ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

ไหว้พระดีภาคอีสาน (๕)

           ผมพาไปไหว้พระดีที่อีสาน  ในจังหวัดนครราชสีมา พึ่งพามารได้ ๓ วัน ยังขาดอยู่อีก ๖ วัด จึงจะครบวัดพระดีของอีสาน ในจังหวัดนครราชสีมา  ตอนที่แล้วไปผ่านอำเภอปากช่อง สีคิ้ว และเลี้ยวไปยังอำเภอด่านขุนทด ไหว้หลวงพ่อคูณ
           คราวนี้มายังอำเภอสูงเนินบ้าง ยังไม่ถึงตัวเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีวัดสำคัญและเมืองโบราณซึ่งเป็นที่มาของเมืองโคราช หรือนครราชสีมาซึ่งได้เกริ่นไว็แล้ว  ในตอนเล่าถึงประวัติของเมืองนครราชสีมา วัดสำคัญในตัวอำเภอสูงเนินคือ วัดธรรมจักรเสมาราม วัดนี้ตั้งอยู่ที่บ้านคลองขวาง ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน มาตามถนนมิตรภาพจนเลยทางแยกไปชัยภูมิมานิดหนึ่งก็เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอ กิโลเมตร ๒๒๒ - ๒๒๑ ไปถึงตัวอำเภอแล้วเลี้ยวซ้าย ไปผ่านตลาดสูงเนิน จะพบทางแยกขวาหน้าที่ทำการเทศาบาล แล้วข้ามทางรถไฟไปอีกประมาณ ๕ กิโลเมตร จะถึงวัด รถเข้าจอดได้เกือบถึงศาลาประดิษฐานพระสำคัญ เดินต่อไปสัก ๒๐ เมตร  ก็ถึงหากไปตอนวันหยุดโรงเรียนเขาจะฝึกไกด์นักเรียนตัวน้อยระดับชั้นมัธยมมาคอยอธิบายให้ฟัง  ถึงเราจะรู้มากกว่าแกก็ควรตั้งใจฟัง ให้กำลังใจเด็กและให้สตางค์ด้วยคนละ ๒๐ บาท ก็พอเพราะเขาไม่เรียกร้อง เป็นนักเรียนที่โรงเรียนจะจัดหมุนเวียนมาคอยเป็นไกด์ให้  แกเข้ามาขออธิบายก็อย่าไปไล่ให้พาเราไปชม มีความรู้พอควร  อธิบายให้ผมฟังคล่องแคล่วดี แตพอตอนจบผมาเลย อธิบายเพิ่มเติมที่แกตกหล่นหรือที่ไม่รู้ให้แกฟังบ้าง  ไกด์น้อยเลยยืนฟังกันอย่างตั้งอกตั้งใจ
           พระนอนหินทราย  ประดิษฐานภายในวิหารแต่น่าจะเรียกศาลาเปิดมากกว่า เพราะเป็นศาลาเปิดด้านข้างโล่ง เป็นพระพุทธรูปปางเสด็จปรินิพพาน มีพุทธลักษณะแบบทวารวดี  พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออกตามแบบของศาสนาในศาสนาพุทธ แต่เป็นพระนอนหินทรายที่นำหินมาเป็นก้อนๆ แล้วมาวางประกอบกัน  ไม่ได้เชื่อมต่อกันทั้งองค์แบบสร้างพระพุทธรูปทั่งไป จึงเชื่อกันว่าองค์นี้น่าจะเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยคือ ความยาว ๑๓.๓๐ เมตร  ความสูง ๒.๓๐ เมตร
           ส่วนของพระพักตร์ใช้หินทรายแดง  สี่ก้อนวางประกบซ้อนกัน  มองเห็นเป็นรูปพระพักตร์ แย้มพระสรวลที่มุมปาก เก่งมาก ตรงนี้แหละที่วางหินทั้งก้อนซ้อนกันจนได้รูป และให้เห็นแม้กระทั่งเป็นรอยยิ้ม พระศอเป็นหินเป็นหินทรายทรงกลม ส่วนพระวรกายเป็นหินทรายขนาดใหญ่หลายก้อน ที่นำมาวางซ้อนกัน จนเป็นองค์พระ
           ธรรมจักรศิลา  ประดิษฐานภายในอาคาร อยู่ทางซ้ายของโบสถ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ไปแล้ว เพราะเก็บไว้หลายอย่าง ที่สำคัญก็คือ ธรรมจักร ซึ่งขุดได้บริเวณพระนอน เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ทำจากศิลาแลงขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๔๑ เมตร ตอนล่างมีลายสลักคล้ายหน้าพระพนัสบดี ซึ่งมีลักษณะผสมของสัตว์หลายชนิด คือ มีเขาเหมือนโค มีปากเป็นครุฑ มีปีกเหมือนหงส์ สัตว์เหล่านี้ล้วนเป็นพาหนะของเทพในศาสนาพราหมณ์ ส่วนพระพนัสบดีเป็นพาหนะของพระพุทธเจ้า ตามความเชื่อของพุทธฝ่ายมหายาน
           สมัยทวารวดี  นิยมสร้างพระธรรมจักรคู่กับกวางหมอบ ถือเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า จึงมักจะขุดพบธรรมจักร กับกวางหมอบในบริเวณเดียวกัน  ธรรมจักรหมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่แสดงครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ คือ ธัมมจักกัปปวัฒนสูตร
           เมืองเก่า  ได้เล่าไว้ในประวัติเมืองแล้วว่ามี เมืองเสมา เมืองโฆราฆปุระ ถึงก่อนจะเข้าไปยังวัดธรรมจักรเสมาราม และบริเวณใกล้กันนั้นมีปราสาทที่มีการบูรณะแล้ว และกำลังบูรณะอยู่ นับว่าเป็นปราสาทสำคัญทีเดียว เส้นทางเข้าปราสาททั้ง ๓ คือ ก่อนเข้าถึงตัวตลาดสูงเนินจะมีป้ายและมีทางแยกขวาไปยังปราสาท ได้แก่
           ปราสาทโนนกู่  เป็นปราสาทในเมืองโคราฆปุระ เมืองโบราณที่การก่อสร้างได้รับอิทธิพลของวขอม ขุดพบโบราณวัตถุหลายชิ้น นำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สวถานแห่งชาติพิมาย ปราสาทนี้สร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๕ และได้รับการบูรณะแล้วเห็นเค้าโครงและลวดลายงดงาม เป็นปราสาทหลังเดี่ยว สร้างบนฐานสูง
           ปราสาทเมืองแขก  อยู่ไม่ไกลกันนักกับปราสาทโนนกู่ มีขาดใหญ่ กำลังบูรณะ เสร็จแล้วจะสวยงามทีเดียว เวลานี้ก็ทำไปได้มากแล้ว พบโบราณงวัตถุหลายชนิด ที่สำคัญคือทับหลังรูปเทวดานั่งในซุ้มเหนือหน้ากาล มีสถาปัตยกรรมแบบเกาะแกร์ในศิลปขอม ซึ่งเป็นยุคเดียวกับปราสาทโนนกู่ ที่อยู่ใกล้กัน
           ปราสาทหินเมืองเก่า  ไปตามถนนเส้นทางเดียวกันแต่เลยต่อไปอีกหลายกิโลเมตรจนถึงหมมู่บ้านและเมื่อตรงมาจะพบวัดปราสาทเมืองเก่า บ้านเมืองเก่า ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน อยู่ห่างจากปราสาทเมืองแขก ประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ ต้องเข้าไปในวัดและอ้อมไปทางหลังวัด โดยที่หน้าวัดจะมีอนุสาวรีย์ย่าโม ขนาดน่าจะเท่าร่างจริงของท่าน ยืนอยู่หน้าวัด ผ่านย่าโมเข้าไปในวัด อ้อมไปทางหลังวัดจะเห็นปราสาทหินเมืองเก่า ซึ่งสร้างเป็นอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาล สร้างขึ้นทั่วราชอาณาจักรขอม ซึ่งรวมทั้งในไทยภาคอีสาน ลพบุรี และเลยเข้ามาถึงปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี ล้วนอยู่ใต้อิทธิพลของขอม ผู้สร้างอโรคยาศาล จำนวนถึง ๑๐๒ แห่ง นี้คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ผู้สร้างนครธม (อยู่ที่เสียมราฐ ใกล้ ๆ กับนครวัด) ซึ่งกษัตริย์องค์นี้เป็นนักสร้างชั้นยอด สร้างจนขอมอ่อนกำลัง พอต่อมาอีกไม่กี่รัชกาล ขอมก็หมดกำลัง เปลี่ยนฐานความเจริญและฐานอำนาจมาทางไทยในยุคสุโขทัย อโรคยาศษลนั้นสร้างในระหว่าง พ.ศ.๑๗๒๔ - ๑๗๕๘
           อโรคยาศาล  จะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน จะประกอบด้วยปรางค์ประธาน เป็นอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย จะตั้งอยู่ด้านหน้า ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว  มีประตูทางเข้าที่เรียกว่า โคปุระ ทางด้านหน้าเพียงแห่งเดียว บริเวณด้านนอกกำแพงมีบาราย หรือสระน้ำศักดิ์สิทธิ์กรุด้วยศิลาแลง อโรคยาศาล เป็นสถานพยาบาลที่จะสร้างขึ้นตามรายทางโบราณในอำนาจขอม จะเชื่อมกับปราสาทนครธม  กับปราสาทหินต่าง ๆ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้แผ่อำนาจไปถึงและสร้างปราสาทหินเอาไว้ กษัตริย์องค์นี้เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาในฝ่ายมหายาน เส้นทางปราสาทขอมจากนครธมคือ ปราสาทหินเมืองต่ำ (ไม่ไกลกันนัก มีอโรคยาศาล)  ปราสาทหินพนมรุ้ง  สองปราสาทนี้อยู่ในบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมายอยู่ในนครราชสีมา ปราสาทเมืองแขก ปราสาทศรีเทพ และพระปรางค์สามยอดที่ลพบุรี ส่วนปราสาทเมืองสิงห์ในกาญจนบุรีนั้นไม่น่าจะอยู่ในเส้นทางปราสาทขอม  แต่ก็อยู่ในอิทธิพลของชัยวรมันที่ ๗ เช่นกัน มีอำนาจมากและเมื่อสิ้นพระองค์แล้ว  ขอมก็เริ่มเสื่อมและสิ้นตามไปด้วยกัน
           จากสูงเนิน มุ่งหน้าต่อมายังนครราชสีมา กำลังมีการสร้างสมเด็จพุทฒาจารย์โต ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ความจริงบอกว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็คงจะพอ เพราะอังกฤษ ฝรั่งเศสคงไม่ไปสร้างสมเด็จโต หรือ หลวงพ่อทวดแน่นอน ยังสร้างวิหารอยู่ ยังไม่เรียบร้อยดี ยังไม่นับว่าเป็นพระดีที่อีสาน
           ใกล้จะเข้าเมืองโคราช จะมีถนนเลี่ยงเมืองแยกซ้ายไปยังขอนแก่นไม่ต้องวิ่งผ่านเข้าไปในเมืองเส้นทางไปปราสาทหินพนมวัน ไปตามทางเลี่ยงเมืองประมาณกิโลเมตร ๑๕ จะมีทางแยกขวา ให้เลี้ยวขวาไปตามป้ายไปอีก ๕ กิโลเมตรเศษ จะถึงวัดพนมวัน ปราสาทหินอยู่ติดกับวัด กำลังบูรณะ เดิมทีเดียวจะเห็นกองหินกองใหญ่ แท่งโต ๆ วางระเกะระกะทั่วไปหมด เหมือนผมเห็นปราสาทหินพนมรุ้งเมื่อสัก ๒๘ ปีมาแล้ว  เห็นวันนั้นแล้วมาเห็นพนมรุ้งวันนี้ไม่เหลือภาพเก่า ภาพกองหินวางระเกะระกะให้ชมเลย พนมวันก็เป็นปราสาทหินใหญ่แห่งหนึ่งแต่ขนาดเล็กกว่าปราสาทหินพิมาย รูปแบบการสร้างคล้ายคลึงกันกับพิมาย มีคำจารึกอักษรขอม ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงแปลได้ความว่า "ผู้ประพฤติดีจะเสวยสวรรค์ ผู้ประพฤติชั่วจะเสวยนรก" สันนิษฐานว่า คงสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗   ร่วมสมัยกับปราสาทหินพิมาย ดังปรากฎในลวดลายปูนปั้นแกะสลักหินประดับส่วนต่าง ๆ ของปราสาท ปราสาทหินพนมวันก่อด้วยศิลาแลง และหินทราย มีปรางค์ประธาน มีปรางค์น้อย ซึ่งภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ รอบปราสาทมีระเบียงคดสร้างด้วยศิลาแลง และหินทราย มีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ
           เนินอรพิม  ห่างจากตัวปราสาทไปทางทิศตะวันออกราว ๓๐๐ เมตร มีเนินดินปรากฎอยู่กับร่องรอยศิลาแลงที่เรียกกันว่า เนินอรพิม เป็นชื่อจากตำนานปัญญาชาดก อรพิมพ์ - ปาจิตต ที่เล่าขานกันต่อเนื่องมาจนกลายมาเป็นชื่อบ้านชื่อเมืองในท้องถิ่น
           อนุสรณ์สถานวีรกรรมทงสัมฤทธิ์  เป็นสถานที่เชื่อมโยงกับวีรกรรมที่ย่าโมนำชาวโคราชสู้รบกับทัพเวียงจันทร์ที่เข้ามายึดโคราชที่ทุ่งนี้ซึ่งเดิมเรียกว่า ทุ่งหมาหลง  คือกว้างขวางเสียจนหมายังเดินหลง เมื่อเกิดวีรกรรมของย่าโมขึ้นแล้งจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นทุ่งสัมฤทธิ์ การไปทุ่งสัมฤทธิ์เลยทางเข้าวัดพนมวัน ไปแล้วจนกถึงกิโลเมตร ๔๓ - ๔๔ แล้วแยกขวาไปอีก ๓ กิโลเมตร อนุสรณ์สถานแห่งนี้มีศาลสกถิจดวงวิญญาณของนางสาวบุญเหลือ หรือ "ย่าเหลือ" และวีรชนชาวโคราช สร้างเป็นศาลาไทยแบบจตุรมุข ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๕ เมตร  และพึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ นี้เอง ในศาลมีรูปปั้นย่าเหลือ ยืนอยู่ในท่าถือคบเพลิงเตรียมเอา ไปจุดเกวียนบรรทุกดินปืนของทหารลาว
           ตามประวัติคือ  เมื่อคราวย่าโมซึ่งอยู่ในความควบคุมของทหารลาวเวียงจันทร์นั้น ได้คิดกลอุบายล่อให้ทหารลาวดื่มสุรา กินอาหาร และสาวไทยให้การบริการในการดื่ม กิน เป็นอย่างดีจนเมามายกันถ้วนหน้า ในระหว่างนั้น มอบให้นางสาวบุญเหลือ หรือย่าเหลือ เป็นผู้ถือคบเพลิงไปจุดไฟเพื่อทำลายเกวียนที่บรรทุกดินระเบิดได้สำเร็จ "ตัวเองตาย"  พลีชีพเพื่อชาติอย่างแท้จริง เมื่อวันที่  ๔ มีนาคม ๒๓๖๙
           แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท  เส้นทางคือ ไปตามถนนสาย ๒ จนเลยทางแยกเข้าทุ่งสัมฤทธิ์แล้ว พอถึงกิโลเมตร ๔๔ ก็ให้ชะลอรถ มิฉะนั้นจะวิ่งเลยไม่เห็นป้ายเลี้ยวเข้า ป้ายจะบอกให้เลี้ยวซ้ายที่กิโลเมตร ๔๔.๔๐๐  เลี้ยวซ้ายไปอีก ๑.๕ กิโลเมตร บ้านปราสาทตั้งอยู่ที่ ม.๑๗  บ้านปราสาทใต้  ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง หมู่บ้านปราสาทเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดี จะมีป้ายบอกว่าหลุมขุดค้นอยู่ตรงที่ใด  มีหลุมขุดค้นอยู่ ๓ หลุม จะเดินชมได้สะดวก เคยขุดค้นได้โครงกระดูกของมนุษย์โบราณมากถึง ๖๐ โครง หลุมขุดค้นที่ ๑ อยู่บริเวณทางเข้าหมู่บ้าน พบโครงกระดูกนอนหงาย และอยู่ในระดับต่าง ๆ กัน อายุเก่าสุดจะอยู่ลึกที่สุด มีภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดง วางอยู่เหนือศีรษะและปลายเท้า พบเครื่องประดับต่าง ๆ เช่นลูกปัด และยังมีหลุมขุด ค้นที่ ๒ - ๓
           หมู่บ้านปราสาทได้มีที่พักแบบ  "โฮมสเตย์" บริการนักท่องเที่ยวโดยการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนจัดตั้งขึ้น นับได้ถึง ๔๒ หลัง กำลังสร้างใหม่ก็มี หากพักจะมีกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน เช่น ได้กินอาหารท้องถิ่น ออกไปทำงานร่วมกับชาวบ้าน เช่น ไปเกี่ยวข้าว ออกหาปลา ขึ้นต้นมะพร้าวปาดตาล (หากไม่กลังตก) อยู่ในแบบสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว ลองถามราคาดูคนละ ๔๐๐ บาทต่อวัน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
           ที่พักทางวัฒนธรรมอีสาน  มีร้านขายของที่ระลึก มีพิพิธภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทำจากเสื่อกก เช่นแฟ้ม กระเป๋า

           ปราสาทหินพิมาย  เลยทางเข้าบ้านปราสาทไปอีกจนถึงหลักกิโลเมตร ที่ ๕๐ จะมีถนนแยกขวา แยกขาฃวาไปอีกตามถนน ๒๐๖ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ซึ่งจะผ่านโรงงานเกลือสินเธาว์  และนาเกลือมองเห็นได้จากถนนอยู่ทางขวามือของถนน และต้องตรงเลยเข้า ไปตัวอำเภอเลยทีเดียว เรียกว่าปราสาทหินตั้งอยู่กลาวอำเภอ  แต่หากจะเที่ยวไทรงามก่อนก็เลี้ยวซ้ายก่อนเข้าถึงตัวอำเภอ จะไปยังไทรงาม ที่มีต้นไทรกิ่งก้านแผ่ขยายใหญ่โตงดงาม แต่เดี๋ยวนี้ความงามน้อยลงไป เพราะร้านอาหารมากเหลือเกิน แม้จะจัดระเบียบให้อยู่ แต่มีมากก็ทำให้พื้นที่ไม่สวย
           ปราสาทหินพิมาย  มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบปาปวน และนครวัดในเสียมราฐ เชื่อว่าเป็นต้นแบบของการสร้างนครวัด ในเขมรเลยทีเดียว สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในนิกายมหายาน  โดยสร้างระหว่าง พ.ศ.๑๕๔๕ - ๑๕๙๓  ในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑  มาต่อเติมจนเป็นพุทธสถานในมหายาน โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ "นักสร้าง" ระหว่าง พ.ศ.๑๗๒๔ - ๑๗๖๑  ซึ่งเป็นมหาราชองค์สุดท้ายของขอม  จนคิดว่าการสร้างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ได้ จากการสร้างต่อเติมของชัยวรมันมี่ ๗ มากกว่าท่านผู้สร้างองค์แรก
           ปราสาทหินพิมายงดงามมาก  สมบูรณ์มาก  ผมเคยเห็นตั้งแต่ยังเป็นกองหินระเกะระกะเช่นกัน หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นที่ตั้งของเมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม  กว้าง ๕๖๕ เมตร ยาว ๑,๐๓๐ เมตร  โบราณสถานที่สำคัญคือ คลังเงิน สะพานนาค ซุ้มประตู หรือโคปุระ ชั้นนอก พระระเบียง ปรางค์ประธาน การปฎิสังขรณ์ปราสาทหินพิมาย เป็นการเริ่มด้วยวิธีการที่เรียกว่า "อนัสติโลซิส"  คือรื้อออกให้หมดเสียก่อนแล้วยกขึ้นใหม่ ก็คือการสร้างใหม่นั่นเอง แต่ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ในรูปแบบเดิมแต่ด้วยเครื่องจักรกลที่ทันสมัย

           พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  ส่วนที่เปิดให้ชมทับหลังไม่ต้องเสียค่าเข้าชม มีทับหลังให้ชมมากมายและยังมีส่วนที่อยู่ ในตัวอาคาร  มีศิลปะวัตถุเขมรในอีสานตอนล่าง ศิลปะสมัยทวารวดี  อารยธรรมเขมร
           ไหว้พระดีตอนต่อไป  คือตอนที่ ๖ ก็คงยังวนเวียนอยู่ในเมืองนครราชสีมา เพราะวัดพระดีของโคราชมีมากถึง ๙ วัด ส่วนใหญ่อยู่ในตัวเมือง ผมจึงจะยกเอามาบอกไว้ก่อนสัก ๓ วัด แต่จะต้องกลับไปกินเป็ดย่างพิมาย ที่พิมาย ดังนั้นพาเที่ยว วันนี้ต้องกินเป็ดย่างเสียก่อน แล้วจึงเข้าเมืองโคราชไปเที่ยวต่อในเมืองโคราช หรืออำเภอเมือง
           วัดสุทธจินดา  อยู่ในเขตอำเภอเมือง ไปทางจะไปกองทัพภาคที่ ๒  ผ่านย่าโมแล้วจะผ่านศาลากลางจังหวัดทางซ้าย ส่วนวัดจะอยู่ทางขวา ก่อนถึงศาลากลางจังหวัดเล็กน้อย ก่อนถึงสี่แยก สิ่งสำคัญที่ขอให้แวะชมให้ได้คือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มหาวีรวงค์ เก็บรักษาวัตถุโบราณ  ความจริงแล้วอยู่ติดกับวัด แต่ถือว่าเป็นพระดี เพราะในพิพิธภัณฑ์มีพระพุทธรูป ศิลาสมัยขอม สมัยอยุธยา ภาพไม้แกะสลักนำมาจากวัด ชมได้ พุธ - อาทิตย์
           วัดศาลาทอง  อยฝฝุ่ที่ตำบลหัวทะเล  เป็นวัดธรรมยุต  ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาองค์ใหญ่ปาง ปาลิไลย์ และยังมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากเมืองเชียงตุง
           วัดป่าสาละวัน  อยู่หลังสถานีรถไฟ  เป็นวัดป่าสายวิปัสนากรรมฐานไปทางจะไปสถานีรถไฟหรือออกจากสถานีแล้ว เลี้ยวซ้ายมา ต้องเข้าซอยไปอีก มีป้ายบอกทางเข้า เป็นวัดป่าสายพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต ปัจจุบันมีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร ์ และพระอาจารย์สิงห์

           ร้านเป็ดย่างที่ผมยกย่องว่าอร่อยกว่าเพื่อนคือร้าน "ทิวไผ่" ๐๔๔ ๔๘๑๐๓๓ มาตามถนนสาย ๒๐๖ ที่แยกมาจากสาย ๒ พอเหลือระยะทาง อ่านจากหลักกิโลเมตร ว่าเหลืออีก ๓ กิโลเมตร จะถึงอำเภอพิมาย  จะเริ่มเห็นร้านอาหารอีสานและจะยกป้ายบอกไว้ด้วยว่าเป็ดย่างพิมาย อย่าไปนึกถึงภาพเป็ดย่างร้านตี่โภชนา ที่กรุงเทพ ฯ หรือเป็นดย่างร้านจิ๊บกี่ หรือทั่ว ๆ ไป ให้นึกถึงภาพของไก่ย่าง (ถนนสายพิมาน - จักราช สาย ๒๑๖๓ จะพบร้านไก่ย่างที่ลือชื่อหลายร้าน บางร้านยกป้ายไว้ว่าไก่ย่างอร่อยที่สุดในโลก ไก่ย่างย่านจักราชมีชื่อ)  เป็ดย่างของพิมายจะใช้เป็ดไทยวัยรุ่นหมักเครื่องปรุงเสียก่อน แล้วจึงนำขึ้นย่างบนเตาถ่าน ย่างทีละมาก ๆ หลายตัว ย่างกันอยู่หน้าร้าน โดยจะใช้คีมประกัปปิ้งเตาถ่าน เป็ดวัยรุ่น ตัวจึงไม่โตนัก ร้านนี้กว้างขวางนั่งสบาย
           เป็ดย่าง  ไปกันกี่คนให้สั่งมาเท่านั้นตัว ราคาตัวละ ๑๐๐ บาท  จะได้ไม่แย่งกันกิน เขาจะย่างเป็ดแล้วสับใส่จาน แต่ยังเรียงเป็นรูปตัวเป็ด สั่งข้าวนึ่งมาด้วย ต่อจากนั้นจงใช้มือหยิบเป็ดมากิน  อย่าทำเป็นคนมีแบบธรรมเนียมมาก แทะได้แทะ ไปจึงจะอร่อยสมใจ มีน้ำจิ้มให้จิ้ม ไม่จิ้มก็อร่อย เป็นน้ำแจ่ว หนังกรอบ
           ลาบหมู  มีผักสดใส่จานมาให้หลายอย่าง รสอีสาน ออกรสอมเปรี้ยว
           ต้มยำยวงไข่  เขาเรียกอย่างนี้ ความจริงคือไข่อ่อน ใช้หม้อไฟถ่าน ความร้อนจึงจะสูง ต้องซดเร็วไม่งั้นน้ำงวดจะเปรี้ยว มากไปไม่กลมกล่อม จะให้ดีควรสั่ง ผัดเผ็ดยวงไข่มาด้วย คลุกข้าวอร่อยนัก พอเผ็ดนิด ๆ ก็ซดต้มยำยวงไข่ตามเข้าไปยังมีอีกหากพุงยังรับไหวหรือไปกันหลายคน  แกงเผ็ดเป็ดย่างเอามาราดข้าวให้ชุ่ม ๆ แต่ต้องขยักท้องให้ดี ๆ เพราะพระเอกของรายการคือ เป็ดย่างพิมาย  เคยพบอีกแห่งที่กาญจนบุรี ทางไปด่านบ้องตี ้ บอกทางยากเหลือเกิน
           ปิดท้ายแก้เผ็ดแก้เปรี้ยวด้วยการสั่งไอศกรีมเผือก หวาน มัน สมใจ หายเผ็ด หายเปรี้ยวปาก

...........................................................


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์