ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ |

สระแก้ว (๓)

            ผมเล่าเรื่องจังหวัดสระแก้วไปแล้ว ๒ ตอน คราวนี้มาถึงตอนสำคัญ เพราะเป็นตอนที่จะเลาะชายแดน คือ อำเภออรัญประเทศ ซึ่งตอนที่แล้วพอโผล่เข้าไปที่อำเภออรัญประเทศ ยังไม่ทันได้เที่ยวที่ไหน ก็ตรงไปกินอาหารญวนที่ร้านแอมซัน ที่ถนนมิตรสัมพันธ์ซึ่งเป็นถนนที่อยู่ข้าง ๆ ธนาคารกรุงไทย และเป็นร้านอาหารญวนในถนนสายนี้ ซึ่งมีหลายร้านด้วยกัน
            ทีนี้ไปเที่ยว เมื่อมาจากอำเภอวัฒนานคร ตรงมาจนเข้าตัวอำเภออรัญประเทศ ที่หมายแรกคือ หอนาฬิกา หากเลี้ยวขวาไปจะไปยัง พระสยามเทวาธิราช (จำลอง ขนาดเท่าองค์จริง)  อยู่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภออรัญประเทศ เป็นองค์จำลองของพระสยามเทวาธิราช สร้างโดยพระอุทัยธรรมธารี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ ต่อมาราษฎรได้ร่วมกันสร้างบุษบกเป็นที่ประทับ โดยได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๐ ธ.ค.๒๘ นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมืองของชาวอรัญประเทศ และประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียง ใครไปถึงอรัญ ฯ แล้วไม่ควรขาดไปนมัสการพระสยามเทวาธิราช องค์นี้
            พระสยามเทวาธิราชองค์จริง  ต้องเข้าไปชมในพระบรมมหาราชวัง อยู่ที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ซึ่งสร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นเพื่อปกป้องคุ้มครองบ้านเมือง ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกลยิ่งนัก ทรงเข้าใจดีว่า "ฝรั่ง" กำลังรุกรานเข้ามาครอบครองดินแดนทางตะวันออก ซึ่งในเวลานั้นเหลือเพียงไทยอยู่เพียงประเทศเดียว พม่าเป็นของอังกฤษไปแล้ว เขมร ลาว นั้นขึ้นอยู่กับไทย และแม้ว่ารัชกาลที่ ๕ จะปกป้องคุ้มครองแผ่นดินไทยอย่างไร ก็ต้องยอมเสียน้อยดีกว่าเสียไปทั้งประเทศ คือ ต้องยอมเสียลาว เสียเขมร เสีย ๔ จังหวัดทางใต้ คือ ในมาเลเซียเดี๋ยวนี้ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ไปให้อังกฤษ นอกจากนั้นต้องเสียให้แก่ฝรั่งเศส แต่เราก็ยังครองความเป็นเอกราชมาได้ตราบเท่าทุกวันนี้ เป็นชาติที่กล่าวได้เต็มปาก เต็มคำ ว่าไทยไม่เคยเสียเอกราชทั้งประเทศให้ใครมาเป็นเวลานานกว่า ๘๐๐ ปีแล้ว นับตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง ตั้งสุโขทัยเป็นราชธานี พ้นจากอำนาจขอมมา
            เลยหอพระสยามเทวาธิราชไปแล้ว ก็จะเลี้ยวซ้ายตรงไปตลาดสดได้ ตรงตลาดสดนี้ในตอนเช้าถนนหน้าตลาด ข้างตลาด หลังตลาด ล้วนแล้วไปด้วยของขาย โดยเฉพาะอาหารการกิน ประเภทหาบเร่ แผงลอยมากมายหลายสิบเจ้า อร่อย ๆ ทั้งนั้น ตรงหน้าตลาดสดตรงหัวมุม มีร้านอาหารเวียตนาม ชื่อร้านเจ๊ราง ร้านนี้เปิดขายตอนสาย ๆ มีหมูและแหนมเปรี้ยว แต่หน้าร้านจะมีแผงขายอาหารมาตั้งขายตอนเช้ามากมายเช่น ก๋วยจั๊บญวน โจ๊ก หมูปิ้ง ข้าวเหนียวหมูเส้นหวาน ฯ มีขายทั้งสองฝั่งถนน ข้างร้านเจ๊ราง เป็นซอยตรงหัวมุมมีรถเข็นขายซาละเปาพออิ่มท้อง แต่ลูกละบาทเดียว ซอยข้างตลาดนี้ จะขายของกันบนรถเข็นก็มี วางขายกับพื้นถนนก็มี มีทั้งผัก ผลไม้ และอาหารมากจริง ๆ
            ถนนทางด้านขวาของตลาด (หันหน้าเข้าตลาด) จะมีธนาคารกรุงเทพ ฯ เลยธนาคารมาทางตลาดก็มีร้านอาหารเก่าแก่อีก ร้านชื่อ บ๊ะจ่าง นึ่งบ๊ะจ่างขายอยู่หน้าร้าน มีอาหารตามสั่ง หากเลยธนาคารตรงเรื่อยมา ไม่เลี้ยวซ้ายไปตลาด คงตรงต่อไปอีกก็จะมีร้าน ครัวมานิตย์ มีอาหารเช้าแบบเวียตนาม เช่น ไข่กะทะ

            วัดอนุบรรพต วัดเขาน้อยอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านใหม่หนองไทร โดยจะแยกจากถนนสุวรรณศรก่อนถึงหอนาฬิกา แยกไปทางซ้าย เส้นทางที่จะไปยังอำเภอตาพระยา ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร อยู่ทางซ้ายมือ ไปตามถนนธนะวิถี วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีอุโบสถที่งดงาม ภายในอุโบสถประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง เนื้อทองเหลือง
            ตลาดโรงเกลือ จากหอนาฬิกาให้เลี้ยวซ้ายไปก่อน แล้วเลี้ยวขวาอีกทีตรงไปรวม ๖ กิโลเมตร จะผ่านโรงแรมที่พักหลายแห่ง ที่พักสำหรับพวกนักเลงการพนัน ที่มานอนพักพอได้กลับมานอน ไม่ต้องการโรงแรมดีนักเอาราคาถูกเป็นหลัก จะได้ขนเงินไปให้บ่อนได้เต็มที่ ผ่านแผงขายแคาตาลูปมากมายหลายแผง และจะไปสิ้นสุดที่ชายแดนด้านกัมพูชา ส่วนใครจะไปบ่อนอย่างไร วิธีไหนผมไม่แนะนำ เพราะไม่ส่งเสริมให้ขนเงินออกไปให้บ่อนนอกประเทศ รอจนกว่ารัฐบาลจะกล้าตั้งบ่อนในประเทศ ผมจะไปแล้วเอามาเล่าให้ฟัง บ่อนตามต่างจังหวัด หรือแม้แต่ในกรุงเทพ ฯ นั้นมีเต็มเมือง ทำเป็นมองไม่เห็นกันไปได้
            ก่อนถึงชายแดนหรือถึงชายแดนก่อนถึงด่าน จะมีทางแยกซ้าย เพื่อเข้าไปยังตลาดโรงเกลือ ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นโรงใหญ่โต ขายสินค้าหลายประเภท พ่อค้า แม่ค้า ส่วนใหญ่คือ ชาวกัมพูชาทั้งสิ้น เช้าก็เข้ามา เย็นกั้นร้านไว้ด้วยผ้า ของไม่หาย กลับไปนอนทางฝั่งกัมพูชา เมื่อก่อนนี้หรือเดี๋ยวนี้ก็ยังมีตลาดแบบเดียวกันนี้ ทางฝั่งเขมรที่เรียกว่าปอยเปต ผมเขียนค้านมาตลอดว่า ไปทำไมกับแค่ปอยเปต ไม่มีอะไรให้ชมหรอกนอกจากตลาดขายของ ซึ่งไม่ได้ขายถูกกว่าฝั่งไทย ซื้อที่โรงเกลือดีกว่า ราคาพอ ๆ กัน ซื้อแล้วไม่เจ็บใจดี เพราะหากซื้อฝั่งเขมรตอนเอามาก็ต้องจ้าง ๆ คนเขมรช่วยแบกมาให้เพราะหนักขนไม่ไหว ซื้อของฝั่งไทยหนักนัก ก็เดินเอาไปเก็บเสียที่รถทีหนึ่ง แล้วมาซื้อใหม่ และที่บอกว่าจะเจ็บใจคือ ตอนผ่านด่านของเขา จะมีเจ้าหน้าที่ศุลกากรของเขมร คอยเก็บภาษีเอาดื้อ ๆ สินค้าที่ว่าซื้อมาถูกก็กลายเป็นของแพง และพอจ่ายภาษีเถื่อนแล้วเดินมาอีกไม่กี่ก้าว มีพวกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองคอยเก็บอีกไม่เจ็บใจไหวหรือ ซื้อทางฝั่งไทยพวกรู้จักต่อจะได้สินค้าราคาถูก สินค้านั้นมากเหลือเกินหลายร้อยหลายพันชนิด เช่น แว่นตาคนเดินขายบอกว่าจากฝรั่งเศสว่าอย่างนั้นเลยทีเดียว หากเราจะเดินกลับรถไม่ซื้อ เขาบอกว่าราคา ๘๕๐ บาท เขาก็เดินตามมาเรื่อย ๆ และลดราคาลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเราไขกุญแจรถเมื่อไร จะเหลือประมาณ ๑๕๐ - ๒๐๐ บาท หรือซื้อนาฬิกาปลุกอีกอย่างเรือนละ ๑๘ บาท ผมขนซื้อมาเป็นโหลจะเอามาแจก เขาตั้งให้ดูว่าปลุกได้จริง เราไม่ได้ตรวจดูหรือมองดูว่ามันเดินหรือเปล่า พอเข็มสั้น เข็มยาวหมุนผ่านเข็มปลุกที่ตั้งเอาไว้ มันก็ร้องปลุกให้ทุกที ทั้ง ๆ ที่นาฬิกามันไม่เดิน เลยเลิกซื้อ ซื้อสินค้าอะไรดีไม่ขอแนะนำ โปรดเชื่อตา และปากในการต่อรองของท่านเองก็แล้วกัน
            ปราสาทเขาน้อยสีชมพู  ตั้งอยู่ในวัดเขาน้อยสีชมพู ตำบลคลองใส ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ไปตามถนนสาย ๓๐๖๗ ห่างจากอำเภออรัญ ฯ ไป ๑ กิโลเมตร ก็เลี้ยวซ้ายไปยังตำบลคลองน้ำใส อีก ๑๒ กิโลเมตร มีป้ายบอกนำทางไป เมื่อเข้าไปในวัดแล้วจะต้องขึ้นบันไดไปอีก ๒๕๔ ขั้น แล้วเดินต่อไปตามทางลาดก็จะถึงตัวปราสาท ซึ่งปราสาทประกอบด้วยปรางค์ ๓ หลัง ปราสาทองค์กลางค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่ทราบว่าเริ่มบูรณะแล้วหรือยัง กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๘ ได้มีการสำรวจพบทับหลัง ๕ ชิ้น โบราณวัตถุทำจากโลหะ เครื่องปั้นดินเผา และค้นพบแผ่นศิลาจารึกบอกถึงอายุการสร้างปราสาท เรียกว่า จารึกเขาน้อย จึงสันนิษฐานได้ว่าปราสาทเขาน้อยสีชมพูนี้จ ะสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ และมีการบูรณะปฎิสังขรณ์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ส่วนวัดเขาน้อยที่อยู่ข้าล่างนั้นเป็นวัดที่มีอายุนานไม่กี่ปี ไม่ทราบประวัติ โบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้น เก็บรักษาและตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติปราจีนบุรี
            ศูนย์การศึกษาปฎิบัติธรรม ตำบลคลองใส อำเภออรัญประเทศ เจ้าอาวาสคือ พระโสภณพุทธิธาดา อยู่ในเส้นทางที่จะมายังปราสาทเขาน้อย ก่อนถึงตัววัดมีทางแยกไปทางขวาจะมองเห็นพระธาตุเจดีย์สีทอง ที่วัดหรือศูนย์ปฎิบัติธรรมแห่งนี้ ได้นำพระพุทธรูปแตก ๆ หัก ๆ มาจากวัดสามปลื้มในกรุงเทพ ฯ จำนวนมาก และกำลังนำมาปฎิสังขรณ์ใหม่ บางองค์อาจจะมีแต่เศียร บางองค์มีไม่เต็มองค์ แขนหัก สรุปว่าไม่มีสมบูรณ์แม้แต่องค์เดียว จำนวนมากถึง ๙๙ องค์ ไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมทางวัดสามปลื้มไม่บูรณะปฎิสังขรณ์เสียเอง ที่ศูนย์แห่งนี้มีพระสงฆ์ที่เป็นช่างเก่งพอจะปฎิสังขรณ์ได้ จึงต่อเติมเสริมแต่งองค์พระพุทธรูป ซึ่งเป็นพระโบราณทั้งสิ้น ทำเสียงดงามเลยทีเดียว แต่ยังทำไม่ได้มากเพราะขาดปัจจัย ใครจะบริจาคต้องไปที่ศูนย์แห่งนี้ บริจาคเพื่อบูรณะองค์ละ ๑,๙๙๙ บาท แล้วท่านจะจารึกชื่อเอาไว้ที่ฐานพระว่า เป็นผู้ปฎิสังขรณ์พระพุทธรูป น่าศรัทธาเลื่อมใส พระเก่า และใช้เงินไม่มากก็จะกลายเป็นพระใหม่งดงามได้ โทร.๐๓๗ ๔๓๑๑๑๒
            ประตูชัยอรัญประเทศ  เลยตลาดบ้านคลองลึก หรือตลาดโรงเกลือ ไปก็จะถึงประตูที่จะออกไปเขมร สร้างเป็นประตูเอาไว้ เรียกว่า ประตูชัย สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ เป็นป้อม ๒ ป้อม อยู่คนละฟากถนน ตัวป้อมมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า สูงประมาณ ๑๕ เมตร ฐานป้อมทำเป็นป้อมรักษาการณ์ ได้มีการบูรณะซ่อมแซม เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ ในการซ่อมแซมยังคงรักษารูปลักษณ์เดิมไว้เฉพาะป้อมทางด้านซ้ายมือ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ทหารกล้าที่ไปรบในสงครามเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓
            ส่วนป้อมทางด้านขวามือก่อสร้างเป็นเสมาขนาดใหญ่หันหน้าออกไปทางประเทศกัมพูชา ทำด้วยหินอ่อนสลักรูปครุฑเอาไว้ด้านบน ใต้ครุฑจารึกคำว่า "ประเทศไทย" ใครจะไปเที่ยวกัมพูชาที่น่าไปก็คือ ไปชมปราสาทนครวัด และปราสาทนครธมที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก มองดูแล้วไม่น่าเชื่อนี่คือโบราณสถานที่คนสร้างขึ้นมา และปราสาทต่าง ๆ ในเมืองเสียมราฐ (กัมพูชา เรียกเสียมราบ) นั้นยิ่งใหญ่นัก นอกจากปราสาทนครวัด นครธมแล้วยังมีอีกหลายปราสาท ปราสาทต่าง ๆ เหล่านี้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังอยู่แผ่นดินไทย ฝรั่งเศสมาเอาไป และเมื่อคืนเอกราชให้กัมพูชา แผ่นดินเหล่านี้ก็เป็นของกัมพูชาไป และในการเรียกร้องดินแดน เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น กองทัพไทยเข้มแข็งมากผลการรบเราได้คืนมาหลายจังหวัด เช่น เสียมราฐ พระตะบอง ไพลิน ศรีโสภณ เป็นต้น และต้องกลับคืนไปเมื่อเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงเกิดประเทศเอกราชกัมพูชา ส่วนกรุงพนมเปญนั้น หากชาวไทยไปแล้วไม่ตื่นตา ตื่นใจแต่อย่างใด ไปดูปราสาทขอมละก็ตื่นแน่ เพราะพิลึกกึกกือเหลือประมาณ
            การเที่ยวอำเภออรัญประเทศ จะเที่ยวเชื่อมต่อไปกับอำเภอตาพระยา และอำเภอโคกสูง ซึ่งพึ่งยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อสักปี ๒๕๔๕ - ๔๖ เพราะผมไปครั้งก่อนยังเป็นตำบลโคกสูงอยู่ ไปคราวนี้เป็นกิ่งอำเภอโคกสูงไปแล้ว ก็ด้วยบารมีของปราสาทสล็อกก็อกธม โบราณสถานสำคัญยิ่งของสระแก้ว
            อำเภอตาพระยา อุทยานแห่งชาติตาพระยา ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นของเมืองสระแก้ว ไปอุทยานไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ แล้วเลี้ยวซ้ายก่อนถึงอำเภออรัญประเทศ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๔๘ วิ่งไปจนเลยอำเภอตาพระยา (อย่าเลี้ยวขวาเข้าอำเภอ) ไปอีก ๒๗ กิโลเมตร จะมีป้ายบอกให้เลี้ยวไปตามทางสู่อุทยาน เป็นถนนลูกรังบดอัดแน่นไปอีกประมาณ ๑๓ กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยาน ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยาน คนละ ๒๐ บาท มีบ้านพักและสถานที่กางเต้นท์ แต่ไม่มีเครื่องนอนและอาหารจำหน่าย ติดต่อ ๐๑ ๔๗๐ ๕๒๑๐ มีจุดชมวิว เส้นทางดูนก ดูผีเสื้อ มีโป่งยุบแบบราชบุรี หรือแพะเมืองผี แต่ขนาดเล็กกว่า มีบริเวณกว้างเพียง ๔๐ ตารางเมตร

            ปราสาทสล็อกก็อกธม  โบราณสถานที่ใหญ่ และสำคัญยิ่งของสระแก้ว และเมื่อตอนปลายปี ๒๕๔๖ ทางกรมศิลปากร กำลังเข้าไปบูรณะซึ่งอีกสัก ๑ - ๒ ปี คงจะสวยสมบูรณ์ ผมไปครั้งแรกมีปรางค์สวยอยู่ไม่เต็มองค์ ไปคราวนี้ได้เห็นการบูรณะทำกันอย่างเต็มที่เลยทีเดียว
            เส้นทางไปตามถนนสาย ๓๔๘ ที่ไปตาพระยา จนถึง ๒๒.๔๐๐ ให้เลี้ยวขวาเข้า ๓๓๘๑ รวมระยะทางช่วงนี้ ๒๓.๕ กิโลเมตร จากอรัญประเทศ เรื่องชื่อของปราสาทหลังนี้จะเขียนชื่อต่าง ๆ กันยังไม่ได้ แก้ไขให้เขียนอย่างเดียวกันหมด ตรงป้ายที่เป็นจุดเลี้ยวเขียนว่า สะต็อกก็อกธม
            จากปากทางจนถึงบ้านโคกสูง ระยะทาง ๙ กิโลเมตร จิ่งเข้าไปในหมู่บ้านจนผ่านสถานีอนามัย มีถนนในหมู่บ้านที่พึ่งสร้างเสร็จหักเลี้ยวซ้าย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนนี้ไปจนถึงถนนสาย ๓๓๙๗ เลี้ยวขวามาที่กิโลเมตร ๑๒.๕ ถนนลาดยาง เลี้ยวขวามาอีก ๒.๕ กิโลเมตร รวมระยะทางจาก อำเภออรัญประเทศ ๓๙ กิโลเมตร คุ้มค่าต่อการไปชม
            สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ เป็นศาสนสถานของฮินดู สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เพื่อใช้ประดิษฐานรูปเคารพ และประกอบพิธีกรรมตามคติ ที่เชื่อถือในลัทธิศาสนาฮินดูโบราณสถาน ประกอบด้วยองค์ปราสาท ๓ หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงแก้ว ๒ ชั้น มีคูน้ำล้อมรอบ กำแพงชั้นนอกทำด้วยศิลาแลง มีบรรณลัยหินทราย ๒ หลัง อยู่หน้าปราสาทหลังกลาง ด้านนอกปราสาทมีสระน้ำขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยม มีถนนปูด้วยหินจากตัวปราสาท ไปจนถึงสระน้ำตลอดแนวมีการค้นพบศิลาจารึก ๒ หลัก จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ เป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึงอายุการสร้างปราสาท จารึกหลักที่ ๒ บอกว่า เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอาทิตยวรมันที่ ๒ ซึ่งเป็นองค์ที่มาบูรณะปราสาท เมื่อปี พ.ศ.๑๕๙๕ คำว่า สล็อกก็อกธม หมายถึง เมืองที่มีต้นกกขึ้นในหนองน้ำใหญ่ หลักศิลาจารึกเวลานี้เก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ

            วัดปราสาทสต็อกก็อกธม  อย่าสงสัยว่าผมเขียนชื่อผิด ได้บอกแล้วว่าแต่ละป้ายเขียนไม่เหมือนกัน หากท่านไปเที่ยวลองสังเกตดูเถอะ ตอนนี้จะไปวัดผมก็เขียนตามป้ายชี้ไปวัด วัดอยู่ติดกับสระน้ำใกล้ ๆ กับตัวปราสาทนั่นแหละ รถวิ่งเข้าไปได้ เป็นสำนักสงฆ์มากกว่า มีพระสูงอายุอยู่รูปเดียว เก่งมากเพราะตอนผมไปครั้งแรก เมื่อสักปี พ.ศ.๒๕๔๓ นั้น ล้อมรอบปราสาทยังมีป้ายสีแดงปักไว้ แสดงว่าเป็นพื้นที่ที่มีอันตรายจากกับระเบิดยังกวาดไม่หมด กลับมาคราวนี้ก็ได้แนะให้ไปขอทหารช่าง จากกองพลทหารราบที่ ๒ ปราจีนบุรี ให้เข้ามาช่วยกวาดกับระเบิดให้ เล่นปักป้ายอย่างนี้หวาดเสียว ไปคราวนี้ไม่มีแล้ว หลวงพ่อหรือหลวงปู่อยู่องค์เดียว ฉันอาหารเท่าที่จะมี เพราะสังเกตผู้คนที่ไปหาท่านไม่มีใครเอาอาหารไปกันเลย มีแต่ไปขอรดน้ำมนต์ ขอพร สะเดาะเคราะห์ อย่างดีก็หยอดสตางค์ลงในตู้ ซึ่งจะหาร้านค้าไม่มีเลย อยู่กลางป่า ท่ามกลางซากของวิญญาณอยู่เพียงองค์เดียว แต่ตอนนี้ค่อยยังชั่วแล้ว เพราะคึกคักไปด้วยกรรมกรก่อสร้างที่มาบูรณะปราสาท และทางวัดเองก็ได้รับมอบให้ทำการบำบัดพวกติดยาเสพติด ซึ่งทำให้มีโรงครัวเพื่อเลี้ยงพวกติดยาที่มาบำบัด ใครไปก่อนเพลเอาอาหารไปถวายท่านด้วยนะ หลวงพ่ออยู่องค์เดียวมาสิบกว่าปี ไม่มีหมู่บ้าน และดั้งเดิมก็เป็นวัดร้าง ท่านมาฟื้นฟูขึ้น เป็นบริเวณที่เขมรแดงนักฆ่า เคยยึดอยู่ที่ปราสาทแห่งนี้ ท่านบอกว่าเขาไม่ฆ่าท่าน ต่างคนต่างอยู่ เขมรแดงไม่ฆ่า อยู่ได้ต้องถือว่าท่านเก่งทีเดียว เพราะเขมรแดงนั้นฆ่าเรียบหมด อย่าว่าแต่พระ หมอยังฆ่าเสียเลย จนวัดร้างกลายมาเป็นที่ตั้งของศูนย์ธรรมรักษา หลวงพ่อคงจะพอมีฉันมากขึ้น ไปชมปราสาทแวะทำบุญด้วย
            ละลุ ที่เที่ยวแหล่งสุดท้าย เหมือนแพะเมืองผี ที่แพร่ ตั้งอยู่ที่บ้านเนินขาม และบ้านคลองยาง ตำบลทัพราช เส้นทางจาก อำเภออรัญประเทศ ไปตามถนนที่ไปตาพระยา สาย ๓๔๘ พอถึงกิโลเมตร ๓๕ - ๓๖ ให้เลี้ยวซ้ายที่บ้านกุดเตย เข้าถนนสาย ๓๔๘๖ ไปจนถึงบ้านโคคลาน หลักกิโลเมตรที่ ๘ - ๙ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบ้านโคคลาน - หนองผักแว่น ไปอีก ๑๘ กิโลเมตร หนองผักแว่นเป็นถนนลูกรังเข้าไปยังหมู่บ้าน ระยะทาง ๑ กิโลเมตร จะถึงละลุ ซึ่งมีพื้นที่มากถึง ๒,๐๐๐ ไร่ ดินยุบลงไป ส่วนไหนแข็งก็จะตั้งโด่ขึ้นไปเหมือนกำแพง หน้าผา หรือเป็นแท่ง รูปร่างแปลก ๆ ตา คล้ายแพะเมืองผีที่แพร่มากกว่าแห่งอื่น ๆ น่าชมอย่างยิ่ง ละลุเป็นภาษาเขมรแปลว่า ทะลุ บางทีก็เรียกว่า "แพะเมืองผีแห่งใหม่"
            ร้านปิเตียง กว่าจะหาร้านนี้พบ ผมตามหาอยู่หลายปี นึกว่าเขาเลิกกิจการไปแล้ว ยังอยู่ดีแต่ขนาดของร้านเหลือเล็กนิดเดียว ร้านเดิมที่สมัยก่อนคนแน่นตรึม ตลอดทั้งมื้อกลางวันและมื้อเย็นนั้นถูกไฟไหม้หมด ผมไปหลังไฟไหม้เลยหาไม่เจอ ตอนไปครั้งก่อนเมื่อ ๒ - ๓ ปีที่แล้ว ก็หาไม่เจอ ไปคราวนี้จึงหาพบด้วยความบังเอิญ พบในตอนเย็นพอดี จึงได้เป็นอาหารเย็นที่โอชะฝีมือเก่าแก่ แม่ครัวคนเดิม คือ เจ้าของร้านหญิงที่มีอายุอานามร่วม ๆ ๗๐ ปี เข้าไปแล้ว บอกว่าไฟไหม้ร้านเก่า แล้วก็ไม่อยากทำอาหารขายอีก หมดกำลังใจ และลูกเต้าก็โตหมดแล้ว มีอาชีพแยกไปค้าขายอื่น ๆ กันหมดแล้ว แต่เหงาเลยทำอาหารขายอีก แต่ทำเป็นร้านเล็ก ๆ เหมือนอาศัยอยู่กับร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าของลูกชาย
            ร้านปิเตียง เลขที่ ๔๐ ถนนบำรุงราษฎร์ อำเภออรัญประเทศ สระแก้ว บอกให้ละเอียดเลย เพราะตามมาหลายปีกว่าจะพบเจ้าเก่าที่กินกันมานานกว่า ๓๐ ปี เมื่อพบก็ดีใจทั้งสองฝ่าย อาหารก็อร่อยเหมือนเดิม โทร.๐๓๗ ๒๓๑๐๐๘
            เส้นทางจากหอนาฬิกา เลี้ยวขวาตรงมาจนผ่านพระสยามเทวาธิราช แล้วไปอีกแยกหนึ่งให้เลี้ยวซ้ายเข้ามา จะมีซอยเล็ก ๆ ตรงมุมซอยมีป้ายเขียนว่า กู้ภัย อปพร. ร้านอยู่ปากซอยนี้ ป้ายใหญ่ของร้านเขียนไว้ว่า "ศูนย์บริการสมบูรณ์อะไหล่" ส่วนป้ายปิเตียงนั้นเล็กนิดเดียวแทบจะมองไม่เห็น แต่คนอรัญ ฯ เขารู้กันว่าอยู่ตรงไหน ถามเขาดู ให้ผมหาไม่พบเพราะไม่ยอมถามใคร จนมาครั้งนี้พบเองโดยบังเอิญ มีโต๊ะวางที่พื้นฟุตบาทหน้าร้านเวลาเย็นด้วย ขึ้นบันไดไป ๔ - ๕ ขั้น จะมีชานที่ตั้งโต๊ะอาหารได้อีก มีห้องแอร์ด้านในมีสัก ๓ โต๊ะ และติดกันคือร้านเครื่องไฟฟ้าของลูกชาย อยู่ติดกับประปาส่วนภูมิภาค มองหาประปาง่ายกว่าหาร้าน ต้องสั่งอาหารจานเด็ดเก่าแก่คือ ลูกชิ้นปลา จะให้ยำหรือลวกเอามาจิ้มน้ำส้มก็ได้ เหนียวหนึบ เคี้ยวหนุบหนับเลยทีเดียว หากให้ยำ จะยำมากับหอมใหญ่ มีผักสลัดรองก้นจาน
            เต้าหู้อบหม้อดิน เสริฟมาในหม้อดินเก็บความร้อนดีนัก ระวังหน่อยก็แล้วกัน จะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เอาเต้าหู้ทอดพอสุก มีเครื่องลาดหน้า เต้าหู้มาแยะ หมูสับ กะเพาะหมู เห็ดหอม ข้าวโพดอ่อน ฯ
            หอยจ๊อ ทางร้านยกป้ายไว้เลยว่า ของฝากจากอรัญ ฯ ผมไม่ได้ซื้อมาแต่กินเสียเต็มอิ่ม ไส้มันแกว
            กะเพาะหมูผัดเกี๊ยมฉ่าย ผัดแล้วกะเพาะหมู และเกี๊ยมฉ่ายที่รสดียังกรอบ เปรี้ยวอมหวาน อร่อยนัก ไส้กุ้ง ใส่เห็ดหอม
            อย่าลืมสั่งข้าวร้อน ๆ มาด้วย
            ถนนซอยที่แยกตรงหน้าศาลพระสยามเทวาธิราช ตอนกลางคืนปิดถนนเป็นตลาดโต้รุ่ง มีขายทั้งอาหารคาวหวานและผลไม้ อิ่มจากปิเตียงแล้ว ไปเดินหาเต้าฮวยซดเสียอีกชาม

............................................................................................


| ย้อนกลับ | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์