ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ |


ไหว้พระดีภาคอีสาน (๖)

           ยังคงพาไปไหว้พระอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา  คราวนี้จะพาเข้ามาในตัวอำเภอเมืองโคราช  ครั้งที่แล้ว ผมพาไปที่อำเภอพิมาย ไปชมปราสาทหินพิมาย  ซึ่งเป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย และบูรณะแล้วนับว่าสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งสร้างมาแต่สมัยสุริยวรมันที่ ๑ กษัตริย์ขอม องค์ก่อน องค์ที่สร้างปราสาทนครวัดบันลือโลก และกล่าวกันว่าปราสาทนครวัดนั้น อาจจำลองแบบไปจากปราสาทหินพิมายแต่ไปขยายใหญ่กว่าหลายสิบเท่า  ("เขาว่า" ผมไม่มีหลักฐาน)  แต่เมื่อไปเห็น นครวัดแล้วก็คงเชื่อคำกล่าวนี้ได้ยากเพราะนครวัดนั้นใหญ่โตมโหฬารเหลือเกิน และความประณีตในการสร้าง การแกะสลักต่าง ๆ สุดจะพรรณา   ผมตั้งใจจะเขียนเล่าถึงเรื่องนครวัด  และนครธม  พอกลับมาได้ไม่นานก็เกิดการเผาสถานฑูตไทยขึ้นมาใน กรุงพนมเปญ หากเขียนชักชวนไปเที่ยวกัน ท่านผู้อ่านอาจจะกล่าวหาว่าผมเป็นคนขอมกลับชาติมาเกิดก็เป็นได้ เลยต้องเก็บเอาไว้ก่อนนานจะครบปีแล้ว และจะหาโอกาสเขียนใหม่ เพราะการพาชมโบราณสถานนั้นเวลาจะล่วงไปนานเท่าใด หากโบราณสถานนั้นได้รับการบูรณะการดูแลตลอดเวลาแล้วน่าจะยิ่งไปเที่ยวชม  หลังจากที่ผมเขียนตอนที่แล้วไปแล้วแต่ไปพบเอกสารเพิ่มเติมเลยขอเอามาเล่าไว้ด้วย คือ
           พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ คือผู้มาสร้างต่อเติมปราสาทหินพิมาย  จนบางคนนึกว่าที่านสร้างมาแต่แรก
           ตระพังขวัญ  สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และเมื่อสร้างปราสาทหินพิมายครั้งแรกนั้น ผู้สร้างนับถือศาสนาพราหมณ์ แต่พระเจ้าชัยวรมันมาสร้างเพิ่มเติมในระหว่าง พ.ศ.๑๗๒๔ - ๑๗๖๑  เวลาที่เริ่มสร้างกับเวลาที่พัฒนาต่างกันเกือบสองร้อยปี และพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ นั้น ทรงนับถือศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน และกษัตริย์องค์ต่อมาอีกองค์หนึ่งกลับไปนับถือศาสนาพราหมณ์ ทำลายที่บิดาสร้างเสียหลายแห่ง เช่น อโรคยาศาลในเสียมราฐเป็นต้น ด้วยการเอกรฏูปพระพุทธเจ้าออก เอาเทวดาของพราหมณ์ใส่เข้าไปแทนพอหลังมาอีกพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าชัยวรมันที่ ๘ ขอมก็เสื่อมอำนาจลงกถึงขนาดสิ้นชาติ ต่อจากนั้นขอมก็ลดน้อยถอยลงไปจนกลายเป็นคนเขมรในปัจจุบัน ทับหลังและหน้าบันที่ประดับองค์ปรางค์ใหญ่ของพิมายจะเล่าเรื่อง "รามายณะและคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์" แสดงว่า สร้างในสมัยสุริวรมันที่ ๑ ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ แต่ก็มีทับหลังที่จำหลักภาพพุทธประวัติตอน "มารวิชัย" และพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จึงสรุปได้ว่าเป็นการ สร้างต่อเติมของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่สำคัญและมีไปทั่วคือ ธรรมศาลาที่พักพร้อมไป มี ๗ แห่ง (ในประเทศไทย) อโรคยาศาล มี ๒๗ แห่ง (ทั้งในดินแดนขอมด้วยมีรวม ๑๐๒ แห่ง) อโรคยาศาลแต่ละแห่งจะประกอบด้วย ผู้ดแลสวนสมุนไพรพราหมณ์ เลขระเบียน ผู้มีหน้าที่โม่เภสัช และแพทย์
           จากอำเภอพิมาย หากไม่กลับตามเส้นทางเดิม คือถนนสายมิตรภาพ เพื่อมายังนครราชสีมาก็อาจขับรถเที่ยวด้วยการกลับมาทางอำเภอห้วยแถลง สาย ๒๑๖๓ เป็นกถนนสองเลนก็จะกลับมายังนครราชสีมาได้ เมื่อเข้าเมืองนครราชสีมาแล้ว แห่งแรกที่ควรไปไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธหรือศาสนาใด สมควรคารวะย่าโมหรือท้าวสุรนารี ตามธรรมเนียมการสร้างอนุสาวรีย์ ในประเทศไทยนั้นมักจะสร้างให้กับชนชั้นกษัตริย์ที่สร้างวีรกรรมในประวัติศาสตร์ แต่อนุสาวรีย์ของย่าโมเป็นอนุสารีย์ที่สร้างขึ้นมา ระลึกถึงคุณความดีของวีรสตรีที่เป็นสามัญชน ย่าโมไม่ใช่วรีสตรีคนแรกเพราะวีรกรรมของท่านเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ในช่วงต้นรัฃกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นามเดิมของท่าน คือ "โม" เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี  ได้สมรสกับพระยาปลัด หรือพระยามหิศราธิบดี  ที่ปรึกษาราชการเมืองนครราชสีมา เมื่อเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์ก่อการกบฎ เพื่อประกาศอิสรภาพของลาว ซึ่งขณะนั้นขึ้นอยู่กับไทย จึงยกทัพเข้ามายึดเมืองโคราช  เจ้าเมืองนครราชสีมาและพระยาปลัดไปว่าราชการต่างเมืองทัพลาวยึดเมืองโคราชได้แล้วก็กวาดต้อนชาวโคราชไปเป็นเชลย  คุณหญิงโม ก็ถูกกวาดต้อนไปด้วยระหว่างทางคุณหญิงโมออกอุบายขอมีดพร้า จอบเสียมจากทหารลาว อ้างว่าจะไปตัดไม้และนำเอาไปสร้างที่พักแรม แต่แท้จริงนำมาเสี้ยมไม้เอาไว้เป็นอาวุธ และยังหลอกล่อเพื่อให้การเดินทางล่าช้าเพื่อรอทัพกรุงยกมาช่วย จนเมื่อเข้าเขตทุ่งสัมฤทธิ์จึงล่อให้ทหารลาวดื่ม กิน โดยมีสาวไทย ช่วยปรนนิบัติจนเมามายกันมั่ว ก็ได้มอบให้นางสาวบุญเหลือ พลีชีพด้วยการไปจุดไฟเผาเกวียนดินระเบิด ดินดำระเบิดทั้งหมดนางสาวบุญเหลือ หรือย่าเหลือในโอกาสต่อมาสิ้นชีวิต คุณหญิงโมถือโอกาสที่ทหารลาวกำลังเมามาย และดินดำระเบิดเข้าโจมตี ทัพเวียงจันทน์จนแตกพ่าย ได้ชัยชนะก่อนที่ทัพกรุงจะยกมาช่วย สตรีสามัญชน ๒ ท่านแรกที่ยกย่องว่าเป็นวีรสตรีก็คือ ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร วีรสตรีแห่งเมืองถลางที่ได้ประกอบวีรกรรมต่อต้านพม่า ที่เข้ามาตีเมืองถลางจนประสบความสำเร็จ ในสมัยรัชกาลที่ ๑  คุณหญิงโม จึงเป็นวีรสตรีท่านต่อมา และสมควรจะยกย่องย่าบุญเหลือ ผู้กล้าเข้าไปจุดไฟเผาดินดำ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าตัวเองจะต้องตายอย่างแน่นอน อนุสาวรีย์ย่าเหลือ จึงอยู่ที่ทุ่งสัมฤิทธิ์ แต่อนุสาวรีย์ย่าโมนั้นอยู่กลางเมืองนครราชสีมา และอีกหลายแห่ง
           อนุสาวรีย์ย่าโม  เป็นรูปหล่อทองแดงรมดำ สูง ๑.๘๕ เมตร หนัก ๓๒๕ กิโลกรัม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๗  สมัยพระยากำธรพายัพทิศ (ดิศ อินทรโสฬส) เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดนครราชสีมา และมีพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร (ทองคำ รักสงบ) ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๕ ร่วมกับข้าราชการพ่อค้า ประชาชน สร้างขึ้น เพื่อบรรจุอัฐิย่าโม ผู้ออกแบบ คือ ศาตราจารย์ ศิลป พีระศรี ออกแบบร่วมกับพระเทวาภินิมิตร
           ทุกวันที่ ๒๓ มีนาคม - ๓ เมษายน ชาวโคราชจะจัดงานเพื่อรำลึกถึงวันแห่งชัยชนะที่คุณหญิงโม ได้นำชาวโคราชเข้าต่อสู้กับกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์
           ประตูชุมพล  คือประตูเมืองโบราณที่ยังตั้งอยู่ข้างหลังของอนุสาวรีย์คุณหญิงโม เป็นประตูเมืองประตูเดียวที่ยังเหลืออยู่ เดิมมี ๔ ประตู  ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างเมืองโคราชในปัจจุบันขึ้นนั้น  ได้ให้ช่างชาวฝรั่งเศสออกแบบ และวางผังเมือง เมืองกว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ยาว ๑,๗๐๐ เมตร ตามกำแพงเมืองมีประตูทั้งสี่ทิศ คือประตูพลแสน ทางทิศเหนือประตูพลล้านทางทิศตะวันออก ประตูไชยณรงค์ทางทิศใต้ และประตูชุมพลทางทิศตะวันตก  เป็นประตูเดียวที่ยังคงเหลืออยู่แนวกำแพงก่อด้วยอิฐ และหินขนาดใหญ่ฉาบด้วยปูนสีขาว ส่วนบนแนวกำแพงทำเป็นรูปเสมา มีหอรบตั้งอยู่เหนือประตู มีลักษณะเป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์อย่างงดงาม "เขาว่า"  คนต่างเมืองมาเดินลอดใต้ซุ้มประตูชุมพล แล้วจะต้องมาแต่งงานกับชาวโคราช และจะต้องอยู่ไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว ใครเป็นโสดหาคู่ไม่ได้สักที น่าจะมาลองอธิษฐานขอพรย่าโม

           วัดศาลาลอย  วัดดีของอีสานในนครราชสีมา ได้เล่าเรื่องของอนุสาวรีย์ย่าโมแล้ว ก็ต้องเล่าต่อไปหกถึงวัด "ศาลาลอย" ไปชมโบสถ์ศิลปะประยุกต์ วัดนี้เป็นวัดที่ย่าโมสร้างไว้ และเมื่อย่าโมสิ้นชีวิตแล้วได้นำอัฐิของย่าโมมาบรรจุไว้ ณ วัดศาลาลอยนี้ ชาวโคราชจึงนิยมมาบนบานศาลกล่าว กับย่าโมที่นี่ เมื่อสำเร็จแล้วก็จะมาแก้บน โดยเฉพาะการแก้บนด้วยการให้รำร้องเพลงโคราช ซึ่งจะมีนักร้องนักรำแต่งตัวสวยคอยรับจ้างรำเพลงโคราชแก้บนให้ ซึ่งคนที่มาแก้บนบูชาถวายการแก้บนแล้ว จะอยู่ดูการร้อง การรำจนจบหรือไม่ ไม่สำคัญ นักรำจะรำไปจนจบตามเพลง เพราะวันที่ผมไปยืนดูเขารำนั้น ไม่มีเจ้าภาพยืนอยู่เลย ถามไถ่ดูภายหลังเขาบอกว่า เขากลับไปแล้วแต่นักรำจะรำถวายย่าโมไปจนจบขบวนการ

          ไปวัดศาลาลอย  หากมาจากกรุงเทพ ฯ ตามถนนมิตรภาพ ไม่เลี้ยวไปไหน ไม่ออกเลี่ยงเมืองคงตรงเรื่อยมา จนสุดทางในเมืองถนนจะหักเลี้ยวขวา (ไปบุรีรัมย์ ลำปลายมาศ) ตรงจุดหักเลี้ยวนี่แหละ หากเราไม่เลี้ยวควรตรงต่อไปตามถนนซอยเข้าไปสัก ๕๐๐ เมตร จะถึงวัดศาลาลอย  ที่ย่าโมและเจ้าคุณสามีได้สร้างขึ้นไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๐ เมื่อรบชนะทัพลาวแล้ว ย่าโมถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖  ท่านเจ้าคุณสามีจึงได้นำอัฐิย่าโมมาบรรจุไว้ในเจดีย์ในบริเวณวัดศาลาลอย สิ่งน่าสนใจคือ.-
           อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ประดิษฐานอยู่ในศาลากลางน้ำ เป็นรูปหล่อของย่าโมในท่านั่งพนมมือฟังพระเทศน์ คือ หันหน้าเข้าหาโบสถ์ บรรจุอัฐิไว้ใต้ฐานอนุสาวรีย์แห่งนี้
           โบสถ์ใหม่  สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐  แบบของโบสถ์เป็นอาคารตึกคอนกรีตลักษณะคล้ายเรือสำเภากำลังโต้คลื่น ที่ผนังด้านนอกทำเป็นภาพนูนต่ำ ทำด้วยกระเบื้องดินเผาด่านเกวียน (เครื่องปั้นดินเผา ด่านเกวียน อำเภอโชคชัย มีชื่อเสียงมาก) ด้านหน้ามีภาพพุทธประวัติตอนผจญมาร ภายในประดิษฐานพระประธานปูนปั้นสีขาวปางห้ามสมุทร ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงถวายนามว่า "พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมศาลา ศาลาลอยพิมานวรสันติสุขมุนินนทร์" โบสถ์หลังนี้ได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศสและนาคะประทีป ในปีพ.ศ.๒๕๑๖
           โบสถ์เก่า  ยังอยู่เป็นโบสถ์ที่ย่าโมสร้างไว้ อาคารก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง ไม่มีรูปแบบพิเศษแต่ประการใดไม่ใหญ่โตนักแต่ถือว่าเป็นโบราณสถานสำคัญ ที่ผูกพันกับจิตใจของชาวโคราช และเคยปรักหักพังไปแล้วในช่วงที่ไม่มีพระจำพรรษา จนมาปี พ.ศ.๒๕๒๕ พระราชวรญาณ เจ้าอาวาสวัดศาลาลอยจึงบูรณะขึ้นใหม่  พระประธานคือพระพุทธรูปองค์เดิมคือ พระพุทธมงคลนิรมิตรและที่หน้าโบสถ์หลังเก่านี้จะมีรูปปั้นของท่านเจ้าพระยามสามีของย่าโม รูปปั้นของย่าโม และนาวสาวบุญเหลือ วีรสตรี อีกท่านหนึ่งยืนอยู่และกำลังสร้างอนุสรณ์สถานใหญ่โต สวยแต่ยังขาดรูปของย่าโมนำมาประดิษฐาน (หมายถึงในวันที่ผมไปยังไม่มี)
           วัดหน้าพระธาตุ หรือวัดตะคุ  ตั้งอยู่ที่ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย เป็นเก่าแก่ สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ วัดตะคุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๓๐ สิ่งที่น่าสนใจคือ อุโบสถหลังเก่า และหอไตรกลางน้ำภายในวัดมีภาพเขียนที่น่าสนใจควรชมโบสถ์เก่าตั้งอยู่ข้าง ๆ โบสถ์ใหม่ ฐานโบสกถ์มีลักษณะแอ่นโค้ง ที่ศัพท์ทางช่างเรียกว่าตกท้องสำเภา ซึ่งเป็นแบบสถาปัตยกรรม ที่นิยมสร้างกันในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนของหลังคา ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เช่นโบสถ์ทั่วไป ซึ่งคล้ายศิลปะพระราชนิยม ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงโปรดให้สร้างวัดมากและยังเป็น วัดที่ผสมศิลปะของจีนเข้าไว้ด้วย ภายในโบสถ์มีภาพเขียน มีภาพชาดก ภาพวิถีชีวิต ของชาวบ้านในอดีต มีภาพเขียนด้านนอกด้วย แต่ตอนนี้ภาพด้านนอกลางเลือนไปมากแล้ว เมื่อไรศิลปากรจะมีงบประมาณมเขียนเสียใหม่
           หอไตรกลางน้ำ อยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า ยกพื้นสูงเพียงชั้นเดียว ตั้งอยู่กลางน้ำ มีลักษณะของสถาปัตยกรรมเรือนไทยภาคกลาง สร้างไว้ในน้ำเพราะไม่ต้องการให้มดปลวกมาแทะกินพระธรรมคัมภีร์เหล่านั้น หหอไตรมีภาพเขียนให้ชม ด้านนอกตั้งแต่ประตูทางเข้าเป็นลายรดน้ำปิดทอง ตามผนังเป็นพุทธประวัติ
           พระธาตุ  จะมีงานนมัสการวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ อยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า องค์พระธาตุเป็นศิลปะลาว ที่เรียกว่า "ทรงบัวเหลี่ยม" เพราะประวัติการสร้างบอกว่าชาวบ้านที่เป็นคนลาว อพยพมาจากเวียงจันทน์ ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ฐานธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ส่วนบนสูงเรียวขึ้นไปสอบเข้าหากัน
           ที่ตั้งของ  วัดหน้าพระธาตุ  อยู่ที่ตำบล ตะคุ อำเภอปักธงชัย อยู่ห่างจากอำเภอไป ๔ กม.
           สรุปว่าวัดหรือพระดี  ที่อีสานในเขตจังหวัดนครราชสีมาที่ยกย่องกัน ได้แก่ วัดสุทธจินดา วัดศาลาลอย วัดศาลาทอง วัดป่าสาละวัน วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม วัดเขาจันทร์งาม วัดธรรมจักรเสมาราม วัดบ้านไร่ วัดหน้าพระธาตุหรือวัดตะคุ รวม ๙ วัด
           นครราชสีมา  ประตูสู่อีสานนี้มีอาหารการกินมากมายเดินเที่ยวกัน ๓ วัน ยังไม่ครบ ร้านอาหารอร่อย ๆ ผมไปคราวนี้ไปพักที่โรงแรมสีมาธานี ถนนมิตรภาพ โรงแรมนี้ใหญ่โต ดักทางเข้าเมืองไว้เลย พักที่นี่จึงไปไหนสะดวก เป็นโรงแรมที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมมาแล้ว รางวัลของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เขต ๑ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถมอาหารเช้า เลยนำมาบอกไว้ด้วย โทร. ๐๔๔ ๒๑๓๑๐๐
           อาหารเช้าโรงแรมสีมาธานี แปลกดี เลยต้องขอเอามาเล่าให้ฟัง เขามีเหมือนโรงแรมทั่ว ๆ ไป คือ มีมุมกาแฟ ชา มุมน้ำผลไม้ มีน้ำส้ม สับปะรด น้ำมะเขือเทศ มุมอาหารฝรั่ง ไข่ดาว หมูแฮม ไส้กรอก เบค่อน ไข่ม้วน สลัด ผลไม้อีก ๓ - ๔ ชนิด
           มุมข้าว คือข้าวผัด ข้าวสวย กับข้าวมองดูแล้วน่ากินกันตั้งแต่เช้าเลย ใครชอบกินอาหารเช้าต้องชอบอาหารของเขา มีกับข้าวถึง ๕ อย่าง มีข้าวต้มเครื่องเป็นข้าวต้มไก่ ข้าวต้มหมู ข้าวต้มเปล่ามีกับข้าว ของข้าวต้มอีก ๓ อย่าง อาหารเหลือเฟือจริง ๆ
           ยังไม่หมดยังมีอีก ปาท่องโก๋ เต้าฮวย น้ำเต้าฮู้ บะหมี่ญี่ปุ่น ผัดหมี่โคราช ของท้องถิ่นที่ว่าแปลกไม่เหมือนใคร นับตั้งแต่ผมตระเวนพักตามโรงแรม มาทุกจังหวัดในประเทศไทย แถมออกไปนอกประเทศอีกหลายสิบประเทศคือ โรงแรมนี้ในมื้ออาหารเช้ามี "ขนมครก" จึงถือว่าแปลก
           ส่วนอาหารเช้าอีกแห่งนอกโรงแรมคือ เลิศโอชา ถนนอัศฎางค์ อยู่ใกล้ ๆ ไปรษณีย์ ถนนอยู่ข้างศาลปกครอง มีข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ อาหารเช้าอีกแห่งถนนสายเดียวกันนี่แหละ ถนนสายข้างศาลปกครอง มีขนมจีน น้ำยาเมืองคอน ๓ รส อาหารปักษ์ใต้ ร้านอยู่ตรงข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช เป็นเช้าที่หนักแต่อร่อย
           สวนอาหารลานลูกไม้ ๐๔๔ ๒๕๓๒๘๑ ซอยกิ่งสวายเรียง ถนนมุขมนตรี
           หากมาจากสี่คิ้วจะเข้าเมืองโคราช จะข้ามสะพานที่ข้ามทางรถไฟ แล้วมาผ่านโรงแรมสีมาธานี ผ่านห้างโลตัสทางขวา ถึงทางแยกมีไฟสัญญาณ ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนสวายเรียง ถนนสายแคบ ๆ เหมือนซอย มีป้ายชื่อร้านอยู่ทางขวาบบน เมื่อเลี้ยวขวามาแล้วจะเลี้ยวขวาอีกที มีป้ายนำทางไปจนผ่านหลังร้านโลตัส เลยทางเข้าหลังร้านโลตัสมานิดเดียว ร้านจะอยู่ทางซ้ายมือ มีที่จอดรถโดยเลี้ยวเข้าไปในซอย ข้างร้านด้านหลังมีโต๊ะนั่งในซุ้ม ในสวนตามธรรมชาติ ด้านหน้าของร้านจะเป็นห้องแอร์ โต๊ะหลังร้านนี้จะอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ มีบรรยายกาศร่มรื่น มีสระน้ำ มีศาลาริมสระน้ำชนิดเป็นศาลาน้อย นั่ง ๒ คน ได้บรรยากาศดีนัก
           เส้นทางไปร้านอีกทางหนึ่ง ซึ่งผมใช้ตอนกลับคือ เข้าไปในห้างโลตัสเลยจะได้ไม่ต้องวนให้ยุ่งยาก เข้าข้างหน้าของโลตัสแล้ววิ่งทะลุไปประตูหลัง ออกประตูโลตัสได้ก็เลี้ยวขวาจะถึงร้านสวนอาหารลานลูกไม้ พอดี
           พริกลงเรือ จัดใส่จานมาสวย มีผักสด ผักต้ม หมูหวาน กินกับข้าววิเศษนัก
           ปลาตะเพียนเสวย ถอดก้างออกแล้วยัดไส้ ทอดหนังกรอบ หั่นมาเป็นชิ้นใหญ่ คงรูปไว้เป็นตัวปลา น้ำจิ้มมี ๒ แบบ คือแบบหวานและแบบหวานอมเปรี้ยว อร่อยร้าย
           ยำผักบุ้ง ใช้ผักบุ้งลวก ราดด้วยน้ำยำ มีกุ้ง ปลาหมึก วางมาข้างบน จัดน่ากิน รสเยี่ยม
           ปลากะพงทอดน้ำปลา ใช้ปลากะพงทอดกรอบ วางมาบนน้ำปลาที่ปรุงเครื่อง จานนี้เด็ดมาก อร่อยสมราคาคือ ๑๘๐ บาท ปลานั้นทอดกรอบจริง ๆ จบแล้วแทบจะไม่มีอะไรเหลือ อย่าโดดข้ามไป
           ออกจากร้านสวนอาหารจานลูกไม้ ยังขาด "หวาน" เลยไปที่ตลาดกลางคืนแถว ๆ สถานีรถไฟ เป็นแหล่งอาหารกลางคืนอีกแหล่งหนึ่ง ที่นี่หาของหวานพบ "หวานจัด" อร่อยเสียด้วย บัวลอยไข่หวาน
 

...........................................................


| ย้อนกลับ | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์