ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

ไหว้พระเก้าวัด (๓)


            ผมได้พาท่านผู้อ่านไปไหว้พระในเมืองเชียงใหม่ วัดที่มีนามเป็นมงคลมาแล้ว ๖ วัด ซึ่งวัดที่มีนามเป็นมงคล หรือวัดที่ชาวพุทธถ้าไปไหว้กราบแล้ว จะเกิดความศิริมงคลแก่ตัวเอง จะหมดเคราะห์และประสบโชคลาภ ยิ่งไปไหว้ให้จบได้ในวันเดียวได้ยิ่งดี ซึ่งเก้าวัดนั้น ได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดสวนดอก วัดพระสิงห์ วัดดับภัย วัดหมื่นเงินกอง วัดเจดีย์หลวง วัดดวงดี วัดเชียงมั่น และวัดชัยมงคล วันนี้ผมขอเล่าต่อ ถ้ามีเนื้อที่พอก็จะเล่าให้จบทั้งเก้าวัด ไปเชียงใหม่ตอนนี้ยังเลยไปเที่ยวทุ่งบัวตอง ที่ดอยแม่อุคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ทัน แต่ความงามคงน้อยลงไปหน่อย ไม่เหมือนตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน จนถึงกลางเดือนธันวาคม ที่ทุ่งบัวตอง ดอยแม่อุคอ จะงามสะพรั่งไปทั้งทุ่ง ขอเริ่มพาไปไหว้พระวัดที่ ๗ คือ วัดดวงดี
                วัดดวงดี  เส้นทางเริ่มต้นกันที่วัดเจดีย์หลวง เมื่อออกจากวัดแล้วให้เลี้ยวซ้ายมาผ่านวัดพันเตา ซึ่งวัดนี้ก็น่าชมเพราะอุโบสถเป็นวัง หรือคุ้มเก่าที่รื้อเอามาสร้างเป็นไม้สักทองทั้งหลัง แต่ไม่ได้เป็น ๑ ใน ๙ วัด หากยังไม่เคยชมควรแวะชมเสียเลย อยู่ติดกับวัดเจดีย์หลวง เมื่อผ่านหน้าวัดพันเตาไปแล้ว ก็จะถึงสี่แยกที่เรียกว่า สี่แยกกลางเวียง ตรงต่อไปประมาณ ๑๐๐ เมตร วัดดวงดี จะอยู่ทางขวามือ หากเลยวัดดวงดีไปจะไปผ่านอนุสาวรีย์ ๓ กษัตริย์  ซึ่งตั้งอยู่หน้าศาลากลางหลังเก่า และไปต่อยังวัดเชียงมั่นได้
                เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๔ "เจ้าขี้หุด" บวชเป็นภิกษุอยู่ที่วัดดวงดี "เจ้าปัด" ลูกเจ้าองค์คำ นิมนต์ให้สึกออกมาปกครองเมืองเชียงใหม่ ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ที่เชียงใหม่พ้นจากการปกครองของพม่า ก่อนที่พม่าจะกลับมาปกครองอีกครั้ง (พ.ศ.๒๓๐๖ - ๒๓๑๗)  หลังจากนั้น ชื่อของวัดดวงดี ก็ปรากฎอีกหลายครั้งโดยเฉพาะชื่อของ "ครูบาเกสรปัญโญ" ซึ่งคงเป็นพระชั้นผู้ใหญ่ที่มีส่วนร่วมในพิธีกรรมใหญ่ ๆ ของเชียงใหม่หลายครั้ง รวมทั้งด้านการศึกษาในวัดด้วย เพราะพบผลงานในคัมภีร์ใบลานหลายเรื่องที่ระบุชื่อว่า ครูบาเกสรปัญโญ เป็นผู้เขียนไว้
                พ.ศ.๒๓๖๒ เจ้าหลวงธรรมลังกา (พ.ศ.๒๓๕๖ - ๒๓๖๔)  เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ ๒ ได้มาบูรณะวัดดวงดี เมื่อเรียบร้อยแล้วได้มีการสมโภช
                สิ่งที่สำคัญภายในวัดคือ
                    เจดีย์  จากลักษณะของเจดีย์เข้าใจว่า จะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ที่มีมาลัยเถาแปดเหลี่ยม ซึ่งมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑
                    อุโบสถ  มีหลักฐานกล่าวถึงการฉลอง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๗ แต่สภาพที่มองเห็นในปัจจุบันคงได้มีการซ่อมแซมเพิ่มเติม แต่คงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักมากนัก ส่วนลวดลายประดับนั้น ควรเป็นงานซ่อมภายหลังการสร้างในครั้งแรก
                    หอไตร หรือหอธรรม นับว่ามีรูปร่างแปลก เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีหลังคาทรงมณฑป ซึ่งนับเป็นรูปแบบพิเศษแบบหนึ่ง ของหอไตรในเมืองเชียงใหม่ ด้านนอกมีลายปูนปั้นประดับ จากลักษณะของลวดลายเข้าใจว่า เป็นงานแรกสร้างพร้อมกับการสร้างหอไตร ที่สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๗
                    พระพุทธรูปสำริด วัดดวงดีมีพระพุทธรูปสำริดหลายองค์ แต่องค์ที่สำคัญที่สุดน่าจะได้แก่ พระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย ที่มีจารึกระบุไว้ว่า เมื่อ พ.ศ.๒๐๓๙ ได้อาราธนามาที่วัดต้นหมากเหนือ ซึ่งวัดต้นหมากเหนืออาจจะเป็นวัดดวงดี ก็ได้
                วัดเชียงมั่น  ตำบลศรีภูมิ อ.เมือง วัดแรกแห่งเชียงใหม่ เส้นทาง ตั้งต้นจากวัดดวงดี เลี้ยวขวาผ่านอนุสาวรีย์ ๓ กษัตริย์ แล้วเลี้ยวขวา พอถึงสี่แยกเลี้ยวซ้ายไปสัก ๑๐๐ เมตร ทางเข้าวัดเชียงมั่นจะอยู่ทางซ้ายมือ ความเป็นมา ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวไว้ว่า เมื่อพญามังราย หรือพญามังรายมหาราช มาสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๖ ได้มาตั้งชัยภูมิอยู่ที่บริเวณวัดเชียงมั่นนี้ ซึ่งเวลานั้นยังไม่ได้สร้างวัดเชียงมั่น จนสร้างวังที่ประทับเสร็จ พญามังรายได้ย้ายเข้าอยู่ในที่ชัยภูมิแล้ว ก็ให้ตั้งบ้านเรือนน้อยใหญ่เป็นอันมาก ตามคำเมืองเรียกว่า "บ้านต่ำ บ้านสูง" ส่วนบริเวณที่พญามังรายมาสร้างเวียงเหล็ก หรือพระราชมณเฑียรประทับคุมการก่อสร้างคุ้มหลวงอยู่นั้ พระองค์ทรงดำริว่า "ที่แห่งนี้เป็นหอนอนของเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน เกรงจะเป็นเสนียดจัญไรแก่ผู้นอนทับในภายหลัง"  จึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์คร่อมทับตำแหน่งหอนอนนั้นไว้ ต่อมาได้สร้างวัดขึ้นชื่อว่า วัดเชียงมั่น เพื่อถวายแก่พระรัตนตรัยคือ แก้วสามประการ และเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ ๓ กษัตริย์ คือ กษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่ เมืองสุโขทัย และเมืองพะเยา
                จากศิลาจารึกที่พบในวัดเชียงมั่น ซึ่งได้จารึกเมื่อ พ.ศ.๒๑๒๔ ปรากฎว่าสิ่งสำคัญที่สุดในวัดเชียงมั่นคือ "เจดีย์ " ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในหลักศิลาจารึกระบุว่า สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ และวัดเชียงมั่นคือ เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ (เริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๖ พญามังรายสร้างคุ้มหลวงแล้วเสร็จ เสด็จไปประทับ พ.ศ.๑๘๓๙ ถือเป็น พ.ศ.ที่ตั้งเมืองหลวงของล้านนาแห่งใหม่ ก่อนกรุงศรีอยุธยาซึ่งตั้ง เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙) ต่อมามีการบูรณะปฎิสังขรณ์องค์เจดีย์ โดยสร้างทับองค์เดิมถึง ๒ ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ.๒๐๑๔ สมัยพระเจ้าติโลกราช และ พ.ศ.๒๑๑๔ สมัยพญาแสนหลวง ซึ่งในการสร้างคร่อมทับครั้งที่ ๒ นี้ ได้มีการสร้างวิหาร อุโบสถ หอไตร ธรรมเสนาสนะ กำแพง ประตู อีกด้วย วัดเชียงมั่น จึงมีความสำคัญควบคู่ไปกับเมืองเชียงใหม่
                ระยะเวลากว่า ๒๐๐ ปี ที่พม่าเข้าครองเมืองเชียงใหม่ วัดเชียงมั่นเช่นเดียวกับโบราณสถานอื่นๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม และถูกทิ้งร้าง (เช่น วัดเจ็ดยอด ถูกทิ้งร้างนับร้อยปี) จนพระเจ้ากาวิละขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ จึงได้มีการบูรณปฎิสังขรณ์ วัดเชียงมั่นอีกครั้งเช่นเดียวกับพระอารามอื่น ๆ ที่อยู่ภายในกำแพงเมืองที่ถูกทิ้งร้าง และต่อมาในสมัยเจ้าอินทวโรรส ได้นิมนต์พระธรรมยุติให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชียงมั่น และกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะครั้งใหญ่ และปิดทองจังโก้พระเจดีย์ แล้วเสร็จทันฉลอง ๗๐๐ ปี เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ วัดเชียงมั่นประกาศเป็นโบราณสถานมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘
                สิ่งสำคัญภายในวัดคือ
                    พระเจดีย์  ซึ่งได้กล่าวถึงการก่อสร้างแล้ว
                    วิหาร  เจ้าราชวงศ์ ได้รื้อเอาหอของพญาธรรมลังกามาสร้าง แต่วิหารเดิมได้รื้อถอนไปแล้ว แต่ภายในยังมีโขงปราสาท ที่เป็นรุ่นเดียวกับการสร้างวิหาร
                    หอไตร สองชั้น ใต้ถุนโล่งฝาผนังชั้นบนมีภาพลายทอง
                    พระอุโบสถ ไม่พบประวัติว่าสร้างเมื่อใด แต่ประมาณ พ.ศ.๒๓๔๗ พระเจ้ากาวิละ กับพระมหาสังฆราชเจ้า ได้สร้างปฎิสังขรณ์พระอุโบสถ
                    กลุ่มพระพุทธรูปในอุโบสถ มีอยู่องค์หนึ่งที่สำคัญคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร มีจารึกระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๐๐๘ นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีจารึกเก่าที่สุดในเมืองเชียงใหม่ และน่าจะเป็นต้นแบบที่ปรากฎขึ้นในล้านนา ก่อนที่จะแพร่กระจายไปในดินแดนใกล้เคียง เช่น ที่พบกันมากที่ เมืองน่าน และหลวงพระบาง
                    พระพุทธรูปศิลาดำปางปราบช้างนาฬาคีรี ข้างซ้ายมีรูปช้างนาฬาคีรี ข้างขวาเป็นรูปพระอานนท์ เป็นพระพุทธรูปในศิปละปาละ สร้างขึ้นราว ๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๕ มีตำนานว่า นำมาจากลังกาในสมัยพระเจ้าติโลกราช และพระเจ้ากาวิละ สร้างฐานพระ, ทำซุ้มด้วยไม้ลงรักปิดทอง ได้จำลองไว้ ๒ องค์ อยู่ที่วัดสวนดอก และวัดหัวข่วง
                    พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔ นิ้ว สูง ๖ นิ้ว ตามตำนานกล่าวว่า เป็นศิลปะสกุลช่างละโว้ แกะสลักด้วยแท่งศิลาสีขาวใส พญามังรายอัญเชิญมาจากหริภุญไชย เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๔ มาประดิษฐานที่วัดเชียงมั่น เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ ส่วนฐานนั้นพึ่งมาสร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ เป็นไม้แกะสลักหุ้มด้วยทองคำ มีฉัตรทองคำปักจากฐานด้านหลัง ในอดีตกาลเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ ของพระนางจามเทวี
                    วันนี้ ผมขอพาไปชิมของหวาน ซึ่งเป็นร้านที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งของเชียงใหม่ เรียกว่าใครพาฝรั่งมาเที่ยว ต้องพามาชิมขนมเค้กที่ร้านนี้ เส้นทางออกจะลึกลับ สำหรับคนต่างถิ่น คงต้องบอกให้ละเอียด ตั้งต้นจากหน้าโรงพยาบาลมหาราช ผ่านวัดสวนดอก ผ่านตลาดต้นพยอม (ตลาดนี้อาหารพื้นเมืองมีขายแยะ เช้า ๆ มีพระเดินมารับบาตรนับร้อย)  ข้ามสะพานข้ามคลองชลประทานไปสัก ๕๐๐ เมตร สังเกตไว้ให้ดี จะมีซอยเล็ก ๆ ทางซ้ายมืออยู่ตรงข้ามกับ "มอ" เรียกว่า หลังมอ ปากซอยมีป้ายแยะ ๑ ใน ป้ายนั้นบอกว่าไป "วัดอุโมงค์ ๑.๕ กม."  เลี้ยวซ้ายเข้าซอยไปประมาณ ๑.๕ กม. จะชนกับประตูวัดอุโมงค์ ให้เลี้ยวซ้ายเลาะกำแพงวัดไปหน่อย ร้านหรือบ้าน (จอดรถในบ้านได้ ๑ คัน) จะอยู่ทางขวามือ มีป้ายบอกชื่อร้าน ป้ายเล็ก ๆ อย่าเผลอขึ้นไปบนบ้าน ร้านคือ สวน นั่งในซุ้มสวน ที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ บ้านเขาสำหรับอยู่อาศัย  แม้แต่ครัวเขาก็อยู่ในสวน ร้านนี้จะขายอาหารเช้าแบบอังกฤษ ขายผลไม้ ขายแซนวิช ที่บากบั่นไปกิน เพราะเขาบอกว่า "สโคน" แบบอังกฤษร้านนี้อร่อยนัก ผมเคยกินสโคนในอังกฤษมาแล้ว ยังจำรสชาติความอร่อยได้ ขออธิบายว่า สโคน ก็คือ ขนมปังแบบหนึ่ง ไม่ใช่ขนมเค้ก กินกับเนย และแยม สโคนก็คือ  สโคน ทางร้าน ยังมีพายเนื้อ พายไก่ ลาซานย่า
                สั่ง สโคน คนละอันแหละดี ไม่แย่งกัน เขาจะเสริฟพร้อมกับ เนย แยมรัสเบอร์รี่ และแยมบลูเบอรี่ เสริฟมาในจานเซรามิค สีม่วง ราคาชุดละ ๕๐ บาท สั่งกาแฟ บอกว่าเติมได้ไม่อั้น ต้องจิบกาแฟร้อน ๆ จึงจะเข้ากัน แถมขอกาแฟเติมได้เสียอีก บอกได้คำเดียวว่าอร่อยมาก หากินยาก แม้จะเป็นกรุงเทพ ฯ ก็ตาม ร้านเปิดขายตั้งแต่เช้าเรื่อยไป
                ผมไปกินสโคน เมื่อกินมื้อกลางวันที่ นาซิ จำปู๋ มาแล้ว จึงไปชิมอาหารหวาน ส่วนท่านที่ไม่ไปชิมสโคน ก็แนะทบทวนร้านอาหารไว้ด้วยคือ หากวิ่งผ่านปากซอยวัดอุโมงค์ ตรงไปจนสุดทางแล้วเลี้ยวขวาไปสัก ๕๐๐ เมตร หลังประตูสวนสัตว์คือ ร้านดังกล่าว ต้องมื้อเย็นวิวสวย อีกร้าน หากไม่เลี้ยวขวาตรงเข้าไป ทั้งสองร้านผมพาไปชิมมาแล้ว เอามาทบทวนได้ด้วย

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์