กิโลกรัม เอามานึ่งบ๊วย เนื้อปลานั้นอร่อยอย่าบอกใครเชียว
            ปูไข่ดอง เอาปูทะเลมาดอง สับชื้นโต ๆ แช่เย็น
            ปลานั้นนักชิมชาวจีนเขาจะแบ่งชั้น ชั้นสูงเขายกให้ปลานกแก้ว ปลาเก๋าดอกแดงและเต๋าเต้ยจารเม็ดเทา วันนี้โชคดีมีปลาที่ว่าชั้นสูงให้ชิมครบ
            กุสละ หรือเก๋าดอกแดง นำมานึ่งซีอิ้ว น้ำนึ่งอร่อยมาก
            จักจั่นทอดกรอบ หากินยากมีอยู่เมืองเดียว เป็นฤดูร้อนที่เมืองอื่นไม่เคยเห็น
            กุ้งแชบ๊วยต้มยำแห้ง กุ้งสดมาก เนื้อแน่น รสเด็ดพอ ๆ กับตั้งจั๊วหลี แถวตลาดเก่าหัวลำโพง
            ปิดท้ายด้วยพุทราทอดหรือวอแป๋ง กับผลไม้ จัดเก่งเต็มจาน สวย มึถึง ๖ ชนิด
            ลองซื้อน้ำพริกกุ้งเสียบ กับแกงไตปลาสำเร็จของเขามาชิมด้วยดีทีเดียว ระดับน้อง ๆ คุณแม่จู้ จบจากไล่อันเหลาแล้ว พรรคพวกบางคนยังไม่ยอมเลิก ไปร้านกุ้งกะทะ อยู่เลยโรงแรมภูเก็ตซิตี้ ถนนพังงา ไปสัก ๑๐๐ เมตร เลี้ยวขวาเข้าไปสัก ๕๐ เมตร ร้านใหญ่โตมาก ตั้งกระทะใหญ่มหึมา ใส่กุ้งสดเอาไว้เต็มกระทะ ๘๙ บาท กินกันไม่อั้น ทั้งกุ้ง ทั้งปลา ฯ ราคา ๘๙ บาท

.............................................................

 
| ย้อนกลับ | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์